1 / 48

การเขียนอัญประภาษ (Quotation) อัญประภาษ คือ ข้อความที่คัดลอกมา แปลมา ถอดความมา หรือสรุปความมา

การเขียนอัญประภาษ (Quotation) อัญประภาษ คือ ข้อความที่คัดลอกมา แปลมา ถอดความมา หรือสรุปความมา จากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่น มี 2 ประเภท 1. อัญประภาษตรง เป็นการอ้างโดยตรง คัดลอกมาเหมือนต้นฉบับเดิม ทุกประการ ข้อความยาวไม่เกิน 4 บรรทัด พิมพ์ไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ (“........”)

Download Presentation

การเขียนอัญประภาษ (Quotation) อัญประภาษ คือ ข้อความที่คัดลอกมา แปลมา ถอดความมา หรือสรุปความมา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนอัญประภาษ (Quotation) อัญประภาษคือ ข้อความที่คัดลอกมา แปลมา ถอดความมา หรือสรุปความมา จากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่น มี 2 ประเภท 1. อัญประภาษตรง เป็นการอ้างโดยตรง คัดลอกมาเหมือนต้นฉบับเดิม ทุกประการ ข้อความยาวไม่เกิน 4 บรรทัด พิมพ์ไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ (“........”) 1.1 ข้อความยาวมากให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ โดยเว้น 1 บรรทัดและไม่ต้องใส่ เครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนบนเยื้องไปทางขวาตัวอักษรสุดท้าย ให้ใส่ตัวเลขกำกับให้ตรงกับตัวเลขของเชิงอรรถ 1.2 ต้องการตัดข้อความออกให้ใส่จุด 3 จุด (...) ตรงข้อความที่ตัดออก 2. อัญประภาษรอง เป็นการอ้างถึงโดยอ้อมแต่เป็นการถอดความ สรุปความ หรือย่อความ โดยใช้สำนวนภาษาของผู้เขียนเอง ไม่ต้องใส่ข้อความในอัญประกาศ

  2. การนำเสนอภาพประกอบ ภาพประกอบ ได้แก่ ภาพวาด ภาพลายเส้น ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย แผนที่ แผนผัง แผนภูมิ กราฟ เป็นต้น ควรเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องที่กล่าวถึง หมายเลขกำกับภาพ ชื่อภาพ และคำอธิบายภาพให้ลงไว้ใต้ภาพ การวางแผนการสอน การจัดการเรียน การสอนตามแผน การประเมินผล การเรียนการสอน - การศึกษาหลักสูตร - วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหา และเวลา - หาเทคนิควิธีการสอน - เตรียมสื่อนวัตกรรม - เตรียมเครื่องมือวัด - กำหนดโครงสร้างรายวิชา - เขียนแผนการสอน • - จัดกิจกรรมการเรียนการสอน • - ประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน • ปรับปรุงแก้ไข • - หาประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรม • - ประเมินความก้าวหน้าผู้เรียน • ประเมินผลการเรียนรู้ การปรับปรุงและพัฒนา แผนภาพที่ 1 แสดงกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ที่มา : กนก จันทร์ขจร 2531 : 168

  3. การนำเสนอตาราง ตาราง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบของตาราง อาจเป็นตัวเลขเช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย หรืออาจเป็นการรวบรวมสิ่งที่ได้จาก การศึกษาค้นคว้าในรูปที่ย่อ เส้นบนสุดของตารางนิยมใช้เส้นคู่หรือเส้นหนา พิมพ์หมายเลขกำกับและมีชื่อ ตารางไว้บนตาราง ส่วนการอ้างถึงแหล่งที่มาของตารางให้ระบุไว้ด้านล่างของตาราง ตารางที่ 3 ร้อยละของเด็กที่แสดงอาการผิดปกติทางอารมณ์เนื่องมาจากวิธีการฝึกหัด การใช้ส้วม วิธีฝึกหัดฯ แม่ที่อบอุ่น แม่ที่เย็นชา ความแตกต่าง ในแนวนอน วิธีที่นุ่มนวล 21 11 ไม่มีนัยสำคัญ วิธีที่รุนแรง 23 43 ความแตกต่างในแนวตั้ง ไม่มีนัยสำคัญ ที่มา: พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ 2536 : 17

  4. 5.1.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการต้องมีส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระและมีรูปแบบใหม่ ไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ

  5. 5.1.4 การอ้างอิง 1) วิธีการอ้างอิง (1) การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา คือการระบุแหล่งที่นำข้อมูล มาอ้างอิงไว้ในวงเล็บแทรกไว้ในเนื้อหาของรายงานตรงที่มีการนำข้อความมา อ้างอิงเรียกว่า ระบบนาม-ปี ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 : 7) คือ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่ายกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 11-12) คือ ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และเป็นคนมีความสุข

  6. ( 2) การอ้างอิงแบบแยกเนื้อหา 2.1 การอ้างอิงไว้ท้ายหน้ากระดาษ เรียกว่า “เชิงอรรถ”(Footnote)ซึ่งหมายถึง ข้อความที่ลงไว้ตอนล่างของเนื้อหารายงานในแต่ละหน้า เป็นหลักฐานอ้างอิงบอกที่มา ของข้อความที่ปรากฏอยู่ในอัญประกาศว่ามาจากที่ใด หรือให้ความหมายของคำศัพท์ที่ยาก คำเฉพาะหรือให้ความรู้เพิ่มเติม 2.2 การอ้างอิงท้ายบท มีหลักการเขียน ดังนี้ 2.2.1 เขียนหรือพิมพ์คำว่า “การอ้างอิง” หรือ “อ้างอิง” ไว้กลางหน้ากระดาษห่าง จากขอบบนประมาณ 2 นิ้ว 2.2.2 เขียน หรือพิมพ์รายการอ้างอิงแต่ละรายการ ในบรรทัดแรกให้ ย่อหน้าหรือเว้นเข้าไป 7 ช่วงตัวอักษร ถ้าไม่พอในบรรทัดเดียวให้ต่อในบรรทัดถัดไปใน ระยะชิดขอบซ้าย 2.2.3 การเรียงลำดับการอ้างอิงท้ายบทจะเรียงลำดับตัวเลขติดต่อกันเฉพาะใน แต่ละบท และตัวเลขที่ใช้กำกับในอ้างอิงแต่ละรายการต้องตรงกับตัวเลขที่กำหนดไว้ลำดับ เช่นเดียวกันกับในเนื้อหา 2.3 การอ้างอิงท้ายเล่ม การอ้างอิงแบบนี้มีหลักการทำเช่นเดียวกับการอ้างอิงท้ายบท เพียงแต่จะเรียงลำดับตัวเลขติดต่อกันไปตลอดทั้งเล่ม

  7. 2) วิธีการเขียนบรรณานุกรม บรรณานุกรม คือ รายการของทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทที่ผู้เขียนใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลและอ้างอิงประกอบในการเขียนรายงาน ภาคนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็น ความหมายเดียวกันกับคำว่า เอกสารอ้างอิง หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนบรรณานุกรม 1) เขียนหรือพิมพ์คำว่า “บรรณานุกรม” ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบด้านบน ประมาณ 2 นิ้ว ด้วยตัวอักษรหนาขนาดเดียวดันกับ คำนำ สารบัญ และไม่ต้องขีดเส้นใต้ 2) เขียนหรือพิมพ์บรรณานุกรมแต่ละรายการในบรรทัดแรกให้ชิดขอบซ้าย ถ้าไม่พอใน บรรทัดเดียวให้ต่อในบรรทัดถัดไปในระยะย่อหน้าหรือเว้นเข้าไป 7 ช่วงตัวอักษร 3) เรียงลำดับบรรณานุกรมตามลำดับของตัวอักษรของรายการแรก ก-ฮ หรือ A-Z ไม่มีเลขลำดับที่กำกับ 4) ถ้าทรัพยากรสารนิเทศที่จะนำมาเขียนบรรณานุกรมมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เรียงบรรณานุกรมภาษาไทยไว้ก่อน แล้วจึงเรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ

  8. 5) ถ้าทรัพยากรสารนิเทศที่จะนำมาเขียนบรรณานุกรมมีหลายประเภท และแต่ละ ประเภทมีจำนวนมากให้แบ่งตามประเภทของเอกสารนั้นๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา โสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 6) ถ้ารายการแรกในบรรณานุกรมซ้ำกัน เช่น ผู้แต่ง ผู้เขียนบทความ หรือสถาบันซ้ำกัน ให้เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือ หรือชื่อบทความที่อยู่ลำดับถัดไป โดยให้ใช้เครื่องหมาย สัญประกาศ ( ____ ) หรือขีดเส้นยาว 7 ช่วงตัวอักษร หรือประมาณ 1 นิ้วแทน 7) หลังเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) ให้เว้น 2 ช่วงตัวอักษร และหลังเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค ( , ) มหัพภาคคู่ ( : ) อัฒภาค ( ; ) อัญประกาศ ( “.” ) ให้เว้น 1 ช่วงตัวอักษร 8) ผู้แต่งคนเดียวกัน แต่งบางเล่มมีผู้อื่นแต่งร่วมด้วย ให้ลงเล่มที่ผู้แต่งคนเดียวก่อนจน หมดแล้วจึงตามด้วยเล่มที่มีผู้อื่นแต่งร่วมด้วย 9) ชื่อสารนิเทศให้ขีดเส้นใต้ตลอด หรือพิมพ์ด้วยอักษรตัวหนา 10) ถ้าสารนิเทศไม่ปรากฏผู้แต่ง ผู้จัดทำหรือผู้รับผิดชอบให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายแรกของ บรรณานุกรม 11) การเขียนบรรณานุกรม ถ้าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์หรือสำนักพิมพ์ ให้ลงว่า ม.ป.ท. ในตำแหน่งนั้นๆ หรือถ้าไม่ปรากฏทั้งสองอย่างให้ลง ม.ป.ท. แทนไว้เพียงครั้งเดียว 12) บรรณานุกรมจะอยู่ส่วนท้ายของเล่ม (โปรดดูรายละเอียดในเอกสารหมายเลข 2.6)

  9. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม บรรณานุกรม ดนัย ไชยโยธา. แนวทางการเขียนผลงานทางวิชาการและงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2538. ธีระชัย ปูรณโชติ. การสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. บูรชัย ศิริมหาสาคร. การทำโครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบุ๊ค พอยท์ จำกัด, 2548. สมคิด พรมจุ้ย. การเขียนโครงการวิจัย : หลักการและแนวทางปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545. _________. เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2546. “หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็น วิทยฐานะ”[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/webtcs, 25 มกราคม 2549.

  10. 5.1.5 การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม ผลงานทางวิชาการต้องมีการจัดพิมพ์ให้สวยงาม และถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การพิมพ์หัวข้อ การย่อหน้า การจัดพิมพ์ตาราง การพิมพ์เชิงอรรถ บรรณานุกรม การจัดทำ รูปเล่มถูกต้อง มีปกหน้า ปกหลัง ใบรองปก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม ภาคผนวก เป็นต้น

  11. 1) ตัวอย่างปกหน้า 2 นิ้ว ตราโรงเรียน รายงาน........................................ วิชา.................................(............) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่............. 1.5 นิ้ว 1 นิ้ว นาย/นาง/นางสาว................................................. ตำแหน่ง...............................วิทยฐานะ.................................. กลุ่มสาระการเรียนรู้.................................โรงเรียน....................................... สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3 คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ................. 1 นิ้ว

  12. 2) ตัวอย่างหน้าคำนำ 2 นิ้ว คำนำ 1 นิ้ว / / / / / / / /........................................................................................... 1.5 นิ้ว ......................................................................................................... 1 นิ้ว .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... ....................................................... ชื่อ – สกุล ของผู้เขียนรายงาน วันที่ เดือน ปี 1 นิ้ว

  13. 3) ตัวอย่างหน้าสารบัญ 2 นิ้ว สารบัญ 1 นิ้ว บทที่ 1 หน้า 1.5 นิ้ว ........................................................................................ 1 1 นิ้ว ........................................................................................ 3 ......................................................................................... 5 ......................................................................................... 10 ......................................................................................... 12 บทที่ 2 ......................................................................................... 13 ......................................................................................... 18 ......................................................................................... 20 1 นิ้ว สารบัญตาราง รูปแบบลักษณะเดียวกับสารบัญ สารบัญภาพ รูปแบบลักษณะเดียวกับสารบัญ

  14. 4) ตัวอย่างหน้าแรกของบทใหญ่และเชิงอรรถแบบแทรกในเนื้อหา 2 นิ้ว ชื่อเรื่องของแต่ละบท / / / / / / / /........................................................................................... 1.5 นิ้ว ......................................................................................................... 1 นิ้ว .......................................................................................................... .......................................................................................................... .....................................(.......................................)........................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... 1 นิ้ว เชิงอรรค แบบแทรก ในเนื้อหา

  15. 5) ตัวอย่างหน้าทั่วไปและเชิงอรรถแบบแทรกเนื้อหา 1.5 นิ้ว .......................................................................................................... .......................................................................................................... ..................................................(............................................)......... .......................................................................................................... 1.5 นิ้ว ........................................................................................................ 1 นิ้ว .....................................(.............................................................)..... .......................................................................................................... .......................................................................................................... (...................................................).................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... 1 นิ้ว

  16. 6) ตัวอย่างหน้าแรกของบทใหญ่และเชิงอรรถท้ายหน้า 2 นิ้ว ชื่อเรื่องของแต่ละบท / / / / / / / /........................................................................................... 1.5 นิ้ว ......................................................................................................... 1 นิ้ว .......................................................................................................... .......................................................................................................... .......................................................................1................................... .......................................................................................................... .......................................................................................................... ______________ 1เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ลักษณะชีวิตสู่ความสำเร็จ2,. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ:ชัคเซสมีเดีย, 2542) หน้า 22. 1 นิ้ว เส้นคั่นระหว่าง เนื้อหาและ เชิงอรรถ 2 นิ้ว เชิงอรรคแบบ ท้ายหน้า

  17. 7) ตัวอย่างหน้าทั่วไปและเชิงอรรถท้ายหน้า 1.5 นิ้ว .......................................................................................................... .......................................................................................................... ............................................................................1............................. .......................................................................................................... 1.5 นิ้ว ........................................................................................................ 1 นิ้ว .......................................................................................................... ...........................................2............................................................. .......................................................................................................... ______________ 1......................................................................................... .......................................................................................................... 2......................................................................................... .......................................................................................................... 1 นิ้ว

  18. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอนการทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอน 1. ขั้น 1:1 ใช้กับนักเรียน 3 คน (เก่ง ปานกลาง อ่อน) ให้นักเรียนศึกษา สื่อการสอนทำแบบทดสอบและแบบฝึกหัด คำนวณ E1 / E2 แล้วปรับปรุง 2. ขั้น 1:10 นักเรียนมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกันประมาณ 5 – 10 คน (เก่ง – อ่อน) 2.1 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 2.2 ศึกษาสื่อ – นวัตกรรม 2.3 ทำแบบฝึกหัด 2.4 ทำแบบทดสอบหลังเรียนมาวิเคราะห์เกณฑ์ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 90/90 หรือ 85/85 หรือ 80/80 (ขึ้นอยู่กับลักษณะวิชา)

  19. เกณฑ์ 85/85 E1 / E2 = - 85 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละของกลุ่ม ในการทำแบบฝึกหัด - 85 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละของกลุ่ม ในการทำแบบทดสอบหลังเรียน 3. ขั้น 1 : ภาคสนาม/ห้องเรียน หมายถึง ทดลองใช้กับนักเรียน 1 ห้องเรียน แล้วคำนวณ E1/E2 (ถ้าต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 2.5 ก็ยอมรับได้

  20. ตารางที่ 12 แสดงคะแนนการทดลองใช้ชุดการสอน หน่วยที่ 2 เรื่อง ลักษณะทางพันธุกรรม

  21. ตารางที่ 12 แสดงคะแนนการทดลองใช้ชุดการสอน หน่วยที่ 2 เรื่อง ลักษณะทางพันธุกรรม (ต่อ) การทดสอบประสิทธิภาพการสอนหน่วยที่ 2 พบว่า มีประสิทธิภาพ 90.93 / 90.32 อยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งไว้ หมายเหตุ คือ ค่าร้อยละของความก้าวหน้าในการเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนที่ 2 42 : 11

  22. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของ การทดสอบก่อนและหลังเรียน(หาอัตราส่วนวิกฤต (t) ประคอง กรรณสูต, 2524 : 118) สูตร = 21.92

  23.  t = 21.92 ค่า t ที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 21.92 ซึ่งมีค่ามากว่า t จากตาราง (t = ± 2.58 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01) ดังนั้นคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ตาราง แสดงค่า t ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติต่างๆ P df P = ความน่าจะเป็น (ซึ่งใช้เป็นระดับแห่งความมีนัยสำคัญ) df = ชั้นแห่งความอิสระ (degree of freedom)

  24. สรุป : 1. ประสิทธิภาพสื่อการสอน พิจารณาจากคะแนน แบบฝึกหัด และคะแนนหลังเรียน 2. ความก้าวหน้าในการเรียนเรียน พิจารณาจาก คะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน

  25. หรือ ตารางที่ 1 แสดงคะแนนทดลองใช้สื่อนวัตกรรม หน่วยที่ 1 จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้  E1 / E2 = = 76.19/78.57

  26. กระบวนการพัฒนาเครื่องมือกระบวนการพัฒนาเครื่องมือ 1. การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.1 แบบทดสอบ 1.2 แบบแสดงความคิดเห็น

  27. 2. การหาคุณภาพของเครื่องมือ 2.1 แบบทดสอบ หาค่า IOC (แฮมเบลคัม อ้างจาก จำเนียร น้อยท่าช้าง, 2529:144) สูตร เมื่อ IOC คือ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Index of Item – Objective Congruence) ∑R คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ การพิจารณาค่า IOC : IOC > .50 ขึ้นไป แสดงว่าเป็นข้อสอบที่สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม IOC < .05 แสดงว่าเป็นข้อสอบที่ควรนำไปปรับปรุง แก้ไขหรือคัดออก

  28. แบบแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ...แบบแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ... คำชี้แจง ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นของท่านที่มีต่อ....โดยใส่เครื่องหมาย  ลงในช่องขวามือ (ระดับความคิดเห็น) และโปรดให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ต่องานวิจัย

  29. 2.2 แบบสอบถามความคิดเห็น 2.2.1 หาความเที่ยงตรง (Validity) ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 – 5 คนตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา คำชี้แจง ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นของท่านที่มีต่อ....โดยใส่เครื่องหมาย  ลงในช่องขวามือ (ระดับความคิดเห็น) และโปรดให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ต่องานวิจัย

  30. 2.2.2 หาความเชื่อมั่น (Reliability) นำไปทดลองใช้ แล้วหาความเชื่อมั่นโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Coefficient) ซึ่งมีสูตรคำนวณ (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ, 2538:171 ดังนี้) สูตร เมื่อ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น n คือ จำนวนข้อคำถาม ∑Si2คือ คะแนนความแปรปรวนเป็นรายข้อ St2คือ คะแนนความแปรปรวนของเครื่องมือทั้งฉบับ โดยใช้โปรแกรม MS Excel หาค่าความเชื่อมั่น

  31. แบบแผนการวิจัย การวิจัยในชั้นเรียน เป็นกลุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบแผนการวิจัย (Research Design) เกี่ยวกับการทดลองใช้นวัตกรรม 3 แบบ ดังนี้ 1. แบบแผนการทดลองที่ 1 :การทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest-Posttest Design) 1.1 เป็นการทดลองที่มีการวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้ง ดังนี้ เมื่อ O1คือ การสอบก่อนที่จะทำการทดลอง (pretest) X คือ การใช้นวัตกรรม (Treatment) O2คือ การสอบหลังจากที่ทำการทดลอง (Posttest) O1และ O2เป็นการวัดด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกัน หรือคู่ขนานกัน มีมาตราวัดเดียวกัน 1.2 เครื่องมือที่ใช้ ต้องเป็นฉบับเดียวกับหรือคู่ขนานกัน O1 x O2

  32. แบบแผนการวิจัย 1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล : 1.3.1 นำผลการวัด O1และ O2มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย และนำเปรียบเทียบกัน โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent (t-dependent) สูตร D แทน ผลต่างของคะแนนก่อนการทดลองกับหลังการทดลองแต่ละคน ∑D แทน ผลรวมของผลต่างของคะแนนก่อนการทดลองกับหลังการทดลอง ของทั้งกลุ่ม ∑D แทน ผลรวมกำลังสองของผลต่างของคะแนนก่อนการทดลองกับหลัง การทดลองของทั้งกลุ่ม 1.3.2 สรุปผลการทดลอง ถ้าผลการวัดของ O2สูงกว่า O1แสดงว่านวัตกรรมนั้น ใช้ได้ผล หรือกล่าวได้ว่านวัตกรรมนั้นใช้ได้จริง

  33. 2. แบบแผนการทดลองที่ 2 :การทดลองแบบสองกลุ่ม (Randomized Control Group Posttest-only Design) 2.1 เป็นการทดลองที่ต้องสุ่มตัวอย่างจากประชากร แล้วแบ่งเป็น สองกลุ่ม โดยที่กลุ่มหนึ่งใช้นวัตกรรมและอีกกลุ่มหนึ่งไม่ใช้นวัตกรรม มีการวัด หลังการทดลอง ครั้งเดียว ดังนี้ เมื่อ X คือ การใช้นวัตกรรม (Treatment) R คือ การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม (Random assignment) E คือ กลุ่มทดลอง (Experimental group) C คือ กลุ่มควบคุม (Control group) O1 คือ การสอบหลังจากที่ทำการทดลองในกลุ่มทดลองและในกลุ่มควบคุม (Posttest) 2.2 เครื่องมือที่ใช้ ต้องเป็นชุดเดียวกันหรือคู่ขนานกัน E(R) X O1 C(R) - O2

  34. 2.3 การวิเคราะห์ข้อมูล 2.3.1 นำผลการวัดทั้งสองกลุ่ม มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย และนำเปรียบเทียบกัน โดยใช้สถิติ t-test แบบ t-independent เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม S12 แทน ค่าความแปรปรวนของกลุ่มทดลอง S22 แทน ค่าความแปรปรวนของกลุ่มควบคุม N1 แทน จำนวนนักเรียนของกลุ่มทดลอง N2แทน จำนวนนักเรียนของกลุ่มควบคุม สูตร 2.3.2 สรุปผลการทดลอง นำผลการวัดของสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ถ้ากลุ่มที่ใช้ นวัตกรรมได้ผลดีกว่า แสดงว่านวัตกรรมนั้นใช้ได้ผล หรือกล่าวได้ว่านวัตกรรมนั้นใช้ได้ดีจริง

  35. 3. แบบแผนการทดลองที่ 3 :การทดลองแบบสองกลุ่ม (Nonrandomized Control Group Pretest Posttest-only Design) 3.1 เป็นการทดลองที่ต้องสุ่มตัวอย่างจากประชากรแล้วแบ่งเป็น สองกลุ่มโดยที่กลุ่มหนึ่ง ใช้นวัตกรรมและอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช้นวัตกรรมมีการวัดก่อนและหลังการทดลองด้วย เครื่องมือวัดชุดเดียวกันมีลักษณะ ดังนี้ เมื่อ X คือ การใช้นวัตกรรม (Treatment) R คือ การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม (Random assignment) E คือ กลุ่มทดลอง (Experimental group) C คือ กลุ่มควบคุม (Control group) O1 คือ การสอบก่อนที่ทำการทดลอง (Pretest) O2คือ การสอบหลังจากที่ทำการทดลอง (Posttest) 3.2 เครื่องมือที่ใช้ ต้องเป็นชุดเดียวกันหรือคู่ขนานกัน 3.3 สรุปผลการทดลอง นำผลการวัดของสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ถ้ากลุ่มที่ใช้ นวัตกรรมได้ผลดีกว่า แสดงว่านวัตกรรมนั้นใช้ไดผล หรือกล่าวได้ว่า นวัตกรรมนั้นใช้ได้ดีจริง E(R) O 1 X O2 C(R) O 1 - O2

  36. ตัวอย่าง พฤติกรรมที่ต้องการวัด วิธีการวัดและเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งตามลักษณะปัญหา ดังนี้

  37. ตัวอย่างสื่อ/นวัตกรรมทางการเรียนการสอนตัวอย่างสื่อ/นวัตกรรมทางการเรียนการสอน

  38. ตัวอย่างสื่อ/นวัตกรรมทางการเรียนการสอน (ต่อ)

  39. ตารางวิเคราะห์ความแตกต่างของการวิจัย พัฒนาและวิจัยและพัฒนา

  40. สรุป

  41. องค์ประกอบและเกณฑ์การให้คะแนนองค์ประกอบและเกณฑ์การให้คะแนน 7.1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (50คะแนน) 7.1.1 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ 20 คะแนน 7.1.2 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ 15คะแนน 7.1.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 10คะแนน 7.1.4 การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม 5 คะแนน 7.2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (50 คะแนน) 7.2.1 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือวิชาชีพ 15 คะแนน 7.2.2 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษา และชุมชน 25 คะแนน 7.2.3 การเผยแพร่ในวงวิชาการ 10 คะแนน

  42. เกณฑ์การตัดสิน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (กรรมการชุดที่ 2) เฉลี่ย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 1. ผลการปฏิบัติงาน เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 2. ผลงานวิชาการ เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65

  43. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้พิจารณาจากรายงานผล การปฏิบัติงานที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอและอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ การประเมินผลงานทางวิชาการให้ประเมินจากเอกสารผลงานทางวิชาการและอาจให้ผู้ขอนำเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้ ในกรณีที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเห็นสมควรให้ปรับปรุงผลงาน ทางวิชาการ ให้ผู้ขอปรับปรุงตามข้อสังเกตภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งมติแล้วให้นำเสนอคณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา

  44. บรรณานุกรม ดนัย ไชยโยธา. แนวทางการเขียนผลงานทางวิชาการและงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, 2538. ธีระชัย ปูรณโชติ. การสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. บูรชัย ศิริมหาสาคร. การทำโครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบุ๊ค พอยท์ จำกัด, 2548. พัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, สถาบัน. คู่มือดำเนินการพัฒนา : หลักสูตรพัฒนา ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, 2550 สมคิด พรมจุ้ย. การเขียนโครงการวิจัย : หลักการและแนวทางปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545. . เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2546. สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

  45. บรรณานุกรม (ต่อ) สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Cassroom Action Research). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรไทย, 2544. อรวรรณ ประเสริฐศรี. รายงานการผลิตและทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาชีววิทยา (ว 045) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม, 2544. . รายงานการพัฒนาการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน วิชาชีววิทยา (ว 045) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม, 2544. (เอกสารอัดสำเนา). อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย. การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, 2549. “หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็น วิทยฐานะ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th2webtcs, 25 มกราคม 2549.

  46. ภาคผนวก

  47. สวัสดี

More Related