1 / 89

กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ. จัดทำโดย นางดารารายณ์ พรหมพื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์. ตลาดในระบบเศรษฐกิจ. ความหมายของตลาด. 1. สถานที่ที่มีผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายกัน เช่น ตลาดสระทอง ตลาดพรรณวี ตลาดทุ่งเจริญ

faolan
Download Presentation

กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ จัดทำโดย นางดารารายณ์ พรหมพื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์

  2. ตลาดในระบบเศรษฐกิจ

  3. ความหมายของตลาด 1. สถานที่ที่มีผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายกัน เช่น ตลาดสระทอง ตลาดพรรณวี ตลาดทุ่งเจริญ 2. การติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายในทางใดทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ทางโทรศัพท์ โทรสาร internet

  4. ความสำคัญของตลาด 1. ช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ช่วยลดความสินเปลืองทรัพยากรผลิตสินค้าที่เกินความต้องการ 2. ช่วยให้ผู้บริโภคมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น 3. ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากตลาดมีการจ้างงาน

  5. ขนาดของตลาด ตลาดจะมีอาณาเขตหรือขอบข่ายกว้างขวางขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้ 1. การคมนาคมและการสื่อสาร 2. ลักษณะของสินค้า สินค้าที่เน่าเสียง่าย น้ำหนักมาก การเคลื่อนย้ายยากตลาดจะแคบ 3. นโยบายของรัฐ ประเทศที่มีการเปิดประเทศ นโยบายการค้าเสรีตลาดสินค้าจะกว้างขวาง

  6. คนกลางในตลาด การซื้อขายในตลาดทั้งซื้อขายโดยตรงและซื้อขายผ่านคนกลาง ซึ่งพ่อค้าคนกลางมีหลายระดับ เช่น พ่อค้าคนกลางในตลาดท้องที่ ในตลาดท้องถิ่น ในตลาดปลายทางเพื่อส่งจำหน่ายในต่างประเทศ พ่อค้าขายปลีก เป็นผู้ขายสินค้าแก่ผู้บริโภคคนสุดท้าย เป็นคนกลางที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด ผู้ผลิต+ พ่อค้าคนกลาง + พ่อค้าคนกลาง + พ่อค้าคนกลาง + พ่อค้าคนกลาง + พ่อค้าคนกลาง + พ่อค้าขายปลีก + ผู้บริโภค ยิ่งมีพ่อค้าคนกลางหลายต่อสินค้ายิ่งมีราคาแพงขึ้น

  7. ประเภทของตลาด 1. แบ่งตลาดตามชนิดของสินค้า 1.1 ตลาดสินค้าเกษตร 1.2 ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม 1.3 ตลาดสินค้าบริการ 2. แบ่งตลาดตามลักษณะการขายสินค้า 2.1 ตลาดขายส่ง (พ่อค้ากับพ่อค้า) 2.2 ตลาดขายปลีก (พ่อค้ากับลูกค้า)

  8. ประเภทของตลาด (ต่อ) 3. แบ่งตลาดตามวัตถุประสงค์ของการใช้สินค้า 3.1 ตลาดสินค้าผู้บริโภค เป็นตลาดที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าไปบริโภคโดยตรง เช่น เสื้อผ้า 3.2 ตลาดสินค้าผู้ผลิต เป็นตลาดที่ผู้ซื้อนำไปใช้ในการผลิตอีกทอดหนึ่ง มักอยู่ในรูปวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน 3.3 ตลาดเงินและตลาดทุน เป็นตลาดที่มีการระดมทุนและให้กู้ยืมระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ส่วนตลาดทุนเป็นตลาดที่มีการระดมทุนและให้กู้ยืมระยะยาวเกิน 1 ปี

  9. ประเภทของตลาด (ต่อ) 4. แบ่งตลาดตามลักษณะของการแข่งขัน 4.1 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ 4.2 ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

  10. 4.1 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์(perfectly competitive market) ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเต็มที่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นผลให้ราคาสินค้า หรือปริมาณซื้อขายถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ลักษณะสำคัญของตลาด 1. มีผู้ซื้อ และผู้ขายจำนวนมาก 2. สินค้าที่ขายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ 3. ปัจจัยการผลิตทุกชนิดเคลื่อนย้ายได้โดยเสรี 4. การเข้า ออกจากการแข่งขันในตลาดทำได้อย่างเสรี 5. ผู้ซื้อ และผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพของตลาดอย่างสมบูรณ์

  11. ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ 1. ด้านการผลิต ผู้ผลิตจะทำการผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด การแข่งขันเป็นการกระตุ้นให้มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขัน 2. ด้านการบริโภค ผู้บริโภคจะได้รับความพอใจสูงสุดในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าในราคาที่ต่ำที่สุด 3. ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายรายได้ค่อนข้างเสมอภาค โดยผู้ผลิตจะไม่ได้กำไรเกินควร และผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าในราคาที่สมเหตุสมผล ผู้ผลิตปรับปรุงการผลิตอยู่เสมอ

  12. ข้อเสียของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ข้อเสียของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ 1. ในระยะยาวผู้ผลิตจะได้กำไรน้อยมากหรือได้เพียงเท่าทุนเท่านั้น ตลาดนี้จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาพของความเป็นจริง เนื่องจากไม่มีกำไรเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ผลิตเข้ามาผลิตสินค้าในตลาด 2. ไม่มีการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตอย่างแท้จริง จากการแข่งขันของผู้ผลิตในตลลาด เพื่อที่จะลดต้นทุน แต่ผู้ผลิตแต่ละรายมีความสามารถไม่เท่ากัน ทำให้ผู้ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการน้อยที่ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ อาจประสบปัญหาการขาดทุน ต้องเลิกกิจการไปในที่สุด ทำให้ไม่มีการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตอย่างแท้จริง

  13. ข้อเสียของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ข้อเสียของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ 3. ผู้ผลิตมักไม่มีการลงทุนจำนวนมากหรือการลงทุนขนาดใหญ่ เนื่องจากการผลิตมีกำไรน้อยจึงไม่มีแรงจูงใจให้ผู้ผลิตใช้เงินจำนวนมากในการผลิตและการพัฒนาสินค้า ทำให้สภาพการลงทุนใหม่ ๆ มีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่น ๆ

  14. 4.2 ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์(imperfectly competitive market) ตลาดที่หน่วยผลิตสามารถกระทำการบางอย่างเพื่อควบคุมราคาผลผลิตของตนได้ หรือเป็นผู้กำหนดราคา (price maker)ได้ ลักษณะสำคัญของตลาด 1. มีผู้ขายจำนวนไม่มาก 2. สินค้าที่ขายมีลักษณะแตกต่างกัน 3. การเข้า ออกจากการแข่งขันในตลาดทำได้ยาก 4. ผู้ซื้อ และผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพของตลาดไม่สมบูรณ์

  15. 4.2.1 ตลาดผูกขาด (monopoly market) ลักษณะของตลาด • มีผู้ขายรายเดียว หรือกลุ่มเดียว • สินค้ามีลักษณะเป็นเอกภาพ • ผู้ผูกขาดสามารถกำหนดราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด • ผู้ขายสามารถกีดกันผู้ขายรายอื่นได้ การผูกขาดในตลาด แบ่งเป็น1. การผูกขาดโดยกฎหมาย2. ผูกขาดโดยความสามารถเฉพาะด้าน

  16. 4.2.2 ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition market) ลักษณะของตลาด 1. มีผู้ขายจำนวนมาก 2. สินค้ามีลักษณะต่างกันเล็กน้อย แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ดี 3. ผู้ขายไม่สามารถกีดกันผู้ขายรายอื่นได้

  17. 4.2.3 ตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly market) ลักษณะของตลาด 1. มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป 2. สินค้ามีลักษณะต่างกันเล็กน้อย แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ดี 3. มีการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา (non-price competition)

  18. ตาราง แสดงโครงสร้างตลาดตามลักษณะของการแข่งขัน

  19. กลไกราคา

  20. กลไกราคา การเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน

  21. ความสำคัญของกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจความสำคัญของกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้ผลิต กล่าวคือ 1. ถ้าเมื่อใดที่ระดับราคาสินค้าสูงมาก แสดงว่า ความต้องการของผู้บริโภคมีมาก ทางผู้ผลิตจะดำเนินการผลิตสินค้าและบริการเพิ่ม ทำให้ปริมาณสินค้าในตลาดเพิ่มขึ้น และระดับราคาสินค้าก็จะลดลง 2. ถ้าเมื่อใดที่ระดับราคาสินค้าต่ำมาก แสดงว่าสินค้านั้นมีปริมาณเกินความต้องการของผู้บริโภค ทางผู้ผลิตก็จะดำเนินการลดปริมาณการผลิตลง ระดับราคาสินค้าก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น กลไกราคาจึงอาศัยกระบวนการทำงานของอุปสงค์และอุปทานของสินค้าแบริการในระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

  22. อุปสงค์

  23. อุปสงค์(Demand) หมายถึงปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการสามารถซื้อสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าและบริการชนิดนั้น

  24. เส้นอุปสงค์และกฎของอุปสงค์เส้นอุปสงค์และกฎของอุปสงค์ การซื้อสินค้าแบริการของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการนั้น ๆ การศึกษาเรื่องของอุปสงค์เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

  25. กฎแห่งอุปสงค์(LawofDemand) - ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อย่อมแปรผกผัน (inverserelation) กับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น - จากกฎนี้แสดงว่า ถ้าราคาลดลง ปริมาณความต้องการซื้อก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาเพิ่มขึ้นปริมาณความต้องการซื้อก็จะลดลง

  26. ตัวอย่าง Law of Demand ถ้าราคาน้ำมันราคาแพง คนขับรถยนต์ย่อมไม่ต้องการซื้อน้ำมัน และไม่ต้องการเดินทางออกไปไหนมาไหน เปรียบเทียบกับในช่วงระดับราคาน้ำมันถูกๆ ## การที่ผู้บริโภคมีความต้องการเปลี่ยนแปลงตรงกันข้ามกับระดับราคาที่เปลี่ยนแปลงเราเรียกว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอุปสงค์ (Law of Demand)

  27. ตัวกำหนดอุปสงค์(Demand Determinants) คือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนหรือปริมาณที่ต้องการจะซื้อและมีอิทธิพลต่อปริมาณซื้อมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคนและเวลา 1. ราคาของสินค้า ตัวกำหนดโดยตรง 2. รสนิยมของผู้ซื้อ 3. รายได้ของผู้ซื้อ 4. ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. ฤดูกาล 6. การศึกษาและการโฆษณา 7. จำนวนประชากร

  28. การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ • ณ ที่นี้เราหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ต่อราคา มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงอยู่ 2 ลักษณะคือ • # การเปลี่ยนแปลงบนเส้น (Changes in the Quantity • Demand) • # การย้ายเส้นอุปสงค์ (Shifts in the Demand Curve)

  29. Changes in the Quantity Demand กรณีการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงบนเส้นอุปสงค์ โดยพิจารณาว่าปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคคงที่ ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงของราคาเท่านั้น โดยพิจารณาจากราคาเพิ่มขึ้นและราคาลดลง ความต้องการจะเป็นอย่างไร

  30. 1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคา ตัวอย่าง

  31. 1. การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อ ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการยังคงเดิม แต่เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้ จำนวนประชากร ฤดูกาล การโฆษณา ซึ่งทำให้ปริมาณซื้อเพิ่ม/ลดลง

  32. Price ($ per unit) p2 B p1 A C p3 D Q3 Q1 Q2 Quantity Changes in the Quantity 2 • ณ ระดับราคาที่ P1 คนบริโภคสินค้า Q1 • เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น จาก P1 ไป สู่ P2 คนบริโภคลดลงจาก Q1 ไปสู่ปริมาณ Q2 • นี่คือตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงบนเส้น

  33. D P D’ D’ Q Demand Shifts • การเปลี่ยนแปลงย้ายเส้นของอุปสงค์ เนื่องจากปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือ จากราคาเปลี่ยนไป อาทิเช่นรายได้ • ตัวอย่างเช่นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นอุปสงค์จะเลื่อนย้ายเส้นไปทางขวามือ • แต่เมื่อรายได้ลดลงอุปสงค์จะเลื่อนย้ายเส้นไปทางซ้ายมือ

  34. อุปทาน

  35. อุปทาน อุปทาน หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายพร้อมที่จะผลิตออกขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด อุปทานของสินค้าชนิดใดก็ตามจะมีมากหรือน้อยมิได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ต้นทุนการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ เทคนิคการผลิต เป็นต้น

  36. เส้นอุปทานและกฎของอุปทานเส้นอุปทานและกฎของอุปทาน การผลิตสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาสินค้าชนิดนั้น การศึกษาเรื่องอุปทานเป็นการศึกษาเพื่ออธิบายพฤติกรรมของผู้ผลิตเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการ

  37. ตารางอุปทาน

  38. P2 P1 Q1 Q2 Supply Curve Price ($ per unit) S Quantity

  39. กฎแห่งอุปทาน (LawofSupply) ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องการขายย่อมแปรผันโดยตรง กับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น จากกฎนี้แสดงว่า ถ้าราคาเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการขายก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาลดลง ปริมาณความต้องการขายก็จะลดลง

  40. ตัวกำหนดอุปทาน(Supply Determinants) 1. ราคาของสินค้า ตัวกำหนดโดยตรง 2. นโยบาย/เป้าหมายของหน่วยผลิต 3. เทคนิคในการผลิต 4. ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. ราคาของปัจจัยการผลิต 6. จำนวนผู้ผลิตในตลาด 7. สภาพดินฟ้าอากาศ 8. อื่นๆ เช่น นโยบายรัฐ วิกฤติการณ์ ภาษี เงินช่วยเหลือ

  41. การเปลี่ยนแปลงของอุปทานการเปลี่ยนแปลงของอุปทาน 1. การเปลี่ยนแปลงบนเส้น (a long the supply curve) 2. การเปลี่ยนแปลงย้ายเส้น (Shift the curve)

  42. 1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน เป็นการเปลี่ยนปริมาณการผลิตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า โดยให้ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคาคงที่

  43. 2. การเปลี่ยนแปลงระดับของอุปทาน เป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตในขณะที่ราคาและบริการยังคงเท่าเดิม ซึ่งเป็นไปได้ 2 ทาง คือ เพิ่มกับลด สาเหตุอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่นที่มิใช่ราคาของสินค้าชนิดนั้น

  44. Supply Curve • การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน เป็นการการเปลี่ยนแปลงบนเส้นเนื่องจากราคาเปลี่ยนแปลง กระเป๋าใบละ 250 บาท ผู้ผลิตจะผลิตกระเป๋าออกมาขาย 1,500 ใบ ณ จุด A ต่อมาเมื่อราคากระเป๋าเพิ่มเป็นใบละ 300 บาท ผู้ผลิตจะผลิตกระเป๋าออกมาขาย 1,600 ใบ ณ จุด B Price ($ per unit) S P3 P2 P1 Q1 Q2 Q3 Quantity

More Related