1 / 36

การจัดการศพ อายุความมรดก มรดกไม่มีผู้รับ

การจัดการศพ อายุความมรดก มรดกไม่มีผู้รับ. การจัดการศพ. ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพเจ้ามรดก ตามลำดับ (มาตรา ๑๖๔๙ ) บุคคลซึ่งผู้ตายมอบหมายให้จัดการศพของตนเอง ผู้จัดการมรดก ทายาท บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด ผู้ที่ศาลแต่งตั้ง.

erasto
Download Presentation

การจัดการศพ อายุความมรดก มรดกไม่มีผู้รับ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการศพ อายุความมรดก มรดกไม่มีผู้รับ

  2. การจัดการศพ • ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพเจ้ามรดก ตามลำดับ (มาตรา ๑๖๔๙ ) • บุคคลซึ่งผู้ตายมอบหมายให้จัดการศพของตนเอง • ผู้จัดการมรดก • ทายาท • บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด • ผู้ที่ศาลแต่งตั้ง

  3. อำนาจของผู้จัดการศพ (มาตรา ๑๖๕๐) • บุคคลผู้มีอำนาจจัดการศพมีอำนาจกันเงินเป็นจำนวนอันสมควรแก่ฐานะของผู้ตาย จากสินทรัพย์แห่งกองมรดกเพื่อใช้ในการจัดการศพได้ แต่จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อสิทธิของเจ้าหนี้ของผู้ตาย • กรณีทีทายาทไม่ตกลงกันได้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกันเงินได้

  4. มาตรา ๑๖๔๙ “ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น”

  5. มาตรา ๑๖๕๐ “ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดการทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๕๓ (๒) แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าการจัดการทำศพ ต้องชักช้าไปด้วยประการใดๆ ให้บุคคลผู้มีอำนาจตามความในมาตราก่อนกันเงินเป็นจำนวนอันสมควรจากสินทรัพย์แห่งกองมรดกเพื่อใช้ในการนี้ โดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องต่อศาลได้ในกรณีที่ไม่ตกลงหรือคัดค้านการกันเงินจำนวนนั้น กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม เงินค่าใช้จ่าย หรือเงินที่กันไว้อันเกี่ยวกับการจัดการทำศพนั้น ให้กันไว้ได้แต่เพียงจำนวนตามสมควรแก่ฐานะในสมาคมของผู้ตาย แต่จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อสิทธิของเจ้าหนี้ของผู้ตาย”

  6. อายุความมรดก

  7. คดีมรดก ได้แก่ คดีที่ทายาทหรือเจ้าหนี้กองมรดก ฟ้องให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดก แบ่งมรดก หรือชำระหนี้ • ทายาท ฟ้องทายาท ให้แบ่งมรดก • ผู้จัดการมรดก ฟ้องเรียกให้ทายาทส่งมอบทรัพย์มรดก • ผู้รับพินัยกรรมฟ้อง ทายาทโดยธรรมให้แบ่งมรดกให้แก่ตน • เจ้าหนี้กองมรดก ฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกให้ชำระหนี้แทนเจ้ามรดก • ทายาท ฟ้องผู้จัดการมรดกให้แบ่งทรัพย์มรดก หรือเรียกค่าเสียหายจากผู้จัดการมรดก ไม่ใช้คดีมรดก แต่เป็นคดีการจัดการมรดก • ทายาท หรือผู้จัดการมรดก ฟ้องลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกให้ชำระหนี้ หรือส่งมอบทรัพย์ แก่กองมรดก ไม่ใช่คดีมรดก แต่เป็นคดีฟ้องให้ชำระหนี้ หรือเรียกเอาทรัพย์คืน

  8. มาตรา ๑๗๕๔ “ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๙๓/๒๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย”

  9. อายุความแบ่งได้ 3 กรณี • 1. อายุความมรดกสำหรับทายาทโดยธรรม มาตรา 1754 ว.1 • มีอายุความ 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก • ยกเว้นแต่ การฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกในส่วนที่ทายาทได้ร่วมครอบครอง แม้ขณะที่ฟ้องจะเป็นเวลาภายหลัง 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็สามารถฟ้องให้แบ่งมรดกได้ ตาม ม.1748

  10. มาตรา ๑๗๕๔ “ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม .......................” มาตร ๑๗๔๘ “ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา ๑๗๕๔ แล้วก็ดี”

  11. รูปที่ 1 1 ปี เจ้ามรดกตาย ทายาทไม่ได้รับแบ่งมรดก

  12. รูปที่ 2 1 ปี เจ้ามรดกตาย ทายาทไม่ได้รับแบ่งมรดก

  13. รูปที่ 3 1 ปี จากรูปที่ 1-3 อายุความมรดก ควรจะเริ่มนับเมื่อใด เจ้ามรดกตาย ทายาทไม่ได้รับแบ่งมรดก

  14. มาตรา ๑๙๓/๑๒ “อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการอย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ ฝ่าฝืนกระทำการนั้น”

  15. รูปที่ 4 1 ปี เจ้ามรดกตาย ทายาทไม่รับแบ่งมรดก ทายาทได้ครอบครอง ทรัพย์มรดกหรือไม่

  16. รูปที่ 5 1 ปี 10ปี เจ้ามรดกตาย ทายาทไม่รับส่วนแบ่ง ทายาทได้ครอบครอง ทรัพย์มรดกหรือไม่

  17. รูปที่ 6 1 ปี 10ปี เจ้ามรดกตาย ทายาทไม่รับส่วนแบ่ง ทายาทได้ครอบครอง ทรัพย์มรดกหรือไม่

  18. คำพิพากษาฎีกาที่ 259/2506 โจทก์อยู่กับมารดาที่เรือนมารดาในที่พิพาทก่อนมารดาตาย มารดาตายที่พิพาทตกเป็นมรดกของมารดา โจทก์ก็ยังคงอยู่ที่เรือนมารดาอีกหลายเดือนนับแต่มารดาตาย แล้วเรือนมารดาก็ถูกรื้อถวายวัด โจทก์จึงมาอยู่ที่เรือนจำเลยในที่พิพาทอีกหลายเดือน รวมเวลาที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทหลังจากมารดาตายได้ราวปีเศษ โจทก์จึงไปอยู่ที่จังหวัดอื่น นับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมากับจำเลยด้วยกันในตอนแรก โจทก์กับจำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทต่อมาถือได้ว่าครอบครองที่พิพาทไว้แทนในฐานะเจ้าของร่วม แม้โจทก์มาฟ้องขอให้แบ่งมรดกที่พิพาทภายหลังมารดาตายแล้ว 18 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ

  19. คำพิพากษาฎีกาที่ 754/2541 เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่พิพาทยังอยู่ระหว่างทายาทครอบครองร่วมกันและยังมิได้มีการแบ่งปันกัน แม้จำเลยจะครอบครองทรัพย์มรดกก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย แม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๕๔

  20. คำพิพากษาฎีกาที่ 6637/2538 หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๔๘โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔ แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

  21. คำพิพากษาฎีกาที่ 2202/2514 การที่ผู้เช่าครอบครองนาพิพาทซึ่งเช่าทำจากเจ้ามรดกถือว่าเป็นการครอบครองแทนทายาททั้งหมดของเจ้ามรดก ฉะนั้นระหว่างทายาทด้วยกัน ย่อมฟ้องขอแบ่งมรดกทรัพย์พิพาทนี้ได้โดยไม่ขาดอายุความ

  22. คำพิพากษาฎีกาที่ 1365/2508 การที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตลอดมาตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้ต่อมาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยก็ยังคงครอบครองแทนต่อมาอีก โจทก์ย่อมฟ้องคดีเกิน 10 ปีนับตั้งแต่เจ้ามรดกตายได้ คดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748

  23. คำพิพากษาฎีกาที่ 922/2498 เมื่อได้ความว่าเจ้าหนี้ครอบครองที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกไว้ทำประโยชน์ต่างดอกเบี้ยตลอดมา โดยทายาทมิได้ครอบครองมรดกนั้นด้วย ดังนี้ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ครอบครองในนามของผู้ตายหรือครอบครองแทนทายาทของผู้ตายร่วมกัน และอายุความที่เกี่ยวกับฟ้องขอให้แบ่งที่พิพาทระหว่างทายาทด้วยกันนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับบท ม. 1754 (อายุความ 1 ปี)

  24. 2. อายุความมรดกสำหรับผู้รับพินัยกรรม มาตรา 1754 ว. 2 • ผู้รับพินัยกรรมฟ้องเรียกทรัพย์มรดกตามข้อพินัยกรรมมีอายุความ 1 ปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม หรือภายในกำหนด 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

  25. 3. อายุความมรดกสำหรับเจ้าหนี้กองมรดก มาตรา 1754 วรรค 3 • อายุความที่เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับให้ทายาทรับผิดในหนี้ของกองมรดกนั้น มีอายุความ 1 ปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก (เจ้าหนี้ต้องฟ้องภายใน 1 ปี) • แม้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จะมีอายุความยาวกว่า 1 ปี หรือยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องบังคับชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปี เช่นเดียวกัน

  26. คำพิพากษาฎีกาที่ 3994/2540 ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๕๔ วรรคสาม เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด ๑ ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตายดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน ๑ ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๕๔วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ ๑ ปี ตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคสามดังกล่าวข้างต้นอาจจะล้วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

  27. คำพิพากษาฎีกาที่ 455/2512 หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษาที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้ว แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่

  28. แต่อายุความมรดก 1 ปีไม่ใช้บังคับกับ • เจ้าหนี้จำนอง จำนำ เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ อันที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ ตามมาตรา 1754 วรรค 3 และตามมาตรา 193/27 • ข้อยกเว้นนี้ใช้บังคับเฉพาะการที่เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากสัญญาจำนอง จำนำ ฯ • หากเจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากสัญญาประธาน เจ้าหนี้ยังจะต้องบังคับชำระหนี้ภายใต้อายุความ 1 ปี

  29. ทายาทได้กระทำให้อายุความมรดกสะดุดหยุดลงก่อนครบกำหนด 1 ปี เมื่ออายุความมรดกสะดุดหยุดลงแล้วก็จะเริ่มนับใหม่ตามอายุความมูลหนี้เดิม • เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอยู่ตาม ม. 193/14 • เหตุซึ่งทำให้อายุความสะดุดต้องเกิดขึ้นก่อนที่อายุความเดิมจะขาดลง • เจ้าหนี้ฟ้อง (เกิน 1 ปี) ได้เฉพาะทายาทคนซึ่งได้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น • ก่อนทายาทแบ่งมรดกเสร็จ(ระหว่างการจัดการ) ทายาทคนหนึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษต่อทายาทคนอื่นๆ(ฎีกาที่ 455/2512) • หลังแบ่ง มีผลเฉพาะทายาทซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น

  30. มาตรา ๑๙๓/๑๔ “อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ลูกหนี้ รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกันหรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียก ร้อง (๒) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ (๓) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย (๔) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา (๕) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี”

  31. อายุความมรดก 10 ปี ตามมาตรา 1754 ว.4 มาตรา ๑๗๕๔ “ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ........................... ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย” • อายุความ 10 ปีใช้กรณีที่ทายาทโดยธรรม ผู้รับพินัยกรรม หรือเจ้าหนี้กองมรดก รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกภายหลัง ว่าจะต้องรู้ช้าที่สุดไม่เกิน 10 ปี ถ้าเกินกว่านั้น จะฟ้องคดีมรดกไม่ได้ • ในระหว่างที่ยังไม่ครบ 10 ปี ถ้ารู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเมื่อไหร่ ก็ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่รู้

  32. บุคคลที่จะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ หรือยกขึ้นยัน มาตรา ๑๗๕๕ "อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก • ก. ทายาท อันหมายถึง ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกันกับทายาทคนอื่นๆ • ข. บุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท อันได้แก่ บุคคลที่มิได้มีฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดก แต่ได้สืบสิทธิจากทายาทของเจ้ามรดกอีกทอดหนึ่งไม่ว่าในทางนิติกรรม หรือโดยผลของกฎหมาย

  33. ค. ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้เฉพาะแต่เจ้าหนี้กองมรดกเท่านั้น จะต่อสู้ทายาทไม่ได้ ยกเว้นแต่ ผู้จัดการมรดกยกขึ้นยันได้ทายาทนั้นได้(รูปที่ 7) คำพิพากษาฎีกาที่ 834/2485 ผู้จัดการมรดกเป็นเพียงตัวแทนของทายาท จะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 872/2535 การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์ มรดกให้แก่ทายาทของผู้ตาย ถือได้ว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดก ไว้แทนทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกจึงไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์มรดกจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจะยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวหาได้ไม่

  34. รูปที่ 7 1 ปี เจ้ามรดกตาย มีการตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทไม่ได้ครอบครอง ทรัพย์มรดก

  35. มรดกไม่มีผู้รับ มาตรา ๑๗๕๓ “ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน” • แผ่นดินจะได้รับมรดกต่อเมื่อ เจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว

  36. จบ

More Related