300 likes | 420 Views
Consultant Services and Warning System for Treatment of Cardiac Patient using Web Services Technology ระบบให้บริการคำปรึกษาและแจ้งเตือนสำหรับการรักผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส. ผู้ป่วยโรคหัวใจเดินทางไปโรงพยาบาลชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุขมูลฐานจะต้องได้รับการ
E N D
Consultant Services and Warning System forTreatment of Cardiac Patient using Web Services Technologyระบบให้บริการคำปรึกษาและแจ้งเตือนสำหรับการรักผู้ป่วยโรคหัวใจโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส
ผู้ป่วยโรคหัวใจเดินทางไปโรงพยาบาลชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุขมูลฐานจะต้องได้รับการ ผู้ป่วยโรคหัวใจเดินทางไปโรงพยาบาลชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุขมูลฐานจะต้องได้รับการ รักษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจังหวัดในเวลาก่อนที่จะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น งานนี้ นำเสนอบริการที่ปรึกษาและระบบการเตือนสำหรับการรักษาการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยโดยใช้ เทคโนโลยีเว็บบริการเปิดใช้ระบบการดูแลสุขภาพของหน่วยที่ใช้แพลตฟอร์มที่ต่างกันเพื่อให้ สามารถโดยอัตโนมัติแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยและคลื่นไฟฟ้าการวิจัยนี้จะเอื้อต่อโรงพยาบาลชุมชน เพื่อแจ้งให้ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลจังหวัดเมื่อผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาฉุกเฉินมาถึงที่ โรงพยาบาลชุมชน ระบบยังอำนวยความสะดวกผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้สามารถค้นหารายละเอียดของ ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่สถาบันอื่น ๆ การดูแลสุขภาพผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำปรึกษาในการรักษา ผู้ป่วยผ่านอินเตอร์เฟซการประชุมและวิดีโอของระบบเป็นผลให้ผู้ป่วยโรคหัวใจจะได้รับการให้ คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญการรักษาในเวลาก่อนอาการรุนแรงเกิดขึ้น
1. บทนำ โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นหนึ่งในโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในผู้ป่วยมากที่สุดโรคหนึ่ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจาก อาการของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและอย่างฉับพลัน ในปัจจุบันได้มีหน่วยบริการสุขภาพ เกิดขึ้นมากมายทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลประจะจังหวัด โรงพยาบาล ชุมชน เป็นต้น
ปัญหาของการปฏิบัติงานปัญหาของการปฏิบัติงาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถทราบรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็นของผู้ป่วยรายนั้นได้ทันที เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต การรักษาที่เคยได้รับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา ซึ่งเป็น ข้อมูลที่สำคัญต่อการวินิจฉัยและสั่งการ ถ้าข้อมูลที่ได้รับไม่เพียงพอหรือไม่มีความชัดเจน ก็ จำเป็นที่จะต้องส่งตัวผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาต่อกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งผู้ป่วยก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนในระหว่างการเดินทางได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา งานวิจัยนี้ได้เสนอระบบให้บริการคำปรึกษาและแจ้งเตือนสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดย ใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Consultant Services and Warning System for Treatment of Heart Disease Patients using Web ServicesTechnology หรือเรียกย่อๆว่า CAWS) โดยมีวัตถุประสงค์ใน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น คือ ช่วยให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสามารถใช้งาน ระบบ CAWS บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อแจ้งเตือนไปยังระบบงานของโรงพยาบาลประจำ จังหวัดในขณะเดียวกันก็จะทำการติดต่อไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง ซึ่งแพทย์ก็สามารถให้ คำปรึกษาผ่านระบบงาน CAWS พร้อมทั้งการสืบค้นประวัติการรักษาของผู้ป่วยได้ด้วย
2. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 2.1 เว็บเซอร์วิส (Web Services) เว็บเซอร์วิสเป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นมาตรฐานเปิด (open standard) โดย มุ่งเน้นที่เกี่ยวกันปัญหาการบูรณาการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้ระบบหรือ โปรแกรมประยุกต์ที่มีความแตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ เว็บเซอร์วิสจะมี องค์ประกอบหลักๆได้แก่ ผู้ให้บริการ , ผู้เรียกใช้บริการ โดยผ่านมาตรฐานโปรโตคอล SOAP ซึ้งใช้ XML เป็นมาตรฐานกลางในการสร้างข้อความติดต่อกับเว็บเซอร์วิส และการรับข้อมูล ผลลัพธ์จากเว็บเซอร์วิส แต่ละองค์ประกอบจะมีหน้าที่การทำงานที่สัมพันธ์กันดังภาพ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง Rigby ct al. (2007) ได้เสนอระบบตัวแทนสารสนเทศ (Information broker system) ที่ทำ หน้าที่สืบค้นข้องมูลผู้ป่วยจากแหล่งเก็บข้อมูลสุขภาพที่หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีเว็บ เซอร์วิส เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบอีเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บข้อมูลประวัติสุขภพ ของผู้ป่วย(Electronic Paticnt Record Systems : EPR) จำนวนมาก ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนใน การดำเนินงาน อีกทั้งข้อมูลจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาใช้งานต่อได้ จึงมีการพัฒนาให้ผู้ใช้ที่ เกี่ยวข้องสามารถสืบหาข้อมูลประวัติผู้ป่วย และบูรณาการข้อมูลประวัติผู้ป่วย
4. วิธีดำเนินงานวิจัย 4.1การวิเคราะห์ความต้องการ เป็นขั้นตอนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาในปัจจุบัน เช่นศึกษาการ จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ การดูแลการติดตามผู้ป่วยของหน่วยบริการ ข้อมูลการ ตรวจร่างกาย 4.2การออกแบบระบบ ออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ ในงานนี้ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ CAWS ดังในภาพ
สถาปัตกรรมระบบให้คำปรึกษาและการแจ้งเตือนสำหรับการรักษาผู้ป่วยสถาปัตกรรมระบบให้คำปรึกษาและการแจ้งเตือนสำหรับการรักษาผู้ป่วย
1.ระดับชั้นแหล่งข้อมูล (Resource Layer) คือ ระดับชั้นที่มีการจัดจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากหน่วยบริการแต่ละแห่งโดยผ่านระบบบันทึก ข้อมูลสุขภาพ แต่ละหน่วยบริการสามารถมีระบบจัดการฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งใช้โปรโตคอล SOAP เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อช่วยในการเข้าถึงละการสืบค้นข้อมูล ผลลัพธ์ที่สืบค้นได้คือข้อมูลผู้ ป่ายเฉพาะที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจจะถูกส่งให้กับระบบงานกลางที่อยู่ในระดับชั้นถัดไป 2. ระดับชั้นตัวกลางจัดการระบบ (Mediator Layer) คือ ระดับชั้นที่ทำหน้าที่สืบค้นข้อมูลจากเว็บเซอร์วิสขิงแต่ละหน่วยแล้วทำการบูรณาการข้อมูล มาเก็บไว้ที่แล่งข้อมูลกลางของผู้ป่วยโรคหัวใจ ประกอบด้วยโมดูลย่อยๆ ดังนี้
2.1 Consultant Service and Warning Module/Video Conference คอยรับการติดต่อจากหน่วยบริการใน Resource Layer และแจ้งเตือนไปยังแพทย์ประจำจังหวัด โดยแจ้งเตือนผ่านทางมือถือ และจอคอมพิวเตอร์ 2.2 Patient Record and ECG Report Module ทำหน้าที่ดึงข้อมูลประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจจากฐานข้อมูลกลางและรับข้อมูลการตรวจคลื่นไปฟ้า หัวใจ (DCG) จากหน่วยบริการที่เรียกใช้ปริการ 2.3 Web Service Registration and Management Module ทำหน้าที่ให้บริการลงทะเบียนเว็บเซอร์วิส และควบคุมการเรียกใช้งานเว็บเซอร์วิส ของผู้บริหาร ระบบงาน CAWS 2.4 User Management Module ให้บริการกับผู้ใช้ ที่ต้องมาลงทะเบียนกับระบบผ่านทาง User Management Module และทำ การเก็บประวัติเพื่อกำหนดสิทธ์ในการเข้าถึงข้อมูลจากฐานข้อมูล
2.5 Patient Record Integration Module มีหน้าที่บูรณาการข้อมูลประวัติผู้ป่วยเพื่อนำไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล 2.6 ECG Importable Module ทำหน้าที่รับรับข้อมูล ECG จากหน่วยบริการมีรูปแบบเป็นไฟล์รูปภาพ (.jpeg) 2.7 Web Service Invocation ทำหน้าที่เรียกใช้งานเว็บเซอร์วิส เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล 2.8 Heart Disease Database Center เป็นฐานข้อมูลกลางผู้ป่วยโรคหัวใจที่เก็บข้อมูลประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจและเป็นข้อมูลที่บูรณาการ แล้ว 2.9 User and Service Profile เป็นแล่งเก็บข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อประกาศบริการและตำแหน่งที่อยู่ของเอกสาร WSDL เพื่อให้ระบบงานกลางสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้และยังทำหน้าที่เก็บข้อมูลการลงทะเบียนของผู้ใช้งาน ที่จะต้องบันทึกประวัติเก็บชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
3.Presentation Layer คือระดับชั้นที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้งานแบ่งออกเป็น 3.1 ผู้บริหารระบบ ประกอบด้วย - ผู้บริหารเว็บเซอร์วิสของแต่ละหน่วยบริการที่จะเข้ามาลงทะเบียนเว็บเซอร์วิสกับระบบงานกลาง - ผู้บริหารระบบ CAWS ทำหน้าที่ควบคุม บริหาร จัดการ และเรียกใช้งาน ตรวจสอบแกไขข้อผิดพลาด กำหนด สิทธิ์ให้กับผู้ใช้งาน 3.2 แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลชุมชน มีหน้าที่ติดต่อเข้ามายังระบบ CAWS เมื่อมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เพื่อเรียกใช้บริการคำปรึกษาละการแจ้งเตือน เพื่อแจ้งเตือนไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลประจำจังหวัด 3.3 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลประจำจังหวัด มีหน้าที่ให้บริการคำปรึกษาการรักษาผ่านทาง Consultant Service Module ซึ่งแพทย์จะสามารถสืบค้นข้อมูลประวัติผู้ป่วยและข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยได้
ผลการดำเนินงาน แต่ละหน่วยบริการจะต้องทำการลงทะเบียนเว็บเซอร์วิสกับระบบ CAWS เพื่อประกาศเว็บเซอร์วิสของตน และเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูลบริการ เช่น การใช้ชื่อพารามิเตอร์ที่แตกต่างกันทั้งๆที่เป็นข้อมูลบริการแบบเดียวกัน จึงพัฒนาเครื่อง มือที่ช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลบริการที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน แสดงเชื่อมโยงข้อมูลบริการของแต่ละหน่วยบริการ
การบันทึกประวัติผู้ป่วยเริ่มต้น เพื่อส่งไปขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แสดงข้อมูลการข้อมูลผู้ป่วยและภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ส่งจากโรงพยาบาลชุมชนเพื่อขอรับคำปรึกษาแสดงข้อมูลการข้อมูลผู้ป่วยและภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ส่งจากโรงพยาบาลชุมชนเพื่อขอรับคำปรึกษา
แสดงส่วนของการบันทึกข้อความการให้คะแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแสดงส่วนของการบันทึกข้อความการให้คะแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Service Consumer • สร้าง SOAP Message เพื่อเรียกใช้บริการของ เว็บเซอร์วิส แล้วส่งผ่านโพรโตคอลเครือข่ายไปยังผู้ให้บริการ ในที่นี้ SOAP message ที่รับ-ส่งไปมานั้น อยู่ในรูปแบบ XML และต้องมีการแปลกลับมาอยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์เข้าใจ โดยมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลความหมายของเอกสาร XML คือ XML Parser
Service Consumer • โรงพยาบาลชุมชนจะแจ้งเตือนไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลประจำจังหวัดเมื่อมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และยังช่วยให้แพทย์สามารถสืบค้นประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลหลายแห่งและได้รับคำปรึกษาการรักษาได้โดยผ่านทางระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ
UDDI Registry • The Universal Description, Discovery, and Integration (UDDI) อธิบายถึงการลงทะเบียนออนไลน์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ต้องการค้นหา Web Services สามารถเข้ามาค้นหาบริการที่ต้องการได้ รวมทั้งรับทราบวิธีการเรียกใช้บริการเหล่านั้นผ่านข้อมูล WSDL ที่ระบุไว้
UDDI Registry • UDDI ประกอบด้วยองค์ประกอบของข้อมูลดังต่อไปนี้ • businessEntity : ที่เป็นทางเข้าในเรื่องของ UDDI ซึ่งจะรับข้อมูลของเพื่อนร่วมงานเพื่อจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการทางธุรกิจ โดยรวมถึง ชื่อ, อุตสาหกรรมหรือชนิดของ ผลิตภัณฑ์ ที่ตั้งเชิงภูมิศาสตร์ การจัดประเภทแบบเลือกได้ และการติดต่อข้อมูล
UDDI Registry • businessService : ซึ่งจะบรรจุข้อมูลลักษณะการบริการทางธุรกิจเกี่ยวกับกลุ่มความสัมพันธ์การบริการทางเทคนิคโดยประกอบด้วยชื่อกลุ่ม, คำอธิบายสรุป, ข้อมูลคำอธิบายการบริการทางเทคนิค และข้อมูลหมวดหมู่
UDDI Registry • bindingTemplat : ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นสำหรับโปรแกรมในการเรียกใช้บริการทางเว็บบางอย่าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ประกอบด้วย ที่อยู่ของบริการทางเว็บ (Web Service URL) และการกำหนดเส้นทาง (routing) และทำ load balancing
UDDI Registry • tModel : คำอธิบายเกี่ยวกับการระบุบริการทางเว็บซึ่งจะทำหน้าที่แสดงรายละเอียดเทคนิคของการบริการเว็บทำให้ง่ายต่อผู้บริโภคในการค้นหาบริการเว็บที่มีข้อกำหนดเทคนิคตาม ที่ต้องการ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคำอธิบายคุณลักษณะเฉพาะของโครงสร้าง tModel ภายใน Web Service ของลูกค้า เพื่อให้สามารถระบุ Web Service ที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการส่งรายการจัดซื้อไฟยังคู่ค้าโดย Web Service การเรียกใช้บริการ ไม่เพียงรู้ที่ตั้ง/URL เท่านั้นแต่ต้องทราบถึงรูปแบบของรายการจัดซื้อที่สามารถส่งได้, โปรโตคอลที่เหมาะสม, วิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และรูปแบบของผลตอบรับหลังจากส่งรายการจัดซื้อแล้ว
WSDL • Web Services Description Language (WSDL) คือ เอกสาร XML ที่อธิบายรายละเอียดในการติดต่อกับเว็บเซอร์วิส เพื่อให้ แอพพลิเคชั่นที่ต้องการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสรู้ว่าเซอร์วิสนั้นให้บริการอะไรบ้าง และจะติดต่อได้อย่างไร
WSDL • เมื่อลงทะเบียนที่ UDDI Registry การเรียกใช้บริการจะเริ่มจากผู้เรียกใช้บริการจะเข้ามาค้นหาบริการที่ต้องการจาก UDDI Registry โดยดูคำอธิบายวิธีการเรียกใช้ข้อมูลบริการจากไฟล์ WSDL
Web Service • ระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายโดยใช้ภาษา XML • มีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ ลักษณะการให้บริการของ Web Services นั้น จะถูกเรียกใช้งานจาก application อื่นๆ
สรุป ระบบให้บริการคำปรึกษาและแจ้งเตือนสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดยใช้เทคโนโลยี Web Service โดยจะช่วยให้แพทย์จากโรงพยาบาลชุมชน รายงานต่อแพทย์ประจำจังหวัด เพื่อนให้ทราบว่ามีผู้ป่วยต้องการเข้ารับการแนะนำเพื่อการรักษา จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ทางโรงพยาบาลชุชนสามารถส่งข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย ผลการตรวจของผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเห็นได้ทันที นอกจากนี้ยังช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันได้ ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว จึงช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที และวางแผนในการรักษาต่อไป
Consultant Services and Warning System forTreatment of Cardiac Patient using Web Services Technologyระบบให้บริการคำปรึกษาและแจ้เตือนสำหรับการรักผู้ป่วยโรคหัวใจโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส จัดทำโดย 1.นาย ณัฐวุฒิ บาลัน 53660012 2.นาย พิชาญ์สังขปัตร 53660014 3.นาย ฉัตรชัย แจ่มใส 53660083 4.นาย ธิณวุฒิ มีสำฤทธิ์ 53660090 5.นางสาว กิตติพา คลังวิสาร 52030490 6.นางสาว วันทนา คำบุญศรี 52030948