1 / 15

บทที่ 11

บทที่ 11. จริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ. ความหมายจริยธรรม. จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้อง เหมาะสม การทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น กระทำในสิ่งที่ควรกระทำด้วยความฉลาดรอบคอบ รู้เหตุผล ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล (วศิล อินทสระ,2525)

Download Presentation

บทที่ 11

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 11 จริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ A.Kawinphat Lertpongmanee

  2. ความหมายจริยธรรม จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้อง เหมาะสม การทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น กระทำในสิ่งที่ควรกระทำด้วยความฉลาดรอบคอบ รู้เหตุผล ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล (วศิล อินทสระ,2525) จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ หรือกิริยา หรือการกระทำที่ควรประพฤติในหมู่คณะ (พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน,2525) จริยธรรม หมายถึง ระบบการทำความดี ละเว้นความชั่ว (ศ. ดร. ดวงเดือน พันธุนาวิน,2538) A.Kawinphat Lertpongmanee

  3. สรุป....จริยธรรม หมายถึง บรรทัดฐานการประพฤติตนที่มีมาตั้งแต่ในอดีตเพื่อควบคุมการกระทำของมนุษย์ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม และส่งผลให้เกิดความสงบสุขในหมู่คณะ A.Kawinphat Lertpongmanee

  4. จริยธรรมของผู้ประกอบการธุรกิจจริยธรรมของผู้ประกอบการธุรกิจ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) ได้เสนอหลักจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจไว้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติ - ขายสินค้าและบริการในราคาที่ยุติธรรม -  สินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ    -  ดูแลให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน -  ละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล -  ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีน้ำใจ จริยธรรมของผู้ประกอบการธุรกิจที่มี ต่อลูกค้า A.Kawinphat Lertpongmanee

  5. จริยธรรมผู้ประกอบการธุรกิจที่มี ต่อคู่แข่งขัน -  ละเว้นจากการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่า จะโดยทางตรงหรือทางอ้อม -  ควรให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ ในด้านต่าง ๆ A.Kawinphat Lertpongmanee

  6. จริยธรรมผู้ประกอบการธุรกิจที่มี ต่อหน่วยงานราชการ -  การทำธุรกิจควรตรงไปตรงมา -  ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการทำธุรกิจ -  ละเว้นจากการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ -  ไม่สนับสนุนข้าราชการทำทุจริต -  ละเว้นการให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการ -  มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อถือต่อหน่วยงานราชการ -ให้ความร่วมมือเป็นพลเมืองที่ดี A.Kawinphat Lertpongmanee

  7. จริยธรรมของผู้ประกอบการธุรกิจที่มี ต่อบุคลากร -ให้ค่าจ้างเหมาะสม -  เอาใจใส่ต่อสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน -  พัฒนาให้ความรู้เพิ่มความชำนาญ -  ให้ความเป็นธรรม และโอกาสที่เท่าเทียมกัน -  ศึกษานิสัยใจคอและความถนัดของพนักงาน -  เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน -  ให้ความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจ -  ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา -  สนับสนุนให้พนักงานเป็นคนดี A.Kawinphat Lertpongmanee

  8. จริยธรรมของผู้ประกอบการธุรกิจที่มี ต่อสังคม -  ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมลง -  ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -  เคารพสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น -  ให้ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคม -  ให้ความสนใจเรื่องการสร้างงานแก่คนในสังคม A.Kawinphat Lertpongmanee

  9. จริยธรรมของผู้ประกอบการธุรกิจที่มี ต่อนักธุรกิจ -  มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน -  รักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของนายจ้างให้ได้ประโยชน์อย่าง เต็มที่ -  ระมัดระวังเรื่องการวางตัวในสังคม -  หลีกเลี่ยงการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง -  ละเว้นการทำงานให้ผู้อื่น A.Kawinphat Lertpongmanee

  10. ธรรมาภิบาล(Good Governance) และ บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) A.Kawinphat Lertpongmanee

  11. ธรรมาภิบาลGood Governance ธรรมาภิบาล คือ ลักษณะและวิถีทางของการที่อำนาจได้ถูกใช้ในการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนา A.Kawinphat Lertpongmanee

  12. ธรรมาภิบาล หลักการของธรรมาภิบาล มี 8 ข้อ 1. การมีส่วนร่วม (Participation) 2. หลักนิติธรรม (Rule of law) 3. ความโปร่งใส (Transparency) 4. การตอบสนองที่ทันการ (Responsiveness) 5. การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented) 6. ความเสมอภาค ยุติธรรมและเที่ยงตรง (Equity) 7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) 8. ความรับผิดชอบ (Accountability) A.Kawinphat Lertpongmanee

  13. บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) บรรษัทภิบาล หมายถึง วิถีแห่งการดำรงอยู่ของบริษัทหรือองค์กร และแนวทางหรือวิถีแห่งการปฏิบัติตนของคนในองค์กรนั้นเพื่อ ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คือ การเติบโตที่ยั่งยืน และมีความสุขในการประกอบธุรกิจ A.Kawinphat Lertpongmanee

  14. บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หลักการสำคัญของบรรษัทภิบาล 1. ความรับผิดชอบ (Accountability) 2. ความโปร่งใส (Transparency) 3. ความสมดุล (Checks and Balances) 4. การประมวลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Code of Best Practice) 5. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 6. วิธีลงคะแนนเสียง (Voting Method) 7. การคุ้มครองเงินลงทุน (Equity Treatment) 8. การรักษามูลค่าหุ้นในระยะยาว (Shareholder Value in Long-Term) 9. คุณค่าระยะยาว (Long-Term Value) A.Kawinphat Lertpongmanee

  15. จ บ ก า ร บ ร ร ย า ย A.Kawinphat Lertpongmanee

More Related