280 likes | 543 Views
3. ระบบคอมพิวเตอร์. 3 . 1 ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ 3.2 ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ 3 . 3 การแทนรหัสข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ 3 . 4 ผู้ใช้ทางคอมพิวเตอร์. 3 .1 ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์. 1. ตัวประมวลผล (Processor) 2. หน่วยความจำ (Memory)
E N D
3. ระบบคอมพิวเตอร์ 3.1 ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ 3.2 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ 3.3 การแทนรหัสข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ 3.4 ผู้ใช้ทางคอมพิวเตอร์
3.1 ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ 1. ตัวประมวลผล (Processor) 2. หน่วยความจำ (Memory) 3. อุปกรณ์นำเข้าและส่งออกข้อมูล (Input and Output devices) 4. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage devices)
1. ตัวประมวลผล (Processor) • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) มีหน้าที่เหมือนกับเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ • ในหน่วยประมวลผลกลางจะบรรจุชิปขนาดเล็กๆ ไว้เรียกว่า ไมโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) • ในตัวประมวลผลจะมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์มากมายเสียบเข้ากับแผงวงจร (Circuit board) หรือแผงวงจรหลัก (Mainboard) • หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนย่อยที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) และเรจิสเตอร์ (Register)
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนย่อยที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) และเรจิสเตอร์ (Register) หน่วยควบคุมควบคุมให้นำข้อมูล และคำสั่งมาประมวลผล - มี(Instruction set) มี เรจิสเตอร์ ที่ประกอบอยู่ภายในตัวซีพียู ทำหน้าที่สำหรับพักหรือเก็บข้อมูลปัจจุบัน ที่กำลังอยู่ระหว่าการประมวลผล การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การบวก การคูณ การลบ การหาร และ การยกกำลัง • ปัจจุบันซีพียูที่ได้รับความนิยมมากคือ Intel และ AMD โดยซีพียูของ Intel http://www.buycoms.com/buyers-guide/mainboard/index.asp รีจิสเตอร์หน่วยความจำความเร็วสูง ภายในตัวซีพียู
วงรอบการทำงานของซีพียูวงรอบการทำงานของซีพียู
3.1.2 หน่วยความจำ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ • รอม(ROM : Read Only Memory) หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง เช่น PROM, EPROM, EEPROM เป็นต้น • แรม(RAM : Random Access Memory) แรมเป็นหน่วยความจำแบบที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มีอยู่ได้ การใช้งานแรมจำเป็นต้องมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงตลอดเวลาของการใช้งาน เช่น SDRAM, DDRSDRAM, RDRAM • ใช้บันทึกข้อมูล และคำสั่งขณะเราทำงาน สามารถอ่านและ • เขียนข้อมูลได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะหายไป เมื่อมีการรับข้อมูลใหม่ • หรือปิดเครื่อง ถ้ามีRAM มากก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) ประเภทใช้แถบแม่เหล็ก (Megnetic) ประเภทที่ใช้แสง (Optical) จะใช้สารแม่เหล็กเคลือบบนวัสดุ เช่น พลาสติกหรือโลหะทำให้มีคุณสมบัติในการบันทึกข้อมูลได้ จะใช้แสงฉายลงไปบนวัสดุ ทำให้มีคุณสมบัติในการบันทึกข้อมูลได้ นิยมเก็บข้อมูลในปริมาณมากๆ เพื่อใช้ในการแจกจ่ายหรือขาย เช่น ซีดี แผ่นหนัง หรือใช้ในการสำรองข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์FlashDrive
3.1.3 อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและแสดงผลข้อมูล • อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แป้นพิมพ์ (keyboard) ซึ่งสามารถรับตัวอักษร ตัวเลข และคำสั่งจากผู้ใช้ เมาส์ (mouse) ซึ่งสามารถรับคำสั่งผ่านการระบุตำแหน่งบนพื้นเรียบและการกดปุ่มเมาส์ ไมโครโฟน (microphone) รับสัญญาณจากเสียงพูด รวมถึง อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลอื่นๆ เช่น แทร็กบอล(trackball) จอยสติก (joystick) เครื่องสแกน (scanner) และกล้องถ่ายรูปดิจิทัล(digital camera) เป็นต้น
3.2 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ : ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล และการจัดการระบบของดิสก์ การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง • เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง • แปลคำสั่งของผู้ใช้ และรับไปปฏิบัติ • ควบคุมดูแลแฟ้มข้อมูล, หน่วยความจำ, ฮาร์ดแวร์ ถูกออกแบบให้สามารถยืดหยุ่นต่อการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ระบบที่สำคัญ คือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) และซอฟต์แวร์ตัวแปลภาษา (Compiler) ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์(Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการเชื่อมโยง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft ระบบปฏิบัติการ Linux ใช้ command line ใช้ GUI
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ • ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้น โดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากร ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์ และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอม เมื่อออกแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำการทดสอบโปรแกรม ให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย และซอฟต์แวร์บริหารการศึกษา เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows Vista Windows 7 กราฟิกสวย ดีกว่า vista เทียบเคียง apple
ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ Linux ใช้ command line ใช้ GUI งานคำนวณด้านวิทยาศาสตร์ ใช้ในดารเรียนการสอนเพื่อพัฒนาโปรแกรม
ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการของบริษัท Apple Mac OS X
ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก Symbian OS Window Mobile Android IOS Linux HTC HD2 nokia/sony E
ประเภทการจัดการแฟ้มข้อมูลประเภทการจัดการแฟ้มข้อมูล โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) โปรแกรม อรรถประโยชน์ ซอฟต์แวร์ โปรแกรมจัดการดิสก์ • - การคัดลอก เปลี่ยนชื่อ • แบ่งพาติชัน การ format • - Disk Cleanup • Disk Defragmenter ประเภทลบทิ้งโปรแกรม โปรแกรมบีบอัดแฟ้ม • - Add/Remove โปรแกรม โปรแกรมรักษาหน้าจอ โปรแกรมป้องกันไวรัส
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (APPLICATION SOFTWARE) 2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (Word processor software) • ใช้ในการพิมพ์เอกสาร เช่น จดบันทึก จดหมาย คู่มือ รายงาน แผ่นพับ • เช่น Microsoft Word, Corel WordPerfect, Lotus Word Pro และ OpenOffice.org Writer
ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet software) • ซอฟต์แวร์ตารางที่ช่วยในการคิดคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างแผนภูมิ เช่น Microsoft Excel, Lotus 1-2-3 และ OpenOffice.org CalC
ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์นำเสนอ(Presentation software) • ซอฟต์แวร์ใช้ในการนำเสนอ เพื่อให้งานมีความน่าสนใจและมีความเป็นมืออาชีพ เช่น Microsoft PowerPoint, Corel Presentation, Lotus Freelance Graphics และ OpenOffice.org Impress
ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล(Database management software) • ซอฟต์แวร์ใช้ในการเก็บข้อมูล จัดการข้อมูล ทำฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Corel Paradox, Lotus Approach และ OpenOffice.org Base
ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (Data communication software) • ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆ ได้ เช่น ส่ง e-mail ใช้โอนแฟ้มข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานโดยเฉพาะ ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ออกแบบสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) • เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการจัดหน้าเอกสารและการพิมพ์ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความ กราฟิก รูปภาพ เช่น Adobe InDesign , PageStream, RagTime, Microsoft Publisher, Apple Page และCorelDraw
ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการภาพกราฟิก (Graphic editing) • เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการภาพกราฟิก ซึ่งเป็นการนำภาพมาตกแต่งโดยใช้คอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับการจัดหน้าเอกสารและการพิมพ์ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความ กราฟิก รูปภาพ เช่น Adobe Photoshop, GIMP
ซอฟต์แวร์ CAI (Computer-Assisted Instruction) • เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับการศึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน • และการรับรู้ของผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหา และกิจกรรม ของการเรียน เช่น โปรแกรม Authorware, Toolbook, Caiez Tools, Photoshop, Movie Maker และ Sound Editor
ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ(Computer-Aided Design: CAD) • เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับงานวิศวกรรม ออกแบบ และสถาปัตยกรรม ซึ่งนำมาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ ได้แก่ AutoCAD, SolidWorks, Pro/ENGINEER, CATIA
ซอฟต์แวร์ Web Page Authoring • เป็นเว็บที่ช่วยในการสร้างหน้าเว็บ (Web Page) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบหน้าเว็บเพจ ได้แก่ Adobe Dreamweaver, Arachnophilia, Microsoft FrontPage, SME Web, Cool Page,HomeSite, NetObject Fusion, Coffee Cup, Compozer
3.4 ผู้ใช้ทางคอมพิวเตอร์ • หมายถึง บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อาจเป็นบุคคลที่ทำงานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์