1 / 35

โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน Healthy Workplace

โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน Healthy Workplace. ข้อมูลการสำรวจแรงงาน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ. ปี 2545 มีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 33.86 ล้านคน ( 63 ล้านคน). ล้านคน. ยิ่งทำงาน ยิ่งป่วย.

evelyn
Download Presentation

โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน Healthy Workplace

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานHealthy Workplace

  2. ข้อมูลการสำรวจแรงงาน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2545 มีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 33.86 ล้านคน (63 ล้านคน) ล้านคน

  3. ยิ่งทำงาน ยิ่งป่วย. . . • การประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงานในประเทศไทย มีอัตราเฉลี่ย 4.14% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยที่ 0.77% ต่อปีเท่านั้น • (จากข้อมูลของกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม ) • โรคสำคัญที่เกิดจากการทำงาน เช่น โรคปอด โรคพิษตะกั่ว โรคสูญเสียจากการได้ยินเสียงดัง • ซึ่งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยจากโรคเหล่านี้เฉลี่ยไม่เกิน 200 ราย ต่อปี แต่คาดว่าจำนวนนี้จะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก • พบว่าผู้ได้รับพิษมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากสถิติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา และสถิตินี้ยังไม่ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีคนงานจำนวนต่ำกว่า 10 คน ซึ่งไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ

  4. กลุ่มอาชีพที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุดคือ กลุ่มงานอาชีพบริหารจัดการ โดยมีปัญหาเรื่องจิตใจ โรคเครียดจากการทำงาน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) • จำนวนการเจ็บป่วยของแรงงานภาคอุตสาหกรรมด้วยสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงก็มีจำนวนมาก บางกรณีก็ยากที่จะพิสูจน์ จึงมักเกิดปัญหาผลักภาระการเบิกจ่าย • กองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม จัดเป็นระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ แรงงานภาคอุตสาหกรรมจำนวน 7 ล้านคน ปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมแรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก ยิ่งกว่านั้นยังมีแรงงานอีกถึง 16 ล้านคนที่เรียกว่า “แรงงานนอกระบบ” รับจ้างอย่างไม่เป็นทางการหรือเป็นครั้งคราว ขณะนี้ยังไม่มีระบบใดๆ ปกป้องคุ้มครองแรงงานกลุ่มใหญ่นี้

  5. ปัญหาในกลุ่มแรงงาน แรงงงานส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลาติดต่อกันวันละ 8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ต้องทำงานภายใต้เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งแวดล้อม ที่อาจก่อให้เกิดความเครียดและอันตราย คนงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลสุขภาพอนามัย

  6. ภาระค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของคนไทยภาระค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของคนไทย ถึงเวลาเริ่มต้นแก้ไขอย่างจริงจังหรือยัง? คนไทยจ่ายเงินเพื่อสุขภาพ ปี 2537 เป็นเงิน 1.44 แสนล้านบาท ปี 2539 1.72 แสนล้านบาท ปี 2541 1.78 แสนล้านบาทปี 2542 2.8 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เมื่อนำตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพปี 2542 เปรียบเทียบกับงบประมาณแผ่นดินปีเดียวกัน 8.2 แสนล้านบาท เป็น 34.14% เป็นตัวเลขที่บ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพของสังคมไทยเป็นอย่างดี ข้อมูล......กระทรวงสาธารณสุข

  7. จะทำอย่างไร ? คนทำงานเกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น คนทำงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

  8. แนวคิดของสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน 1. พัฒนาสถานที่ทำงานด้วยกิจกรรม 5 ส 2. กระบวนการส่งเสริมสุขภาพคนทำงาน - การส่งเสริมสุขภาพ - การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย - การจัดทรัพยากรบุคคล การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 3. แนวคิดและกลยุทธ์เมืองน่าอยู่ • การมีส่วนร่วม • การพัฒนาเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง • การพึ่งตนเองและความยั่งยืน

  9. หมายถึง สถานที่ทำงาน ที่มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ของคนทำงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มารับบริการ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ให้เกิดความสุขกาย สบายใจในที่ทำงาน

  10. วัตถุประสงค์โครงการ : 1. เพื่อให้สถานที่ทำงานเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพคนทำงานโดยการกำหนดเป็นนโยบาย และการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี 2. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนทำงานทุกคน 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานทุกคนเห็นความสำคัญของชุมชน โดยกระบวนการผลิตและกระบวนการทำงานไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน

  11. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีทุกระดับ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาองค์กร • เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ขวัญกำลังใจ เพิ่มผลผลิต • ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลขององค์กร ซึ่ง นำกลับไปเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน • ลดมลพิษที่เกิดจากกระบวนการทำงาน กระบวนการผลิต • เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของสถานที่ทำงาน • เกิดความร่วมมือที่ดีและความสนับสนุนจากอง๕กรภายนอก • ประเทสชาติได้ประชากรและองค์กรที่มีคุณภาพ ลดภาระในการพึ่งพารัฐ ประโยชน์ของการดำเนินงาน

  12. ปลอดภัย สะอาด สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา

  13. ร่วมกันรักษาความสะอาดร่วมกันรักษาความสะอาด • ขยะไม่เกลื่อนกลาด สะอาดตา • จัดวางข้าวของเป็นระเบียบ • เก็บให้เรียนร้อยเป็นหมวดหมู่ • สิ่งของไม่จำเป็น ไม่เก็บ ไม่สะสม • ควบคุมสัตว์ แมลงนำโรค ให้หมดไป สะอาด

  14. ปลอดภัย • ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย • ไม่ประมาทขณะทำงาน • ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล • ดูแลเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดี • ระมัดระวังป้องกันอัคคีภัย • พื้นที่เป็นสัดส่วน แสงสว่างเพียงพอ • อากาศถ่ายเทสะดวก

  15. สิ่งแวดล้อมดี • จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ส่งผลต่อชุมชนโดยรอบ • เสียงดังเป็นภัย ลดได้ถ้าป้องกัน • ควบคุมกลิ่น • ระมัดระวังการใช้สารพิษ • ลดมลพิษอากาศ • ขยะมากมาย แยกขายเป็นเงิน • น้ำเสียปลาตาย ทำให้ใสใช้ได้อีก

  16. มีชีวิตชีวา • ส่งเสริมความรู้ ดูแลสุขภาพ • ออกกำลังกายวันละนิด จิตแจ่มใส • นันทนาการ สร้างความชื่นบานระหว่างพัก • อาหารดี มีครบทุกหมู่ • งดสารเสพติดให้โทษ • ใส่ใจสุขภาพ

  17. กลุ่มเป้าหมาย 1. สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทำงานที่มีผู้ปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 คน 4 3 2. สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทำงานที่มีผู้ปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 10 คน 1 2 3. วิสาหกิจชุมชน 4. อื่นๆ

  18. ขั้นตอนการขอรับรอง ขั้นตอนที่ 1 สมัครเข้าร่วมโครงการที่เทศบาลหรือ อบต. หรือ สสอ. หรือ สสจ. ขั้นตอนที่ 2 ชี้แจง/ทำความเข้าใจขั้นตอนเกณฑ์การประเมิน แนวทาง พร้อมทั้งแจกคู่มือโครงการฯ ขั้นตอนที่ 3 เจ้าของหรือผู้แทนสถานประกอบกิจการ ทำการ ตรวจประเมินสถานที่ทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นข้อมูลค้นหาจุดบกพร่อง ปัญหา

  19. ขั้นตอนที่ 4 นำจุดบกพร่องที่พบมาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และจัดทำแผนงาน แก้ไขปัญหา กำหนดผู้รับผิดชอบ ขั้นตอน ระยะเวลา ขั้นตอนที่ 5 ลงมือปฏิบัติ หากปัญหาที่พบเกินความสามารถ ให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ขั้นตอนที่ 6 ทบทวน ตรวจสอบ ขั้นตอนที่ 7 ตรวจประเมินตนเองครั้งที่ 2 เตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 8 ติดต่อขอรับการตรวจรับรอง หากพบข้อบกพร่องให้แก้ไขตามเวลาที่กำหนด และ ตรวจประเมินอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 9 ผ่านการประเมิน ได้ใบรับรองจากกรมอนามัย

  20. . . .การประเมินผลคืออะไร. . .

  21. การประเมินผล หมายถึง กระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล โดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการนั้นกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อตัดสินคุณค่าตลอดจนวินิจฉัยทางเลือกเพื่อปรับปรุงโครงการนั้นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

  22. การตรวจประเมิน • ครั้งที่ 1 เป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาวางแผนปรับปรุงสถานที่ทำงาน/ สถานประกอบกิจการ • ครั้งที่ 2 เป็นการตรวจประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขอรับการตรวจประเมินจากคณะกรรมการ (บุคคลภายนอก ) • ครั้งที่ 3 เป็นการตรวจประเมินจากคณะกรรมการ เพื่อขอรับการรับรองจากกรมอนามัย

  23. เกณฑ์การประเมิน

  24. การรับรอง ระดับพื้นฐาน ใบรับรองทองแดง ระดับดี ใบรับรองเงิน ระดับดีมาก ใบรับรองทอง

  25. คณะกรรมการ 1. คณะกรรมการระดับเขต ศูนย์อนามัย 1.1 สายสิ่งแวดล้อม 1.2 สายส่งเสริมสุขภาพ

  26. 2. คณะกรรมการระดับจังหวัด2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2.2 สำนักงานประกันสังคมจังหวัด2.3 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด2.4 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด2.5 พัฒนาชุมชน 2.6 เทศบาลเมือง/เทศบาลนคร2.7 โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์2.8 โรงพยาบาลชุมชน (ฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรค) 2.9 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

  27. 3. คณะกรรมการระดับอำเภอ 3.1 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 3.2 โรงพยาบาลชุมชนและ 3.3 หน่วยงานอื่น

  28. เป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ ปี 2546 • รณรงค์ให้มีสถานที่ทำงานเข้าร่วมโครงการจำนวน อย่างน้อยศูนย์อนามัยละ 150 แห่ง • สถานที่ทำงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนา ตนเองจนผ่านการรับรองของกรมอนามัย อย่างน้อยร้อยละ 20 ( 30 แห่ง)

  29. กราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงานกราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงาน จำนวน (แห่ง)

  30. กราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงานกราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงาน จำนวนเหรียญ

  31. เป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ ปี 2547 • รณรงค์ให้มีสถานที่ทำงานเข้าร่วมโครงการจำนวน อย่างน้อยศูนย์อนามัยละ 250 แห่ง • สถานที่ทำงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนา ตนเองจนผ่านการรับรองของกรมอนามัย อย่างน้อยร้อยละ 30 ( 75 แห่ง)

  32. อุปสรรคขั้นต้นของการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการคือ ความเข้าใจผิดๆ ที่ต้องแก้ไข คือ คนทำงาน สุขภาพดีไม่ใช่อยู่ที่โรงพยาบาล แต่อยู่ที่ตัวคุณเองที่พร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ ไม่ดีในชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การดื่ม การเสพ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีการพักผ่อนที่พอเพียง มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างควบคุมได้ด้วยตัวคุณเอง สถานประกอบการ การสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่การสิ้นเปลืองแต่คุณภาพสินค้าจะดีขึ้นในปริมาณที่มากขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้นทั้งสถานประกอบการและลูกจ้าง แรงงานสัมพันธ์จะดีขึ้น ภาพลักษณ์บริษัทดีขึ้นเหนือสิ่งอื่นใด เป็นคุณค่าทางจิตใจที่ประมาณค่ามิได้ ภาครัฐ กฎหมายไม่ใช่สูตรของความสำเร็จเสมอไป แต่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องหรือ การคิดถูก ทำถูกต่างหาก เป็นทิศทางที่ถูกต้อง

  33. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ • นโยบายสุขภาพขององค์กร ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่เหมาะสม การสนับสนุนขององค์กร และการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน • สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือ เสียง แสง อุณหภูมิ • สิ่งแวดล้อมทางสังคม ความสัมพันธ์ • การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ กาย ใจ สารเสพติด อาหาร ออกกำลังกาย • กลุ่มแกนนำที่เข้มแข็งนำไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน • การจัดบริการสุขภาพที่ตรงปัญหา การพัฒนาขีดความสามารถของทีมสุขภาพ บริการสุขภาพเชิงรุก และแนวใหม่ • ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน มีกิจกรรมร่วม ไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ

  34. ข้อแนะนำ • กำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพผนวกเข้ากับนโยบายสุขภาพและความปลอดภัย และติดประกาศให้ทุกคนทราบ • กำหนดกฎระเบียบที่เอื้อต่อสุขภาพและความปลอดภัย • ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และสนับสนุนกลุ่ม กิจกรรมต่างๆ • ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคม รวมทั้งควบคุมมลพิษไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน • จัดกิจกรรม โครงการ ตามความต้องการ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกำลังกาย • ประสานกับหน่วยงานอื่น

  35. สวัสดี

More Related