1 / 33

โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ. โรคคอพอก. โรคคอพอก.

filia
Download Presentation

โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อโรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

  2. โรคคอพอก

  3. โรคคอพอก โรคคอพอกต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตั้งอยู่บริเวณลำคอด้านหน้า รูปร่างคล้ายเกือกม้า ขนาดใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือเล็กน้อย มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์หรือไทร็อกซิน โดยใช้สารไอโอดีน จากอาหารที่กินเข้าไปเป็นวัตถุดิบ และมีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Thyroid Stimulating Hormone : TSH) เป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ฮอร์โมนไทรอยด์จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายทำงานตามปกติ

  4. ประเภทของคอพอกคอพอกธรรมดา (Simple goiter) สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ 1. การขาดสารไอโอดีน ซึ่งมีมากในเกลือทะเล อาหารทะเล เมื่อร่างกายขาดสารไอโอดีน ก็จะเกิดการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ตามมา ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ดังนั้น ต่อมไทรอยด์จึงมีขนาดโตขึ้น

  5. 2. การเปลี่ยนแปลงปกติของร่างกาย (Physiologic goiter) มักพบในผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น หรือผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้น ต่อมไทรอยด์จึงทำงานมากกว่าธรรมดา ทำให้เกิดคอพอกขึ้น โดยที่ไม่ได้ขาดสารไอโอดีนแต่อย่างใด • 3. ความผิดปกติของเอนไซม์ ในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นตั้งแต่กำเนิด • 4. ได้รับสารบางชนิด (Goitrogen) พบมากในดอกกะหล่ำ • 5. ไม่ทราบสาเหตุ (พบร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด)

  6. อาการ • ผู้ป่วยจะมีอาการคอโต (คอพอก) กว่าปกติ โดยไม่มีอาการผิดปกติของร่างกายอื่นๆ หากคอพอกก้อนโตมากๆ อาจทำให้หายใจลำบาก หรือกลืนอาหารลำบากได้

  7. การรักษา 1. คอพอกเนื่องจากขาดสารไอโอดีน ให้กินอาหารที่มีสารไอโอดีน เช่น อาหารทะเล เกลือไอโอดีน (เกลืออนามัย) ในการปรุงอาหารเป็นประจำ หรือแพทย์อาจให้กินยาไอโอไดด์ ในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรที่มีคอพอก ควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกมีภาวะขาดสารไอโอดีน ซึ่งจะกลายเป็นโรคเอ๋อ คือ เป็นใบ้ หูหนวก สติปัญญาต่ำ ตัวเตี้ยแคระแกร็น เจริญเติบโตช้า

  8. การรักษา 2. คอพอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยทั่วไปคอจะโตไม่มาก แทบจะสังเกตไม่เห็น ไม่ต้องรักษาอย่างไร เพราะจะยุบหายไปได้เอง เมื่อพ้นระยะวัยรุ่น หรือหลังคลอดแล้ว 3. คอพอกชนิดไม่ทราบสาเหตุ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด นอกจากมีปัญหาความสวยงาม แพทย์อาจพิจารณาให้ไทรอยด์ฮอร์โมน เพื่อกดการเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์ แต่ผลการรักษามักไม่ดี หากคอโตมากๆ มีอาการหายใจลำบากหรือกลืนอาหารลำบาก แพทย์อาจให้การรักษาโดยการผ่าตัด

  9. คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter หรือ Hyper thyroidism)เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงอายุ 20 - 40 ปี พบว่าเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า

  10. สาเหตุ • เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ โดยอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนธัยรอยด์ออกมาในกระแสเลือดมาก จึงไปกระตุ้นให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานมากผิดปกติ จนเกิดอาการต่างๆ ขึ้น • สาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ เสียหน้าที่ในการทำงานนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่า เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune) โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ กรรมพันธุ์

  11. อาการ • ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่นหวิว ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติและอาจไม่สม่ำเสมอ ขี้ร้อน(ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่หิวบ่อย หรืออาจกินจุกว่าเดิม เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก แต่ในคนแก่บางคนกลับกินได้น้อยลง ผู้ป่วยมักมีลักษณะลุกลี้ลุกลน หรืออาจหงุดหงิดโมโหง่าย บางคนถ่ายเหลวบ่อย อาจพบประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติได้

  12. การรักษา • แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยาต้านไทรอยด์ในขนาดสูง เพื่อกดการทำงานของต่อมไทรอยด์ จนกว่าอาการจะดีขึ้น คือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นปกติ เหนื่อยน้อยลง ชีพจรเต้นช้าลง แล้วจึงค่อยๆ ลดปริมาณยาลงทีละ 1 - 2 เม็ด แพทย์จึงจะพิจารณาหยุดยา ซึ่งในระหว่างการรักษานี้ แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการ หรือดูระดับฮอร์โมนไทร็อกซินเป็นระยะๆ ผลการรักษาบางรายจะหายขาด แต่บางรายอาจมีอาการกำเริบใหม่ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง

  13. โรคชีแฮน

  14. โรคชีแฮน • โรคชีแฮน เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก พบในผู้หญิงที่มีประวัติตกเลือดรุนแรง หรือเป็นลมขณะคลอดบุตร ทำให้ต่อมใต้สมองขาดเลือด เซลล์บางส่วนตายไป เกิดภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย (hypopituitarism) พลอยทำให้ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมนี้ไม่ทำงานไปด้วย ทำให้มีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (124) ร่วมกับอาการของโรคแอดดิสัน (126) ขาดประจำเดือน และเป็นหมัน

  15. อาการ • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย ทำงานเชื่องช้า คิดช้า ขี้หนาว ซีด หน้าตาดูแก่เกินวัย ผิวหนังหยาบแห้ง วิงเวียน ความดันเลือดต่ำ ขนรักแร้และขนในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ร่วง ประจำเดือนไม่มา เป็นหมัน    บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร ซูบผอม

  16. การรักษา • หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล • อาจต้องตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ • การรักษา ให้ฮอร์โมนไทรอยด์ (เช่น ยาสกัดไทรอยด์ หรือ เอลทร็อกซิน) และ ไฮโดรคอร์ติโซน แบบเดียวกับที่ใช้รักษาต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและโรคแอดดิสัน โดยต้องกินยาไปจนตลอดชีวิต • ในรายที่ยังต้องการมีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้รังไข่ทำงาน

  17. โรค เบาจืด(Diabetes Insipidus)

  18. ลักษณะทั่วไป เบาจืด เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเก็บรักษาสมดุลของน้ำ ในร่างกาย ทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะออกบ่อยและมากและกระหายน้ำมากคล้ายโรคเบาหวาน แต่ปัสสาวะจะมีรสจืด จึงเรียกว่า เบาจืด โรคนี้พบได้น้อยมาก พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  19. สาเหตุ เกิดจากต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะที่มีชื่อว่า เอดีเอช(ADH ซึ่งย่อมาจาก antidiuretic hormone)ได้น้อยกว่าปกติ ฮอร์โมนนี้มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายเก็บกักน้ำ โดยยับยั้งไม่ให้ไตขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ก็จะมีการขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติในสมอง หรือเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้ ผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติของไต ผลจากการใช้ยาบางชนิด (เช่น ลิเทียม, เมทิซิลลิน) เป็นต้น ก็อาจทำให้ไตไม่ตอบสนองต่อฤทธิ์ของฮอร์โมนเอดีเอช (ทั้งๆที่ต่อมใต้สมองสร้างได้เป็นปกติ) ทำให้มีการขับปัสสาวะออกมาก

  20. อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกบ่อยและมาก กระหายน้ำและดื่มน้ำมาก ชอบดื่มน้ำเย็นมากเป็นพิเศษ ปากมักจะแห้งอยู่เสมอจะมีอาการอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน แม้นอนหลับตอนกลางคืนก็มักจะลุกขึ้นมาปัสสาวะและดื่มน้ำคืนละหลายครั้ง ผู้ป่วยมักถ่ายปัสสาวะวันละเกิน 5 ลิตร (ถ้าเป็นรุนแรงอาจมากถึงวันละ 20 ลิตร) ปัสสาวะมักจะไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและมีรสจืด อาการแทรกซ้อน ถ้าดื่มน้ำได้ไม่เพียงพอ อาจเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงจนช็อกหรือหมดสติ หรือเกิดภาวะโซเดียมในเลือดสูง (hypematremia) ได้

  21. การรักษาและแนวทางการป้องกันการรักษาและแนวทางการป้องกัน • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายต้องสูญเสีย  • อาหาร ควรเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะอาหารที่เค็มจัดจะมีเกลือมาก ร่างกายจะขับเกลือออกทางไตและออกมากับปัสสาวะ เป็นเหตุให้ร่างกายถูกดึงน้ำออกไป   • ควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการปัสสาวะ บันทึกความถี่และปริมาณคร่าวๆของปัสสาวะเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและติดตามผลการรักษา • รักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ

  22. ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

  23. ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ(ค่าปกติประมาณ 8.5 - 10.5 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มล.)เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก อาจพบได้ทั้งในทารกและผู้ใหญ่

  24. สาเหตุ • 1. ในผู้ใหญ่ส่วนมาก มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (เช่น ผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์โตมาก)แล้วตัดเอาต่อมพาราไทรอยด์ออกไปด้วย จึงทำให้เกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypoparathyroidism)ก็ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ • 2. ในทารกแรกเกิด ถ้ามีอาการภายใน 2-3 วัน หลังคลอด อาจมีสาเหตุจากการให้ทารกกินนมวัวระเหย, ทารกที่มีแม่เป็นเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์

  25. อาการ • ที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการมือจีบเกร็งทั้งสองข้าง แบบเดียวกับที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบจากอารมณ์นอกจากนี้อาจเป็นตะคริวที่ขา ใบหน้า หรือปวดบิดในท้อง บางคนอาจมีความรู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น และปลายมือปลายเท้าถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชัก ในทารก อาจมีอาการชัก หายใจลำบาก ตัวเขียวบางคนอาจมีอาการอาเจียน (ซึ่งอาจรุนแรงจนเข้าใจผิดว่ามีภาวะกระเพาะลำไส้อุดตัน)

  26. การดูแลตัวเอง • หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ในรายที่มีประวัติการผ่าตัดต่อม อาจให้การรักษาเบื้องต้น ด้วยการฉีดแคลเซียมกลูโคเนต 10 มล. เข้าหลอดเลือดดำช้า ๆ ซึ่งจะช่วยให้หายชักเกร็งทันที ควรจะเจาะเลือดตรวจดูระดับแคลเซียม และทำการตรวจหาสาเหตุ • อาจต้องให้ผู้ป่วยกินเกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมกลูโคเนต เป็นประจำทุกวันในรายที่เกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย อาจให้กินวิตามินดี เช่น แคลซิเฟอรอล (Calciferol) ร่วมด้วยเป็นประจำทุกวัน บางคนอาจมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำชั่วระยะหนึ่ง และอาจหายได้เองแต่บางคนก็อาจเป็นถาวร ซึ่งต้องคอยกินยารักษาตลอดไป

  27. โรคแอดดิสัน

  28. สาเหตุ • ภาวะพร่องฮอร์โมนสเตอรอยด์เรื้อรัง เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก พบมากในคนอายุ 30-50 ปี เป็นโรคที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง • เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากต่อมหมวกไตชั้นนอกถูกทำลายหรือฝ่อ เนื่องมาจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน อาจพบร่วมกับต่อมไทรอยด์อักเสบ , ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย , เบาหวาน , ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น ส่วนน้อยอาจเกิดจากเป็นวัณโรคของต่อมหมวกไต หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากที่อื่น (เช่น ปอด, เต้านม) โรคติดเชื้อราของต่อมหมวกไต เป็นต้น

  29. อาการ • อาการเบื่ออาหารน้ำหนักลด (ผอมลง) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจมีอาการท้องเสียบ่อย ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ในผู้หญิงอาจมีอาการขาดประจำเดือน บางคนผิวหนังอาจมีรอยด่างขาวร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตต่ำ ทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียนเวลาลุกขึ้นเร็ว ๆ ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์อ่อนไหว ซึมเศร้า หรือมีอาการของโรคจิต

  30. การดูแลรักษา 1. ผู้ป่วยควรกินอาหารให้เค็มจัด เพราะต้องการเกลือโซเดียมมากขึ้น และควรกินอาหารพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล) ให้มาก ๆ ควรกินบ่อยมื้อกว่าปกติ 2. โรคนี้มีทางรักษาให้มีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติ แต่ต้องกินยาทุกวัน อย่าได้ขาด 3. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือมีอาการไม่สบายอื่น ๆ ควรรีบหาหมอ อาจต้องเพิ่มขนาดของยาไฮโดรคอร์ติโซน ในช่วงที่ไม่สบาย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงานเฉียบพลัน

  31. บรรณานุกรม • http://student.nu.ac.th/bigger/Show_syn.asp?id_d=d126 • http://www.wikipedia.co.th • http://bit.ly/N1D002

  32. สมาชิกกลุ่มที่ 9 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 1.นางสาว นวพรรษ บุญเกิด เลขที่ 8ก (หาข้อมูล,ทำ ppt) 2.นางสาว วรลักษณ์ ชุ่มชูจันทร์ เลขที่ 13ก (หาข้อมูล,ทำ ppt) 3.นางสาว จีระวรรณ น้อยโสภา เลขที่ 5ข(หาข้อมูล,ทำ ppt)

More Related