1 / 38

“Au in the Next Decade (2009-2019) : From Commitment to Sustainability ; From Understanding to Action ” Au ในทศวรรษหน้า

“Au in the Next Decade (2009-2019) : From Commitment to Sustainability ; From Understanding to Action ” Au ในทศวรรษหน้า จาก ความผูกพัน สู่ ความยั่งยืน จาก ความเข้าใจ สู่ การปฎิบัติ . กรอบความคิด. 1.ทำไมต้องมี “ Commitment ” (ความผูกพัน) - สังคม/สิ่งแวดล้อม – เปลี่ยนแปลง

ezhno
Download Presentation

“Au in the Next Decade (2009-2019) : From Commitment to Sustainability ; From Understanding to Action ” Au ในทศวรรษหน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “Au in the Next Decade (2009-2019) : From Commitment to Sustainability ; From Understanding to Action” Auในทศวรรษหน้า จาก ความผูกพัน สู่ ความยั่งยืน จาก ความเข้าใจ สู่ การปฎิบัติ

  2. กรอบความคิด 1.ทำไมต้องมี “Commitment” (ความผูกพัน) - สังคม/สิ่งแวดล้อม – เปลี่ยนแปลง - องค์การ/คน – ต้องเปลี่ยน - Talcotts Parsons/Jack Welch 2.ความสำคัญของ “ความผูกพัน” 3.ความหมาย 4.องค์ประกอบ/ปัจจัยของ “ความผูกพัน” 5.วิธีการสร้างและพัฒนา “ความผูกพัน” 6.ทำอย่างไรจึงจะบรรลุถึงซึ่ง “ความผูกพัน”

  3. ความสำคัญของความผูกพันต่อองค์การความสำคัญของความผูกพันต่อองค์การ 1. การขาดงาน 2. การตรงต่อเวลา และเพิ่มความสามารถในการทำงาน 3. การเปลี่ยนงาน การลาออก (Turn over) 4. ลดการควบคุมจากภายนอก 5. ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) งานมีความน่าสนใจและท้าทาย

  4. 6. ความมีประสิทธิภาพขององค์การ และพัฒนาผลผลิต 7. อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การสูง 8. ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะอยู่กับองค์การตลอดไป 9. ต้องการทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งในประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านต้นทุน ผลกำไร และชื่อเสียงเกียรติยศ 10. บุคลากรมีความสุขในการทำงาน และทุ่มเทให้กับงาน และองค์การเป็นพิเศษด้วยความเต็มใจ โดยไม่คำนึงถึงเวลา และกรอบภาระหน้าที่

  5. 11. บุคลากรช่วยเหลือเกื้อกูลกันและร่วมกันแก้ปัญหา เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 12. บุคลากรมีความเครียดน้อย ถึงแม้ว่าจะต้องทำงานหนัก เป็นระยะเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน 13. บุคลากรไม่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ท้อแท้ และเจ้าอารมณ์ 14. เพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน มีความรับผิดชอบสูง 15. งานสำเร็จ คนสำราญ ครอบครัวเป็นสุข

  6. ความหมาย: ความผูกพัน (Commitment) 1.Kantar (1968): ความเต็มใจของสมาชิกที่ยินดี จะทุ่มเทพลัง และยอมเสียสละในการทำงาน ให้แก่องค์การ อันเกิดจากการที่พนักงานรับรู้ถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ มีความ จงรักภักดีต่อองค์การ

  7. 2.Buchanan (1974): ความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน เป็นความผูกพันที่มีต่อเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ (1)ความแนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ (Identification) โดยเต็มใจทีปฏิบัติงาน ยอมรับค่านิยม วัตถุประสงค์ขององค์การ และถือเสมือนว่าเป็นของตน (2) การเข้ามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในองค์การ (Involvement) โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การตามบทบาท หน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ (3) การมีความจงรักภักดี(Loyalty)ต่อองค์การอย่างจริงจัง ชัดเจน

  8. 3. Mitchell and Larson (1974):เจตคติที่บุคลากรคนหนึ่ง มีต่อองค์การ ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในองค์การตลอดไป มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ จึงแสดงพฤติกรรมการเป็นเจ้าขององค์การนั้น ความผูกพันนี้ สามารถทำนายพฤติกรรมในอนาคตที่บุคคลจะปฏิบัติต่อองค์การ รวมถึงสามารถทำนายการเปลี่ยนงานของลูกจ้างได้

  9. 4.Steers(1977): เป็นความสัมพันธ์อย่างแรงกล้าในการเป็น สมาชิก และการมีส่วนร่วมในองค์การ อย่างสำคัญ 3 ประการ คือ (1) มีความผูกพันอย่างแนบแน่นกับองค์การที่ตนเองทำงานอยู่ (2) มีความเชื่ออย่างแรงกล้าที่จะยอมรับเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ (3) มีความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างถึงที่สุด เพื่อทำประโยชน์ให้กับองค์การและปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะรักษาไว้ซึ่งการเป็นสมาชิกขององค์การ

  10. 5.O’Reilly (1981): ความเชื่อของคนที่ผูกพันกับองค์การ ความรู้สึกผูกพันกับงาน ความจงรักภักดี และความเชื่อใน ค่านิยมขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยการกระทำ 3 ประการดังนี้ (1) การยินยอมทำตาม (Compliance) ความต้องการของ องค์การบางอย่างตอบแทนจากองค์การ เช่น ค่าจ้าง (2) การยึดมั่นในองค์การ (Identification) คือ การที่บุคลากร ยอมทำตามความต้องการขององค์การ และความรู้สึกภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ (3) การซึมซับค่านิยมขององค์การ (Internalization) คือ การที่บุคลากรรับเอาค่านิยมขององค์การมาเป็นค่านิยมของ ตนเอง

  11. 6.Mowday et al. (1982): การแสดงออกที่มากกว่าความจงรักภักดีตามปกติ ความผูกพันเป็นความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น และผลักดันให้บุคลากรเต็มใจที่จะอุทิศตัว เพื่อการสร้างสรรค์ให้องค์การอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ความผูกพันต่อองค์การเป็นความรู้สึกที่ดีของบุคลากรที่มีต่อองค์การอย่างเหนียวแน่น และแสดงออกมาในรูปของการปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การเสมอ

  12. สรุป “ความผูกพัน” หมายถึง ลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคล ที่มีต่อองค์การ ที่แสดงออกในลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในองค์การด้วยการ ยอมรับเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การ (2) ความเต็มใจที่พร้อมจะทุ่มเทความพยายามอย่างถึงที่สุด เพื่อองค์การ (3) ความต้องการดำรงความเป็นสมาชิกในองค์การของตน ตลอดไป

  13. องค์ประกอบของความผูกพันต่อองค์การองค์ประกอบของความผูกพันต่อองค์การ Meyer and Allen(1991) ความผูกพันต่อองค์การมี 3 องค์ประกอบคือ 1. ความผูกพันด้านจิตใจ (Affective Commitment) ความต้องการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ และมีส่วนร่วมใน องค์การ รู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ทำงานด้วย ความเต็มใจ ทุ่มเท และอุทิศตนให้กับองค์การ

  14. 2. ความผูกพันด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่อง (Continuance Commitment)ความผูกพันที่ตระหนักดีว่าการเป็นบุคลากรขององค์การจะได้รับผลประโยชน์มากกว่าการที่จะลาออกจากการเป็นบุคลากรขององค์การ • ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน (Normative Commitment) • ความผูกพันอันเกิดจากค่านิยม วัฒนธรรมหรือบรรทัดฐาน • เป็นความผูกพันที่เกิดจากตำแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบ • เพื่อนร่วมงาน หรือความเป็นหนี้บุญคุณที่ทำให้ต้องอยู่ในองค์การ • ต่อไป บุคลากรจะแสดงออกถึง ความจงรักภักดีต่อองค์การ

  15. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ Steers(1977)ได้ศึกษาและรวบรวมผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด หรือมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การมี 3 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ทางการสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์การ (1)เพศ เพศหญิงมีความรักและผูกพันต่อองค์การมากกว่าเพศชาย (2)อายุ คนที่มีอายุมากจะมีความผูกพัน ต่อองค์การมากกว่า คนที่มีอายุน้อย

  16. (3)ระดับการศึกษา คนที่มีการศึกษาสูงจะมีความผูกพันต่อ องค์การน้อยกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ (4) สถานภาพสมรส คนที่แต่งงานแล้วจะมีความผูกพัน ต่อองค์การมากกว่าคนโสด (5) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์การ พบว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์การนานเท่าใดก็จะยิ่งผูกพันต่อองค์การมากขึ้น

  17. 2. ปัจจัยลักษณะงานและองค์การ (1) ความก้าวหน้าในการทำงาน และการประสบความ สำเร็จในการทำงาน (2) การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน (3) งานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (4) ขนาดขององค์การ

  18. 3. ปัจจัยประสบการณ์ในการทำงาน ประกอบด้วย (1) ความมั่นคงและน่าเชื่อถือขององค์การ (2) ความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ (3) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

  19. Gubman(1998): ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ มี 7 ประการ คือ 1. การมีค่านิยมร่วม (Shared Values) ของบุคลากร 2. คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life) 3. ลักษณะงาน (Job Tasks) ขอบเขตของงานที่มีความท้าทาย และน่าสนใจ 4. ความสัมพันธ์ในงาน (Relationship) ระหว่างหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และผู้ใช้บริการ

  20. 5. ผลรวมค่าตอบแทน (Total Compensation) ได้แก่ ค่าจ้าง สวัสดิการ และผลตอบแทนอื่นๆ 6. โอกาสก้าวหน้าในงาน (Opportunities for Growth) โอกาส ในการเรียนรู้ พัฒนาให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ และ ผลสำเร็จในงาน 7. ภาวะผู้นำ (Leadership) ความเชื่อมั่นและนับถือ ในผู้นำ ขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การ เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง อันจะทำให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการบรรลุถึงเป้าหมาย และ ค่านิยมขององค์การ (Mowday et al.,1982)

  21. วิธีการสร้างความผูกพันวิธีการสร้างความผูกพัน • 1. สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บุคลากรมีค่านิยม • ความสามารถ ทักษะ และให้ความสำคัญกับค่านิยมและวัฒนธรรม • ขององค์การ ก็จะทำให้เกิดความผูกพันส่วนบุคคล และความผูกพัน • ต่อองค์การ • 2. ทำให้งานมีความน่าสนใจและท้าทาย งานที่มีความหลากหลาย • มีอิสระในการทำงาน และตัดสินใจเองได้ มีวิธีการ ขั้นตอน • และการควบคุมที่มีคุณภาพ • 3. มีความชัดเจนในเป้าหมาย บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจใน • นโยบาย เป้าหมาย และทิศทางขององค์การอย่างชัดแจ้ง

  22. 4. ความยุติธรรมและความเป็นธรรม องค์การมีระบบการบริหาร จัดการ และการปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 5. การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่บุคลากร การมีระบบการติดต่อสื่อสาร ที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารแก่บุคลากรอย่างทั่วถึง ตลอดเวลา 6. การมอบอำนาจการตัดสินใจ เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการ

  23. 7. การให้มีอิสรภาพในการทำงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรมีอิสรภาพ ในการกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และตารางทำงานได้เอง 8. การสนับสนุนอย่างจริงจัง (Supporting)สนับสนุนการสร้างความ ผูกพันให้เกิดขึ้นในความคิด และจิตใจ (Minds and Hearts) ของบุคลากรทุกคนอย่างจริงจัง 9. การพัฒนาระดับความผูกพัน (Improving)ความผูกพันเป็น ความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น (Look of a better)ในทุก วิถีทางตลอดเวลา ดังคำกล่าวที่ว่า “good is nevergood enough”

  24. จะฝึก / ปลูกฝังความผูกพันในเรื่องอะไร 1. ค่านิยม หลักการ หรือความเชื่อ (Values, Principle or Beliefs): ความมีเอกภาพ และเป้าหมายหลักขององค์การ 2. ความซื่อสัตย์สุจริต และความเชื่อมั่นในตนเอง (Personal Integrity and Self-Confidence):ซึ่งจะต้องมีการพัฒนา ตนเองอยู่ตลอดเวลา (Continual self-improvement) 3. ความผูกพันต่อตนเองต่อหลักการ (Self and Principle): อันจะทำให้เกิดความผูกพันต่อลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ ผลลัพธ์ เพื่อนร่วมงาน และองค์การ

  25. 4. ความผูกพันต่อผลลัพธ์ (Results): รู้ว่าทำอะไร ทำอย่างไร งานจึงประสบความสำเร็จ โดยไม่มีความเสี่ยง ความเสียหาย 5. ความผูกพันต่อคนทั่วไป (People): การมีจิตสำนึกถึงคุณภาพ ของสินค้าและบริการที่คนทั่วไปจะพึงได้รับจากตน 6. การติดต่อสื่อสาร (Communication): ช่องทางการติดต่อสื่อสาร และการติดต่อสื่อสารที่มีคุณภาพ คือ กุญแจสำคัญของการสร้าง ความผูกพัน

  26. สรุป ประเภทของความผูกพัน 1.ความผูกพันส่วนบุคคล (Individual Commitment) “การมุ่งมั่นพัฒนา/ปรับปรุงตนเอง” (Self-Improvement) ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.1 ด้านสุขภาพอนามัย (promote health prevent ill) 1.2 ด้านคุณธรรม (1) อิทธิบาท 4: ฉันทะ : ความพึงพอใจ จิตตะ : ความมุ่งมั่นแน่วแน่ วิริยะ : ความเพียรพยายาม วิมังสา : ความใคร่ครวญไตร่ตรอง

  27. (2) สังคหวัตถุ 4: ทาน : การให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ • ปิยะวาจา : วาทกรรมเชิงสร้างสรรค์ • อัตถจริยา : ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็น • ประโยชน์ • สมานัตตา : อ่อนน้อมถ่อมตน สัมมาคารวะ • (3) ฆราวาสธรรม 4: สัจจะ : ซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน • ทมะ : รู้จักข่ม/หักห้ามใจตนเอง • ขันติ : อดทน อดกลั้น • จาคะ : แบ่งปัน เจือจานกัน

  28. 1.3 ด้านความรู้ 1.4 ด้านประสบการณ์ 1.5 ด้านทัศนคติ 1.6 ด้านทักษะ โดยเฉพาะทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร 1.7 ด้านความรับผิดชอบ /Labor Omnia Vincit 1.8ด้านผลงาน – ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

  29. 2.ความผูกพันของทีมงาน(Team Commitment) 2.1 การทำงานเป็นทีม(Team Spirit) ร่วมมือร่วมใจ (Collaborative) 2.2 การมีค่านิยมร่วม(Shared Values) 2.3 การให้ความสำคัญกับทีม (Team comes first, individual second) 2.4 การสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ(สุขขา สังฆัสสะ สามัคคี)

  30. 3.ความมุ่งมั่นต่อองค์การ(Organizational Commitment) 3.1Labor Omnia Vincit 3.2Turn Waste to Wealth 3.3Find ways to Win 3.4Esprit de Corp

  31. “อุปสรรคในการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าของมนุษย์ คือ รู้ว่าอะไรดี แล้วไม่รีบกระทำ รู้ว่าอะไรชั่ว แล้วไม่รีบละเว้นกระทำ”

  32. ขอให้มีความสุข ความสวัสดี จงประสบแด่ ทุกท่านที่ตั้งใจฟัง และตั้งใจนำไปปฏิบัติ โดยทั่วถึงกันเทอญ

  33. ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ 1. ท่านจะมีความสุขมาก ถ้าได้ใช้ชีวิตการทำงานที่เหลือ กับมหาวิทยาลัยที่ท่านทำงานอยู่ขณะนี้ 2. ท่านรู้สึกว่าปัญหาของมหาวิทยาลัยคือ ปัญหาของท่านด้วย 3. ท่านรู้สึกว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนี้ 4. ท่านรู้สึกผูกพันกับมหาวิทยาลัยนี้ 5. มหาวิทยาลัยนี้มีความหมายต่อท่านอย่างมาก 6. ท่านรู้สึกว่าท่านเป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยนี้

  34. ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่องกับองค์การความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่อย่างต่อเนื่องกับองค์การ 7. ท่านรู้สึกลำบากใจที่จะลาออกจากมหาวิทยาลัยนี้ แม้ว่าท่านต้องการที่จะลาออกก็ตาม 8. ท่านจะพบปัญหามากมายในชีวิต ถ้าท่านตัดสินใจลาออก จากมหาวิทยาลัยในขณะนี้ 9. ท่านมีความจำเป็นและต้องการที่จะทำงานในมหาวิทยาลัยนี้ต่อไป 10. ท่านรู้สึกว่าท่านมีทางเลือกน้อย ที่จะต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยนี้ 11. หากท่านลาออกจากมหาวิทยาลัยนี้ ท่านจะหางานใหม่ยาก 12. ถ้าท่านไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยนี้มาเป็นระยะเวลานาน ท่านอาจจะคิดเปลี่ยนงานใหม่

  35. ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐาน 13. ท่านรู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องทำงานอยู่กับ มหาวิทยาลัยนี้ต่อไป 14. ท่านรู้สึกว่าการลาออกจากมหาวิทยาลัยนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ท่านจะได้รับผลประโยชน์มากกว่า 15. ท่านจะรู้สึกผิดถ้าต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยในขณะนี้ 16. ท่านควรจะมีความจงรักภักดีต่อมหาวิทยาลัย 17. ท่านจะไม่ลาออกจากมหาวิทยาลัยในขณะนี้ เพราะท่าน มีความผูกพันกับผู้ร่วมงานทุกคน 18. ท่านเป็นหนี้บุญคุณต่อมหาวิทยาลัยนี้เป็นอย่างมาก

  36. 1. ท่านเต็มใจที่จะใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ เพื่อให้งานของมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ 2. ท่านมักจะบอกแก่เพื่อนฝูงอยู่เสมอว่า มหาวิทยาลัยนี้เป็น มหาวิทยาลัยที่ดีเยี่ยมมาก 3. ท่านเต็มใจที่จะทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมาย เพื่อท่าน จะได้ทำงานอยู่กับมหาวิทยาลัยนี้ตลอดไป 4. ท่านรู้สึกว่าค่านิยมในการทำงานของท่านกับค่านิยมในการ ทำงานของมหาวิทยาลัยมีความเหมือนกัน 5. มหาวิทยาลัยนี้ช่วยกระตุ้นให้ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถ ในการทำงานอย่างแท้จริง

  37. 6. ท่านดีใจเป็นอย่างมากที่ได้เลือกทำงานในมหาวิทยาลัยนี้ และ เห็นว่ามหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยอื่น 7. ท่านไม่สามารถทำงานกับมหาวิทยาลัยอื่นได้เช่นกัน หากงานนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน 8. หากสภาพการทำงานของท่านเปลี่ยนไปก็จะไม่เป็นสาเหตุ ให้ท่านลาออกจากมหาวิทยาลัยนี้ 9. ท่านเห็นด้วยกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ในการแก้ปัญหา ที่สำคัญๆเกี่ยวกับพนักงาน 10. ท่านรู้สึกภูมิใจที่ท่านเลือกทำงานกับมหาวิทยาลัยนี้ ถึงแม้ท่านจะมีโอกาสเลือกที่อื่น

  38. 11. ท่านมีความรู้สึกห่วงใยอย่างยิ่งกับปัญหาที่เกิดขึ้น กับมหาวิทยาลัย 12. ท่านรู้สึกเห็นด้วยกับวิธีการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย 13. ท่านรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยนี้ เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ที่ท่านอยากทำงานด้วย 14. การที่ท่านตัดสินใจเข้าทำงานกับมหาวิทยาลัยนี้นับเป็น การตัดสินที่ถูกต้อง 15. ท่านรู้สึกผูกพันต่อมหาวิทยาลัยนี้

More Related