170 likes | 584 Views
à¸à¸²à¸£à¹à¸¢à¸à¸ªà¸²à¸£à¹€à¸™à¸·à¹‰à¸à¸œà¸ªà¸¡. วิชาวิทยาศาสตร์ (ว31101 )ชั้น ม. 1. สารเนื้à¸à¸œà¸ªà¸¡. หมายถึง สารที่มีลัà¸à¸©à¸“ะเนื้à¸à¸ªà¸²à¸£à¹„ม่ผสมà¸à¸¥à¸¡à¸à¸¥à¸·à¸™à¸à¸±à¸™à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹€à¸™à¸·à¹‰à¸à¹€à¸”ียวà¸à¸±à¸™à¹€à¸à¸´à¸”จาà¸à¸ªà¸²à¸£à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸™à¹‰à¸à¸¢ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมà¸à¸±à¸™à¹‚ดยเนื้à¸à¸ªà¸²à¸£à¸ˆà¸°à¹à¸¢à¸à¸à¸±à¸™à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸ªà¹ˆà¸§à¸™ ๆ เช่น น้ำโคลน น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียภคà¸à¸™à¸à¸£à¸µà¸• à¸à¸¸à¹ˆà¸™à¸¥à¸°à¸à¸à¸‡à¹ƒà¸™à¸à¸²à¸à¸²à¸¨ เป็นต้น.
E N D
การแยกสารเนื้อผสม วิชาวิทยาศาสตร์ (ว31101 )ชั้น ม. 1
สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีลักษณะเนื้อสารไม่ผสมกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียวกันเกิดจากสารอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกันโดยเนื้อสารจะแยกกันเป็นส่วน ๆ เช่น น้ำโคลน น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก คอนกรีต ฝุ่นละอองในอากาศ เป็นต้น
การแยกสารเนื้อผสม การแยกสารเนื้อผสมออกจากกันส่วนใหญ่เป็นการแยกด้วยวิธีการทางกายภาพ เมื่อแยกสารออกจากกันแล้ว สารที่ได้จะมีคุณสมบัติเหมือนเดิม โดยวิธีการแยกสารเนื้อผสมมีหลายวิธี เช่น การกรอง การระเหยจนแห้ง การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิดแต่เราจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับ สมบัติของสารที่เป็นองค์ประกอบ
การกรอง เป็นวิธีการแยกสารออกจากกันระหว่างของแข็งกับของเหลว โดยที่ของแข็งนั้นไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับของเหลว หรือใช้แยกสารแขวนลอยออกจากน้ำ สารที่เป็นของแข็งมีขนาดอนุภาคใหญ่ไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ( สารติดอยู่บนกระดาษกรอง ) ส่วนน้ำและสารที่ละลายน้ำได้จะผ่านกระดาษกรองลงสู่ภาชนะ เช่น แยกกำมะถันออกจากน้ำ
การกรอง ที่มา :http://www.science.cmru.ac.th/envi/instrument/chapter1_t7.html
การใช้กรวยแยก เป็นวิธีที่ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของเหลว 2 ชนิดที่ไม่ละลายออกจากกัน โดยของเหลวทั้งสองนั้นแยกเป็นชั้นเห็นได้ชัดเจน เช่น น้ำกับน้ำมัน เป็นต้น
การใช้กรวยแยก โดยนำของเหลวใส่ในกรวยแยก แล้วไขของเหลวที่อยู่ในชั้นล่างซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นบนออกสู่ภาชนะจนหมด แล้วจึงค่อย ๆ ไขของเหลวที่ที่เหลือใส่ภาชนะใหม่
การใช้กรวยแยก ที่มา : http://e-chemistry.tripod.com/sasan/s3_2.htm
การใช้อำนาจแม่เหล็ก ใช้สำหรับแยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบหนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้ เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา
การใช้มือหยิบหรือเขี่ยออกการใช้มือหยิบหรือเขี่ยออก ใช้แยกของผสมเนื้อผสม ที่ของผสมมีขนาดอนุภาคใหญ่พอที่จะหยิบออกหรือเขี่ยออกได้ เช่น ข้าวสารที่มีเมล็ดข้าวเปลือกปนอยู่
การร่อน การร่อน ใช้กับสารผสม 2 ชนิด ที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถใช้มือหยิบออกได้เช่น ทรายปนอยู่กับก้อนกรวด จะใช้การร่อนผ่านตะแกรง เม็ดทรายที่เล็กกว่าจะผ่านรูตะแกรงลงไปได้ ส่วนกรวดผ่านไม่ได้
การตกตะกอน ใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยค่อย ๆ ตกตะกอนนอนก้น ในกรณีที่ตะกอนเบามากถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดย ใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง
การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายการสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ใช้กับสารผสมที่มีสมบัติในการละลายต่างกัน เช่น การสกัดน้ำมันออกจากพืช ซึ่งตัวทำละลายที่นิยมใช้สกัด ได้แก่ เฮกเซน (Hexane) โดยอาศัยหลักการที่ว่า "สารที่ต้องการสกัดจะต้องละลายในตัวทำละลาย ส่วนสารที่ไม่ต้องการสกัดจะต้องไม่ละลายในตัวทำละลายนั้น"
แบบฝึกหัด • จงอธิบายการแยกสารต่อไปนี้1. แยกผงถ่านออกจากน้ำ2. แยกก้อนกรวดออกจากข้าวสาร3. แยกดินออกจากน้ำโคลน4. แยกตะกอนออกจากน้ำบาดาล5. แยกน้ำมันออกจากน้ำ6. แยกการบูรออกจากเกลือแกง7. แยกของผสมระหว่างเกลือ และผงถ่าน8. แยกของผสมระหว่างไอโอดีน ทราย และเกลือแกง9. แยกผงตะไบเหล็กออกจากผงชูรส10. แยกน้ำกะทิออกจากกากมะพร้าว
เฉลยแบบฝึกหัด 1. แยกผงถ่านออกจากน้ำตอบ การกรอง2. แยกก้อนกรวดออกจากข้าวสารตอบ การหยิบออก3. แยกดินออกจากน้ำโคลนตอบ การกรอง4. แยกตะกอนออกจากน้ำบาดาลตอบ การตกตะกอน5. แยกน้ำมันออกจากน้ำตอบ การใช้กรวยแยก
เฉลยแบบฝึกหัด 6. แยกการบูรออกจากเกลือแกงตอบ การระเหิด7. แยกของผสมระหว่างเกลือ และผงถ่านตอบ การสกัดด้วยตัวทำละลาย และกรอง เพื่อแยกผงถ่านออก 8. แยกของผสมระหว่างไอโอดีน ทราย และเกลือแกงตอบ การระเหิดเพื่อแยกไอโอดีนออก และสกัดด้วยตัวทำละลายและกรอง เพื่อแยกทรายออกจากสารละลายน้ำเกลือ9. แยกผงตะไบเหล็กออกจากผงชูรสตอบ การใช้แม่เหล็กดูดเพื่อแยกผงตะไบเหล็กออก
เฉลยแบบฝึกหัด 10. แยกน้ำกะทิออกจากกากมะพร้าวตอบ การกรอง