1 / 22

บทที่ 3

บทที่ 3. การแจกแจงปกติ. การแจกแจงปกติ. การแจกแจงปกติเป็นการแจกแจงที่สำคัญที่สามารถใช้แทนการแจกแจงของข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความสูง น้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น กราฟของการแจกแจงปกติเรียกว่า โค้งปกติ มีลักษณะเป็นรูประฆัง (ที่สมมาตร). คุณสมบัติของโค้งปกติ. 1) เป็นโค้งปกติสมมาตร

Download Presentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การแจกแจงปกติ

  2. การแจกแจงปกติ การแจกแจงปกติเป็นการแจกแจงที่สำคัญที่สามารถใช้แทนการแจกแจงของข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความสูง น้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น กราฟของการแจกแจงปกติเรียกว่า โค้งปกติ มีลักษณะเป็นรูประฆัง (ที่สมมาตร)

  3. คุณสมบัติของโค้งปกติ 1) เป็นโค้งปกติสมมาตร 2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  3)พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติเท่ากับ 1 หรือ 100% 4)ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยมมีค่าเท่ากันและอยู่ตรงกลางของกราฟ ดังนั้นจะแบ่งพื้นที่ใต้ โค้งปกติออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ครึ่งละ 0.5 หรือ 50% พื้นที่ใต้เส้นโค้งทั้งหมด = 1 หรือ 100%

  4. คุณสมบัติของโค้งปกติ 5) ปลายหางทั้งสองข้างของโค้งปกติ จะเข้าใกล้แกนนอน แต่จะไม่ตัดแกนนอน และพื้นที่ระหว่างแกนนอนกับเส้นโค้งปกติ จะมีค่าใกล้ศูนย์เมื่ออยู่ห่างจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตไปมาก ๆ

  5. คุณสมบัติของโค้งปกติ • โค้งปกติจะมีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยเลขคณิต () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ ดังนั้น เมื่อทราบค่าพารามิเตอร์ 2 ค่านี้ จะสามารถหาพื้นที่ใต้โค้งปกติ ในช่วงที่กำหนดให้ได้ จึงมีโค้งปกติได้มากมายขึ้นอยู่กับค่า  และ นี้ โดย  จะเป็นค่าบนแกนนอนที่จะแบ่งพื้นที่ใต้เส้นโค้งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน และ จะเป็นค่าที่จะทำให้โค้งปกติโด่งมากหรือโด่งน้อย เช่น กราฟของโค้งปกติด้านข้างเป็นโค้งปกติที่มีค่า เท่ากันแต่ ต่างกัน 3 ค่า

  6. การแจกแจงปกติมาตรฐาน • เนื่องจากพื้นที่ใต้เส้นโค้งก็คือความน่าจะเป็น ดังนั้นเมื่อต้องการหาค่าความน่าจะเป็นหรือพื้นที่ใต้เส้นโค้งในช่วงใดช่วงหนึ่ง ต้องใช้วิธีการอินทิเกรต เนื่องจากเป็นตัวแปรแบบต่อเนื่อง ซึ่งทำได้ยาก จึงสร้างตารางเพื่อหาพื้นที่หรือความน่าจะเป็นสำหรับ = 0 และ = 1 เรียกว่า การแจกแจงปกติมาตรฐานใช้สัญลักษณ์ Z โดย เมื่อ X มีการแจกแจงปกติที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ และ Z มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 คะแนนมาตรฐานมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไปว่ามีค่ามากหรือน้อย โค้งการแจกแจงปกติมาตรฐาน = 0 , = 1

  7. ตัวอย่าง • ความเร็วเฉลี่ยของรถบรรทุกบนถนนไฮเวย์เท่ากับ 70 กม.ต่อชม. และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5 กม.ต่อ ชม. มีรถบรรทุก 3 คัน ขับรถบนถนนไฮเวย์ด้วยความเร็ว 80 และ 62 และ 70 กม. ต่อชม. จงหาค่ามาตรฐานของความเร็วรถทั้ง 3 คัน

  8. ตัวอย่าง • ความเร็วเฉลี่ยของรถบรรทุกบนถนนไฮเวย์เท่ากับ 70 กม.ต่อชม. และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5 กม.ต่อชม. จงหาความเร็วเมื่อทราบค่ามาตรฐานเป็น 1.96, -2.33 และ 0 • ให้ X เป็นความเร็วของรถบรรทุก • Z = • = 70 , = 5 • x = + Z • Z = 1.96 x = 70 + 1.96(5) = 70 + 9.80 = 79.80 กม.ต่อ ชม. Z = -2.33 x = 70 + 2.33(5) = 70 – 11.65 = 58.35 กม.ต่อ ชม. Z = 0 x = 70 - 0(5) = 70 กม.ต่อ ชม. • ความเร็ว 79.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีค่าสูงกว่าความเร็วเฉลี่ย • 58.35 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีค่าต่ำกว่าความเร็วเฉลี่ย • 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีค่าเท่ากับความเร็วเฉลี่ย

  9. ตัวอย่าง • จงหาพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐานจาก Z = 0 ถึง Z = 1.95

  10. ตัวอย่าง • จงหาพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐานจาก Z = -2.17 ถึง Z = 0

  11. ตัวอย่าง • จงหาพื้นที่ดังต่อไปนี้ 1. พื้นที่ (Z > 2.32) 2. พื้นที่ (Z < -1.54) 3. พื้นที่ (1.19 < Z < 2.12) 4. พื้นที่ (-1.56 <Z < 2.13) 5. พื้นที่ (Z > -75) 6. พื้นที่ (-2 < Z < -.5)

  12. ตัวอย่าง • พื้นที่ (Z > 2.32) • = 0.5 – พื้นที่ (0 < Z < 2.32) • = 0.5 - .4848 • = 0.0152 • พื้นที่ (Z < -1.54) • = พื้นที่ (Z > 1.54) • = 0.5 – พื้นที่ (0 < Z < 1.54) • = 0.0618 • พื้นที่ (1.19 < Z< 2.12) • = พื้นที่ (0 <Z < 2.12) – พื้นที่(0 < Z < 1.19) • = 0.4830 - 0.3830 • = 0.10

  13. ตัวอย่าง • 4. พื้นที่ (-1.56 <Z < 2.13) • = พื้นที่ (-1.56 < Z < 0) + พื้นที่(0 < Z < 2.13) • = พื้นที่ (0 < Z < 1.56) + พื้นที่ (0 < Z < 2.13) • = .4406 + .4834 • = .9240 • 5. พื้นที่ (Z > -75) • = พื้นที่(Z < .75) • = 0.5 + พื้นที่ (0 < Z < .75) • = 0.5 + .2088 • = .7088 • พื้นที่ (-2 < Z < -.5) • = พื้นที่ (.5 < Z < 2) • = พื้นที่ (0 < Z < 2) – พื้นที่ (0 < Z < .5) • = .4772 - .1915 • = .2857

  14. การแจกแจงปกติมาตรฐาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐานในช่วง 1 หน่วยของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 68.26% พื้นที่ (-1 < Z < 1) = 68.26% พื้นที่ที่ต้องการหาเป็นผลบวกของพื้นที่ระหว่าง Z= -1 ถึง Z=0 และระหว่าง Z=0 และ Z= -1 ซึ่งพื้นที่แต่ละช่วงเป็น 0.3413 หรือ 34.13% ดังนั้นพื้นที่ระหว่าง Z = -1 ถึง Z = 1 เท่ากับ 34.13 + 34.13 หรือ 64.13%

  15. การแจกแจงปกติมาตรฐาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 2)พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตาฐานในช่วง 2 หน่วยของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 95.44% พื้นที่ (-2 < Z < 2) = 95.44 % • พื้นที่ที่ต้องการหาเป็นผลบวกของพื้นที่ระหว่าง Z = -2 ถึง 0 และระหว่าง Z = 0 ถึง Z = 2 ซึ่งพื้นที่แต่ละช่วงเป็น 0.4772 หรือ 47.72%ดังนั้นพื้นที่ระหว่าง Z = -2 ถึง Z = 2 เท่ากับ 47.72 + 47.72 หรือ 95.44%

  16. การแจกแจงปกติมาตรฐาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 3) พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐานในช่วง 3 หน่วยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 99.74% พื้นที่ (-3 < Z < 3) = 99.74 % พื้นที่ที่ต้องการหาเป็นผลบวกของพื้นที่ระหว่าง Z = -3 ถึง 0 และระหว่าง Z = 0 ถึง Z = 3 ซึ่งพื้นที่แต่ละช่วงเป็น 0.4987 หรือ 49.87%ดังนั้นพื้นที่ระหว่าง Z = -3 ถึง Z = 3 เท่ากับ 49.87 + 49.87 หรือ 99.7%

  17. ตัวอย่าง จงหาความน่าจะเป็นของการแจกแจงปกติมาตรฐาน 1. P(0 < Z < 5.67) = 0.5 - .5 = 0 2. P(Z < -5.35) = P(Z > 5.35) = .5 – P(0 < Z < 5.35) = .5 - .5 = 0

  18. ตัวอย่าง ให้ X เป็นตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่องที่มีการแจกแจงปกติที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4จงหา • พื้นที่ (25 < X < 32) • = พื้นที่ • = พื้นที่ (0 < Z < 1.75) • = 0.4599 • พื้นที่ (18 < X < 34) • = พื้นที่ • = พื้นที่ (-1.75 < Z < 2.25) • = พื้นที่ (-1.75 <Z< 0) + พื้นที่ (0< Z<2.25) • = 0.4599 + .4878 • = 0.9477

  19. ตัวอย่าง ให้ X เป็นตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่องที่มีการแจกแจงปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5 จงหาความน่าจะเป็นดังต่อไปนี้จงหา • P(X > 55) • = • = P(Z > 3) • = 0.5 - 0.4987 • = 0.0013 • P(X < 49) • = • = P(Z < 1.8) • = 0.5 + .4641 • = 0.9641

  20. ตัวอย่าง ให้ X เป็นตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่องที่มีการแจกแจงปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8 จงหา P(30 < X < 39) P(30 < X < 39) = = P(-2.50 < Z < -1.38) = P(-2.50 < Z < 0) – P(0 < Z < -1.38) = 0.4938 - 0.4162 = 0.0776

  21. ตัวอย่าง ให้ X เป็นตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่องที่มีการแจกแจงปกติที่มี  = 80 และ  = 12 จงหา • พื้นที่จาก X = 70 ถึง X = 135 • = พื้นที่ (70 < X < 135) = พื้นที่ • = พื้นที่ (-.83 < Z < 4.58) • = พื้นที่ (-.83 < Z< 0)+พื้นที่(0< Z< 4.58) • = 0.2967 + 0.5 • = 0.7967

  22. ตัวอย่าง ให้ X เป็นตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่องที่มีการแจกแจงปกติที่มี  = 80 และ  = 12 จงหา 2. พื้นที่ทางซ้ายของ X = 27 = พื้นที่ (X < 27) = พื้นที่ = พื้นที่ (Z < -4.42) = 0.5 – พื้นที่ (-4.42 < Z < 0) = 0.5 – 0.5 = 0

More Related