1 / 206

วิธีการดำเนินงานการวิจัย

King Mongkut’s University of Technology Thonburi Thailand. วิธีการดำเนินงานการวิจัย. รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์. ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิธีการดำเนินงานการวิจัย.

elyse
Download Presentation

วิธีการดำเนินงานการวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. King Mongkut’s University of Technology ThonburiThailand. วิธีการดำเนินงานการวิจัย รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

  2. วิธีการดำเนินงานการวิจัยวิธีการดำเนินงานการวิจัย • วิธีดำเนินงานการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่ผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผนการวิจัยและดำเนินงานตามแผนการวิจัยเป็นลำดับ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบในการวิจัยผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผนดำเนินงานการวิจัยโดยเริ่มจาก การกำหนดประชากรและ กลุ่มตัวอย่างการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลและการเลือกสถิติที่ใช้ในการวิจัย เพื่อนำไปสู่ผลสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป

  3. 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ประชากรหมายถึง กลุ่มบุคคลสัตว์ หรือสิ่งของที่อยู่ในข่ายที่สนใจทั้งหมดเช่น • ถ้าจะตรวจสอบอายุการใช้งานของตัวต้านทานขนาด 10 โอห์มกลุ่มประชากรคือกลุ่มของตัวต้านทานขนาด 10 โอห์มที่มีอยู่ทั้งหมด • ถ้าจะศึกษามาตรฐานค่าครองชีพของข้าราชการระดับ 3 กลุ่มประชากรหมายถึงข้าราชการระดับ 3 ทุกคน

  4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) • กลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องกับงานสำรวจด้วย ตัวอย่างมี 2 ประเภท คือ • กลุ่มประชากรที่ไปสุ่มตัวอย่างมา (Sampled Population) • กลุ่มประชากรที่มุ่งศึกษา (Target Population) โดยทั่วไปประชากรทั้งสองประเภทนี้ควรเป็นกลุ่มเดียวกันแต่ในหลายกรณี ก็ไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากถ้าใช้กลุ่มประชากรที่มุ่งศึกษาจะทำเช่นนั้นจะสิ้นเปลืองเวลาแรงงานและงบประมาณมากเกินไป จำเป็นต้องหันมาใช้เฉพาะกลุ่มประชากรที่ไปสุ่มตัวอย่างมาทดแทน

  5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) • กลุ่มตัวอย่าง คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่ได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างในประชากรจำกัดหรือในประชากรไม่จำกัด ตัวอย่างบางส่วนของประชากรจะเป็นตัวแทนของประชากร ในการอนุมานค่าต่าง ๆ หรือหาคำตอบบางอย่างของประชากร โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่น้อยที่สุด และให้ผลการอนุมานประชากรถูกต้องที่สุดด้วยแผนการเลือกตัวอย่างที่เหมาะสม

  6. วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่างวิธีการสำรวจด้วยตัวอย่าง

  7. วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่างวิธีการสำรวจด้วยตัวอย่าง 1. วิธีการเลือกตัวอย่างตามความน่าจะเป็น (Probability Sampling)หมายถึงการเลือกตัวอย่างโดยกำหนดความน่าจะเป็นที่แต่ละตัวอย่างจะเกิดขึ้นเป็นไปตามที่กำหนดซึ่งความน่าจะเป็นนี้โดยปกติจะถูกกำหนดขึ้นด้วยแผนการสุ่มตัวอย่างซึ่งจะทำการศึกษาในบทถัดไปเมื่อได้ตัวอย่างมาแล้วเราจะนำค่าที่ได้จากตัวอย่างมาสร้างค่าประมาณส่วนการหาคุณภาพของตัวประมาณก็ทำได้โดยการพิจารณาการแจกแจงของค่าตัวอย่าง (Sampling distribution) ซึ่งสร้างขึ้นจากค่าที่เป็นไปได้ของตัวประมาณและโอกาสที่แต่ละค่าจะเกิดขึ้นได้

  8. วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่าง(ต่อ)วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่าง(ต่อ) 2. การเลือกตัวอย่างที่ไม่ได้เลือกตามความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling)เป็นการเลือกตัวอย่างที่ไม่สามารถหาหรือสร้างกรอบตัวอย่างได้ซึ่งจะทำให้ไม่ทราบขนาดของประชากร N ว่ามีเท่าไรในเมื่อเป็นเช่นนี้การหาความน่าจะเป็นที่ตัวอย่างชุดที่ i จะถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างก็ไม่สามารถหาได้ฉะนั้นในกรณีนี้ตัวอย่างที่จะเลือกมาจึงมิได้ถูกกำหนดด้วยความน่าจะเป็นการเลือกตัวอย่างโดยวิธีนี้อาจทำได้โดยการกำหนดโควตา (Quota Sampling) ให้กับแต่ละลักษณะหรือส่วนต่าง ๆ ของประชากรแต่ไม่ระบุหน่วยตัวอย่างเฉพาะเจาะจงลงไปเป็นแต่เพียงว่าในการเก็บข้อมูลถ้าพบหน่วยที่เข้าข่ายที่กำหนดได้ก็จะถือเป็นหน่วยตัวอย่างจนได้ครบ

  9. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) • การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling : SRS) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการเลือกตัวอย่าง โดยกำหนดให้แต่ละหน่วยของตัวอย่างในประชากรมีโอกาสถูกเลือกมาด้วยโอกาสเท่า ๆ กัน ประชากรขนาด N ถ้าเลือกสุ่มตัวอย่างขนาด n โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เราจะได้ชุดตัวอย่างที่เป็นทั้งหมด ชุด และในการใช้ชุดตัวอย่างจะเลือกใช้เพียงชุดเดียว ทำให้ได้โอกาสที่จะเลือกใช้แต่ละชุดมีโอกาสเป็น ประชากร N จำนวนชุดตัวอย่างที่เป็นไปได้ทั้งหมด ตัวอย่างขนาด n โอกาสที่จะเลือกใช้แต่ละชุด จะมีโอกาสเป็น แต่ละหน่วยของประชากร จะมีโอกาสถูกเลือกเมื่อ

  10. การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling : SRS) การพิจารณาจะใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบใดจะขึ้นอยู่กับพิจารณาจากประชากรทั้งหมดสำหรับการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จะพิจารณาจากประชากรทั้งหมดว่าถ้าประชากรทั้งหมดมีลักษณะเหมือนกันหรือหน่วยนับมีลักษณะคล้ายคลึงกันเช่นความคิดเห็นมีลักษณะเหมือน ๆ กันในการเลือกใช้ก็จะใช้วิธีแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายและในการเลือกก็จะให้โอกาสของแต่ละหน่วยมีโอกาสการเกิดขึ้นเท่า ๆ กันถ้าโอกาสการเกิดขึ้นไม่เท่ากันก็จะนำมาไปสู่ผลสรุปที่เป็นอคติ

  11. การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (ต่อ) เช่นในการสำรวจตัวอย่างเรื่องรายได้ของประชากรในเขตกรุงเทพฯผู้วิจัยได้วางแผนการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และได้กำหนดหน่วยแจงนับไว้แล้วว่าเป็นบ้านเลขที่ 21 แต่เนื่องจากบ้านเลขที่ 21เป็นบ้านคนจนบังเอิญบ้านเลขที่ 22เป็นบ้านเศรษฐีอยู่ใกล้กันแต่ไม่ได้เป็นหน่วยแจงนับพนักงานสนามไม่สนใจที่จะเก็บเลขที่ 21 ที่ถูกกำหนดหน่วยแจงนับ แต่จะเลือกบ้านเลขที่ 22แทนถ้าทำอย่างนี้มาก ๆ หน่วยของบ้านเศรษฐีก็จะมีโอกาสที่จะถูกเลือกมามากปัญหาก็คือการสรุปผลก็จะนำไปสู่การสรุปที่ว่าประชากรในเขตกรุงเทพฯมีรายได้สูงซึ่งผิดกับความเป็นจริงดังนั้นเพื่อให้ผลสรุปเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในการเลือกตัวอย่างจะต้องเป็นไปตามแผนที่วางไว้คือให้โอกาสการเกิดของหน่วยแจงนับมีโอกาสเกิดขึ้นเท่า ๆ กัน

  12. การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (ต่อ) • วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างจะมีวิธีเลือกสุมแบบคืนที่และเลือกสุ่มแบบไม่คืนที่ การเลือกสุมแบบคืนที่ก็คือเลือกแล้วคืนที่กลับไปแล้วเลือกใหม่ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเลือกได้หน่วยตัวอย่างเดิม ส่วนการเลือกสุ่มแบบไม่คืนที่คือเลือกแล้วไม่คืนที่กลับไป สำหรับที่จะกล่าวถึงวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างนี้จะกล่าวถึงการเลือกสุมแบบไม่คืนที่ซึ่งมีวิธีการเลือกดังนี้

  13. การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (ต่อ) • 1. การเลือกโดยใช้ตารางเลขสุ่ม(Random Number) ทำได้โดยการให้หมายเลขกับประชากร หมายเลข 0,1,2,…,N แล้วสร้างกฎในการเลือกตัวเลขสุ่มเมื่อเลือกได้เบอร์ใดหน่วยที่มีหมายเลขนั้นก็ตกเป็นตัวอย่าง ถ้าหมายเลขเดียวกันถูกเลือกอีกก็ตัดทิ้งไปทำการเลือกใหม่จนได้ครบnหน่วย • ตัวอย่าง 2.1 สมมติประชากรมีขนาด 100 กล่าวคือN=100 เลือกตัวอย่างสุ่มขนาดn = 10 โดยใช้ตารางเลขสุ่ม

  14. การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (ต่อ) • วิธีทำให้หมายเลขประชากร 00 ถึง 99 เลือกแถวและสดมภ์ที่ใช้สำหรับการสุ่ม จากตารางเลขสุ่มที่มีทั้งหมด 100 แถวและ 100 สดมภ์ซึ่งเริ่มจากแถวที่ 00-99 และสดมภ์ ที่ 00-99 • วิธีการสุ่ม ก็คือหลับตาแล้วเอาดินสอจิ้มไปที่ตารางเลขสุ่มดังกล่าวสมมติได้ 1128 จะแบ่งเลข 1128 ออกเป็นตัวเลขสองตัวได้เป็น 11 และ 28 ถ้าให้ตัวเลขที่แบ่งตัวหน้าเป็นแถวจะหมายถึงแถวที่ 11 และตัวเลขตัวหลังเป็นสดมภ์จะหมายถึงสดมภ์ที่ 28 นั้นคือเราจะเริ่มสุ่มในแถวที่ 11 และ สดมภ์ที่ 28 จะได้ตัวเลขสุ่มเริ่มต้นจะอ่านจากซ้ายไปขวาจนหมดแล้วขึ้นแถวใหม่จากตัวเลขที่ได้นำมาแบ่งตัวเลขเป็น 2 หลักจนได้ครบ 10 จำนวนจะได้หมายเลขเป็น 34 60 33 22 25 54 90 60 07 11 ขั้นถัดไปสำรวจตัวเลขที่เลือกได้ทั้ง 10 ตัวว่ามีซ้ำกันหรือไม่ถ้าซ้ำกันให้ตัดทิ้งแล้วเลือกตัวใหม่โดยอ่านเลขสุ่มต่อจากที่ได้สุ่มเสร็จจากขั้นตอนก่อนเพราะฉะนั้นจะได้หมายเลข 34,60,33,22,35,54,90,60,7 และ 11 เป็นตัวอย่างขนาด 10 ที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่างต่อไป

  15. การเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (ต่อ) • การเลือกโดยวิธีจับฉลากวิธีนี้จำกำหนดหมายเลขประชากรจาก0,1,2,…,N จากนั้นทำสลากขึ้นมาเท่ากับจำนวนประชากรN จากนั้นจับสลากขึ้นมาn จำนวนถ้าได้หมายเลขซ้ำกันให้ตัดทิ้งไปแล้วสุ่มใหม่จนกระทั่งได้ครบจำนวนn ตัวอย่าง • การเลือกโดยใช้คอมพิวเตอร์เช่นอาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเลือกตัวอย่างโดยที่โปรแกรมที่ใช้อาจกำหนดค่าอย่างสุ่มระหว่าง 1 ถึงN ให้กับหน่วยแต่ละหน่วยที่ได้ค่า 1 ถึงn จะตกอยู่ในตัวอย่างเป็นต้น

  16. การหาขนาดตัวอย่าง ในการหาจะเป็นคำถามแรกของการศึกษาว่าจำนวนขนาดตัวอย่างควรจะเป็นเท่าไร จึงจะทำให้คุณภาพของตัวประมาณเป็นไปตามที่กำหนด ภายใต้ความเชื่อมั่น และในการกำหนดขนาดตัวอย่าง จะกำหนดคุณภาพของตัวประมาณด้วยการกำหนดขนาดความผิดพลาด( )ของการประมาณ ค่าเฉลี่ย ค่าประมาณสัดส่วน และค่าประมาณยอดรวม ดังนี้

  17. การหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ)การหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ) การประมาณสัดส่วน เมื่อ ถ้าต้องการตัวอย่างสุดจะได้ การประมาณค่าเฉลี่ย เมื่อ

  18. การหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ)การหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ) แทนความคลาดเคลื่อนของการประมาณประชากร แทนค่าแกน ภายใต้พื้นที่ จากการแจกแจงปกติมาตรฐาน แทนความแปรปรวนของประชากร ในทางปฏิบัติจะใช้วิธีทดสอบล่วงหน้าด้วยการสุ่มตัวอย่างขนาดมากกว่า 30 แล้วประมาณค่า ด้วย แทนสัดส่วนของประชากรในทางปฏิบัติจะใช้วิธีทดสอบล่วงหน้าด้วยการสุ่มตัวอย่างขนาดมากกว่า 30 แล้วประมาณค่า ด้วย แทนจำนวนประชากรทั้งหมด

  19. ตัวอย่างที่ 1 เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง • การวิเคราะห์ปริมาณการเดินทางในรายพื้นที่หนึ่งที่มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,623 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย หาข้อมูลครัวเรือน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณความหนาแน่นการเดินรถสาธารณะเฉลี่ย และค่าความแปรปรวน ในพื้นที่หนึ่ง จงหาขนาดตัวอย่าง เพื่อสุ่มเลือกครัวเรือนภายในพื้นที่นั้น เมื่อกำหนด ของการประมาณเป็น 325 เที่ยวต่อวัน และมีความคลาดเคลื่อนเป็น 15 เที่ยวต่อวัน เชื่อมั่นได้ 95%

  20. ตัวอย่างที่ 1 เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ) วิธีทำ เมื่อ จะได้ ดังนั้น จะได้ นั้นคือจะต้องสุ่มตัวอย่างครัวเรือนทั้งหมด 1366 ตัวอย่าง จึงจะทำให้มีความคลาดเคลื่อนเป็น 15 เที่ยวต่อวัน

  21. ตัวอย่างที่ 1 เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ) ถ้าต้องเขียน TOR(Term Of Reference)สำหรับสำรวจข้อมูลด้วยตัวอย่าง ปัญหาแรกก็คือผู้เขียน TOR(Term Of Reference) จะไม่ทราบขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการกำหนด TOR(Term Of Reference) ก็ไม่สามารถคลุมงบประมาณได้ เพราะไม่สามารถหาค่า ได้ทั้งนี้เนื่องจากค่าจะได้มาจากการทำการทดสอบล่วงหน้าโดยใช้ขนาดตัวอย่างมากกว่า 30 ดังนั้นในทางปฏิบัติ ถ้าไม่สามารถคำนวณ ก็จะใช้สูตรประมาณขนาดตัวอย่างจากการประมาณสัดส่วนโดยกำหนดผลคูณและ ที่มากที่สุดเพื่อให้ได้ขนาดตัวอย่างสูงที่สุด ซึ่ง ที่มากที่สุดคือและ ทำให้ได้ และ

  22. ตัวอย่างที่ 2 เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์ปริมาณการเดินทางในรายพื้นที่หนึ่งที่มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,623 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย หาข้อมูลครัวเรือนเพื่อวิเคราะห์ปริมาณความหนาแน่นการเดินรถสาธารณะเป็น ร้อยละ ในพื้นที่หนึ่ง จงหาขนาดตัวอย่าง เพื่อสุ่มเลือกครัวเรือนภายในพื้นที่นั้น เมื่อกำหนด ว่าอย่างน้อยเชื่อมั่นได้ 95% ว่าจะมีความคลาดเคลื่อนของการประมาณสัดส่วนเป็น 0.02

  23. ตัวอย่างที่ 2 เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง(ต่อ) • วิธีทำ • ดังนั้น จะได้ • นั้นคือจะต้องสุ่มตัวอย่างครัวเรือนทั้งหมด 1683 ครัวเรือนจึงจะทำให้มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณสัดส่วนเป็น 0.02

  24. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง • ในการกำหนดขนาดตัวอย่างเพื่อใช้ในการวิจัยจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากโรงพยาบาลทั้งหมด N=821 และจะสุ่มตัวอย่างมาขนาด n จากการทำทดสอบล่วงหน้า 30 ตัวอย่าง ได้ผลการสำรวจดังนี้

  25. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง

  26. Analyze Descriptive Descriptive Statistics ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง

  27. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง เอาตัวแปรข้างซ้ายที่ต้องการประมวลผลไปไว้ในช่อง Variable (s) ที่อยู่ข้างขวาแล้วคลิกคำสั่ง Option

  28. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง เลือกคำสั่งเพื่อหาค่าความแปรปรวนเพื่อใช้สำหรับการหาขนาดตัวอย่างแล้วคลิก continue แล้วคลิก OK

  29. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วให้ copyผลลัพธ์ทั้งหมดไปไว้ที่โปรแกรม Excel เพื่อใช้ในการคำนวณขนาดตัวอย่างต่อไป

  30. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง ค่า Variance ของตัวแปรที่ต้องการหาขนาดตัวอย่างจะถูกนำมาวางไว้ในโปรแกรม Excel เพื่อคำนวณขนาดตัวอย่าง

  31. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง =(1.96^2)*D4/(0.09^2) ตัวแปรที่เหลือจะใช้วิธีลากลงมาทั้งหมด =E4/(1+(E4/C4))

  32. ตัวอย่างที่ 3เรื่องการหาขนาดตัวอย่าง =MAX(F4:F93)

  33. 3.1.2 การเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) • การเลือกตัวอย่างแบบมีระบบมีวิธีการเลือกที่ค่อนข้างง่ายและสะดวกสำหรับงานสนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่สามารถนับจด(listing) หน่วยต่าง ๆ เพื่อทำการเลือกหน่วยตัวอย่างได้ก่อนล่วงหน้าวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างในประชากรขนาดให้เลขที่ 1 ถึง กับหน่วยในประชากรถ้าขนาดตัวอย่างที่กำหนดเท่ากับให้เมื่อคือค่าจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงกับมากที่สุด หรือเท่ากับ ในกรณีที่เป็นค่าจำนวนเต็มพอดีเราเลือกตัวอย่างโดยทำการเลือกตัวเลขสุ่ม(Random Number) 1 ตัว ระหว่างค่า 1 ถึง

  34. 3.1.2 การเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ(ต่อ) • สมมุติว่าได้ หน่วยที่ตกอยู่ในตัวอย่างคือหน่วยที่ไปจนได้ขนาดตัวอย่างที่ต้องการในกรณีที่ไม่ใช่เลขจำนวนเต็มการเลือกตัวอย่างข้างต้นจะมีปัญหาเล็กน้อยถ้าต้องการตัวอย่างที่ให้ตัวประมาณไม่เอนเอียงของค่าเฉลี่ยหรือค่ารวมก็อาจใช้วิธีของLahiri ซึ่งกำหนดให้เลือกตัวเลขสุ่มจาก 1 ถึงและถือว่าหน่วยต่าง ๆ อยู่เรียงกันเป็นวงกลมไม่ใช่เส้นตรงอย่างกรณีแรกถ้าเลือกได้เลขตัวอย่างต้องประกอบด้วยหน่วยและย้อนกลับไปขึ้นต้นจนกว่าจะได้หน่วยครบตามขนาดตัวอย่างเช่นถ้าจะได้ ถ้าเลือกได้หน่วยที่ 11, 16, 21, 26, 4 จะตกอยู่ในตัวอย่างเป็นต้นอย่างไรก็ตามถ้าขนาดตัวอย่างใหญ่มากเช่นการเลือกตัวอย่างโดยวิธีแรกในกรณีที่ไม่ใช่เลขจำนวนเต็มจะให้ค่าประมาณที่มีความเอนเอียงน้อยจนไม่ต้องสนใจได้แต่ถ้า เล็กเราต้องพิจารณาความเอนเอียงที่เกิดขึ้นด้วย

  35. การเลือกตัวอย่างแบบมีระบบการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ • สะดวกและง่ายในการเลือกตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ใหญ่มาก • ถ้าหน่วยต่าง ๆ ในประชากรอยู่เรียงกันอย่างสุ่ม (คือค่า จะเป็นอะไรก็ได้ไม่ได้ขึ้นกับ ) การสุ่มตัวอย่างแบบนี้จะให้ผลใกล้เคียงกับSRS • การสุ่มตัวอย่างแบบนี้มีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายกับการสุ่มแบบมีชั้นภูมิซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไปเมื่อประชากรถูกแบ่งออกเป็น ชั้นภูมิและเราเลือกตัวอย่างขนาด 1 หน่วยจากแต่ละชั้นภูมิข้อแตกต่างเพียงข้อเดียวก็คือในการสุ่มแบบชั้นภูมิหน่วยใดก็ได้ในชั้นภูมิหนึ่งจะถูกเลือกส่วนในการสุ่มแบบมีระบบหน่วยที่ในแต่ละชั้นภูมิจะถูกเลือก • การสุ่มตัวอย่างแบบนี้ยังเหมือนกับการสุ่มตัวอย่าง SRS มา 1 กลุ่มจากจำนวนทั้งหมดกลุ่ม ให้สังเกตว่าค่าประมาณจากตัวอย่างของหาไม่ได้จากสูตร SRS เนื่องจากขนาดตัวอย่างในที่นี้ n= 1 นั่นเอง

  36. 3.1.3 การเลือกตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งพวกหรือแบบตามรายชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) • ในการสำรวจนั้นบ่อยครั้งที่มักพบปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น หน่วยขั้นต้นจำแนกได้เป็นพวกๆหรือจำแนกตามเชื่อชาติ จำแนกตามอาชีพ จำแนกตามเขต หรือ จำแนกตามโรงเรียน เป็นต้นถ้าใช้ SRS ชุดตัวอย่างที่ได้อาจไม่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรได้เพราะบางส่วนของประชากรไม่ได้รับเลือกมาเป็นตัวอย่างหรือได้รับเลือกเข้ามาเป็นส่วนน้อยทำให้ค่าประมาณพารามิเตอร์สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปเพื่อเพิ่มระดับความแม่นยำของการประมาณค่าพารามิเตอร์ให้สูงขึ้น

  37. 3.1.3 การเลือกตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งพวก(ต่อ) • ในการเลือกตัวอย่างถ้าเลือกตัวอย่างในแต่ละพวกก็จะทำให้ได้ตัวอย่างครบทุกพวกและสามารถเพิ่มคุณภาพของการประมาณให้สูงขึ้น และแผนการเลือกตัวอย่างลักษณะนี้จะเรียกว่า แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งพวกหรือแผนแบบเลือกตัวอย่างตามรายชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยมีหลักเกณฑ์ว่าในการแบ่งประชากรออกเป็นประชากรย่อย (subpopulation) ประชากรกลุ่มย่อยจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน (Non Overlapping subpopulation) แต่ละกลุ่มของประชากรย่อยที่แบ่งออกไปเรียกว่าพวกหรือชั้นภูมิ (Stratum or Strata) โดยคำนึงถึงว่าให้แต่ละพวกประกอบด้วยหน่วยตัวอย่างที่มีลักษณะภายใต้การศึกษาคล้ายคลึงกัน (Homogeneity within Stratum) มากที่สุดและมีความแตกต่างกันระหว่างชั้นภูมิ (Heterogeneity between strata) มากที่สุด

  38. ขอบเขตของพื้นที่ย่อย 1,506 พื้นที่ [27] ตัวอย่างที่ 1 • ในการสำรวจการเดินทางของผู้ใช้ยวดยานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้ศึกษาได้จำแนกพื้นที่ย่อยออกเป็น 1506 พื้นที่ ดังรูปที่ 9 และ ในแต่ละพื้นที่ย่อยผู้ศึกษาได้สุ่มเส้นทางโดยวิธีสุ่มแบบธรรมดา

  39. การหาขนาดตัวอย่างการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งพวก • คำถามคือการสุ่มจำนวนครัวเรือนในแต่ละพื้นที่ย่อยว่าจะสุ่มจำนวนเท่าไรคำถามนี้เป็นคำถามแรกของการศึกษาโดยทั่วไปผู้ศึกษามักจะมีการตัดสินใจเลือกหลายวิธี บางก็ใช้วิธีการ กำหนดโควต้า (Quota Sampling) กล่าวคือจะกำหนดจำนวนขนาดตัวอย่างโดยกำหนดว่าจะใช้จำนวนตามที่กำหนดของผู้ศึกษา โดยไม่สนใจว่าคุณภาพของการประมาณจะเป็นเช่นไร แต่ถ้าใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยวิธีการเลือกตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นข้างต้น การกำหนดขนาดตัวอย่างจะกำหนดคุณภาพของตัวประมาณจากขนาดความคลาดเคลื่อน ด้วยความเชื่อมั่น ( จากวิธีการประมาณค่าต่างๆดังนี้

  40. การประมาณค่าเฉลี่ย หาขนาดตัวอย่างรวมโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยเป็นสัดส่วน (proportional Allocation ) กระจายขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยเป็นสัดส่วน คือ

  41. การประมาณค่าเฉลี่ย (ต่อ) หาขนาดตัวอย่างรวมโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยให้มีความเหมาะสม(Optimal allocation)กับค่าใช้จ่ายในการสำรวจต่อหน่วย กระจายขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยให้มีความเหมาะสมคือ

  42. การประมาณค่าเฉลี่ย (ต่อ) หาขนาดตัวอย่างรวมโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยให้มีความเหมาะสม โดยวิธีเนีย์แมน(Neyman allocation ) กระจายขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยโดยวิธีเนีย์แมนคือ

  43. การประมาณสัดส่วน ขนาดตัวอย่างรวมโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยเป็นสัดส่วน (proportional Allocation ) กระจายขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยเป็นสัดส่วน คือ

  44. การประมาณสัดส่วน (ต่อ) หาขนาดตัวอย่างรวมโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยให้มีความเหมาะสม(Optimal allocation )กับค่าใช้จ่ายในการสำรวจต่อหน่วย กระจายขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยให้มีความเหมาะสมคือ

  45. การประมาณสัดส่วน (ต่อ) หาขนาดตัวอย่างรวมโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยให้มีความเหมาะสม โดยวิธีเนีย์แมน(Neyman allocation )

  46. การประมาณสัดส่วน (ต่อ) กระจายขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างให้พื้นที่ย่อยโดยวิธีเนีย์แมนคือ สัญลักษณ์ที่ใช้ในแต่ละชั้นภูมิมีดังนี้

  47. การประมาณสัดส่วน (ต่อ) = จำนวนหน่วยทั้งหมด Nh = จำนวนหน่วยทั้งหมดในแต่ละพื้นที่ nh = จำนวนหน่วยในตัวอย่างในแต่ละพื้นที่ย่อย = ค่าสังเกตในหน่วยที่ i ในชั้นภูมิที่ h = True Variance = = Sample Variance = = สัดส่วนของประชากรในแต่ละพื้นที่ย่อย

  48. แทนความคลาดเคลื่อนของการประมาณประชากรแทนความคลาดเคลื่อนของการประมาณประชากร แทนค่าแกน จากการแจกแจงปกติมาตรฐาน ภายใต้พื้นที่ การประมาณสัดส่วน (ต่อ)

  49. การประมาณสัดส่วน (ต่อ) • ปัญหาในทางปฏิบัติก็คือค่าในกรณีประมาณค่าเฉลี่ย หรือ ในกรณีประมาณค่าสัดส่วน จะเอามาจากไหน และจะกำหนดเท่าใด ในกรณีนี้ทางปฏิบัติจะใช้วิธีทดสอบล่วงหน้า(Pre-test)ในการประค่า หรือส่วนค่า จะต้องกำหนดขึ้นเอง ตามปริมาณหน่วยวัด เช่น อายุวัดได้สูงสุด 70 ปี ถ้าจะกำหนด ขนาดความคลาดเคลื่อนไว้ 3 ปี หรือประมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 ของค่าสูงสุดก็ถือว่าใช้ได้ ส่วนการประมาณสัดส่วนจะกำหนดความคลาดเคลื่อนไว้ น้อยกว่าร้อยละ 5 นั้นก็คือจะกำหนดค่า ไว้ น้อยกว่า 0.05 สำหรับการทดสอบล่วงหน้า จะใช้ขนาดตัวอย่างแต่ละพื้นที่ย่อยไม่น้อยกว่า 30

  50. การประมาณสัดส่วน (ต่อ) • แต่ถ้าในการศึกษากำหนดพื้นที่ย่อยไว้ มากผลก็คือการทดสอบล่วงหน้าก็จะมีจำนวนมากเกินไปทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการทดสอบล่วงหน้ามาก จนไม่คุ้มกับการทำงานเบื้องต้น ทางแก้ไขในกรณีนี้ก็คือจะทำการทดสอบล่วงหน้าเพียง 30 ตัวอย่างหรือมากกว่ากระจายไปตามพื้นที่ย่อย แล้วใช้วิธีประมาณขนาดตัวอย่างจากการประมาณสัดส่วน ถ้าทราบจากงานวิจัยในลักษณะเดียวกันให้ใช้ค่านั้นเลย แต่ถ้าไม่ทราบค่า ของพื้นที่ย่อย ในการประมาณขนาดตัวอย่าง ก็จะใช้ขนาดตัวอย่างจากการ กำหนดว่าแต่ละพื้นที่ย่อยควรมีขนาดตัวอย่างสูงสุด ซึ่งการกำหนดแต่ละพื้นที่ย่อยมีขนาดตัวอย่างสูงสุดนั้น แสดงว่าผลคูณ ต้องมีค่ามากที่สุด และ ผลคูณ ที่มากที่สุดคือ และ แล้วแทนค่า ลงในสูตรหาขนาดตัวอย่าง

More Related