1 / 38

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ จังหวัดภูเก็ต. 1. ความเป็นมา. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ปรับแก้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ในปี ๒๕๔๕

ezra
Download Presentation

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ จังหวัดภูเก็ต

  2. 1. ความเป็นมา • ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ • ปรับแก้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ในปี ๒๕๔๕ • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) • นโยบายการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน • การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ • ผลประเมินการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา

  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๐ • สิทธิรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย • การศึกษาทางเลือก • การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต • นำหลักธรรมทางศาสนาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต • การสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม • การศึกษาปฐมวัย • ความเสมอภาคของหญิงและชาย • พัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท

  4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ (ต่อ) • พัฒนาคุณภาพและบุคลากรทางการศึกษา • ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข • ส่งเสริม สนับสนุน การกระจายอำนาจให้ อปท.ชุมชน องค์การศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมจัดกศ. • ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิจัย เผยแพร่ผลศึกษาวิจัย • สนับสนุนการรู้รัก สามัคคี และการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติ ค่านิยมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

  5. นโยบายการศึกษาของรัฐบาลนโยบายการศึกษาของรัฐบาล • ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ • ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา • พัฒนาหลักสูตรวิชาแกนหลัก ประวัติศาสตร์ • พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ • ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียน จัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการเรียนรู้ในแต่ละพื้นที่ • ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนร่วมจัด กศ.

  6. นโยบายการศึกษาของรัฐบาล (ต่อ) • ความเสมอภาค เป็นธรรมในโอกาสการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส • ยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน • ยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน กศ. อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาสู่ ความเป็นเลิศ • ส่งเสริมภาคเอกชน มีส่วนร่วมทั้งระบบ • พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้ครูดี เก่ง มีคุณธรรม คุณภาพ มีวิทยฐานะสูงขึ้น

  7. นโยบายการศึกษาของรัฐบาล (ต่อ) • ส่งเสริมเด็ก และเยาวชน ประชาชน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • เสริมสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา

  8. สรุปผลการปฏิรูปการศึกษา ๙ ปีที่ผ่านมา • คุณภาพผู้เรียน  ระดับปฐมวัย พัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าด้านอื่น มี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ร้อยละ 10.0  กศ. ขั้นพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ วิชาหลัก ป.6 ม.3 ลดลงทุกวิชา ม.6 ต่ำกว่า 50% ยกเว้นภาษาไทย มีความสามารถคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 10.4  อาชีวศึกษา มีสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ขาดทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น อัตราการมีงานทำภายใน 1 ปีต่ำ ทั้งปวช. และปวส. ร้อยละ 12.5 และ 26.53 ตามลำดับ มีสถาบันที่ได้รับรองมาตรฐานร้อยละ 89.6

  9. สรุปผลการปฏิรูปการศึกษา ๙ ปีที่ผ่านมา (ต่อ) • คุณภาพผู้เรียน  อุดมศึกษา คุณภาพโดยรวมยังไม่น่าพึงพอใจ ไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของสถานประกอบการมีสถาบันที่ได้รับรอง มาตรฐาน ร้อยละ 94.9  การศึกษานอกระบบ คะแนนเฉลี่ยในทุกวิชา ต่ำกว่าร้อยละ 50 และต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน

  10. สรุปผลการปฏิรูปการศึกษา ๙ ปีที่ผ่านมา (ต่อ) • ขาดแคลนครูทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ครูสอนไม่ตรงวุฒิ จากนโยบายจำกัดอัตรากำลังคนภาครัฐ ปี ๒๕๔๓-๔๙ ศธ ศูนย์เสียอัตรา ๕๓,๙๔๘ อัตรา (เกษียณ ๗๔,๗๘๔ คน ได้คืน ๒๐,๘๓๖ อัตรา) • ในอีก 5 ปี จะมีครูและผู้บริหารเกษียณประมาณกว่า ร้อยละ 50 • การบริหารจัดการ เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษายังไมมีอิสระและคล่องตัว การมีส่วนร่วมของเอกชนและทุกภาคส่วนมีน้อย

  11. สรุปผลการปฏิรูปการศึกษา ๙ ปีที่ผ่านมา (ต่อ) • ประชากรผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล และทุรกันดาร จากข้อมูลพบว่าในปีการศึกษา ๒๕๕๐ มีจำนวนผู้ด้อยโอกาสถึง ๑,๙๐๖,๕๒๘ คนส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจน รองลงมาเป็นเด็กถูทอดทิ้ง และชนกลุ่มน้อย • การศึกษาเฉลี่ยของคนไทย (อายุ ๑๕-๕๙ปี) ๘.๗ ปี • ปี ๔๕-๕๐ ประชากรไทยอายุ ๑๕ ปี ที่ไม่รู้หนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๔.๗ เป็นร้อยละ ๗.๔

  12. สรุปผลการปฏิรูปการศึกษา ๙ ปีที่ผ่านมา (ต่อ) • สมรรถนะของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ IMD ปี ๔๗-๕๑ พบว่าอยู่อันดับ ๒๖, ๒๕, ๒๙, ๓๓, และ ๒๗ การศึกษาอยู่อันดับ ๔๓ • การผลิตกำลังคนไม่สอดคล้องกับความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพไม่เน้นสมรรถนะทำเป็น ทำได้ • มีการระดมทรัพยากรและลงทุนจากทุกภาคส่วนค่อนข้างน้อย และการบริหารจัดการยังไม่มีประสิทธิภาพ • มีการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้เพื่อการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อย

  13. สรุปผลการปฏิรูปการศึกษา ๙ ปีที่ผ่านมา (ต่อ) • ยังไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางเรื่องยังขาดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางเรื่องยังขาดกฎหมายรองรับ • การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ และความอัธยาศัย คุณภาพยังไม่น่าพอใจ และการเรียนรู้ ตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของประชาชน

  14. ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อการศึกษาภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อการศึกษา • การเปลี่ยนแปลงประชากร วัยเด็กลดลง วัยสูงอายุมาก • พลังงานและสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงานและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม • ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ การเคลื่อนย้ายคน เงิน เทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้อย่างเสรี • ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี • ภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคม • การมีงานทำและตลาดแรงงาน • ทิศทางการพัฒนาประเทศที่เน้นการกระจายอำนาจ การพัฒนาฐานราก/ชุมชน • ความต้องการได้รับการศึกษาอบรมของประชาชน

  15. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (๒๕๕๒-๒๕๖๑)

  16. 2. การดำเนินงาน ศึกษาเอกสาร รายงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผลการประเมิน การปฏิรูปการศึกษาในช่วง 9 ปี ที่ผ่านมา พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๓) จัดประชุมระดมความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ จัดประชุมเสาวนารับฟัง/ระดมความคิด 5 ครั้ง ในส่วนกลางและ ๔ ภูมิภาค ระหว่าง วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์- ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๒,๐๐๐ คน สำรวจความคิดเห็น (poll) เพื่อจัดอันดับ ความสำคัญของประเด็นปฏิรูป จัดประชุมอนุกรรมการสภาการศึกษา ๘ คณะ เพื่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์ และ มาตรการปฏิรูปการศึกษาทั้ง ๙ ประเด็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ จัดประชุมอนุกรรมการสภาการศึกษา ๘ คณะ เพื่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์ และ มาตรการปฏิรูปการศึกษาทั้ง ๙ ประเด็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่สอง เสนอ รมว ศธ. กกศ.เห็นชอบ 4 มิ.ย. ๕๒ กกศ.เห็นชอบ 4 มิ.ย. ๕๒

  17. 3. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง • วิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

  18. เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษา และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยเน้นเป้าหมายหลัก ๓ ประการ  คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้  เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหาร และจัดการศึกษา

  19. กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ๔ ใหม่  พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่  พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่  พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่  พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

  20. ๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมทำงานเป็นกลุ่ม ได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก และความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริตและต่อต้านการ ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง

  21. ๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่  พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้  ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ ความสามารถ

  22. ๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๑.๑ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ - ให้มีระบบการวัด ประเมินผลที่เป็นมาตรฐานเทียบเคียงกันได้ - แก้ปัญหา พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก - ส่งเสริมบทบาท สร้างความเข้มแข็งฃครอบครัว

  23. ๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๑.๒ ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ ความสามารถ - พัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ และคุณวุฒิวิชาชีพ - จัดการอาชีวศึกษา โดยเน้นการปฏิบัติขยายทวิภาคี และสหกิจศึกษา - การจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนา กลุ่มจังหวัด

  24. ๒. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ให้เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพมาเป็นครูโดย - พัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากร กศ. - การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา - การใช้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

  25. ๒.๑ พัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ๑) ปรับระบบการผลิต คัดสรรค่าตอบแทนและสวัสดิการ ให้สามารถดึงดูดคนเก่ง และดี มีใจรักในวิชาชีพมาเป็นครู ๒) ให้มีสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นความเป็นเลิศด้านการผลิตครู วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับวิชาชีพครู รวมทั้งมีระบบประกันและรับรอง คุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครูและสถาบันผลิตครู

  26. ๒.๒ การพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ๑) ปรับปรุงและพัฒนาระบบ และเกณฑ์การประเมินสมรรถนะ วิชาชีพครูให้เชื่อมโยงกับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา ผู้เรียนเป็นสำคัญ ๒) เร่งจัดตั้งกองทุนพัฒนาและกองทุนส่งเสริมครูคณาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษา ๓) พัฒนาครู คณาจารย์ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้สามารถจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาครูประจำการที่สอนไม่ตรง วิชาเอก มีระบบและมาตรการจูงใจให้ครู คณาจารย์ ผู้บริหาร และบุคลากร การศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

  27. ๒.๓ การใช้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ๑) คืนครูให้กับผู้เรียน โดยลดภาระงานอื่นที่ไม่จำเป็น และจัดให้มี บุคลากรสายสนับสนุนให้เพียงพอ ๒) ปรับปรุงเกณฑ์กำหนดอัตราครู โดยพิจารณาจากภาระงานที่ ชัดเจน และจัดให้มีจำนวนครู พอเพียงตามเกณฑ์ และมีวุฒิตรงตามวิชา ที่สอน ๓) แยกบัญชีเงินเดือน และวิทยฐานะของข้าราชการครู และ บุคลากรการศึกษาออกจากกัน

  28. ๓. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และมี คุณภาพโดย - พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่มีคุณภาพ - พัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นสำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบ นอก ระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และศูนย์การกีฬา และนันทนาการ เป็นต้น

  29. ๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่และอปท. การมีส่วน ร่วมของทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลโดย ๔.๑ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา ๔.๒ พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มี ประสิทธิภาพ

  30. ๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ๔.๓ พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา อย่างมี คุณภาพ ๔.๔ พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและสนับสนุน การศึกษาและเรียนรู้ให้มากขึ้น

  31. - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษามากขึ้น - ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษา

  32. ๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ๔.๕ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา - ปรับระบบการบริหารจัดการ การเงินและงบประมาณ โดยเน้น Demand side - วางแผนอย่างเป็นขั้นตอนและจัดระบบบริหารจัดการรองรับการยุบ เลิก ควบรวมสถานศึกษาขนาดเล็ก

  33. 4. ข้อเสนอกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ๔.๑ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา  คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานฯ คณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ ให้ยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาปฏิรูป โดยให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ

  34. ๔.๒ จัดตั้งหน่วยงาน/ปรับบทบาทหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพ มาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต ได้แก่ ๔.๒.๑ สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพ มาตรฐานสถาบันผลิตครู ๔.๒.๒ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ๔.๒.๓ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุน ๔.๒.๔ ปรับบทบาท สนง. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยเป็น สนง.การศึกษาตลอดชีวิต

  35. ๔.๓ มอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมหรือเร่งรัด ดำเนินการดังนี้ ๔.๓.๑ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการประกันการเรียนรู้และ รับรองมาตรฐานผู้เรียน โดยประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน สุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นให้เป็นการวัดผลระดับชาติ เพื่อให้สามารถใช้ การวัดประเมินผลที่เป็นมาตรฐานสามารถเทียบเคียงกันได้

  36. ๔.๓.๒ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา - ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และ สถานศึกษาโดยให้มีองค์คณะบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจและ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ - สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทางเลือกโดยให้มีองค์คณะ บุคคลเพื่อดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทาง จัดการศึกษาตาม พ.ร.บ. ศึกษาแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล

  37. 5. ข้อเสนอกลไกสนับสนุนต้องพัฒนา/ปรับปรุง ๕.๑ การพัฒนาระบบการเงิน การคลัง ๕.๒ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการเพื่อการศึกษา ๕.๓ การปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

More Related