200 likes | 435 Views
บทที่ 9. การประเมินมูลค่าของธุรกิจ ( Valuat of the Firm). การประเมิน มูลค่า (Valuation).
E N D
บทที่ 9 การประเมินมูลค่าของธุรกิจ (Valuat of the Firm)
การประเมินมูลค่า (Valuation) คือ การหามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) หรือมูลค่าที่ควรจะเป็น ณ วันนี้ โดยจะมีการประมาณเกี่ยวกับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตหรือเป็นการหาค่าปัจจุบันโดยคำนวนส่วนลดจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต
การประเมินมูลค่าของธุรกิจ(Valuat of the Firm) วัตถุประสงค์ คือ • เพื่อความมั่งคั่งสูงสุดของผู้ถือหุ้น • วัดจากราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงที่สุด • ประเมินมูลค่าของหนี้สินระยะยาว หุ้นบุริมสิทธิ์ และหุ้นสามัญ • จะได้มูลค่าของธุรกิจ
การประเมินมูลค่าของหนี้สินระยะยาวการประเมินมูลค่าของหนี้สินระยะยาว หนี้สินระยะยาวของธุรกิจประกอบไปด้วย 1. เงินกู้ยืมระยะยาวกับหุ้นกู้ 2. เงินกู้ยืมระยะยาว มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นกู้ ขึ้นกับปัจจัย ดังนี้ 1. มูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้น (Par Value) 2. ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity) 3. อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (Coupon Rate) 4. อัราส่วนลดหรือค่าของทุนของหุ้นกู้ K ถ้ามองในแง่ค่าของทุน
มูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้นกู้มูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้นกู้ - มูลค่าที่ระบุไว้ในใบหุ้นกู้ เพื่อใช้ในการคำนวนดอกเบี้ยจ่ายและเป็นมูลค่าที่ใช้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อครบกำหนด ระยะเวลาครบกำหนดการไถ่ถอน - จำนวนปีที่ออกหุ้นกู้ จนกระทั่งครบกำหนดไถ่ถอนหรือจนกระทั่งถึงวันที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้ของธุรกิจได้รับเงินตามมูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้นคืนจากธุรกิจผู้ออกหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ - อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ในใบหุ้นกู้ เพื่อใช้คำนวนดอกเบี้ยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น กระทั่งครบกำหนดการไถ่ถอน โดยอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ตลอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่วันแรกที่ออกหุ้นกู้จนถึงวันไถ่ถอน
อัตราส่วนลดหรือค่าของทุนของหุ้นกู้อัตราส่วนลดหรือค่าของทุนของหุ้นกู้ อัตราส่วนลดที่จะมาเที่ยบค่ากระแสเงินสดจ่ายดอกเบี้ยในต่ละงวดกับมูลค่าที่ตราไว้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน เที่ยบกับมูลค่าปัจจุบัน 1. การกำหนดอัตราส่วนลดไว้สูง จะทำให้ประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นกู้ได้ต่ำ และในทางตรงกันข้าม 2. การกำหนดอัตราส่วนลดไว้ต่ำ จะทำให้ประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นกู้ได้สูง การประเมินมูลค่าของหุ้นกู้ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. การประเมินมูลค่าหุ้นกู้ ชนิดแปลงสภาพไม่ได้ 2. การประเมินมูลค่าหุ้นกู้ ชนิดแปลงสภาพได้
การประเมินมูลค่าหุ้นกู้ ชนิดแปลงสภาพไม่ได้ ไม่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ โดยจะต้องถือจนกระทั้งครบกำหนดการไถ่ถอนคืน V= มูลค่าที่แท้จริงหรือมูลค่าปัจจุบันของหุ้นกู้ I= ดอกเบี้ยจ่าย t=เวลา(ปี) n=ระยะเวลาครบกำหนดการไถ่ถอน F=มูลค่าที่ตราไว้ในใบหุ้นหรือมูลค่าครบกำหนดการไถ่ถอน หรือ V=I(PVIFA ที่ Kd % ,n ปี )+F(PVIFที่ Kd % ,nปี)
กรณีที่หุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าปีละครั้ง จะต้องปรับสูตรจากคำนวนปี เป็นจำนวนงวดที่จ่ายชำระดอกเบี้ย เมื่อ
การประเมิณมูลค่าหุ้นกู้ชนิดแปลงสภาพได้สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ โดยธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์จะกำหนดว่าหลังจากออกมาแล้วจำนวนกี่ปี จึงสามารถแปลงสภาพได้ ในอัตราแปลงสภาพเท่าใด สูตร C = มูลค่าแปลสภาพ เท่ากับอัตรแปลงสภาพคูณกับราคาตลาดของหุ้นสามัญ ณ เวลาที่แปลสภาพ ถ้าหุ้นกู้แปลสภาพจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าปีละครั้ง สามารถคำนวนหามูลค่าที่แท้จริง เขียนสูตรได้ดังนี้
ตราสารหนี้ โครงสร้างพื้นฐานของตราสารคือตราสารหนี้ โครงสร้างพื้นฐานของตราสารคือ Coupon อัตรดอกเบี้ยคงที่ หรือเปลี่ยนแปลงได้ Maturity ระยะเวลากำหนดไถ่ถอนคงที่หรือเปลี่ยนแปลงได้ Redemption การไถ่ถอนก่อนหรือหลังกำหนดไถ่ถอน หรือนำไปโยงกับตัวแปรอื่นๆได้ Issue Price เรียกชำระเต็มมูลค่า หรือพียงบางส่วน Warrants มีหรือไม่
อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ มี 3 ประเภท • จ่ายอัตรดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Coupon) • จ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปรได้ (Variable Rates) • จ่านอัตรดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) - FRNs
จ่ายอัตรดอกเบี้ยคงที่จ่ายอัตรดอกเบี้ยคงที่ • Plain Vanilla Fixed Coupon เป็นตราสารแบบดั้งเดิมจ่ายผลตอบแทนในอัตราคงที่ • Zero Coupon เป็นตราสารที่ไม่จ่ายผลตอบแทน แต่จะขายในราคามีส่วนลด แล้วไถ่ถอนในราคาที่ตราไว้ • Foreign Currency จ่ายผลตอบแทนเป็นเงินตราต่างประเทศ
จ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปรได้จ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปรได้ • Graduate Rate Coupon จ่ายอัตรดอกเบี้ยแตกต่างกันตามอายุการไถ่ถอน • Profit Sharing Bond จ่ายอัตรดอกเบี้ยโดยโยงเข้ากับการจ่ายเงินปันผล • Indexed จ่ายอัตราดอกเบี้ยโดยโยงกับดัชนีบางอย่าง
จ่ายอัตรดอกเบี้ยแบบลอยตัวจ่ายอัตรดอกเบี้ยแบบลอยตัว • Plain Vanilla FRN จ่ายอัตราดอกเบี้ยโดยขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป • Floor จ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ประกันอัตราขั้นต่ำไว้ • Cap จ่ายอัตรดอกเบี้ยที่มีการกำหนด • Collar มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดและสูงสุดไว้ • Convertible FRNs มีการกำหนดเงื่อนใข ที่ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ได้ตลอดเวลา • Drop-Lock จะแปลงสภาพเป็นตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ทันทีที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ • Double Drop-Lock เป็นการจ่ายอัตราดอกเบี้ย 2 อัตรา นักลงทุนในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
การประเมินทูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ์การคำนวนหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นบุริมสิทธิ์การประเมินทูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ์การคำนวนหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นบุริมสิทธิ์ • D= เงินปันผลรับ
หุ้นบุริมสิทธิ์ จ่ายเงินปันผลมากกว่าปีละ 1 ครั้ง • หุ้นบุริมสิทธิ์ของบริษัท ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญเป็นการประเมินตัวแบบคิดลดเงินปันผล (Dividend Discount Models) แบ่งเป็น 3 ประเภท • อัตราการเพิ่มของเงินปันผลป็นศูนย์ (Zero GrowthModel) • อัตรการเพิ่มของเงินทุนปันผลคงที่ (Constant GrowthModel) • อัตรการเพิ่มของเงินทุนปันผลไม่คงที่ (Multiple GrowthModel)
อัตราการเพิ่มของเงินปันผลเป็นศูนย์ หมายถึง เงินปันผลเท่ากันทุกปี
อัตรการเพิ่มของเงินทุนปันผลคงที่ หมายถึง เงินปันผลที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นที่เท่ากันทุกๆ ปี
อัตรการเพิ่มของเงินทุนปันผลไม่คงที่ หมายถึง อัตราการเพิ่มของเงินปันผลที่ไม่เท่ากัน แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกอัตราไม่เท่ากัน ช่วงต่อไปอัตราเพิ่มของเงินปันผลคงที่ตลอดไป