10 likes | 108 Views
ขอเชิญเข้าร่วม การปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนด ขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ( Public Scoping). โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง.
E N D
ขอเชิญเข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและขอเชิญเข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและ แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ความเป็นมาและความจำเป็น : จากข้อมูลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พบว่า ปัจจุบันการกระจายสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง กับพื้นที่หลังท่าส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ยังใช้รูปแบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบที่สิ้นเปลืองพลังงานและมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด โดยมีการขนส่งทางรางเพียงร้อยละ 9 และทางชายฝั่งและลำน้ำประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านการกระจายสินค้าสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ กทท. จึงได้จัดทำแผนวิสาหกิจฉบับที่ 10 (ปีงบประมาณ 2553-2557) โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งไว้ในแผนพัฒนาและบริหารท่าเรือแหลมฉบัง คือจะพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางรถไฟให้สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบราง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งโดยรวมและลดปัญหาการจราจร ประกอบกับปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบังและสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง ดังนั้น กทท.จึงต้องดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ภายในเขตท่าเรือ-แหลมฉบัง ซึ่งเป็นจุดต้นทาง/ปลายทางของตู้สินค้าที่จะขนส่งทางรถไฟระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ICD ลาดกระบัง, แหล่งผลิตในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้เพียงพอต่อการรองรับตู้สินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อไม่ให้เกิดสภาพคอขวดต่อไปในการพัฒนาโครงการนี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการก่อสร้างลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบังที่ได้ทำการศึกษาไว้เดิมในรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วของโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 โดยพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการรื้อย้ายรางรถไฟบริเวณลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟด้านหลังท่าเทียบเรือชุด B ของโครงการท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 1 และการรื้อย้ายรางรถไฟบริเวณลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟบริเวณหลังท่าเทียบเรือชุด C ของโครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบังขั้นที่ 2 มารวมก่อสร้างเป็นลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟใหม่ตรงพื้นที่ระหว่างกลางของท่าเทียบเรือชุด B และชุด C พร้อมกับก่อสร้างรางรถไฟทางคู่ตั้งแต่สถานีแหลมฉบังเข้ามายังลานขนถ่ายตู้สินค้าที่จะสร้างใหม่ เพื่อให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ (สผ.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา ว่าโครงการพัฒนานี้ไม่กระทบต่อรายงาน EIA ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ที่ตั้งโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ลักษณะโครงการเบื้องต้น : โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบังอยู่ในพื้นที่ Zone 4 อยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และชุด C ซึ่งสำรองไว้เพื่อใช้สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Rail Transfer Terminal) ของท่าเรือแหลมฉบังเป็นการเฉพาะจำนวนเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ (จะใช้ในครั้งนี้ประมาณ 370 ไร่ และสำรองไว้อีกประมาณ 230 ไร่)โดยลักษณะของ Rail Yard ที่จะก่อสร้างนั้น จะมีการติดตั้งรางรถไฟลักษณะเป็นพวงรางจำนวน 6 ราง แต่ละรางมีความยาวในช่วง 1,278-1,725 เมตร ซึ่งสามารถจอดขบวนรถไฟที่บรรจุตู้สินค้าขบวนละ 34 แคร่ ได้รางละ 2 ขบวน รวมเป็น 12 ขบวน ในเวลาเดียวกัน โดยติดตั้งเครื่องมือยกขนตู้สินค้าชนิดเดินบนราง (Rail Mounted Gantry Crane : RMG) ที่สามารถทำงานคร่อมรางรถไฟได้ทั้ง 6 รางในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะมีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ถึง 2.0 ล้านทีอียู/ปีแหล่งเงินทุน:การท่าเรือแห่งประเทศไทย แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการดำเนินการตามแนวทาง ดังต่อไปนี้ 1. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร-ธรรมชาติ และสุขภาพ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 2. แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มกราคม, 2553) 3. แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (เมษายน, 2553) โดยได้กำหนดกรอบการศึกษาให้มีการกลั่นกรองผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาโครงการซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของชุมชนทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการโครงการ จากนั้นนำผลการกลั่นกรองดังกล่าวมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ประชาชนทั่วไป และภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะเป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตและแนวทางในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping) ต่อไป กำหนดการการปฐมนิเทศโครงการและการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08.30 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 9 อาคารกิจกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมล่วงหน้าได้ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 199 หมู่ 6 ทุ่งสุขลา ศรีราชา ชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0-3835-4587 ต่อ 2796 โทรสาร 0-3835-4587 โทรศัพท์มือถือ 0-5848-07497 อีเมล์ : srcnps@ku.ac.th