1 / 20

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง. การอันใด ๆ หากเป็นเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง (ม. 22) การใด ๆ ซึ่งเป็นการต้องทำ เองเฉพาะตัว (ม. 23) การใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพ (ม. 24) การทำพินัยกรรม (ม. 25)

Download Presentation

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง • การอันใด ๆ หากเป็นเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง (ม. 22) • การใด ๆ ซึ่งเป็นการต้องทำ เองเฉพาะตัว (ม.23) • การใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพ (ม.24) • การทำพินัยกรรม (ม.25) • ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สิน (ม.26) • การใดๆ อันมีความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงาน ซึ่งผู้เยาว์ได้รับอนุญาต (ม.27)

  2. 1. การอันใด ๆ หากเป็นเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือพ้นซึ่งหน้าที่อันใด (ม. 22) • 1. การอันใดที่ผู้เยาว์มีแต่ได้มาซึ่งสิทธิ เช่น การรับการให้โดยเสน่หา การรับมรดก การรับโอนสิทธิอันหนึ่งอันใด • 2. การอันใดเพื่อให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น เจ้าของบ้านเช่าปลดหนี้ค่าเช่าที่ผู้เยาว์ค้างชำระ • การหลุดพ้นหน้าที่อันใดอันหนึ่งต้องเป็นการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ผู้เยาว์จะต้องไม่มีหน้าที่หรือเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ ถ้ามีหน้าที่หรือเงื่อนไขก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน

  3. ตัวอย่างปัญหา มีผู้ให้รถจักรยายนต์แก่ผู้เยาว์ แต่ผู้เยาว์จะต้องชำระราคาที่ยังชำระไม่ครบกับผู้ขายเอง เช่นนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือไม่ ?

  4. 2. การใดๆซึ่งผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ม.23 • เช่น การรับรองบุตร การหมั้น การสมรส

  5. 3. การใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (ม.24) • ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ กล่าวคือ • เป็นกิจการที่สมควรแก่ฐานานุรูปแห่งตน และ • เป็นเรื่องที่เหมาะสมแก่ฐานะ • เป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร • เช่น อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค (ปัจจุบันอาจจะมีปัจจัย 5 เช่น การศึกษา การสมาคม)

  6. 4. การทำพินัยกรรม (ม.25) • ผู้เยาว์สามารถทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 25 โดยไม่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะ พินัยกรรมที่ผู้เยาว์ทำในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์มีผลเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1703

  7. 5.ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สิน (ม.26) • มาตรา 26 “ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบเขตของการที่ระบุไว้นั้นก็ได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร”

  8. การอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์แบ่งเป็นสองกรณี คือ • การอนุญาตโดยระบุเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่ง เช่นนี้ ผู้เยาว์ต้องทำการจำหน่ายทรัพย์สินหรือทำนิติกรรมในเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์นั้น ฝ่าฝืน ก็เป็นโมฆียะ • การอนุญาตที่มีลักษณะทั่วไป กล่าวคือ ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตโดยมิไดระบุเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ไว้ เช่นนี้ ผู้เยาว์ย่อมมีอำนาจทำได้ตามใจชอบ

  9. 6. การใดๆ อันมีความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงาน (ม.27) • มาตรา 27 “ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้…” • “การประกอบธุรกิจทางการค้า” หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นปกติ เพื่อหากำไร เช่น ประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม • “การประกอบธุรกิจอื่น” หมายถึง การประกอบธุรกิจทางด้านบริการ และรวมทั้งการประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น ทนาย แพทย์ วิศวกรรม บัญชี เป็นต้น

  10. การอนุญาต มีผลทำให้ผู้เยาว์นั้นมีฐานะเสมือนหนึ่งผู้บรรลุนิติภาวะในเรื่องที่เกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานนั้น

  11. กิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อนกิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อน • มาตรา 1572 “ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้” • ผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาคือ บุตรผู้เยาว์ • เฉพาะสัญญาที่ผู้เยาว์จะต้องทำเอง เช่น การร้องเพลง การเล่นละคร การแสดงภาพยนตร์ วาดภาพ การแสดงดนตรีเป็นต้น

  12. กิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อนกิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อน • มาตรา 1572 “ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้” • ถ้าผู้เยาว์ จะทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอกด้วยตนเอง ก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน • ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมจะทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอกแทนบุตร ต้องได้รับความยินยอมจากบุตร เช่นเดียวกัน เพราะผู้ต้องปฏิบัติตามสัญญาคือ บุตร

  13. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นิติกรรมตามมาตรา 1574 ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล ก่อนที่จะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้(รวมทั้งให้ความยินยอมด้วย) ได้แก่ • ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์ได้รับมรดกจากปู่

  14. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นิติกรรมตามมาตรา 1574 ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล ก่อนที่จะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้(รวมทั้งให้ความยินยอมด้วย) ได้แก่ • กระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมสละสิทธิอาศัยที่ผู้เยาว์มีสิทธิในที่ดินของลุง

  15. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นิติกรรมตามมาตรา 1574 ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล ก่อนที่จะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้(รวมทั้งให้ความยินยอมด้วย) ได้แก่ • ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านเดินผ่านที่ดินของผู้เยาว์

  16. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • จำหน่ายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะยกส่วนแบ่งในกองมรดกของผู้เยาว์ที่จะได้รับจากปู่ ให้แก่ญาติคนอื่น

  17. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะนำที่ดินของผู้เยาว์ให้บุคคลอื่นเช่า • ก่อข้อผูกพันใดๆที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) ) หรือ(3) • ให้กู้ยืม • ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคมหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์

  18. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา • ประกันด้วยประการใดๆอันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้ชำระหนี้ของบุคคลอื่น หรือแทนบุคคลอื่น เช่น การค้ำประกัน

  19. นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นำทรัพย์สินไปแสวงหาประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ(3) • ประนีประนอมยอมความ คือ การทำสัญญาระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้น หรือมีขึ้นต่อกัน เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญายอมความแบ่งมรดกของผู้เยาว์กับ ลุง ป้า น้า อา ของผู้เยาว์ • มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

  20. ข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตรา 1574 • ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 1574 (การไม่ขออนุญาตศาล) นิติกรรมนั้นๆไม่ผูกพันผู้เยาว์ แต่ผูกพันผู้แทนโดยชอบธรรม

More Related