1 / 46

ความสำคัญของมาตรฐานภูมิสารสนเทศ

ความสำคัญของมาตรฐานภูมิสารสนเทศ. รศ.ดร.แก้ว นวลฉวี knualchawee@yahoo.com. เนื้อหา. ภูมิสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน ข้อมูลเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา และปัญหา แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ : โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภูมิศาสตร์ (NSDI) วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของ NSDI การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ

Download Presentation

ความสำคัญของมาตรฐานภูมิสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสำคัญของมาตรฐานภูมิสารสนเทศความสำคัญของมาตรฐานภูมิสารสนเทศ รศ.ดร.แก้ว นวลฉวี knualchawee@yahoo.com

  2. เนื้อหา • ภูมิสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน • ข้อมูลเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา และปัญหา • แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ: โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภูมิศาสตร์ (NSDI) • วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของ NSDI • การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ • คำนิยามมาตรฐานภูมิสารสนเทศ • ประเภทของมาตรฐานภูมิสารสนเทศ • ทำไมต้องพัฒนา มีไว้ และใช้มาตรฐานภูมิสารสนเทศ

  3. เนื้อหา (ต่อ) • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศและสากล • องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ • กระบวนการและแนวทางพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของ ISO/TC211 • แนวทางการพัฒนามาตรฐานสารสนเทศภูมิศาสตร์ของประเทศไทย • ทำไมต้องพัฒนาตามแนวของ ISO/TC211 • สถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศและการประกาศใช้ • แผนการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศในอนาคต • สรุปและเสนอแนะ

  4. ภูมิสารสนเทศกับชีวิตประจำวันภูมิสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน ปัจจุบันภูมิสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ในทุกระดับและทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับโลก และในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือสถาบันการศึกษา การใช้งานภูมิสารสนเทศมีมีมากมายหลายประเภท เช่น การจัดทำแผนที่ภาษี การติดตามและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวางแผนเพื่อติดตามผลผลิตการเกษตรเพื่อให้เกิดความสมดุลเพื่อการส่งออกหรือเพื่อการบริโภคในประเทศ การวางแผนการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ

  5. เกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่และภูมิสารสนเทศเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่และภูมิสารสนเทศ ข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) และภูมิสารสนเทศ (geo-information) เป็นข้อมูลข้อสนเทศที่มีมิติเชิงตำแหน่งและแสดงรูปลักษณ์ได้ เป็น จุด เส้น และพื้นที่ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการวางแผนและบริหารจัดการในหลายด้านสำหรับทุกภาคส่วน ข้อมูลเชิงพื้นที่และภูมิสารสนเทศดังกล่าว สามารถจัดหามาได้ด้วยการลงทุนที่สูง มากกว่าร้อยละ 70 ของข้อมูลข้อสนเทศที่ใช้ตัดสินใจที่สำคัญมีนัยเชิงตำแหน่งซึ่งสามารถอ้างอิงพิกัดบนโลกได้

  6. แหล่งที่มาของภูมิสารสนเทศแหล่งที่มาของภูมิสารสนเทศ การพัฒนา 3 ประการต่อไปนี้นำมาซึ่งภูมิสารสนเทศที่หลากหลาย 1. การพัฒนาและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่นการรับรู้จากระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และระบบบอกตำแหน่งบนโลกด้วยดาวเทียม เป็นต้น 2. การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้ และการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร หรือ กลุ่มผู้ใช้ และ 3. การพัฒนาข้อมูลข้อสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือข้อมูลเชิงพื้นที่

  7. ผลกระทบและแนวทางแก้ไขการมีภูมิสารสนทศมากผลกระทบและแนวทางแก้ไขการมีภูมิสารสนทศมาก การมีข้อมูลข้อสนเทศเชิงพื้นที่มาก และมาจากหลายแหล่งมีความยุ่งยากในการเข้าถึง การบริหารจัดการ และการบูรณาการ/การใช้งานร่วมกัน มีแนวโน้มที่จะเกิดการใช้งานซ้ำซ้อน และความสูญเสียที่จะตามมา การดูแลแก้ไขปัญหาการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายและมาจากหลายแหล่งคือ แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติ (National Spatial Data Infrastructure: NSDI) ซึ่งมีการพัฒนามาจากประเทศที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยเองก็กำลังเร่งดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติในขณะนี้

  8. โครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติNational Spatial Data Infrastructure: NSDI “The NSDI is the total ensemble of available geographic information, as well as the materials, technology, and people necessary to acquire, process, and distribute such information to meet a wide variety of needs” (National Research Council, 1994)” “NSDI ตามความหมายของสภาวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (1994) รวมเอาข้อมูลภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ และบุคลากรที่จำเป็นในการได้มา ประมวลผล จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลภูมิศาสตร์ เพื่อการใช้งานอย่างกว้างขวาง”

  9. องค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศ ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์พื้นฐาน (Fundamental Geographic Data Set: FGDS) ชุดข้อมูลของข้อมูล/คำอธิบายข้อมูล (Metadata) ระบบ/กลไกการสืบค้นข้อมูล (Search Engine/Spatial data Clearinghouse/Portal) มาตรฐานภูมิสารสนเทศ (Geo-Spatial Data Standards /Standardization) เพื่อการเข้าถึงและใช้งานร่วมกัน กรอบนโยบาย/โครงสร้างองค์กร (Institutional Policy/Framework) เพื่อการร่วมมือกันภายใต้กรอบ และกฎเกณฑ์อย่างเท่าเทียมและโปร่งใส

  10. การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศอยู่ภายในกรอบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนามาตรฐานชุดข้อมูลภูมิศาสตร์พื้นฐาน (FGDS Standards) และมาตรฐานข้อมูลภูมิศาสตร์พื้นฐาน (Geographic Information Base Data Standards) การพัฒนามาตรฐานการอธิบายข้อมูล (Metadata Standards) และ การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศทั่วไป (Geospatial Data Standards/Standardization)

  11. คำนิยามของมาตรฐาน คำว่า “มาตรฐาน” ได้มีการบัญญัติไว้ในพจนานุกรมของ Oxford ว่า คือ “บางสิ่งบางอย่างซึ่งใช้เพื่อการทดสอบหรือการวัด หรือการกำหนดน้ำหนัก ความยาว คุณภาพ หรือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และได้มาซึ่งความสำเร็จมากที่สุด” มาตรฐาน คือ ส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น เราวัดระยะทาง น้ำหนัก และปริมาตรโดยใช้หน่วยของมาตรฐานเป็น metric หรือเป็นหน่วยของมาตรฐานอังกฤษ แต่ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเท่านั้น

  12. ศักยภาพของมาตรฐานโดยทั่วไปศักยภาพของมาตรฐานโดยทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันว่า มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นสาขาใดก็นับเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากมาตรฐานเป็นหลักการหรือกรรมวิธีปฏิบัติที่เปรียบเสมือนกฏระเบียบที่ผู้ปฏิบัติยอมรับและเข้าใจร่วมกัน เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน และนำไปปฏิบัติร่วมกัน ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆตามมาอีกมาก ทำให้ลดความซ้ำซ้อนและสูญเสียทั้งในด้านการผลิต การใช้ การเลือกบริโภคและเปรียบเทียบตลอดจนการทดสอบ และการให้การรับรองต่างๆ

  13. มาตรฐานภูมิสารสนเทศคืออะไรมาตรฐานภูมิสารสนเทศคืออะไร “ข้อตกลง หรือข้อกำหนดซึ่งกำหนดวิธีการ เครื่องมือและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล การสำรวจ จัดหา การประมวลผล การวิเคราะห์ การเข้าถึง การนำเสนอ และการรับ-ส่งข้อมูลภูมิศาสตร์/ภูมิสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล ระหว่างผู้ใช้หรือระบบและตำแหน่งที่อยู่ที่แตกต่างกัน”

  14. ประเภทของมาตรฐานภูมิสารสนเทศประเภทของมาตรฐานภูมิสารสนเทศ มาตรฐานข้อมูล (Data standard) data classification, data content, data symbol and presentation, data usability, data format, metadata… มาตรฐานกรรมวิธี (Processing standard) data collection, data storage, data analysis, data quality control, data transfer, data access… มาตรฐานเทคโนโลยี (Technology standard) มาตรฐานการบริหารจัดการ (Organization standard)

  15. เหตุใดจึงต้องมีการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศเหตุใดจึงต้องมีการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ ขาดการใช้ข้อมูลร่วมกัน ขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มต่างๆ การปฏิบัติงานซ้ำซ้อน สูญเสียงบประมาณ เวลา และบุคลากร รูปแบบข้อมูลส่วนใหญ่เป็นไปตาม Software ที่ใช้ ไม่เป็นกลาง เนื้อหา โครงสร้างข้อมูลเป็นไปตามผู้ใช้งาน / ระบบรหัส ระบบจำแนก คำจำกัดความไม่เหมือนกัน (ต่างคนต่างทำ/ใช้) ปัญหาความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของข้อมูล ไม่มีระบบตรวจสอบคุณภาพข้อมูล และ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ (Interoperability)

  16. หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานภูมิสารสนเทศภายในประเทศไทยหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานภูมิสารสนเทศภายในประเทศไทย คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อนุกรรมการมาตรฐาน GIS (2538 – 2543) สป.วว. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) (2540…) สมาชิกร่วมปฏิบัติงานของ ISO/TC211 คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 904 ของสมอ. ประสานและปฏิบัติงานร่วมกับ ISO/TC211

  17. หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานภูมิสารสนเทศในประเทศไทย (ต่อ) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (2543…) คณะทำงานกำหนดมาตรฐานระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (2545…) คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับแผนที่และข้อมูลแผนที่ คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานเขตการปกครอง คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ

  18. ผู้มีบทบาทหลัก (องค์กรต่างประเทศและระดับสากล) ในต่างประเทศ มีองค์กรในแต่ละประเทศ และในภูมิภาค รวมทั้งนานาชาติ เช่น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (American National Standards Institute: ANSI), กลุ่มร่วมงานแบบเปิดเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Open Geospatial Consortium: OGC) ซึ่งเป็นที่รู้จักและมีองค์กรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จัดทำข้อกำหนดต่างๆในทางอุตสาหกรรมที่นำไปใช้ร่วมกันเหมือนมาตรฐาน และ องค์การมาตรฐานสากล (International Standards Institute: ISO หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า International Organization for Standardization)

  19. เกี่ยวกับองค์การมาตรฐานสากล (ISO) ISO ตั้งกรรมการวิชาการที่ 211 ขึ้นเมื่อปี 1994 เป็น ISO/TC211 เป็นองค์กรสากลที่รับผิดชอบการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับสารสนเทศภูมิศาสตร์/ภูมิสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานของ ISO นั้น เกิดจากความร่วมมือของประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบไปด้วย Participating Members (P-Members), Observing Members (O-Members) และสมาชิกสมทบ (Liaison Members) การทำงานร่วมกันคือกุญแจสำคัญสู่ความเป็นสากล และการยอมรับมาตรฐานร่วมกันทั่วโลก

  20. ISO/TC211 P-Member List RussianFederation Saudi Arabia Serbia South Africa Spain Sweden Switzerland Thailand United Kingdom United States of America Australia Austria Belgium Canada China Czech Rep. Denmark Ecuador Finland Germany Italy Japan Rep. of Korea Malaysia Morocco Netherlands New Zealand Norway Peru Portugal

  21. ISO/TC211 Observing Member List Hungary Iceland India Indonesia Isl. Rep. of Iran Ireland Jamaica Kenya Mauritius Oman Pakistan Philippines Poland Romania Slovakia Slovenia Tanzania Turkey Ukraine Uruguay Zimbabwe Argentina Bahrain Brunei Darussalam Colombia Croatia Cuba Estonia France Greece Hong Kong

  22. External liaisons List (1 of 2) CEN/TC 287, Geographic information CEOS, Committee on Earth Observation Satellites DGIWG, Digital Geographic Information Working Group ESA, European Space Agency EuroSDR, European Spatial Data Research FAO, Food and Agriculture Organization of the UN FIG, International Federation of Surveyors GSDI, Global Spatial Data Infrastructure IAG, International Association of Geodesy ICA, International Cartographic Association ICAO, International Civil Aviation Organization IEEE Geoscience and Remote Sensing Society IHB, International Hydrographic Bureau ISCGM, International Steering Committee for Global Mapping ISPRS, International Society for Photogrammetry and Remote Sensing

  23. External liaisons List (2 of 2) JRC, Joint Research Centre, European Commission OGC, Open Geospatial Consortium, Incorporated OGP, International Association of Oil and Gas Producers PAIGH – Pan American Institute of Geography and History PC IDEA, Permanent Committee on Spatial Data Infrastructure for the Americas PCGIAP, The Permanent Committee on GIS Infrastructure for Asia and the Pacific SCAR, Scientific Committee on Antarctic Research UN ECE, UN Economic Commission for Europe, Statistical Division UN ECA, UN Economic Commission for Africa UNGEGN, United Nations Group of Experts on Geographical Names UNGIWG, United Nations Geographic Information Working Group WMO, World Meteorological Organization

  24. Adoption / Adaptation Development Spatial Data Standards Information Technology Standards Define Describe Process Spatial Data กระบวนการพัฒนามาตรฐานทั่วไป

  25. แนวทางการพัฒนามาตรฐานของ ISO มาตรฐานสากล (IS) ตาม ISO มีหลักการในการพัฒนาโดยรวมดังนี้ Consensus ต้องรับเอาความคิดเห็น หรือมุมมองของทุกฝ่ายเข้าร่วมพิจารณา (กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้ใช้ กลุ่มผู้บริโภค ห้องทดลอง/ปฏิบัติการ ภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มวิชาชีพ องค์กรวิจัย ฯลฯ) และต้องเป็นเอกฉันท์ Industry-wide สามารถสนองได้ทั่วโลกทั้งภาคอุตสาหกรรมโดยรวมจากทุกกลุ่ม Voluntary มาตรฐานสากลเป็นไปตามกลไกของการตลาด หรือขับเคลื่อนด้วยการตลาด (market-driven) ผู้ที่มีส่วนร่วมทำไปด้วยความสมัครใจ ไม่มีบังคับ

  26. การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของISO/TC211การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของISO/TC211 • มาตรฐานภูมิสารสนเทศสากลพัฒนามาจากข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกของ ISO โดยผ่านคณะกรรมการวิชาการ (Technical Committees: (TC) และ Subcommittees: (SC)) ตามขั้นตอน 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ • Stage 1: Proposal stage ข้อเสนอเพื่อพัฒนามาตรฐานใหม่ • Stage 2: Preparatory stage การเตรียมการ/ตั้งคณะทำงาน • Stage 3: Committee stage ร่างคณะทำงาน • Stage 4: Enquiry stage ร่างคณะทำงานเพื่อเป็นมาตรฐาน • Stage 5: Approval stage ร่างมาตรฐานครั้งสุดท้าย • Stage 6: Publication stage พิมพ์และประกาศมาตรฐาน ขั้นตอนการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศตามแบบISO/TC211

  27. สถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของISO/TC211สถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของISO/TC211 • จำนวนมาตรฐานที่พัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ (Technical Committee: TC) และอนุกรรมการ (Subcommittee: SC) จำนวน 60 • จำนวนมาตรฐานที่พัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการที่ 211 ทั้งหมด: 60 • สมาชิกร่วมพัฒนา: 32(P-Member) • สมาชิกสังเกตการณ์: 31 (O-Member)

  28. Standards and projects under the direct responsibility of TC 211 Secretariat and its SCs • ISO 6709:2008 Standard representation of geographic point location by coordinates • 6709:2008/Cor 1:2009 • ISO 19101:2002 Geographic information -- Reference model • ISO/TS 19101-2:2008 Geographic information -- Reference model -- Part 2: Imagery • ISO/TS 19103:2005 Geographic information -- Conceptual schema language • ISO/TS 19104:2008 Geographic information – Terminology • ISO 19105:2000 Geographic information -- Conformance and testing • ISO 19106:2004 Geographic information – Profiles • ISO 19107:2003 Geographic information -- Spatial schema • ISO 19108:2002 Geographic information -- Temporal schema • ISO 19108:2002/Cor 1:2006 • ISO 19109:2005 Geographic information -- Rules for application schema • ISO 19110:2005 Geographic information -- Methodology for feature cataloguing • ISO 19111:2007 Geographic information -- Spatial referencing by coordinates • ISO 19111-2:2009 Geographic information -- Spatial referencing by coordinates -- Part 2: Extension for parametric values • ISO 19112:2003 Geographic information -- Spatial referencing by geographic identifiers • ISO 19113:2002 Geographic information -- Quality principles • ISO 19114:2003 Geographic information -- Quality evaluation procedures • ISO 19114:2003/Cor 1:2005 • ISO 19115:2003 Geographic information – Metadata • ISO 19115:2003/Cor 1:2006 • ISO 19115-2:2009 Geographic information -- Metadata -- Part 2: Extensions for imagery and gridded data • ISO 19116:2004 Geographic information -- Positioning services • ISO 19117:2005 Geographic information – Portrayal • ISO 19118:2005 Geographic information – Encoding

  29. Standards and projects under the direct responsibility of TC 211 Secretariat and its SCs • ISO 19119:2005 Geographic information – Services • ISO 19119:2005/Amd 1:2008 Extensions of the service metadata model • ISO/TR 19120:2001 Geographic information -- Functional standards • ISO/TR 19121:2000 Geographic information -- Imagery and gridded data • ISO/TR 19122:2004 Geographic information / Geomatics -- Qualification and certification of personnel • ISO 19123:2005 Geographic information -- Schema for coverage geometry and functions • ISO 19125-1:2004 Geographic information -- Simple feature access -- Part 1: Common architecture • ISO 19125-2:2004 Geographic information -- Simple feature access -- Part 2: SQL option • ISO 19126:2009 Geographic information -- Feature concept dictionaries and registers • ISO/TS 19127:2005 Geographic information -- Geodetic codes and parameters • ISO 19128:2005 Geographic information -- Web map server interface • ISO/TS 19129:2009 Geographic information -- Imagery, gridded and coverage data framework • ISO/TS 19130:2010 Geographic information - Imagery sensor models for geopositioning • ISO 19131:2007 Geographic information -- Data product specifications • ISO 19132:2007 Geographic information -- Location-based services -- Reference model • ISO 19133:2005 Geographic information -- Location-based services -- Tracking and navigation • ISO 19134:2007 Geographic information -- Location-based services -- Multimodal routing and navigation • ISO 19135:2005 Geographic information -- Procedures for item registration • ISO 19136:2007 Geographic information -- Geography Markup Language (GML) • ISO 19137:2007 Geographic information -- Core profile of the spatial schema • ISO/TS 19138:2006 Geographic information -- Data quality measures • ISO/TS 19139:2007 Geographic information -- Metadata -- XML schema implementation • ISO 19141:2008 Geographic information -- Schema for moving features • ISO 19144-1:2009 Geographic information -- Classification systems -- Part 1: Classification system structure www.isotc211.org

  30. แนวทางการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของประเทศไทยแนวทางการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของประเทศไทย ประเทศไทยยังไม่เคยมีมาตรฐานภูมิสารสนเทศมาก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกประเภทร่วมพัฒนาของ ISO/TC211 มีประสบการณ์เรียนรู้พอสมควรในมาตรฐานที่พัฒนาเพื่อสากลของ ISO/TC211 นำมาตรฐานที่พัฒนาโดย ISO/TC211 มาพิจารณาตามความต้องการและเร่งด่วน แล้วให้ทำการศึกษาโดยสถาบันการศึกษา จัดทำร่างและคู่มือการใช้งาน จัดทำสัมมนาและประชาพิจารณ์ก่อนการประกาศเป็นมาตรฐานของชาติโดยสมอ. โดยอ้างอิงมาตรฐานเดิมในภาษาเดิม (ภาษาอังกฤษ) ประเทศไทยตกลงพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของประเทศตามแนวของ ISO

  31. ทำไมพัฒนาตามแนวของ ISO ISO/TC211เป็นองค์กรสากลที่พัฒนาและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสิ่งที่เกี่ยวข้องต่างๆ อันเป็นที่รู้จัก ยอมรับ และถือปฏิบัติมาแล้วทั่วโลก ISO/TC211ตั้งขึ้นมาได้ถูกต้องกับเวลาและความต้องการมาตรฐานภูมิสารสนเทศทั่วโลก มีการทำงานโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศร่วมกันเป็นกรรมการวิชาการ อนุกรรมการ/คณะทำงาน โดยตั้งอยู่บนหลักการที่ครอบคลุม เป็นกลาง และมั่นคง: คือ consensus, industry-wide, และ voluntary ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนร่วมในการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานไม่โดยตรงก็โดยอ้อม โดยเป็นสมาชิกทั้งประเภทร่วมพัฒนา และประเภทสังเกตการณ์ (P & O members)

  32. ทำไมพัฒนาตามแนวของ ISO (ต่อ) องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาและกำหนดมาตรฐานทั้งภายใน ISO และภายนอก ISO เป็นจำนวนมากที่เป็นสมาชิกสมทบเพื่อการมีส่วนร่วมหรือเป็นสักขีพยานของการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศนี้ องค์กร และประเทศที่พัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศทั่วโลกหันมาร่วมมือกับ ISO/TC 211เพื่อการเป็นสากลและยอมรับได้อย่างสากล เป็นมาตรฐานที่สามารถสื่อสารระดับโลกได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวทีการค้าโลก (WTO)

  33. สถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของประเทศไทยสถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศของประเทศไทย • คณะกรรมการวิชาการที่ กว.904 (กรรมการวิชาการทำงานประสานกับ ISO/TC211) ยังทำหน้าที่อยู่ แต่การประชุมไม่มีการดำเนินการเท่าที่ควร • ยังเป็น P-member ของ ISO/TC211: 1994 (พ.ศ. 2537) • ร่วมประชุมสามัญของ ISO/TC211 ตั้งแต่ ครั้งที่ 7 และครั้งต่อๆมา อย่างต่อเนื่อง แต่ระยะหลังๆมีขาดไปบ้าง • เป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งที่ 14 ที่กรุงเทพมหานคร 20-24 พฤษภาคม 2545 • ประกาศมาตรฐานการอธิบายข้อมูล (Metadata) (มอก. 19115-2008) การดำเนินงานในส่วนของ สมอ./กว.904

  34. สถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศสถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ การดำเนินการในส่วนของ สทอภ. • ตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ • จัดทำมาตรฐานกลางของ Metadata ประเทศไทย (adapted ISO19115) • สำรวจสถานภาพหน่วยงานด้านภูมิสารสนเทศ • สำรวจระบบจำแนกข้อมูลภูมิสารสนเทศ • จัดทำ web site ด้านมาตรฐานข้อมูลและ Metadata (ThaiSDI) • พัฒนาระบบ Web Map Server

  35. สถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศสถานภาพการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ • 2544: สำรวจสถานภาพ GIS • 2545: จัดทำดัชนีข้อมูล GIS (ISO/CD 19115) • 2547: Implementation - ISO 19115(GIS Editor สำหรับ ThaiSDI) • 2549: ศึกษามาตรฐานภูมิสารสนเทศทั่วไป 19111&112,19121,19122,19126,19128 • 2550: ศึกษามาตรฐาน 19105,19109,19125-2,19133,19135 • 2550: (ร่าง)มาตรฐาน 19131,19122,19128,19134,19136 • 2551: ศึกษามาตรฐาน 19103,19104,19106,19144-1,19144-2 • 2551: (ร่าง)มาตรฐาน 19107,19108,19118,19123,19139 การดำเนินการในส่วนของ สทอภ. (ต่อ)

  36. สรุปในภาพรวมบนเส้นทางการพัฒนาและประกาศใช้มาตรฐานภูมิสารสนเทศสรุปในภาพรวมบนเส้นทางการพัฒนาและประกาศใช้มาตรฐานภูมิสารสนเทศ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นองค์กรภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ประกาศมาตรฐานของชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ./องค์การมหาชน) มีพันธกิจเป็นหน่วยงานพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ สมอ. และ สทอภ. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการมาตรฐานภูมิสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและคล่องตัวระหว่างการพัฒนามาตรฐานและการประกาศใช้เป็นมาตรฐานของชาติ

  37. สรุปในภาพรวมบนเส้นทางการพัฒนาและประกาศใช้มาตรฐานภูมิสารสนเทศ (ต่อ) สมอ. ได้ทำการประกาศมาตรฐานการอธิบายข้อมูล (Metadata) โดยวิธีอ้างอิงเอกสารมาตรฐานเดิม ในภาษาเดิม (ภาษาอังกฤษ) หรือเรียกว่าวิธีฉีกปก ไป 1 เรื่อง สทอภ. จัดทำโครงการศึกษาพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ ตามแบบ ISO/TC211 โดยว่าจ้างสถาบันการศึกษาชั้นสูงร่วมศึกษา และจัดทำร่างพร้อมคู่มือภาษาไทยเพื่อการใช้งาน พร้อมทั้งจัดเตรียมหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรมและการเรียนการสอน ประมาณ 23-24 มาตรฐาน ระหว่างปี 2549-2552 สทอภ. ได้จัดทำแผนการประกาศให้สมอ.ทราบ เป็นระยะเวลา 5 ปี ปีละ 5 เรื่อง ระหว่าง 2553-2557 แต่ยังไม่มีการประกาศ

  38. ผลกระทบที่เกิดขึ้น มาตรฐานใดๆที่ได้รับการประกาศโดยองค์กรตามกฏหมายทำให้เกิดความเชื่อมั่น และทำให้บรรยากาศการลงทุน หรือตัดสินใจใดๆ เป็นไปด้วยดี การพัฒนาและการมีการใช้มาตรฐานภูมิสารสนเทศในวงกว้าง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติ (NSDI) ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญและกำลังดำเนินไปในขณะนี้ การประกาศมาตรฐานภูมิสารสนเทศที่ได้ศึกษาไว้อย่างเป็นระบบเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติก้าวไปข้างหน้าได้

  39. แผนการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศในอนาคต (อันใกล้) • สมอ. และสทอภ. ยังทำหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบทั้งสององค์กร โดยที่สมอ.ยังเป็นผู้ประกาศมาตรฐานระดับชาติ และสทอภ. ทำการศึกษาพัฒนามาตรฐานที่อิงสากลเพื่อใช้กับประเทศ มุ่งให้สมอ. เป็นผู้ประกาศในที่สุด • เนื่องจากสมอ. มีภาระกิจมาก ทำการประกาศไม่ทันในเวลาที่เหมาะสมต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ ส่งผลให้การพัฒนาประเทศตามแผน NSDI มีความชงักงัน • คณะกรรมการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการศึกษาและร่างมาตรฐานภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีความครอบคลุม อยู่ในความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ และทันต่อเวลาที่ต้องการใช้ เพื่อดำเนินการประกาศเป็นการภายใน และเป็นการแสดงจุดยืนให้กลุ่มผู้ใช้มีความมั่นใจ ในการลงทุนและพัฒนาประเทศได้ • หลังจากการประกาศภายใน มีการนำมาตรฐานไปใช้อย่างมั่นใจแล้ว สมอ.สมารถนำไปประกาศเป็นทางการต่อไปได้โดยจะมีการยอมรับจากกลุ่มผู้ใช้ได้เร็วขึ้น

  40. ข้อเสนอแนะ ควรดำเนินการไปสู่การประกาศมาตรฐานภูมิสารสนเทศที่ได้ศึกษามาแล้วอย่างรีบด่วน เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้มีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเพื่อกิจการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศของชาติ (NSDI) ควรพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศต่อไปอย่างจริงจัง และเน้นในมาตรฐานที่อยู่ในความต้องการและเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ

  41. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ควรพัฒนาแนวทางที่นำไปสู่ความร่วมมือ/แนวร่วมขององค์กรที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการกำหนดมาตรฐานต่อไป ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่างๆตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานภูมิสารสนเทศและการให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา หลักการ/วิธีการการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว โดยผ่านสื่อ/วิธีการต่างๆ เช่น internet/web, การสัมมนา การฝึกอบรม ฯลฯ

  42. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ควรเร่งพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับแผนที่และข้อมูลแผนที่ที่จำเป็นต่อการพัฒนามาตรฐานตัวอื่นๆ ควรพัฒนามาตรฐานเนื้อหาข้อมูลพื้นฐาน (Fundamental Geographic Datasets: FGDS) เพราะเป็นมาตรฐานข้อมูลที่มาตรฐานอื่นต้องใช้อ้างอิง ควรเร่งพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวกับการเข้าถึงและทำธุรกรรมด้านภูมิสารสนเทศสำหรับทุกภาคส่วนใน Portal/Clearinghouse เพื่อส่งเสริมการเป็น e-Government และการเป็น information market place. ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรม และการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานภูมิสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศ ในสถาบันการศึกษา ในระดับต่างๆ

  43. สรุป มาตรฐานมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในปัจจุบัน ความเป็นมาตรฐานจะทำให้มีความได้เปรียบในแง่ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ (interoperability) การใช้ซอฟต์แวร์/ฮาร์ตแวร์สะดวกขึ้น (portability) การแลกเปลี่ยนข้อมูล (data exchange) มีทางเลือกมากและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (more choices and economy of scale) และเรียนรู้ได้ง่าย (ease of learning) การที่มาตรฐานที่มีประโยชน์อย่างสมบูรณ์นั้นจะต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมีเนื้อหาที่ครอบคลุมกว้างขวาง

  44. สรุป (ต่อ) มาตรฐานสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จต้องดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับมาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องในเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบัน การดำเนินการเพื่อให้ได้มาตรฐานเกี่ยวกับสองลักษณะของการใช้งานคือ (1) การแลกเปลี่ยนข้อมูล (data exchange) (2) การใช้งานร่วมกันได้ (interoperability) การพัฒนามาตรฐานให้มีความสำเร็จต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างได้ผลและจริงจัง ต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และควรมีการอบรมเชิงลึกเฉพาะด้านตามความเหมาะสมและต้องการ

  45. สรุป (ต่อ) การพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศ ถึงระดับของการมี และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเกิดองค์ความรู้โดยรวมนั้น เป็นแนวทางที่เดินมาถูกแล้ว และควรดำเนินการต่อไปอย่างแน่วแน่ และในระดับองค์รวม การพัฒนากระบวนการหรือกลยุทธที่นำเอาทุกภาคส่วนมาเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศจากภูมิสารสนเทศ ที่เรียกว่า NSDI นั้น ยิ่งทำให้มาตรฐานและการพัฒนามาตรฐานภูมิสารสนเทศมีความสำคัญ และเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะมองข้ามและละเลยไม่ได้

  46. ขอขอบคุณทุกท่าน สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายมาตรฐานข้อมูล สำนักภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ โทรศัพท์: 0-2143 0562 โทรสาร: 0-2143 9605 หรือทาง E-mail: thaisdi@gistda.or.th เอกสารและรายงานสามารถ Download ข้อมูลได้ที่ http://thaisdi.gistda.or.th

More Related