540 likes | 1.01k Views
แนวคิดในการบริหารยุคใหม่. การพัฒนาองค์การ (Organization Development). การพัฒนาองค์การเป็นการางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นแกนนำ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
E N D
แนวคิดในการบริหารยุคใหม่แนวคิดในการบริหารยุคใหม่
การพัฒนาองค์การ (Organization Development) • การพัฒนาองค์การเป็นการางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นแกนนำ • วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ • เพื่อพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่วกับสภาพงานในทุก ๆ ลักษณะเสมอ • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร โดยการคัดค้นหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ • เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหา เห็นประโยชน์ร่วมกัน • เพิ่มพูนสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง • ส่งเสริมให้ทุกระดับได้วางแผนปฏิบัติงาน โดยถือเป้าหมายเป็นหลัก • เพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจ ไว้วางใจกันระหว่างสมาชิกในองค์การ • สร้างระบบสื่อสารแบบเปิด ให้สมาชิกในองค์การติดต่อกันเข้าใจกันทุกวิถีทาง
หลักในการพัฒนาองค์การหลักในการพัฒนาองค์การ • มุ่งกระทำต่อองค์การเป็นส่วนรวม • เน้นการพัฒนาองค์การให้ใหม่อยู่เสมอ • ลดความขัดแย้งภายในและภายนอกองค์การ • ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในการแก้ปัญหา • ยึดถือวิธีการทำงานเป็นทีม • สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในมวลสมาชิก • ให้โอกาสแก่สมาชิกในการช่วยกันแก้ปัญหา • สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ • ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจ ให้เห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์การ • ขั้นที่ 2 การรวบรวมปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา จุดอ่อน • ขั้นที่ 3 วางแผนเพื่อพัฒนาองค์การ เน้นทีมงาน สร้างขวัญกำลังใจ • ขั้นที่ 4 สร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์การ เป็นทีมร่วมกันคิดร่วมกันทำ ลดทิฐิ อิจฉา สร้างความรู้สึกที่ดีในการทำงาน • ขึ้นที่ 5 การสอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์การ เริ่มจากแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถ มี 4 ขั้นตอนคือ • กำหนดข้อตกลงและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง เน้นสมาชิก • เลือกเวลาสถานที่และวิธีปฏิบัติงาน เลือกหัวหน้าทีมที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน ที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ • รวบรวมข้อมูล จากการสังเกต สัมภาษณ์ ฯลฯ • สอดแทรกกิจกรรม เช่น การประชุม หรือให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม
ข้อควรคิด ในการพัฒนาองค์การ • การพัฒนาองค์การจะได้ผล อยู่ที่ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้า • ระบบค่านิยมทางสังคม ของไทยยังถือตัวถืออาวุโสเกรงใจกันอยู่ • การพัฒนาองค์การ จำเป็นมากที่จะต้องได้ผู้มีหน้าที่ในการดำเนินงาน เข้าใจบทบาทอย่างแท้จริง ลึกซึ้ง ปราศจากอคติ จริงใจ • พฤติกรมของคนหรือกลุ่ม เป็นตัวการสำคัญ มักขาดความจริงใจ รวมตัว ฉวยโอกาส แสวงหาผลประโยชน์ ปากกับใจไม่ตรงกัน อาฆาตริษยา
2. การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์Management by Objective • เทคนิคการบริหารงานที่ให้โอกาสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การและให้ทุกคนปฏิบัติงานโดยยึดวัตถุประสงค์ละเป้าหมายขององค์การเป็นหลัก • แนวความคิดของ MBO • แนวคิดที่ว่า “วัตถุประสงค์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการบริหารงาน” • แนวคิดเรื่อง “การนำวัตถุประสงค์มาใช้ควบคุมงาน” ให้มีประสิทธิภาพ • แนวคิดที่ว่า “ความต้องการเป็นวัตถุประสงค์ของมนุษย์”
หลักการสำคัญของ MBO • การกำหนดให้มีเป้าหมาย ภารกิจ และกิจกรรม หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การ ของทุกส่วนงาน และของทุกคนอย่างชัดเจน • การกำหนดให้มีการวางแผนและควบคุมโดยมีการประสานงานที่สอดคล้องกัน • การให้สมาชิกทุกระดับ มีส่วนในการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน • การใช้เป้าหมายเป็นเครื่องมือควบคุม ประเมิน และวัดผลการปฏิบัติงานขององค์การ งาน และ ตัวบุคคล • พยายามใช้การวัดผลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์การ
กระบวนการของ MBO หรือขั้นตอนเป็นขั้น ๆ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักขององค์การ และเป้าหมายของส่วนงานลดหลั่นไปตามสายบังคับบัญชา ให้ผู้บังคับบัญชาและลูกนองร่วมกันพิจารณาวางโครงการ แผนการปฏิบัติงาน เรียงลำดับความสำคัญของงาน รวมทั้งกำหนดทรัพยากร เวลา และมาตรฐานในการปฏิบัติ เป้าหมาย ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับผลงานที่ต้องกระทำ มาตรฐานในการปฏิบัติ กำหนดเกณฑ์กลางเพื่อใช้วัดผลงาน ขั้นที่ 2 การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้อิสระเต็มที่ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ ขั้นที่ 3 การตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงงานอย่างมีระบบ ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบ ทบทวน ไม่ใช่จับผิด ขั้นที่ 4 วัดและประเมินค่าโดยเน้นที่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีผู้ประเมิน ผู้ถูกประเมิน มุ่งพัฒนาศักยภาพ เน้นความสำเร็จ ใช้เป้าหมายและผลงานเป็นตัวประเมิน
4. วัดและประเมินค่าโดยเน้นที่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 3. ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงงานอย่างมีระบบ 2. มอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ • กำหนดวัตถุประสงค์ • และวางแผนร่วมกัน
ประโยชน์ของ MBO • เป็นกระบวนการทำให้บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการมีส่วนร่วม • ส่งเสริมให้เกิดการประสานงานระหว่างกันอย่างมีระบบ เกิดความผูกพัน มีขวัญที่ดี • มีวิธีวัดและประเมินผลที่ยุติธรรม • สามารถประเมินงบประมาณที่ได้ใช้จ่ายไปในแต่ละหน่วยงานได้ • เป็นเครื่องช่วยให้การพัฒนาบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ MBO ประสบความสำเร็จ • ผู้บริหารทุกระดับ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ต้องกระจายอำนาจ • ระบบข้อมูลป้อนกลับ ถูกต้อง เพียงพอ ทุนกาล ทันสมัย • ตัวผู้ปฏิบัติงาน ต้องยอมรับการทำงานเป็นทีมที่ดี
3. กลุ่มพัฒนาคุณภาพQuality Control Circle • หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือพนักงานในองค์การ รวมตัวกันตั้งแต่ 3 – 15 คน เพื่อทำกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาในการทำงาน ปรับปรุงงาน และพัฒนางานหรือผลผลิตให้มีคุณภาพเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ใช้บริการ • ปรัชญาหรือแนวคิดพื้นฐาน • เชื่อว่าสมาชิกทุกคนในองค์การมีส่วนช่วยพัฒนาองค์การได้ • เชื่อว่าสมาชิกทุกคนสามารถสร้างคามสุขในชีวิตการทำงานของตนได้ • เชื่อว่าสมาชิกทุกคนมีความสามารถในการพัฒนาองค์การได้
หลักการในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม QCC 4 ขั้นตอนคือ • การวางแผน • การดำเนินการตามแผน • การตรวจสอบและประเมินผลการแก้ปัญหา • การปรับปรุงแก้ไขแล้วนำผลไปปฏิบัติ วงจร Demming A P C D
เทคนิคการค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ด้วยแผนภูมิก้างปลา
4. การพัฒนาคุณภาพรวม Total Quality Control • มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ • เริ่มการวางแผนที่ดี • ยึดหลักความพอใจของลูกค้า • นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ • จัดระบบการประสานงานที่ดี • มุ่งการบริหารตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน • สร้างกลไกระบบประกันคุณภาพ • กำหนดให้สมาชิกทุกคนสังกัดกลุ่มพัฒนาคุณภาพ QC
5. ระบบการให้ข้อเสนอแนะSuggestion System • สังคมไทยมักมองผู้ให้ข้อเสนอแนะว่า “ตัวแสบ” หรืออ้างว่าข้อเสนอของคุณดีมาก แล้วเก็บไว้ ไม่นำมาพิจารณา • หลักการของระบบการให้ข้อเสนอแนะ • องค์การเปิดโอกาสให้ทุกคนเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์การ • องค์การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์การ • องค์การสนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคลากร • เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของกลุ่มพัฒนาคุณภาพ QC
6. การรีเอนจีเนียริ่งReengineering • หมายถึง การรื้อและรวมทั้งปรับระบบองค์การ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ให้เกิดประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน คือ การลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพของผลผลิต บริการ และความรวดเร็ว • หลักการ • ต้องไม่ยึดติดกับหลักการเก่า ๆ และแนวคิดเดิม • ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมด • ต้องเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร • ต้องเน้นกระบวนการทำงานโดยใช้บุคลากรน้อยที่สุด • ต้องนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในกระบวนการทำงาน • ต้องกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน • ต้องจัดสายบังคับบัญชาให้สั้น แบบแนวราบ • ต้องเน้นการให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน
กระบวนการ Reengineering • ขั้นระดมพลัง 1) สร้างรูปแบบใหม่ของกระบวนการธุรกิจ 2) กำหนดทีมงานรับผิดชอบการ Reengineering3) กำหนดยุทธศาสตร์ 4) ให้ความสำคัญในกระบวนการ Reengineering • ขั้นวิเคราะห์ 1) กำหนดขอบเขตและทิศทางของธุรกิจ 2) ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ 3) ศึกษากระบวนการบริหารและจัดการในปัจจุบัน 4) ค้นหาจุดอ่อนของระบบปัจจุบัน 5) กำหนดเป้าหมายของระบบใหม่ • ขั้นออกแบบกระบวนการธุรกิจใหม่ 1) กำหนดแนวคิดของกระบวนการบริหารและจัดการใหม่ 2) ออกแบบระบบงานใหม่ 3) พัฒนารายละเอียดของระบบงานใหม่ 4) ทดสอบระบบงานใหม่ 5) ประเมินผลระบบงานใหม่ • ขั้นนำไปใช้ 1) ทดลองนำระบบงานใหม่ไปใช้โดยโครงการนำร่อง 2) ประเมินผลโดยการนำร่อง 3) ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานให้ดียิ่งขึ้น 4) ปรับปรุงและพัฒนาระบบสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ 5) นำระบบงานใหม่มาใช้จริง
7/ ไตเซ็น KAIZEN • การค่อย ๆ ปรับปรุงงานในทุก ๆ ด้าน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดเวลา โดยให้โอกาสสมาชิกมีส่วนร่วม • เป้าหมาย 1. ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2. คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น 3. ต้นทุนลดลง 4. ประหยัดเวลา 5. เพิ่มความปลอดภัย 6. เพิ่มขวัญกำลังใจ • วิธีดำเนินการไคเซ็น 1 ศึกษาสังเกต เพื่อค้นหาปัญหาตามเป้าหมายขององค์การ 2 สืบสวนและตรวจตราสภาพการณ์ในปัจจุบัน 3 ออกแบบความคิดเมื่อแก้ไขปัญหาตามเป้าหมายขององค์การ 4 สะสางการจัดระบบงาน 5 ทดลองปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา 6 ติดตามผล 7 สรุปผล และทำรายงานพร้อมข้อเสนอแนะ
8. การจัดการคุณภาพรวม Total Quality Management • เป็นการจัดการปรับปรุงกิจการใหม่ทั้งหมดภายในองค์การทั้งผลผลิตและกระบวนการผลิต โดยเน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้า มีลักษณะดังนี้ • เน้นให้เกิดภาพลักษณ์ของคุณภาพสินค้าหรือบริการ • ให้ความสำคัญของลูกค้าทั้งภายนอกและภายในองค์การ • ใช้ระบบการทำงานเป็นทีม • ให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม • เป็นนโยบายและแผนขององค์การ • สร้างอุปกรณ์และกระบวนการในการแก้ไขปัญหา • มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • จัดการศึกษาและฝึกอบรมให้บุคคลากรอย่างสม่ำเสมอ
หลักสำคัญของการ TQM คือ • การรับฟังลูกค้าและหาทางตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า • คณะผู้บริหารยึดมั่นในเรื่องการจัดการคุณภาพรวมและให้ทุกคนมีส่วนร่วม • สมควรเน้น 3 เรื่อง คือ • ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร • ความสัมพันธ์ของบุคลากร • อุปกรณ์และกระบวนการแก้ไขปัญหาพร้อม
9. แฟ้มสะสมงานPortfolio • เป็นแฟ้มที่รวบรวมบรรดาผลงานของบุคลากรในองค์การ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลงาน ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ การจ่ายโบนัส การเลื่อนตำแหน่ง การลดตำแหน่ง • แฟ้มสะสมงานจะประกอบด้วย (ในแฟ้มมีอะไรบ้าง?) • สารบัญเนื้อหาสาระในแฟ้ม • วัตถุประสงค์ • เนื้อหาสาระของผลงาน • การวัดและประเมินผลงาน • ภาคผนวกและแหล่งอ้างอิง
10. นวัตกรรม 5’ ส • สะสาง Seiri เซริ เป็นวิธีการตรวจสอบสภาพการปฏิบัติงานทั้งกระบวนการปฏิบัติและผลการปฏิบัติ • สะดวก Seiton เซตง เป็นวิธีจัดระบบงานให้ง่าย โปร่งใส รวดเร็ว ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ • สะอาด Seiso เซโซ เป็นวิธีจัดระบบงานให้สะอาด ดูงามตา • สุขลักษณะ Seiketsu เซเกทสึ เป็นวิธีจัดระบบงานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อถนอมและรักษาทรัพยากรบุคคลสุขภาพกายใจดี • สร้างนิสัย Shitsuke ชิสึเกะ เป็นวิธีจัดระบบงานเพื่อสร้างนิสัย เช่นให้พนักงานสวมหมวกนิรภัย
11. ระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISOInternational Organization for Standardization • 9001 เป็นอนุกรมมาตรฐานของการออกแบบ การดำเนินการผลิตหรือการบริหาร • 9002 เป็นอนุกรมมาตรฐานของการดำเนินการผลิตสินค้าหรือการบริการ (ไม่รวมการออกแบบ) • 9003 เป็นอนุกรมมาตรฐานของการตรวจสอบสินค้าหรือบริการ • 9004 เป็นอนุกรมมาตรฐานในการบริหารงาน • 14000 เป็นอนุกรมมาตรฐานว่าด้วยการจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม • 18000 เป็นอนุกรมมาตรฐานว่าด้วยระบบการจัดการอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย