380 likes | 476 Views
การประชาสัมพันธ์ให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีในระบบดิจิตอลเป็นไปอย่างราบรื่น. การประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล.
E N D
การประชาสัมพันธ์ให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีในระบบดิจิตอลเป็นไปอย่างราบรื่นการประชาสัมพันธ์ให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีในระบบดิจิตอลเป็นไปอย่างราบรื่น
การประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลการประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล • หนึ่งในตัวชี้วัดหนึ่งในแผนแม่บทการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีระบบดิจิตอลคือ “มีแผนสื่อสารประชาสัมพันธ์และประสานงาน เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับภาคส่วนทีเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง” • แผนประชาสัมพันธ์มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลในต่างประเทศ เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยากยิ่งกว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี • ประชาชนรับรู้ถึงแผนการเปลี่ยนผ่านช้าเท่าไหร่ ผู้ประกอบการรายใหม่ก็อยู่รอดได้ยากขึ้นเท่านั้น
การประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลการประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล • บ้านสมเด็จโพลล์>> กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.4 ไม่ทราบว่าทีวีดิจิตอลมีจำนวนให้รับชมถึง 48 ช่อง ร้อยละ 38.2 ไม่ทราบว่าเครื่องโทรทัศน์ในปัจจุบันไม่สามารถรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ และร้อยละ 41.8 ไม่ทราบว่าต้องมีกล่องแปลงสัญญาทีวีดิจิตอลเพื่อรับชมสัญญาณในระบบดิจิตอล • อีสานโพลล์ >> ร้อยละ 56.8 ของกลุ่มตัวอย่างไม่รู้ว่าจะสามารถรับชมฟรีทีวีจำนวนช่องเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 82.4 ไม่รู้วิธีการรับชมทีวีดิจิตอล
การประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลการประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล • กสทช. ไม่มีหรือไม่เคยแถลงแผนประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลที่ชัดเจนและมีขั้นตอนเชิงรูปธรรม รวมถึงแผนประชาสัมพันธ์ไม่สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งเกิดจากการตัดสินใจอันล่าช้า • ประชาชนไม่ทราบถึงวิธีการรับชมทีวีดิจิตอล • ประชาชนบางส่วนเข้าใจว่าซื้อกล่องแปลงสัญญาณแล้วสามารถรับชมได้ทันที แต่ปรากฏว่าโครงข่ายยังขยายสัญญาณไปไม่ถึง • ประชาชนซื้อทีวีใหม่แล้วเข้าใจผิดคิดว่ารับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ • ประชาชนยังไม่ทราบถึงเวลา จำนวนเงิน วิธีการ และพื้นที่ในการแจกคูปองเท่าไหร่
การประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลการประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล • ข้อเสนอแนะ • เร่งทำแผนประชาสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์ วางแผนการใช้งบประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ และสำรวจสถานะความรู้ความเข้าใจของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ • ทำประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงแผนการกระจายสัญญาณของผู้ให้บริการโครงข่าย (MUX) ซึ่งจะมีขึ้นไม่พร้อมกันทั่วประเทศ • เร่งประชาสัมพันธ์ในเรื่องแผนการแจกคูปองให้สอดคล้องกับแผนการกระจายสัญญาณของผู้ให้บริการโครงข่าย รวมถึงให้ความชัดเจนเกี่ยวกับการแจกคูปอง • เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงแผนการเปลี่ยนผ่านโดยรวม หรือ roadmap ทั้งหมด ซึ่ง กสทช. ควรเร่งทำแผนที่ชัดเจนถึงช่วงเวลาในการยกเลิกการถ่ายทอดสัญญาณอะนาล็อก(analogue switch-off)
การกำกับดูแลเนื้อหา • โจทย์สำคัญ • กสทช. จะกำกับดูแลเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้ทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจในหมวดหมู่ต่างๆ (เด็ก ข่าวสารสาระ และทั่วไป) จัดผังและถ่ายทอดรายการที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของแต่ละหมวดหมู่อย่างแท้จริง • กสทช.จะกำกับดูแลเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้ทีวีดิจิตอลต่างประเภทกัน (สาธารณะ ธุรกิจ และชุมชน) จัดผังรายการและและถ่ายทอดรายการที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของแต่ละประเภทอย่างแท้จริง • กสทช.จะกำกับดูแลเนื้อหาและจัดการกับเรื่องร้องเรียนอย่างไรในยุคทีวีดิจิตอลที่มีการแตกตัวของช่องรายการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประเภทใบอนุญาต การแข่งขันของทีวีประเภทต่างๆ
การกำกับดูแลเนื้อหาตามหมวดหมู่ทีวีธุรกิจการกำกับดูแลเนื้อหาตามหมวดหมู่ทีวีธุรกิจ • หมวดหมู่และราคาตั้งต้น: เด็ก 140 ล้านบาท ข่าวสารสาระ 220 ล้านบาท ทั่วไปคมชัดปกติ 380 ล้านบาท และทั่วไปคมชัดสูง 1,510 ล้านบาท • ราคาตั้งต้นถูกกว่าเพราะต้องการสนับสนุนรายการที่ปล่อยให้ตลาดทำงานอาจมีการผลิตน้อยเกินไป • หาก กสทช. ไม่สามารถกำกับดูแลเนื้อหาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสัดส่วน ผลคือ • ประชาชนเสียโอกาสในการรับชมรายการที่กลไกตลาดอาจผลิตน้อยเกินไป • ประเทศชาติเสียโอกาสได้รับค่าตอบแทนการใช้คลื่นสาธารณะที่สมควร • ไม่เป็นธรรมกับเอกชนที่เสียเงินมากกว่าประมูลในหมวดหมู่ทั่วไป
การกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภทการกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภท
การกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภทการกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภท • การกำกับดูแลเนื้อหาให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละประเภทซึ่งมีพันธกิจสาธารณะแตกต่างกัน “มีความสำคัญต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมและการปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ” • กรณีช่อง 5 ในช่วง 5 ปี แรก กสทช. ให้ “สิทธิ” ในการออกอากาศคู่ขนาน (simulcast)โดยอ้างว่ายังไม่ได้เป็นการให้ใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการสาธารณะ ดังนั้น ช่อง 5 จึงสามารถหาโฆษณาได้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกับทีวีธุรกิจ และไม่จำเป็นต้องผลิตเนื้อหาเพื่อประโยชน์สาธารณะ
สัดส่วนรายการข่าวสาร-สาระประโยชน์สัดส่วนรายการข่าวสาร-สาระประโยชน์ % สัดส่วนขั้นต่ำของทีวีสาธารณะ ตามกฎหมาย สัดส่วนขั้นต่ำใหม่ของทีวีข่าว ที่มา: Media Monitor
การกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภทการกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภท • กฎหมายเปิดช่องให้ทีวีบริการสาธารณะประเภท 2 หาโฆษณาได้ทั่วไป เพียงแต่ระบุไว้อย่างไม่ชัดเจนว่าให้หารายได้ “เท่าที่พอเพียงต่อการประกอบกิจการ” • กสทช. กำหนดให้สามารถหารายได้จากโฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที หรือเฉลี่ยทั้งวันไม่เกิน 8 นาทีต่อชั่วโมง • หาก กสทช. ไม่สามารถตรวจสอบให้ทีวีบริการสาธารณะประเภท 2 เผยแพร่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและตรงตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างแท้จริง ก็จะถือเป็นการสร้างสนามแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมระหว่างทีวีธุรกิจและทีวี “ประกอบธุรกิจภายใต้ชื่อของทีวีสาธารณะ”
การกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภทการกำกับดูแลเนื้อหาตามประเภท
การกำกับดูแลเนื้อหาในยุคดิจิตอลที่สื่อแตกตัวมากมายการกำกับดูแลเนื้อหาในยุคดิจิตอลที่สื่อแตกตัวมากมาย • สื่อโทรทัศน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นทบทวีคูณ อย่างน้อยในอนาคตก็จะมีเพิ่ม 48 ช่อง • กรณีดาวเทียมและเคเบิลที่มีจำนวนหลายร้อยช่อง กสทช. ยังไม่สามารถจัดการเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายได้ • การตรวจสอบเนื้อหาให้เป็นไปตามสัดส่วนและวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง กสทช. อาจเห็นควรจัดตั้งกลไกตรวจสอบเนื้อหาเชิงรุกซึ่งในปัจจุบันยังไม่มี เช่น การสุ่มตรวจรายการด้วยตนเอง หรือร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ • กลไกรับร้องเรียนของ กสทช. ปัจจุบันมีลักษณะ “การกำกับดูแลโดยรัฐ” ค่อนข้างมาก ซึ่งยากต่อการจัดการเนื้อหาที่เพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงกลไกการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วม
ข้อเสนอการกำกับดูแลเนื้อหาข้อเสนอการกำกับดูแลเนื้อหา • ออกหลักเกณฑ์ที่ให้คำนิยามที่ชัดเจนถึงประเภทรายการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบ • จัดตั้งกลไกในการตรวจสอบเนื้อหาเชิงรุก • ออกหลักเกณฑ์ประกวดคุณสมบัติที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ได้ใบอนุญาตทีวีบริการสาธารณะโดยคำนึงถึงพันธกิจสาธารณะ • กำหนดขอบเขตการหารายได้ของทีวีสาธารณะประเภทสองให้ชัดเจน • เร่งออกประกาศที่ใช้ในการกำกับดูแลเนื้อหาโฆษณาที่เกี่ยวข้อง(โฆษณารายการเด็ก โฆษณาแฝงและโฆษณาทางการเมือง ฯลฯ) • เร่งส่งเสริมกลไกการกำกับดูแลกันเองผ่านเครื่องมือการกำกับดูแลของรัฐ (การกำกับดูแลร่วม)
การกำกับดูแลการสำรวจความนิยมในการรับชมโทรทัศน์การกำกับดูแลการสำรวจความนิยมในการรับชมโทรทัศน์
การกำกับดูแลการวัดเรตติ้งการกำกับดูแลการวัดเรตติ้ง • สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทยระบุว่า ปี 2557 ทีวีระบบอะนาล็อกยังมีอัตราเติบโตราว 2% แม้จะมีการเริ่มออกอากาศทีวีดิจิตอล และคาดว่าจะมีการโยกงบมาสู่ทีวีดิจิตอลราว 4,000 ล้านบาท • โคคาโคลาให้สัมภาษณ์ว่า จะรอดูผลตอบรับก่อนแล้วจึงค่อยตัดสินใจ โดยดูจากการวัดเรตติ้ง • CIMB ประมาณการว่า กว่า DTTV จะแย่งส่วนแบ่งโฆษณาจากทีวีอะนาล็อกได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 3-4 ปี
รายได้จากโฆษณา รายได้โฆษณา (ล้านบาท) ที่มา: CIMB
การกำกับดูแลการวัดเรตติ้งการกำกับดูแลการวัดเรตติ้ง • ผู้ชนะประมูลดูกังวลกับการวัดเรตติ้ง เช่น อากู๋บอกว่า “ยังไม่มีการวัดเรตติ้งที่แน่นอน ทำให้เป็นห่วงว่าจะหารายได้อย่างไร” หรือ เฮียฮ้อ กังวลกับการวัดเรตติ้งและสนับสนุนให้มีหน่วยงานกลางเข้ามาดูแลด้านเรตติ้งแทนนีลเส็นเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นกลาง • ฟรีทีวีถือเป็น “ตลาดสองทาง” (two-sided market) คือไม่ได้ขายบริการเนื้อหาให้กับผู้รับชมโดยตรง แต่เน้นขายพื้นที่โฆษณาผ่านการรับชมของผู้ชมให้กับบริษัทโฆษณาหรือเจ้าของสินค้าบริการอีกทอดหนึ่ง ดังนั้น เรตติ้งที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อพื้นที่โฆษณาจึงสำคัญต่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการฟรีทีวี
ผลกระทบจากการวัดเรตติ้งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมผลกระทบจากการวัดเรตติ้งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม • ผู้ซื้อโฆษณาซึ่งอาจซื้อสื่อที่ไม่ได้รับความนิยมจริงหรือไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการ • สถานีโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการ ซึ่งอาจทุ่มงบประมาณมหาศาลในการผลิตรายการดีๆ แต่ไม่สามารถอยู่รอดได้ทางธุรกิจ เนื่องจากผลการวัดเรตติ้งคลาดเคลื่อน หรือไม่ครอบคลุมถึงช่องทางใหม่ๆ • ประชาชนทั้งในฐานะผู้บริโภคและพลเมือง ซึ่งอาจเสียโอกาสจากการรับชมรายการที่ตนชื่นชอบไปหากรายการไม่มีโฆษณาเข้า เนื่องจากความถูกต้องของเรตติ้งนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับทรัพยากรที่สถานีหรือผู้ผลิตรายการทุ่มไปกับการผลิตตัวเนื้อหารายการ รวมถึงอาจเสียโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายจากผู้ผลิตรายใหม่
ปัญหาการวัดเรตติ้งของนีลเส็น (ผูกขาดตั้งแต่ปี 2540) • กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร • การสำรวจใหญ่ประจำปี (establishment survey) ยังถือว่ามีขนาดเล็กเกินไป (ข้อมูลปี 2554 การสำรวจใหญ่ประจำปีมีขนาด 6,000 ครัวเรือน เพื่อใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1,250 ครัวเรือน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเพียง 5เท่า) • การกระจายตัวของกลุ่มตัวอย่างไม่สะท้อนช่องทางการรับชมสื่อที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี (การวัดเรตติ้งการรับชมผ่านทีวีดาวเทียมและเคเบิลมีขนาดเพียง 260 ครัวเรือน ขณะที่ตัวเลขการรับชมทีวีผ่านเคเบิลและดาวเทียมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ)
ปัญหาการวัดเรตติ้งของนีลเส็นปัญหาการวัดเรตติ้งของนีลเส็น • การเลือกปฏิบัติในการวัดเรตติ้ง (บริษัทวัดเรตติ้งควรวัดเรตติ้งของทุกช่องในแต่ละ platform แต่ที่ผ่านมาบางกรณีไม่เป็นเช่นนั้น) • ขาดความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (ต้องวัดเรตติ้งในทุกๆ ช่องทางโดยไม่สนว่ารับผ่านเทคโนโลยีอะไร เช่น เคเบิล ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต ฯลฯ แต่นีลเส็นปรับไม่ทันเทคโนโลยี เช่น กว่าจะมีการวัดเรตติ้งทีวีดาวเทียมก็ใช้เวลานานหลังจากที่ดาวเทียมได้รับความนิยมแล้ว) • สุ่มเสี่ยงต่อผลประโยชน์ทับซ้อน (นีลเส็นรับทำวิจัยด้วย ทำให้อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับการวัดเรตติ้ง เช่น มีการวิจารณ์ว่าสื่อสิ่งพิมพ์ไหนจ้างนีลเส็นทำวิจัย ก็จะได้ใส่รายชื่อเข้าไปในการสำรวจ) • การไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีในการวัดเรตติ้ง
รูปแบบการกำกับดูแลการวัดเรตติ้งรูปแบบการกำกับดูแลการวัดเรตติ้ง • กำกับดูแลกันเอง (self-regulation) • การรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีโทรทัศน์ เอเยนซี่โฆษณา บริษัทวางแผนสื่อ ฯลฯ ตั้งองค์กรกลางในการวัดเรตติ้งเอง เช่นกรณีของ the Broadcasters’ Audience Research Board (BARB) ในอังกฤษ • การรวมกลุ่มกันตั้งองค์กรวิชาชีพเพื่อกำกับดูแลบริษัทวัดเรตติ้งอีกทีหนึ่ง เช่น Media Rating Council ของสหรัฐฯ • กำกับดูแลโดยรัฐ (state regulation) • องค์กรของรัฐเข้ามากำกับดูแลและรับรองการวัดเรตติ้งด้วยตนเอง เช่น Telecom Regulatory Authority of India (TRAI) • องค์กรของรัฐเข้ามาวัดเรตติ้งด้วยตนเอง
รูปแบบการกำกับดูแลการวัดเรตติ้งรูปแบบการกำกับดูแลการวัดเรตติ้ง • กำกับดูแลร่วม (co-regulation) • การใช้เครื่องมือของการกำกับดูแลโดยรัฐเพื่อกระตุ้นให้กลไกการกำกับดูแลกันเองทำงานได้ดี เช่น การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การออกกฎบังคับให้มีการออกแนวปฏิบัติ ฯลฯ • Telecom Regulatory Authority of India (TRAI) หรือ กสทช. ของอินเดียสนับสนุนการรวมตัวขององค์กรวิชาชีพ คือ Broadcast Audience Research Council (BARC) และเสนอให้ BARC จัดทำแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลบริษัทวัดเรตติ้ง • AGCOM หรือ กสทช. ของอิตาลี ออกแนวปฏิบัติเพื่อกำกับดูแล Auditelองค์การวิชาชีพที่รวมตัวกันวัดเรตติ้งอีกชั้นหนึ่ง
แนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้งแนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้ง • กรณีศึกษาอินเดีย>> มีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ของไทย คือ บริการวัดเรตติ้งถูกผูกขาดโดย TAM Media Research และมีปัญหาในการวัดเรตติ้งเหมือนกัน • TRAI เสนอให้ใช้โมเดลการกำกับดูแลกันเองก่อน โดยส่งเสริมให้มีการตั้ง BARC องค์กรวิชาชีพ ทว่า BARC ไม่สามารถออกหลักปฏิบัติและกำกับดูแลการวัดเรตติ้งได้จริง • TRAI จัดทำหลักปฏิบัติด้วยตนเองโดยการดึงการมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็นจากรอบด้าน
แนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้งแนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้ง • ตัวอย่าง Guidelines for Television Rating Agencies • หน่วยงานวัดเรตติ้งจะต้องได้รับการรับรองและลงทะเบียนกับ Ministry of Information and Broadcasting • แนวปฏิบัติครอบคลุมในรายละเอียดถึงขั้นตอนการลงทะเบียน เกณฑ์คุณสมบัติ ระเบียบวิธีในการวัดเรตติ้งการถือหุ้นไขว้ กลไกรับและจัดการเรื่องร้องเรียน การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ การเปิดเผยข้อมูลต่อองค์กรกำกับดูแล การตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอก และบทลงโทษ • บริษัทหรือนิติบุคคลใดๆ ที่ให้บริการวัดเรตติ้ง ไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์หุ้นส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ในบริษัทวัดเรตติ้งอื่นๆ และสถานีโทรทัศน์/ผู้ซื้อโฆษณา/เอเยนซี่โฆษณา ไมว่าจะทางตรงหรือผ่านตัวแทนที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้งแนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้ง • การวัดเรตติ้งต้องมีความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (technology neutral) และต้องเก็บข้อมูลผ่านทุกช่องทางการรับชม • การคัดเลือกครัวเรือนที่จะเป็นกลุ่มตัวอย่างนั้นต้องเลือกมาจากการสำรวจประจำปี (Establishment Survey) ที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 10 เท่าของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง • ขนาดของกลุ่มตัวอย่างต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 20,000 ครัวเรือน ภายใน 6 เดือน และต้องขยายขนาดกลุ่มตัวอย่างปีละ 10,000 ครัวเรือน จนกว่าจะครบ 50,000 ครัวเรือน (ตัวเลขที่คำนวณจากจำนวนครัวเรือนในอินเดีย) • บริษัทต้องรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของครัวเรือนกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างต้องมีการหมุนเวียนทุกปี
แนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้งแนวปฏิบัติที่ใช้กำกับบริษัทวัดเรตติ้ง • บริษัทวัดเรตติ้งต้องส่งระเบียบวิธีการวัดเรตติ้งโดยละเอียดให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้องของรัฐและตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ • บริษัทวัดเรตติ้งต้องจัดตั้งกลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพพร้อมกับเบอร์โทรฟรี • บริษัทวัดเรตติ้งต้องสร้างกลไกการตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบระเบียบวิธีและกระบวนการเก็บข้อมูลทุกๆ ไตรมาส และให้มีการตรวจสอบจากภายนอกทุกๆ ปี รวมถึงตีพิมพ์รายงานการตรวจสอบบนเว็บไซต์ นอกจากนั้น รัฐบาลและ TRAI คงสิทธิในการตรวจสอบระบบและกลไกต่างๆ ของบริษัทวัดเรตติ้ง
แนวทางการกำกับดูแลเรตติ้งในไทยแนวทางการกำกับดูแลเรตติ้งในไทย • โมเดลการกำกับดูแลกันเอง • สร้างช่องทางให้เกิดผู้ให้บริการสำรวจความนิยมทางโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น >> บริษัทวิดีโอรีเสิร์ชเข้ามาในไทยกว่าทศวรรษ แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการแข่งกับนีลเส็นได้ • สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดตั้งองค์กรวิชาชีพขึ้นมากำกับบริษัทวัดเรตติ้งอย่างนีลเส็น>> ภาคอุตสาหกรรมอาจไม่ต้องการแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ • สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของภาคอุตสาหกรรมในการวัดเรตติ้งด้วยตนเอง
แนวทางการกำกับดูแลเรตติ้งในไทยแนวทางการกำกับดูแลเรตติ้งในไทย • โมเดลการกำกับดูแลโดยรัฐ • กสทช. เข้ามาเป็นผู้ให้บริการวัดเรตติ้งด้วยตนเอง >> ไม่ค่อยได้รับความนิยมในต่างประเทศ ไม่มีอะไรการันตีว่าองค์กรของรัฐจะมีความกลาง และ กสทช. ไม่น่ามีองค์ความรู้เพียงพอในการจัดการ • กสทช. ออกแนวปฏิบัติในการกำกับบริษัวัดเรตติ้งเองและเข้ามากำกับดูแลการให้บริการวัดเรตติ้งผ่านการให้ใบอนุญาต >> กสทช. ดูจะเลือกทางนี้ แต่ต้องระวังเรื่องขอบเขตการใช้อำนาจและศึกษาข้อจำกัดของการกำกับดูแลโดยรัฐ
แนวทางการกำกับดูแลเรตติ้งในไทยแนวทางการกำกับดูแลเรตติ้งในไทย • โมเดลการกำกับดูแลร่วม • กสทช. สนับสนุนเงินทุนเพื่อให้เกิดการรวมตัวของภาคอุตสาหกรรมในการจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่วัดเรตติ้งหรือกำกับดูแลการวัดเรตติ้ง โดย กสทช. อาจวางกรอบให้องค์กรวิชาชีพปฏิบัติตาม >> ภาคอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งดูจะสนับสนุนวิธีการนี้
ข้อเสนอแนะ • การกำกับดูแลกันเองอาจเกิดขึ้นยาก เมื่อพิจารณาว่าภาคอุตสาหกรรมรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการวัดเรตติ้ง แต่ไม่สามารถรวมตัวเพื่อจัดการปัญหาใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • โครงการฯ เสนอโมเดลแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ • ใช้การกำกับดูแลร่วมด้วยการออกแบบแรงจูงใจให้เกิดการรวมตัวกันในภาคอุตสาหกรรมก่อน และอาจกระตุ้นให้องค์กรวิชาชีพออกแนวปฏิบัติภายใต้กรอบเวลากำหนด โดย กสทช. กำหนดหัวข้อที่ต้องครอบคลุมถึง เช่น เกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ ระเบียบวิธีการวัดเรตติ้ง การเปิดเผยข้อมูล การจัดกลไกรับเรื่องร้องเรียน ฯลฯ
ข้อเสนอแนะ 2. หากไม่สำเร็จ หรือองค์กรวิชาชีพไม่สามารถทำงานได้ กสทช. อาจจัดตั้งกระบวนการในการร่างแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและโปร่งใสตั้งแต่กระบวนการศึกษาวิจัยทั้งบริบทสภาพปัญหาของการวัดเรตติ้งในไทยและประสบการณ์ต่างประเทศ ดึงการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ขั้นตอนการร่างและการรับฟังความเห็นสาธารณะ รวมถึงเตรียมพร้อมทั้งในแง่ของบุคลากรและองค์ความรู้เพื่อใช้ในการกำกับดูแลจริงในทางปฏิบัติ