1 / 35

บทที่ 11 การออกแบบฐานข้อมูล( Database Design)

บทที่ 11 การออกแบบฐานข้อมูล( Database Design). ฐานข้อมูล (Database) จัดเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Data Store) ของระบบข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ภายในสื่อต่างๆ เช่น Tape , Disk

eshe
Download Presentation

บทที่ 11 การออกแบบฐานข้อมูล( Database Design)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 11 การออกแบบฐานข้อมูล(Database Design) ฐานข้อมูล(Database) จัดเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล(Data Store) ของระบบข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ภายในสื่อต่างๆ เช่น Tape ,Disk โดยข้อมูลที่ถูกรวบรวม จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น ระบบทะเบียนนักศึกษาจะมีข้อมูล นักศึกษา อาจารย์ การลงทะเบียนเรียน รายวิชาที่เปิดสอน และ ผลการเรียน เป็นต้น การจัดการใดๆ กับข้อมูล จะอยู่ภายใต้การทำงานของซอฟต์แวร์ ที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS Software) เช่น Oracle , DB2 เป็นต้น

  2. วงจรชีวิตการพัฒนาฐานข้อมูล(Database Life Cycle:DBLC) 1. Database Initial Study เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล จากการเก็บรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย ปัญหา ขอบเขตและกฎระเบียบต่างๆ ของการพัฒนาฐานข้อมูลต่อไป 2. Database Designเป็นการนำรายละเอียด ในข้อ 1 มาออกแบบฐานข้อมูลทั้ง 3 ระดับ คือ Conceptual Design , Logical Design และ Physical Design 3. Implementation & Loadingเป็นการนำเอาเค้าร่างของฐานข้อมูล ในข้อ 2 มาทำการจัดสร้างฐานข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลจริง รวมทั้งการแปลงข้อมูลของระบบงานเดิมเข้าสู่ฐานข้อมูลของระบบงานใหม่(ในกรณีที่ระบบงานเดิมมีการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล)

  3. วงจรชีวิตการพัฒนาฐานข้อมูล(Database Life Cycle:DBLC) 4. Testing & Evaluationเป็นการทดสอบระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น เพื่อหาข้อผิดพลาดโดยรวม และประเมินความสามารถของระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้งานด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 5. Operation เป็นการนำเอาระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง 6. Maintenance & Evolutionเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานจริงของระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยเน้นในเรื่องการบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ขั้นตอนของการแก้ไขปรับปรุงระบบฐานข้อมูล ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ระบบ

  4. การออกแบบฐานข้อมูล(Database Design) 1. การออกแบบฐานข้อมูลในระดับความคิด (Conceptual Database Design) เป็นการกำหนดเค้าร่างของข้อมูล โดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ ซึ่งจะได้ • ข้อมูล • ความสัมพันธ์ของข้อมูล • เค้าร่างที่เป็นผลลัพธ์ของการออกแบบฐานข้อมูลในขั้นนี้เรียกว่า Conceptual Schema • อาจอยู่ในรูปแบบของ E-R Diagram

  5. การออกแบบฐานข้อมูล(Database Design) 2. การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ (Logical Database Design) เป็นการนำข้อมูลและความสัมพันธ์มาทำการ • ปรับเปลี่ยน (Mapping) ให้มีโครงสร้างที่สอดคล้องกับรูปแบบของฐานข้อมูลที่จะนำมาใช้งาน เช่นRelational Database , Hierarchical Database หรือ Network Database • จะได้เค้าร่างที่เป็นผลลัพธ์ เรียกว่าLogical Schema • แปลงเค้าร่างให้อยู่ในรูปของรีเลชั่น (Relation) (ในกรณีที่เลือกใช้ Relational Database)

  6. การออกแบบฐานข้อมูล(Database Design) 3. การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ (Physical Database Design) เป็นการปรับรายละเอียดของข้อมูล ให้สอดคล้องกับDBMS Software ที่เลือกใช้ เช่น ประเภทข้อมูล โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล และวิธีการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้นโดยที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ไปใช้สร้างฐานข้อมูลจริง

  7. หน้าที่ในการพัฒนาฐานข้อมูลหน้าที่ในการพัฒนาฐานข้อมูล ประกอบด้วย 4 ฝ่าย คือ 1. Database Administratorหรือ DBA เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการและควบคุมโครงงานและเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ ซึ่งกำหนดมาตรการเรียกใช้และควบคุมฐานข้อมูล รวมถึงจัดการฐานข้อมูล ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล และเก็บสำรองแฟ้มข้อมูล (Backup) และวางแผนการกู้คืนข้อมูล (Recovery) 2. Database System Analystsเป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยทำการศึกษาระบบงานเดิมและออกแบบฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบงานใหม่

  8. หน้าที่ในการพัฒนาฐานข้อมูลหน้าที่ในการพัฒนาฐานข้อมูล 3. Computer Operation Staffคือ เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่อง ทำการสำรองข้อมูล(Backup) และประมวลผลข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ 4. End Userคือผู้ใช้ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในระบบที่ตนเองรับผิดชอบเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ระบบข้อมูลที่สนองความต้องการของผู้ใช้ระบบ

  9. วิธีการที่ใช้ในการออกแบบฐานข้อมูลวิธีการที่ใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลสามารถจำแนกได้เป็น 2 วิธี คือ 1. วิธีการอุปนัย (Bottom-Up หรือ Inductive Approach) เป็นการออกแบบโดยอาศัยวิธีการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เดิมจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาจัดสร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ โดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานที่ว่า ลักษณะงานของแต่ละหน่วยงานมีความซับซ้อน สมบูรณ์แตกต่างกันไป 2. วิธีการนิรนัย (Top-Down หรือ Deductive Approach) เป็นการคัดเลือกบุคคล เพื่อศึกษาถึงข้อมูลและความต้องการข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและนำข้อมูลที่ได้มาทำการออกแบบฐานข้อมูล โดยที่บุคคลผู้ซึ่งถูกคัดเลือกนั้นจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจระบบในภาพรวมอย่างแท้จริง

  10. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(1)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(1) 1. การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการใช้ข้อมูล เป็นการศึกษาถึงความต้องการใช้ข้อมูลในมุมมอง(View) ของผู้ใช้แต่ละคนทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ 1.1 กำหนดกลุ่มผู้ใช้ระบบ ขั้นตอนการทำงาน และข้อมูลที่ต้องการใช้งาน รวมถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในระบบ 1.2 ทบทวนเอกสารและรายงานที่ใช้งานอยู่จริงในระบบเดิม เพื่อช่วยเก็บรายละเอียดของข้อมูล

  11. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(1)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(1) 1.3 วิเคราะห์ถึงสภาพการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความต้องการในการประมวลผลข้อมูล แผนการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ถึงประเภทของข้อมูลนำเข้า ประเภทของรายงานและความถี่ในการประมวลผลและการออกรายงาน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือปริมาณของข้อมูล และความต้องการเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูล 1.4 การสัมภาษณ์และออกแบบสอบถามเพิ่มเติม ซึ่งจะได้ลำดับก่อนหลังของการใช้ข้อมูล ความสำคัญของงาน ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล

  12. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(2)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(2) 2. การออกแบบฐานข้อมูลในระดับความคิด เป็นการกำหนดโครงสร้างของข้อมูล ความหมาย ความสัมพันธ์ และข้อจำกัดต่างๆ ของข้อมูล อาจนำเสนอในลักษณะของการสร้างแบบจำลองข้อมูลต่างๆ เช่น E-R(E-R Model) หรือ Object-Oriented Data Model (OOD) ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของฐานข้อมูลทั้งระบบและมีรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีขั้นตอนดังนี้ คือ 2.1 กำหนดEntity และ Attribute 2.2 กำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง Entity

  13. ความสัมพันธ์ของข้อมูลความสัมพันธ์ของข้อมูล ประชาชน 1 มี 1:1 One- to - One 1 เลขที่บัตรประชาชน นักศึกษา 1 1 1: N One - to - Many ลงทะเบียน 1 N วิชา อาจารย์ N 1 สอน N : M Many - to - Many 1 N วิชา

  14. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(2)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(2) 2.3 กำหนด Primary Key และForeign Keyรวมทั้งเงื่อนไขของกระทำใดๆ ของข้อมูล เช่น การลบ/การแก้ไข/การเพิ่ม 2.4 เขียนแผนภาพแบบจำลอง Initial E-R Diagram 2.5 การปรับเค้าร่างข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐาน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูล และหลีกเลี่ยงปัญหาของการเกิด Data Anomalies 2.6 เขียนแผนภาพสุดท้ายของแบบจำลอง E-R (Final E-R Diagram)

  15. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(2)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(2) 2.7 พิจารณาลักษณะและขอบเขตของข้อมูล โดยการกำหนดประเภทของข้อมูลแต่ละฟิลด์ รวมทั้งข้อจำกัด หรือ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีผลต่อการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฟิลด์ เช่น Data Type / Format / Meaning / Null / Not Null / Length / Range / Unique Non-Unique / Default Value 2.8 ทำการรวบรวม และทบทวนการออกแบบฐานข้อมูลในระดับความคิดที่ถูกออกแบบไว้แล้วโดยพิจารณามุมมอง(View) ของผู้ใช้หลายคนร่วมด้วย และทำการปรับปรุงเค้าร่างให้ เหมาะสมกับมุมมองเหล่านั้น

  16. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(3)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(3) 3. การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ มีดังนี้ 3.1 ปรับเปลี่ยนเค้าร่างที่ถูกออกแบบไว้แล้วในระดับความคิดให้สอดคล้องกับโครงสร้างของฐานข้อมูลที่เลือกใช้ 3.2 ในกรณีที่เลือกใช้รูปแบบของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) จะเป็นการแปลง E-R Model หรือ E-R Diagram ให้อยู่ในรูปแบบของตารางข้อมูล (Relation)

  17. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(3)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(3) 3.3 การแทนค่าความสัมพันธ์ระหว่าง Entityเช่น ความสัมพันธ์ แบบ One-to-One / One-to-Many /Many-to-Many หรือ รีเคอร์ซีฟ (Recursive) 3.4 ตรวจสอบข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลภายในรีเลชั่นที่เป็น ผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่เป็นบรรทัดฐาน(Normal Form ระดับที่ BCNF 4 NF และ5 NF) ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากการกระทำใดๆ กับข้อมูล 3.5ระบุข้อจำกัด กฎเกณฑ์ที่ใช้กับฐานข้อมูล และการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล ไว้ภายในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

  18. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(3)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(3) อีกวิธีหนึ่งของการออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ (Logical Database Design) ที่นิยมใช้กับการออกแบบโมเดลเชิงสัมพันธ์ คือ ไม่ต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด (Conceptual Database Design) แต่สร้างรีเลชั่นขึ้นโดยตรง(ไม่ต้องผ่านการสร้าง E-R Diagram) มีขั้นตอนดังนี้ คือ 3.5.1 รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ระบบ 3.5.2 สร้างรีเลชั่น จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ 3.5.3 ทำรีเลชั่นให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐาน (Normal Form) 3.5.4 กำหนด Attribute ที่ใช้เป็นคีย์ต่างๆ ของรีเลชั่น (Relation)

  19. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(4-5)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(4-5) 4. การเลือกระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยด้านเทคนิค ด้านเศรษฐกิจ และต้นทุน เป็นต้น 5.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพซึ่งเป็นขั้นตอนของการปรับเปลี่ยน(Mapping) เค้าร่างระดับตรรกะ ให้เป็นระดับกายภาพ โดย • กำหนดโครงสร้างที่ใช้จัดเก็บข้อมูลจริง (Data Storage Structure) รวมทั้ง เนื้อที่ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล • กำหนดชนิดของหน่วยความจำสำรองที่จัดเก็บ • วิธีการเรียกใช้ข้อมูล(Access Approach) จากฐานข้อมูล เช่น Sequential , Direct , Index หรือ Lists เป็นต้น • กำหนดการปรับฐานข้อมูลหรือระบบงาน (Tuning) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการฐานข้อมูล

  20. ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(6-7)ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล(6-7) 6. การสร้างฐานข้อมูลขึ้นใช้งาน โดยการใช้โปรแกรมภาษาที่อยู่ใน DBMS Software เขียนคำสั่งต่างๆ ในรูปแบบของ Data Definition Language (DDL) ,Data Manipulation Language (DML) และ Data Control Language (DCL) และมีการแปลคำสั่งเหล่านี้ พร้อมทั้ง Load ข้อมูลลงในฐานข้อมูลใหม่ เพื่อพร้อมที่จะนำไปใช้งาน 7. การควบคุมและประเมินผลการใช้งาน โดยการควบคุมการทำงาน หรือการประมวลชุดคำสั่งงานของรายการต่างๆ และทำการประเมินและตรวจสอบข้อบกพร่องที่มีอยู่

  21. แผนภาพ E-R รหัสสถานที่ รหัสคนงาน วันที่เริ่ม ประเภท ชื่อคนงาน จน.ชั่วโมง อัตราค่าแรง ที่อยู่ ถูกควบคุมโดย 1 N 1 N การทำงาน คนงาน สถานที่ก่อสร้าง 1 N ได้รับมอบหมาย ทำงานที่ N ของ 1 ความชำนาญ ประเภท ชั่วโมงขั้นต่ำ อัตราโบนัส

  22. AVISOR ID ST_ID ST_NAME ADVISER_ID ST_ID ST_NAME ADVISE M 1 ADVISOR STUDENT STUDENT 1 M 1 ADDRESS AVISOR ID AVISOR NAME ADVISER NAME ADDRESS MAKE Is Register COURSE ID ST_ID SEMESTER GRADE SEMESTER 1 M M INTO 1 M REGISTER COURSE COURSE COURSE DESC COURSE ID GRADE CREDIT COURSE ID COURSE DESC CREDIT The Final E-R Diagram The Initial E-R Diagram

  23. Entity Relationship Modeling • E-R modeling เป็นการนำเสนอแผนภาพแบบจำลองข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ภายในฐานข้อมูล ในระดับความคิด( high-level conceptual data model) ที่ถูกพัฒนาโดย Chen (1976) • แบบจำลอง E-R มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ทราบมุมมองของข้อมูลในระดับภายนอก (External level) ซึ่งไม่มีรายละเอียดในส่วนของเทคนิคการออกแบบฐานข้อมูล • เป็นการเชื่อมโยงมุมมองของผู้ใช้ข้อมูลกับในส่วนของเทคนิคเข้าด้วยกัน เรียกว่ามุมมองในระดับความคิด (Conceptual level)

  24. องค์ประกอบของ E-R Model 1. Entity เป็นวัตถุ สิ่งของ หรือแนวคิดที่กำหนดโดยลักษณะงานขององค์กร โดยแสดงกลุ่มของวัตถุที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น นักศึกษา พนักงาน รถยนต์ เป็นต้น โดยเน้นถึงความเป็นอิสระของความคงอยู่ (Independent Existence) ของวัตถุเหล่านั้น 2 ด้าน คือ 1.1 ความอิสระของความคงอยู่ของวัตถุทางกายภาพ (Physical Existence) เป็นวัตถุที่มีตัวตนจับต้องได้ เช่น พนักงาน สินค้า ลูกค้า หรือ ผู้ขาย เป็นต้น ซึ่งเอนติตี้เหล่านี้มักจัดเป็น Strong Entity 1.2 ความอิสระของความคงอยู่ของวัตถุทางแนวความคิด (Conceptual Existence) เป็นวัตถุซึ่งไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ เป็นแนวคิดของการทำงาน เช่น การขาย การตรวจสอบ การจัดซื้อ เป็นต้น ซึ่งเอนติตี้เหล่านี้มักเป็น Weak Entity type ซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง ต้องขึ้นกับ Strong Entity

  25. 2. Attribute • 2. Attribute คือ field ภายในเอนติตี้ เช่น entity สาขา มี attributes หมายเลขสาขา ,ที่อยู่ ,โทรศัพท์ และ แฟกซ์ เป็นต้น • Attribute domain คือประเภทของ attribute เช่น หมายเลขสาขา กำหนดเป็น integer , ที่อยู่ กำหนดเป็น character ขนาด 150 character เป็นต้น • Simple attributeเป็น attribute ที่ประกอบด้วยฟิลด์เดียวที่มีความเป็นอิสระในการขึ้นต่อกัน เช่น เงินเดือน อายุ • Composite attributeเป็น attribute ที่ประกอบด้วยหลายๆ ฟิลด์ ซึ่งแต่ละฟิลด์มีความเป็นอิสระในการขึ้นต่อกัน เช่น address สามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ดังนี้ บ้านเลขที่,ถนน,ตำบล,อำเภอ,จังหวัด,รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น

  26. 2. Attribute • Single-valued attributeเป็น attribute ที่มีเพียงค่าๆ เดียว เช่น เงินเดือน • Multi-valued attributeเป็น attribute ที่มีค่ามากกว่าหนึ่งค่า เช่น หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ สามารถมีโทรศัพท์มากกว่าหนึ่งหมายเลข ใช้สัญลักษณ์วงกลมซ้อนกัน • Derived attributeคือ attribute ที่ได้มาจากค่าของ attribute อื่น เช่น อายุคำนวณได้จาก attribute วันเกิด • 3. Key เป็นการกำหนด attribute ในเอนติตี้ให้เป็นตัวแทนของข้อมูล ใน แต่ละเรคอร์ท • Candidate key(คีย์คู่แข่ง)คือ attribute หรือกลุ่มของ attributes ที่สามารถเป็นคีย์ได้

  27. 3. Key • Primary key (คีย์หลัก) คือ candidate key ที่ถูกเลือกให้เป็นคีย์หลัก เช่น รหัสนักศึกษา ใช้สัญลักษณ์ขีดเส้นใต้ชื่อ attribute ที่เป็นคีย์หลัก • Composite keyคือ key ที่มี attribute ประกอบกันตั้งแต่สอง attributes ขึ้นไป และเป็นค่าที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่มีความซ้ำซ้อน Composite attribute Single valued attribute Mutivalued attribute Primary key Derived attribute รูปแสดงตัวอย่าง entity type นักศึกษา

  28. 4. Relationship type 4. Relationship typeคือชื่อความสัมพันธ์ระหว่าง entity ตั้งแต่สอง entity ขึ้นไป เช่น สังกัด(allocated) เป็นชื่อความสัมพันธ์ที่ระบุว่านักศึกษาสังกัดคณะ Entity Relationship Entity

  29. 5. Degree of a relationship 5. Degree of a Relationshipคือ จำนวนของ entities ที่มีความสัมพันธ์กันโดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ 5.1Unary relationshipหรือ Recursive relationshipเป็นความสัมพันธ์ของ entities ระหว่าง entity เดียวกัน เช่น พนักงานที่เป็นผู้จัดการ กับพนักงานทั่วไป พนักงานที่เป็นผู้จัดการมีอำนาจในการบังคับบัญชาพนักงานทั่วไปที่เป็นลูกน้อง

  30. 5. Degree of a relationship 5.2 Binary relationshipเป็นความสัมพันธ์ของ entities ระหว่างสอง entity เช่น 5.3 Ternary relationship เป็นความสัมพันธ์ของ entities ระหว่างสาม entity

  31. 5. Degree of a relationship • 5.4 Quaternary relationshipเป็นความสัมพันธ์ของ entities ระหว่างสี่ entity เช่น กรณีตัวอย่างของบริษัทขายรถยนต์ ที่มีความสัมพันธ์ relationship type ขาย

  32. THE NORMALIZATION PROCESS ความหมาย เป็นขั้นตอนของการทำบรรทัดฐานข้อมูล ที่ต่อเนื่องจากขั้นตอนของการกำหนดเอ็นติตี้และแอททริบิวท์ของข้อมูล โดยสร้างรูปแบบที่ปกติของการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล วัตถุประสงค์ - เพื่อหลีกเลี่ยงรูปแบบที่ไม่ปกติของข้อมูล(Unnormalized Data) - เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Reduce Redundancy Data) - เพื่อลดความขัดแย้งของข้อมูล (Reduce Inconsistency Data)

  33. The Normalization Process First Normal Form (1 NF) Second Normal Form (2 NF) Third Normal Form(3 NF) Boyce Codd Normal Form (BCNF) Fourth Normal Form (4 NF) Fifth Normal Form (5NF)

  34. UNNORMALIZED DATA 1 N advises ADVISOR STUDENT N takes M COURSE

  35. NORMALIZED DATA ADVISOR 1 advises N 1 N STUDENT receives GRADE N gives 1 COURSE

More Related