1 / 23

วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. จิตรา ณีศะนันท์. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. วิธีประเมินตนเอง ( Self-assessment method) วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย ( Withholding Tax) วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน ( Authoritative assessment method). วิธีประเมินตนเอง. วิธีการคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า

Download Presentation

วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จิตรา ณีศะนันท์

  2. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • วิธีประเมินตนเอง (Self-assessment method) • วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) • วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน (Authoritative assessment method)

  3. วิธีประเมินตนเอง • วิธีการคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า • วิธีการคำนวณภาษีตามอัตราคงที่ • การเสียภาษีครึ่งปี • การเสียภาษีเงินได้ของสามีภริยา

  4. วิธีประเมินตนเอง_2 • มาตรา 56 • ผู้มีเงินได้เป็นคนโสดและมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000/ปี • ผู้มีเงินได้เป็นคนโสดและมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) อย่างเดียวเกิน 50,000/ปี • ผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000/ปี • ผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) อย่างเดียวเกิน 100,000/ปี • ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000/ปี

  5. วิธีประเมินตนเอง_3 • ผู้มีเงินได้มีหน้าที่คำนวณภาษีตามมาตรา 48 • คำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีก้าวหน้า สำหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภท (ม. 48(1)) • ดูพระราชกฤษฎีกา ฉ.470: ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก • คำนวณภาษีเงินได้ด้วยอัตราภาษีคงที่ ร้อยละ 0.5 สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)-(8) ตั้งแต่เงินได้ 60,000 บาท

  6. ปุจฉา • นายดำคนโสดเปิดร้านขายของชำ มีต้นทุนทั้งสิ้น 1,200,000 แต่ได้รับเงินจากการขายเพียง 1,000,000 นายดำต้องเสียภาษีหรือไม่

  7. วิธีประเมินตนเอง_4 • การเสียภาษีครึ่งปี (ม. 56 ทวิ) • เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(8)ยกเว้นเงินได้ตามมาตรา 40(5) “เงินกินเปล่า” “เงินชวยค่าก่อสร้าง” “เงินค่าซ่อมแซม” “เงินค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์” • ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนถึงเกณฑ์ตามมาตรา 56 • กรณีคำนวณตามมาตรา 48(1) • หักค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน • หักค่าลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ง • กรณีคำนวณตามมาตรา 48(2) • เงินภาษีที่ชำระ สามารถนำมาเป็นเครดิตในการเสียภาษีสิ้นปีได้

  8. วิธีประเมินตนเอง_5 • การเสียภาษีเงินได้ของสามีภริยา (ม. 57 ตรี และ ม. 57 เบญจ) • ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี (ม. 57 ตรี) • ภริยาสามารถแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภท 40(1) (ม. 57 เบญจ) • ฎ.6652/2542 กรณีภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว เงินได้ของภริยาจะไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี แม้สามี&ภริยาจะอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีก็ตาม ดังนั้น ภริยามีหน้าที่&ความรับผิดในการยื่นแบบและเสียภาษีเอง ตามมาตรา 56(3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี

  9. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย • เก็บภาษีได้สม่ำเสมอ&เต็มเม็ดเต็มหน่วย • ลดภาระภาษีของผู้มีเงินได้ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ • ป้องกันการหนีภาษี • ช่วยให้รัฐบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายมากในการจัดเก็บ

  10. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_2 • มาตราที่เกี่ยวข้อง • มาตรา 3 เตรส • เงื่อนไขในการหักภาษี ณ ที่จ่าย • อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

  11. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_3 • มาตรา 50 • มาตรา 50(1) เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ(2) • เงินได้ตามมาตรา 40(1)และ(2) ให้คำนวณเสมือนเงินได้ทั้งปีคำนวณภาษีตามมาตรา 48 เป็นเงินภาษีเท่าใด ให้หารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย • เงินได้ตามมาตรา 40(2) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ในหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้

  12. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_4 • มาตรา 50(2) เงินได้พึงประเมินตามม.40(3)และ (4) • ม.50(2)(ก) กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4)(ก)(ฉ)(ช) ให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้

  13. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_5 • มาตรา 50(3) เงินได้พึงประเมินตามม.40(5)และ (6) • กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้

  14. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_6 • มาตรา 50(4) • กรณีผู้จ่าย คือ รัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(4)(6)(7)หรือ(8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตร ให้แก่ผู้รับ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินได้ แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขันให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้

  15. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_7 • มาตรา 60 • การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นการเสียภาษีล่วงหน้า • จำนวนภาษีที่หักไว้นั้นถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีปลายปีได้

  16. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_8 • การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นการเสียภาษีสุดท้าย (withholding tax as a final tax) • ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินเพื่อส่งเสริมการเกษตร พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม

  17. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_9 • ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน • ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออก

  18. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_10 • เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย • เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ • เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยทางมรดก หรือการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาจากทางอื่นนอกจากข้างต้น

  19. วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย_11 • เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน

  20. วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงานวิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน • การประเมินโดยการออกหมายเรียก(ม.19) • กรณีผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง • อายุความการออกหมายเรียก • 2 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ • ขอขยายเวลาได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ • เบี้ยปรับ 1 เท่า ของตัวภาษีที่ประเมิน และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (ม.22 และ 27)

  21. วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน_2วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน_2 • กรณีผู้เงินได้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ • อายุความการออกหมายเรียก • 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ (ปพพ. ม193/31) • เบี้ยปรับ 2 เท่า ของตัวภาษีที่ประเมิน และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (ม.22 และ 27)

  22. วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน_3วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน_3 • การประเมินจากหนังสือสำคัญ(ม.61)

  23. วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน_4วิธีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน_4 • การประเมินโดยไม่มีการออกหมายเรียก (ม.18) • คำนวณตัวเลขผิด • ระบุประเภทเงินได้ผิดเป็นเหตุให้หักค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้อง • หักค่าลดหย่อนผิด

More Related