1 / 19

บทที่ 1

บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์. 1.1 เศรษฐศาสตร์คืออะไร. Paul A. Samuelson.

finola
Download Presentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์

  2. 1.1 เศรษฐศาสตร์คืออะไร Paul A. Samuelson เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการที่มนุษย์และสังคม โดยจะมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตาม เพื่อที่จะเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด ไปผลิตสินค้าต่างๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกัน และจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าเหล่านั้นไปยังประชาชนทั่วไปและกลุ่มคนในสังคมเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  3. Alfred Marshall เศรษฐศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยการการทำของมนุษย์ในการดำรงชีวิต ศึกษาว่ามนุษย์ได้รายได้มาอย่างไร ใช้จ่ายอย่างไร ดังนั้น เศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ เศรษฐกิจประการหนึ่ง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นการศึกษาเรื่องของมนุษย์

  4. สรุป เศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ในการเลือกจัด สรรทรัพยากร (Resources) การผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ (Goods and Services) และนำมาจำหน่ายจ่ายแจกกับมนุษย์ในสังคมที่มีความต้องการ (Wants) ไม่จำกัด ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และเกิดประโยชน์สูงสุด

  5. Trade-Offs Law of Scarcity Make a Choice Opportunity Cost เมื่อทรัพยากรต่าง ๆ มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด ทำให้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้หมด ทำให้ต้องมีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือให้ได้รับความพอใจมากที่สุด เมื่อมีการเลือกย่อมเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น ตัวอย่าง นาย A มีเงิน 1,000,000 บาท เขาต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆ อย่างเช่น ซื้อที่ดิน ลงทุน ซื้อหลักทรัพย์ ฯลฯ แต่เนื่องจากความจำกัดของที่เงินดังนั้น นาย A จึงต้องเลือกซื้อเพียงอย่างเดียวที่ให้ประโยชน์แก่เขามากที่สุด ซึ่งประโยชน์นี้อาจอยู่ในรูปผลตอบแทนหรือความพอใจก็ได้

  6. ทรัพยากรการผลิต (Productive Resources) ทรัพยากรการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่นำมาผลิตสินค้าและบริการ หรือเรียกอีกอย่างว่า ปัจจัยการผลิต แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ค่าเช่า (Rent) ที่ดิน (Land) แรงงานมีฝีมือ, กึ่งฝีมือ, ไร้ฝีมือ แรงงาน (Labor) ค่าจ้าง (Wage) ทุน (Capital) สินค้าทุน, เงินทุน ดอกเบี้ย (Interest) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ผู้ผลิตสินค้าและบริการ กำไร (Profit)

  7. สินค้าและบริการ (Goods and Services) เป็นสิ่งที่ได้จากปัจจัยการผลิต สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าเอกชน สินค้าที่มีต้นทุน จึงมีราคามากกว่าศูนย์ เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) เช่น บ้าน เสื้อผ้า รถยนต์ ฯลฯ สินค้าสาธารณะ เช่น ถนน บริการป้องกันประเทศ ฯลฯ สินค้าไร้ราคา (Free Goods) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีต้นทุนการผลิต จึงไม่มีราคาต้องจ่าย เช่น แสงแดด สายลม น้ำฝน ฯลฯ

  8. ประสิทธิภาพ (Efficiency)

  9. 1.2 แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาหน่วยเศรษฐกิจ ส่วนรวมทั้งระบบ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการทั้งหมดโดยทั่วไป การบริโภค การออม การลงทุนโดยรวม การคลัง การเงินและการธนาคาร การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ศึกษา หน่วยย่อย ของระบบเศรษฐกิจ โดยศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของ แต่ละบุคคล ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้ผลิต และเจ้าของปัจจัยการผลิต

  10. ลักษณะของวิชาเศรษฐศาสตร์ลักษณะของวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นการแสวงหาหลักเกณฑ์และแนวคิด เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินคุณค่าว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เกี่ยวข้องกับการตัดสินคุณค่าอย่างมาก เพราะ ผลของนโยบายอาจเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ได้ ขึ้นอยู่กับความคิดเห็น เป้าหมาย และจุดยืนของผู้ตัดสินใจ เศรษฐศาสตร์ นโยบาย

  11. 1.3 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอกับความต้องการของทุกคนสังคมได้ ดังนั้นทุกคนในสังคมจึงประสบปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร ผลิตสินค้าและบริการอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด จึงสนองตอบความต้องการของมนุษย์มากที่สุด What ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ใช้เทคนิคการผลิตแบบไหน ปัจจัยการผลิตอะไร สัดส่วนเท่าใด จึงมีประสิทธิภาพ/มีต้นทุนต่ำสุด How จัดสรรสินค้าให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ผู้ใดได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการนั้น For Whom

  12. 1.4 วิธีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

  13. 1.5 ต้นทุนค่าเสียโอกาสและเส้นความเป็นไปได้ในการผลิต • ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) หมายถึง คุณค่าหรือมูลค่า (Value) ของทางเลือกที่ดีที่สุด หรือมีมูลค่าสูงสุด ในบรรดาทางเลือกทั้งหลายที่ต้องเสียสละไป (The Best AlternativeForgone) เมื่อมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากร ตัวอย่าง สมมติรัฐบาลมีงบประมาณ 100,000 ล้านบาท อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ อันประเมินเป็นตัวเงินได้ ดังนี้ ทางเลือกที่ 1 ซื้อเครื่องบิน F-18 ประเมินมูลค่าได้ 5,000 ล้านบาท ทางเลือกที่ 2 ทำโครงการ Airport Link ประเมินมูลค่าได้ 8,000 ล้านบาท ทางเลือกที่ 3 ซื้อชุด CTX ประเมินมูลค่าได้ 4,000 ล้านบาท ทางเลือกที่ 4 สร้างทางด่วนสายสีแดง ประเมินมูลค่าได้ 9,000 ล้านบาท

  14. ข้อสมมติ 1. มีสินค้าเพียง 2 ชนิด โดยสมมุติว่าระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่และเต็มความสามารถ 2. ทรัพยากรเท่าที่ค้นพบอยู่ขณะนั้นคงที่ 3. เทคนิคการผลิตคงที่ เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต(Production Possibility Curve : PPC) เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต คือ เส้นที่แสดงถึงจำนวนต่าง ๆ ของสินค้า 2 ชนิดที่ประเทศหนึ่งสามารถผลิตได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างเต็มประสิทธิภาพในระยะเวลาหนึ่ง และด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้น

  15. Production Possibility Table

  16. b. a. Production Possibility Curve

  17. ข Production Possibility Curve จุด ก ใช้ทรัพยากรการผลิตทั้งหมดในการผลิตข้าว จุด ข ใช้ทรัพยากรการผลิตทั้งหมดในการผลิตองุ่น

  18. ง Production Possibility Curve

  19. MRPT ∆Y ∆ X

More Related