340 likes | 646 Views
โ ครงงานสร้างสรรค์คอมพิวเตอร์. ขอต้อนรับสู่บทเรียน เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ. เข้าสู่เมนูหลัก. ความหลากหลายทางชีวภาพ. ความหลากหลายทางชีวภาพ. การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ. กำเนิดสิ่งมีชีวิต. อาณาจักรสิ่งมีชีวิต. กลับสู่หน้าหลัก. หลากหลายทางชีวภาพแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้.
E N D
โครงงานสร้างสรรค์คอมพิวเตอร์ ขอต้อนรับสู่บทเรียน เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าสู่เมนูหลัก
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ กำเนิดสิ่งมีชีวิต อาณาจักรสิ่งมีชีวิต กลับสู่หน้าหลัก
หลากหลายทางชีวภาพแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้ • 1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม(geneticdiversity)ได้แก่ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันระดับความแตกต่างนี่เองที่ใช้กำหนดความใกล้ชิดหรือความห่างของสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดต่างกลุ่มหรือต่างอาณาจักรกัน ตามลำดับ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
2.ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species diversity) ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดรวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
3.ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity)ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้นสิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลายแต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้นความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพที่พบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลากว่า3,000ล้านปีโดยในแต่ละยุคจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นใหม่บ้างหรือสูญพันธุ์ไปบ้างบางส่วนก็ทิ้งร่องรอยแสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของสปีชีส์นั้น แต่ส่วนใหญ่มักสูญหายไปโดยไม่ปรากฏร่องรอยเหลือไว้เลย อย่างไรก็ตามนัธรณี-วิทยาและนักบรรพชีวินได้พยายามสร้างตารางเวลา เพื่อบันทึกลำดับเหตุการณ์กำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยใช้หลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคำนวณอายุได้ดังแสดงในตารางธรณีกาล หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
ตารางธรณีกาล (The geologic time scale) ดังนี้ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
2.1 การจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตลำดับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต(biologicalclassification)นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์หลายๆ เกณฑ์ต่างๆ ข้างต้นจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่ใหญ่และหมวดหมู่ย่อยคืออาณาจักร(kingdom)ไฟลัม(phylum) และดิวิชัน(division)ในกรณีที่เป็นพืช คลาส (class)ออร์เดอร์ (order) แฟมิลี(family) จีนัส(genus) และสปีชีส์(species) ตามลำดับ ดังตัวอย่าง หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
ตัวอย่าง การจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ภาพการลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
กำเนิดสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้มาอย่างไรนั้น ยังไม่มี นักวิทยาศาสตร์ท่านใดสามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน มีเพียงสมมุติฐานเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้นนักวิทยาศาสตร์ในอดีตหลายท่านได้ตั้งสมมติฐานถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิด แรกบนโลก โดยเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตสามารถกำเนิดขึ้นเองได้จากสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งเป็น อิทธิพลของความเชื่อทางศาสนา หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
ต่อมาหลุยส์พาสเตอร์(LouisPasteur)ได้ทำการวิจัยและพิสูจน์ได้ว่าสิ่งมีชีวิตกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มของโลกถือกำเนิดมาได้อย่างไรในปี พ.ศ.2467 นักชีวเคมีชาวรัสเซีย เอ ไอ โอพาริน (A.L.Oparin) ได้เสนอแนวคิดว่า สิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดได้ขึ้นเองในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงขั้นตอนเดียว แต่ต้องใช้เวลานานโดยกระบวนการทางเคมีอย่างช้าเป็นการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากโมเลกุลง่ายๆ เป็นซับซ้อน แนวคิดกำเนิดของชีวิตบนพื้นผิวโลกมีขั้นตอนต่างๆดังนี้ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
ที่มาภาพ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 5 (หน้า168).พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2550 หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
จากแนวคิดของโอพารินนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่ากรดนิวคลิอิกชนิดแรกที่ เกิดขึ้นคือ RNAเนื่องจาก RNA ทำหน้าที่ได้สองอย่างคือ เป็นสารพันธุกรรมและเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่างๆของกระบวนการเมแทบอลิซึม เมื่อ RNA มีวิวัฒนาการขึ้นมาแล้วการสังเคราะห์ DNA จึงเกิดขึ้นภายหลัง ทราบมาแล้วว่าโครงสร้างของ DNA จึงประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์2 สายพันกันเป็นเกลียวทำให้ DNAมีโครงสร้างโมเลกุลที่แข็งแรงกว่า RNA ซึ่งเป็นพอลินิวคลีโอไทด์1 สาย หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
นอกจากนี้ DNA ยังมีกลไกลในการแก้ไขหรือตรวจสอบความถูกต้อง ขณะที่มีการจำลอง DNA (DNA replication) ทำให้มีมิวเทชั่นน้อยกว่า RNAจึงมีโอกาสอยู่รอดได้มากว่า ดังนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาตินอกจากจะเกิดขึ้นในระดับของสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังเกิดขึ้นในระดับโมเลกุลด้วยในปี พ.ศ. 2496 สแตนเลย์มิลเลอร์ (Stanley Miller) ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดของโอพาริน โดยแสดงให้เห็นว่าสารประกอบอย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
เช่น กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ชนิดอื่นรวมทั้งสารอินทรีย์ เช่น ยูเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ภายในชุดการทดลองที่คาดว่าเป็นสภาวะของโลกในระยะเวลานั้น คือไม่มีออกซิเจน แต่มีแก๊สมีเทน แอมโมเนียม น้ำและแก๊สไฮโดรเจน โดยมีแหล่งพลังงานจากไฟฟ้า ดังภาพ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำการทดลองคล้ายกับมิลเลอร์ โดยใช้สารตั้งต้นและพลังงานอย่างอื่นเช่นสารกัมมันตรังสีรังสีอัลตร้าไวโอเลตพบว่าได้ผลเช่นเดียวกันและเกิดเบสพิวรีนและไพริมิดีนอีกด้วยเมื่อสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่เกิดขึ้นได้ตามแนวคิดของโอพาริน ต่อมาซิดนีย์ ฟอกซ์ (Sidney Fox) นักชีวเคมีชาวอเมริกันและคณะได้แสดงให้เห็นว่า เซลล์เริ่มแรกเกิดจากกรดอะมิโนได้รับความร้อนและมีการรวมกลุ่มกัน มีคุณสมบัติหลายประการที่คล้ายกันกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
ที่มาภาพ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell) หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
- ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึมกอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ1. ไฟลัมชิโซไมโคไฟตา (PHYLUM SCHIZOMYCOPHYTA)แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เซลล์ของแบคทีเรียมีผนังเซลล์ซึ่งเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน บางชนิดมีแคปซูลเป็นสารเมือกหุ้มอยู่ เพื่อป้องกันอันตรายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือรูปร่างกลม(COCCUS) รูปร่างเป็นท่อน(BACILLUS) และพวกที่มีรูปร่างเป็นเกลียว(SPIRILLUM) หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป ภาพตัวอย่างแบคทีเรียงรูปร่างต่างๆ
2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (PHYLUM CYANOPHYTA)สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน(BLUE GREEN ALGAE) เช่น OscillatoriaSp.,SpirulinaSp.,Anabaena Sp. เป็นต้น หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป ภาพสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
อาณาจักรโปรติสตา (PROTISTA KINGDOM)โปรติสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูคาริโอติกเซลล์โดยอาจประกอบด้วยเซลล์เดียว หรือ หลายเซลล์ที่มิได้รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ สามารถทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนในเซลล์เดียว 1. ไฟลัมโปรโตซัว (PHYLUMPROTOZOA) อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
หน้าหลัก 2. ไฟ ลัมคลอโรไฟตา (PHYLUM CHLOROPHYTA) สาหร่ายสีเขียวเช่น สไปโรไจนา (Spirogyra sp.) และ คลอเรลลา(Chlorella sp.) ซึ่งเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นโปรติสต์กลุ่มใหญ่ที่สุด เมนู กลับ ถัดไป
หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
1. DIVISION BRYOPHYTAพืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง ได้แก่ มอส และ ลิเวอร์เวิร์ต หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
อาณาจักรฟังใจ (KINGDOM FUNGI)เห็ด ราและยีสต์มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับพืชและโปรติสต์ ต่างกันตรงที่ไม่มีรงควัตถุเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่วนใหญ่จึงดำรงชีพ โดยเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ประกอบด้วยกลุ่มของเซลล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยเรียกว่า (HYPHA) ซึ่งเจริญมาจากสปอร์ กลุ่มของไฮฟา เรียกว่าไมซีเลียม(MYCELIUM) โดยมีไรซอยด์ช่วยยึด ไฮฟาติดกับแหล่งที่อยู่ ราแยกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
1. DIVISION ZYGOMYCOTA ราดำ(Rhizopus sp.)ที่ขึ้นบนขนมปัง หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เองและมีระยะตัวอ่อนสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆดังนี้ 1. ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ หน้าหลัก เมนู กลับ ถัดไป
จบการนำเสนอแล้ว ขอขอบคุณค่ะ หน้าหลัก เมนู กลับ