1 / 42

หลักสิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

หลักสิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม. ดร. อุทัย อาทิเวช อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการสูงสุด 17 เมษายน 2556. Charles de Montesquieu (1689-1755). ได้กล่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและผลกระทบที่ประชาชนจะได้รับจากการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ว่า

Download Presentation

หลักสิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ดร. อุทัย อาทิเวช อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการสูงสุด 17เมษายน 2556

  2. Charles de Montesquieu (1689-1755) ได้กล่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและผลกระทบที่ประชาชนจะได้รับจากการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ว่า “ไม่มีความเลวร้ายใดที่ยิ่งไปกว่าความเลวร้าย ที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและ ในนามของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา”

  3. สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม • กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน • สิทธิของผู้เสียหาย • สิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย • มาตรการบังคับในคดีอาญา • จับ ค้น ควบคุม ขัง • การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ • การคุ้มครองสิทธิเด็ก ฯลฯ

  4. การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาตามหลักนิติธรรมการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาตามหลักนิติธรรม • Cherif M. Bassiouni, “Human Rights in the Context of Criminal Justice”, 1993 กล่าวถึงหลักประกันสำคัญในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาว่าจะต้องประกอบด้วยหลักการอย่างน้อย 3 ประการคือ 1. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (Right to presumption of innocence) 2. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือทางคดี (Right to assistance of counsel) 3. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยชอบธรรม (Right to a fair trial)

  5. “HumanRightsareabouttheinherent, inalienable, interrelatedanduniversalrightsofindividualsandgroupsguaranteedtothemunderbothdomesticandinternationallegalframeworks.” MuhammedTawfiqLadan1999-2000 HubertHumphreyFellowHeadoftheDepartmentofPublicLawAhmaduBelloUniversity, ZariaKaduna, Nigeria

  6. 1. Universal Declaration of Human Rights - UDHR 2. International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR 3. European Convention on Human Rights - ECHR

  7. สาระสำคัญของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) • ลักษณะทั่วไปของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง • หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง • สิทธิเสรีภาพตามกติกา ICCPR • กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับกติกา ICCPR • กรณีศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ

  8. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) • ในปีค.ศ.1948 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ในฐานะที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการเคารพสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของทุกชาติในโลก • หลังจากนั้น มีความพยายามในการทำให้การปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำภายใต้ปฏิญญาสากลนั้นชัดเจนมากขึ้น ในปี ค.ศ.1966 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) • ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติกา ICCPR โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2539 โดยมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2540 • โดยมีการทำถ้อยแถลงตีความไว้ใน 4 ประเด็นคือ ข้อ 1 วรรค 1, ข้อ 6 วรรค 5, ข้อ 9 วรรค 3, และข้อ 20 วรรค 1

  9. หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ๑. สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง(ข้อบท ๑) หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (ข้อบท ๒ วรรค ๑, ข้อบท ๓, ข้อบท ๔, ข้อบท ๒๐ วรรค ๒) ๒. หลักการความเสมอภาคกันตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับ ความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย (ข้อบท ๒๖, ข้อบท ๑๔ วรรค ๑, วรรค ๓, ข้อบท ๒๕) ๓. ๔. หลักการความเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรี(ข้อบท ๓) ๕. หลักการรอนสิทธิ (ข้อบท ๔)

  10. หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง สิทธิในการกำหนดเจตจำนงตนเอง เป็นสิทธิที่สำคัญยิ่งจึงถูกกำหนดไว้ก่อนสิทธิอื่นๆ เพราะการบรรลุสิทธิประการนี้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการรับประกันและการใช้สิทธิมนุษยชนของปัจเจกบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และจำเป็นต่อการส่งเสริมและการเสริมความแข็งแกร่งของสิทธิเหล่านั้น สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง(ข้อบท ๑) ๑.

  11. หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง • สิทธิที่จะกำหนดสถานะทางการเมืองหมายถึง สิทธิของประชาชนที่จะเลือกระบอบการปกครองของตนเองได้โดยปราศจากการการแทรกแซงหรือการควบคุมของต่างชาติ • สิทธิในการกำหนดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนอย่างเสรีหมายถึงประชาชนมีสิทธิในการพัฒนาตนเองและประเทศของตน ซึ่งเป็นสิทธิที่มีอยู่มาแต่เดิมของประชาชน

  12. หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง • สิทธิของประชาชนในการจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนเองอย่างเสรีเป็นการแสดงให้เห็นว่าทรัพยากรภายในรัฐใดย่อมเป็นของรัฐนั้น ประชาชนภายในรัฐนั้นเป็นเจ้าของทรัพยากร ซึ่งทุกคนต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน เป็นสิทธิในการจัดการและการใช้ทรัพยากรอย่างอิสระ และรัฐจะต้องจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน การจัดการทรัพยากรโดยรัฐหรือประชาชนภายในรัฐจะต้องไม่ทำลายหรือกระทำการอันจะเป็นการเสื่อมเสียต่อพันธกรณีใดๆที่เกิดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยขึ้นอยู่กับหลักการแห่งผลประโยชน์กัน

  13. หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง • การไม่เลือกปฏิบัติเป็นหลักการขั้นพื้นฐานทั่วไปในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะจะคํ้าประกันว่าจะไม่มีบุคคลใดถูกปฏิเสธที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเนื่องจากปัจจัยภายนอกบางประการ • “การเลือกปฏิบัติ” ที่ใช้ในกติกาควรจะเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึง การแยกแยะ ความแตกต่าง การกีดกัน การจำกัด หรือการปฏิบัติเป็นพิเศษใดๆบนพื้นฐานแห่งเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ ซึ่งมีจุดประสงค์หรือก่อให้เกิดผลในการล้มล้าง หรือบั่นทอนการได้รับหรือการได้ใช้สิทธิและเสรีภาพของคนทั้งปวงบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกัน หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (ข้อบท ๒ วรรค ๑, ข้อบท ๓, ข้อบท ๔, ข้อบท ๒๐ วรรค ๒) ๒.

  14. หลักการพื้นฐานของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง • หลักการความเสมอภาคตามกฎหมาย และการได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายอย่างเสมอภาคโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติได้กำหนดว่า บุคคลทุกคนมีความเสมอภาคตามกฎหมาย และมีสิทธิได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยปราศจากการการเลือกปฏิบัติ และกฎหมายจะต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุความแตกต่างใด อทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ หลักการความเสมอภาคกันตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับ ความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย (ข้อบท ๒๖, ข้อบท ๑๔ วรรค ๑, วรรค ๓, ข้อบท ๒๕) ๓.

  15. สิทธิเสรีภาพตามกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมือง และ สิทธิทางการเมือง ๑ สิทธิในชีวิต (ข้อบท ๖) ๒ ห้ามการทรมาน การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม (ข้อบท ๗) ๓ ห้ามการเอาตัวบุคคลลงเป็นทาส และการบังคับใช้แรงงาน (ข้อบท ๘) ๔ สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล (ข้อบท ๙) ๕ สิทธิของบุคคลที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ (ข้อบท ๑๐)

  16. สิทธิเสรีภาพตามกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมือง และ สิทธิทางการเมือง ๖ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (ข้อบท ๑๔) ๗ เสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่(ข้อบท ๑๒) ๘ สิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย(ข้อบท ๑๖) ๙ สิทธิในความเป็นส่วนตัว (ข้อบท ๑๗) ๑๐ สิทธิในเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา (ข้อบท ๑๘ วรรค ๒และ วรรค ๔)

  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ ....

  18. ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา 39 บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

  19. ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (1) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง (2) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือ ตุลาการที่นั่งพิจารณาครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง

  20. ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (3) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม (4) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง

  21. ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (7) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยชั่วคราว (8) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ

  22. การพัฒนาระบบการปล่อยชั่วคราวการพัฒนาระบบการปล่อยชั่วคราว • สถิติการปล่อยชั่วคราว • ความยากจนกับความเสมอภาคทางกฎหมาย • การขาดโอกาสในการขอประกัน • ปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานและศาล • ตัวอย่างคดีระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญา กรุงเทพใต้ 5 โจทก์ นายอนันต์ ยวนสันเทียะ จำเลย

  23. การขาดโอกาส & ความสามารถในการประกันตัว • คดีของศาลอาญากรุงเทพใต้ หมายเลขแดงที่ 5615/2545 พนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 5 โจทก์ ระหว่าง นายอนันต์ ยวนสันเทียะ จำเลย ข้อหา มีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต (กระสุนปืนขนาด 9 ม.ม. จำนวน 1 นัดจากการค้นบ้านตามหมายของศาลอาญากรุงเทพใต้)

  24. คำร้องต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วคำร้องต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว • ป.วิอาญา ม. 107 ฎ. 2557/2534 พนักงานสอบสวนหน่วงเหนี่ยวการประกันตัวผู้ต้องหาโดยบอกว่าตนไม่ว่างที่จะให้ประกัน จะต้องไปตั้งด่านตรวจ และยังพูดว่าจะรีบประกันไปทำไม จะดัดสันดานสัก 2-3 วันก่อน แล้วก็ออกไปรับประทานอาหาร มิได้ไปตั้งด่านตรวจแต่อย่างใด เมื่อกลับเข้ามา ญาติของผู้ต้องหาขอประกันตัวผู้ต้องหาอีก พงส.พูดว่า จะประกันไปทำไม ให้ถูกขัง 4-5 วันก่อน แล้วก็ออกไปตีสนุกเกอร์ นอกจากเป็นการกระทำที่ขัดต่อ ป.วิอาญา ม. 107 แล้ว ยังผิดตาม ปอ. ม. 157

  25. ข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับสภาทนายความเรื่อง แนวทางปฏิบัติกรณีผู้ต้องหาใช้สิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบสวนปากคำของตนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241พ.ศ. 2542

  26. 8. ทนายความที่เข้าฟังการสอบสวนปากคำ ไม่มีหน้าที่ตอบคำถามแทนผู้ต้องหา เว้นแต่คำถามนั้นไม่ชัดเจน ทนายความอาจทักท้วงขอให้พนักงานสอบสวนอธิบายหรือแจงเพิ่มเติมได้ และจะต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการรบกวนหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการสอบปากคำผู้ต้องหา

  27. 9. ถ้าทนายความที่เข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาเห็นว่า การสอบปากคำผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายใด อาจคัดค้านหรือข้อทักท้วงลงไว้ในบันทึก สอบปากคำของพนักงานสอบสวนได้ และก่อนที่พนักงานสอบสวนจะสอบปากคำหรือตั้งคำถามผู้ต้องหาต่อไป ให้พนักงานสอบสวนจดข้อคัดค้าน หรือ ข้อทักท้วงลงไว้ในบันทึกการสอบปากคำ หรือจะให้ทนายความยื่นคำคัดค้านหรือคำทักท้วงเป็นหนังสือ เพื่อรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนก็ได้

  28. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เคยกล่าวไว้ว่า การพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับสังคมโลกจะต้องปฏิบัติใน 5 ด้าน ดังนี้ 1.ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 2. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น

  29. 3.จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ3.จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ 4.จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินการเป็นอิสระ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม 5.สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว

  30. ความผิดมูลฐาน 1. ยาเสพติด 11.ค้ามนุษย์ 10.ซื้อสิทธิ/ขายเสียงในการเลือกตั้ง 2. เพศ 9.การพนัน 8. ก่อการร้าย 3.ฉ้อโกงประชาชน 7. ลักลอบหนีศุลกากร 4.ยักยอก/ฉ้อโกงโดย ผู้บริหารสถาบันการเงิน 6.กรรโชก / รีดเอาทรัพย์ 5.ความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ

  31. มาตรการทางกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรการทางแพ่ง มาตรการทางอาญา การดำเนินการ เกี่ยวกับทรัพย์สิน การดำเนินคดีอาญา

  32. ขั้นตอนการดำเนินการริบทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินขั้นตอนการดำเนินการริบทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงิน รายงานจาก สำนักงานที่ดิน รายงานจาก 9 วิชาชีพ และ ข้อมูลจากแหล่งอื่น รายงานจาก สถาบันการเงิน สำนักงาน ปปง. การยึด/อายัดชั่วคราว การยับยั้งธุรกรรม คณะกรรมการธุรกรรม หรือ เลขาธิการ ปปง. 90 วัน* มีเหตุอันควรเชื่อ เจ้าของทรัพย์ยื่นคำร้อง 3 วัน* 10 วัน อัยการ คณะกรรมการ ปปง. ศาลแพ่ง คณะกรรมการ ปปง. เลขาธิการ ปปง. ประกาศ เจ้าของ/ผู้รับโอน/ผู้รับประโยชน์ยื่นคำร้อง อัยการ ริบทรัพย์ การคืนทรัพย์สิน ศาลแพ่ง พิสูจน์ความเป็นเจ้าของหรือความสุจริตของผู้รับประโยชน์ การคืนทรัพย์สิน

  33. ทรัพย์สินตกเป็นของ แผ่นดิน ศาล พนักงานอัยการ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด การพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการธุรกรรม รายงาน โดย คณะกรรมการธุรกรรม กรณีเร่งด่วน การสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน โดย เลขาธิการ ปปง. มูลเหตุอันเชื่อได้ว่าทรัพย์สินนั้นเกี่ยวข้องกับ การกระทำความผิดฐานฟอกเงิน การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน การตรวจสอบรายงานและข้อมูลตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวง (มาตรา 48)

  34. การสั่งยับยั้งการทำธุรกรรมตามมาตรา 35 และมาตรา 36 มาตรา 35ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยและมีพยานหลักฐานอันสมควรว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน ให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมนั้นไว้ก่อนได้ภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินสามวันทำการ ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน เลขาธิการจะสั่งยับยั้งการทำธุรกรรมตามวรรคหนึ่งไปก่อนก็ได้แล้วรายงานต่อคณะกรรมการธุรกรรม มาตรา 36ในกรณีที่มีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน ให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมนั้นไว้ชั่วคราวภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินสิบวันทำการ

  35. อำนาจที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอำนาจที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มาตรา 38เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคำส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานใดๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (2) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานใดๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (3) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใดๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการซุกซ่อนหรือเก็บรักษาทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เพื่อตรวจค้นหรือเพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบ หรือยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐาน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ ทรัพย์สินหรือพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

  36. อำนาจจับผู้กระทำผิดความผิดอาญาฐานฟอกเงินอำนาจจับผู้กระทำผิดความผิดอาญาฐานฟอกเงิน มาตรา 38/1ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการ รองเลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการมีอำนาจจับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินและบันทึกถ้อยคำ ผู้ถูกจับเพื่อเป็นหลักฐานเบื้องต้นแล้วส่งตัวไปยังพนักงานสอบสวนโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง

  37. อำนาจสืบสวนพิเศษ การเข้าถึงบัญชีลูกค้าของสถาบันการเงิน การเข้าถึงข้อมูลทางการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

  38. มาตรา 46 ในกรณีที่มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าบัญชีลูกค้าของสถาบันการเงิน เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใดถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลแพ่ง เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสาร หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นก็ได้

  39. การยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว มาตรา 48ในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินใดที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน เลขาธิการจะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไปก่อนแล้วรายงานต่อคณะกรรมการธุรกรรม

  40. การมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินการมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน มาตรา 51เมื่อศาลทำการไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการตามมาตรา 49 แล้ว หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และคำร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ฟังไม่ขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งที่เป็นเงิน ให้สำนักงานส่งเข้ากองทุนกึ่งหนึ่งและส่งให้กระทรวงการคลังอีกกึ่งหนึ่ง ถ้าเป็นทรัพย์สินอื่น ให้ดำเนินการตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ หากผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต แล้วแต่กรณี

  41. Thank You !

More Related