1 / 29

การกลั่นน้ำมันปาล์มและการใช้เป็นไบโอดีเซล

การกลั่นน้ำมันปาล์มและการใช้เป็นไบโอดีเซล. โดย สุรัญ ชินพัฒนวานิช รหัส 53402640. น้ำมันปาล์ม ( Palm oil ).

elliot
Download Presentation

การกลั่นน้ำมันปาล์มและการใช้เป็นไบโอดีเซล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกลั่นน้ำมันปาล์มและการใช้เป็นไบโอดีเซลการกลั่นน้ำมันปาล์มและการใช้เป็นไบโอดีเซล โดย สุรัญ ชินพัฒนวานิช รหัส53402640

  2. น้ำมันปาล์ม( Palm oil) น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันที่ได้มาจากเนื้อนอกของผลปาล์ม โดยผลปาล์มมีส่วนที่ให้น้ำมันอยู่ 2 ส่วนคือ จากเมล็ดใน (palm kernel oil) และเนื้อที่หุ้มเมล็ด (palm oil)ซึ่งเป็นพืชน้ำมันที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น

  3. กระบวนการกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์ม(Refine Processing) การกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์ม เป็นกระบวนการทำให้น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ เป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์พร้อมสำหรับการบริโภค ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3วิธี คือ - วิธีทางกายภาพ(Physical refining) - วิธีทางเคมี (Chemical refining) - วิธีการแยกไข(Fractionation)

  4. ที่มา : http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.html

  5. วิธีทางกายภาพ(Physical refining) วิธีทางกายภาพ (Physical refining) เป็นกระบวนการกำจัดกรดไขมันอิสระโดยผ่านไอน้ำเข้าไปในน้ำมันร้อน แล้วกลั่นแยกกรดไขมันอิสระและสารที่ให้กลิ่นให้ระเหยออกไปภายใต้สุญญากาศ จึงเป็นการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำมันเป็นกลางไปพร้อมกัน การกลั่นน้ำมันปาล์มโดยวิธีทางกายภาพภายใต้สภาพสุญญากาศ จะได้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (Refined Bleached and Deodorized Palm Oil, RBD PO)

  6. Physical Refinery Process • Degumming • Bleacher • Filtration • Deodorized • Crystallization • Filter press RBD PO Palm Olein

  7. Bleacher Process แสดงขั้นตอนการกำจัดกรดไขมันอิสระ, การฟอกสีน้ำมันปาล์มดิบและการกรองผงแป้งฟอกสี ที่มา: http://www.chempro.in/images/bleaching.jpg

  8. Filtration Tank แสดงการกรองน้ำมัน BPO กับ Slurry ที่มา: http://www.azaquar.com/en/iaa/index.php?cible=ta_huilerie_05

  9. Deodorized แสดงขั้นตอนการกำจัดกลิ่นและกรดไขมันอิสระภายใต้สุญญากาศ ที่มา: http://www.chempro.in/images/deodorization.jpg

  10. By Product From Refining Refined Bleached Deodorized Palm Oil (RBDPO) Free Fatty Acid Palm Oil ที่มา: http://www.alibaba.com/product-free/115011006/Palm_Fatty_Acid_palm_Acid_Oil/showimage.html http://rannms.en.busytrade.com/products/info/1029125/Palm-Cooking-Oil.html

  11. Dry Fractionation เป็นวิธีการแยกส่วนโดยใช้วิธีการให้ความร้อนแก่น้ำมันปาล์ม ให้มีอุณหภูมิประมาณ 75 ถึง 90 องศาเซลเซียส เพื่อให้น้ำมันปาล์มหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันจากนั้นนำไปใส่ในถังตกผลึกทำให้เย็นที่อุณหภูมิ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียสอย่างช้าๆ น้ำมันปาล์มจะกลายเป็นผลึกสเตียรีน จากนั้นแยกผลึกออกโดยใช้เครื่องกรอง (Filter Press) จะได้โอเลอิน (จุดขุ่น 8 องศาเซลเซียส) 60 เปอร์เซ็นต์ และสเตียรีน 40 เปอร์เซ็นต์และถ้าต้องการโอเลอินที่มีคุณภาพสูง (Super Olein) ต้องแยกส่วนเป็นครั้งที่ 2 โอเลอินที่แยกส่วนในครั้งที่ 2 มีจุดขุ่นต่ำลง (4 องศาเซลเซียส) เช่นเดียวกับสเตียรีนเมื่อมีการแยกส่วนจำนวนหลายครั้ง จะได้สเตียรีนที่มีค่า IV แตกต่างกันไป

  12. Crystallization แสดง RBDPO ที่ผ่านการทำเย็นในCSTR เพื่อแยก stearin ออกจาก Olein ที่มา: http://www.muezhest.com/dewaxing-winterization.html http://www.btb-group.com/index.php?id=103

  13. Filtration by filter press แยกผลึกสเตียรีนออกโดยใช้เครื่องกรองบีบอัด (Filter Press) จะได้น้ำมันโอเลอิน ที่มา: http://membranefilterpress.com/membrane-filterpress.html

  14. Filtration by filter press หลักการทำงานการกรองของแผ่นfilter press ที่มา:http://www.chemchinanet.com/wholesale-gaskets_plates/ http://www.filterinternational.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=3&Id=538633465

  15. By Product From Dry Fractionation Palm Stearin Palm Olein ที่มา: http://jutawan.com.my/palm_oil_products.php http://www.hiwtc.com/products/rbd-palm-olein-201998-24813.htm

  16. การแยกส่วนประเภทน้ำมันปาล์มการแยกส่วนประเภทน้ำมันปาล์ม ที่มา : http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.html

  17. การนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นพลังงานการนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นพลังงาน ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า  Transesterification คือ การน้ำเอาน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ไปทำปฏิกิริยากับ แอลกอฮอล์ โดยใช้กรดและด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้เอสเทอร์จะเรียกว่า ”ไบโอดีเซล” เอสเทอร์ที่ได้ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำปฏิกิริยา ถ้าเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ เรียกเมทิลเอสเทอร์ และถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ก็จะเรียกว่าเอทิลเอสเทอร์นอกจากนี้ยังได้ "กลีเซอรีล" เป็นผลพลอยได้ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์

  18. กระบวนการ Trans-Esterification NaOH หรือ KOH Catalysts heat กระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชั่นผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชมีกลีเซอรีนเป็นผลพลอยได้ ที่มา:http://science.uru.ac.th/pro_doc/doc/15.doc

  19. ขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซลขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล • อุ่นน้ำมันพืชที่เตรียมไว้ให้ได้อุณหภูมิประมาณ 45 - 50 องศาเซลเซียส • ชั่งสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 1 % โดยน้ำหนักต่อปริมาตรของน้ำมันพืช (g/ml) • ตวงเมทานอลประมาณ 25 % ของน้ำมันพืช แล้วผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เตรียมไว้คนให้เข้ากัน เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์กับเมทานอลลงในน้ำมันพืชที่อุ่นคนเข้ากัน • ยกส่วนผสมลงจากเตาตั้งทิ้งไว้จะเกิดการแยกชั้นระหว่าง เมทิลเอสเทอร์ กับ กลีเซอรีน • แยกน้ำมันไบโอดีเซล (เมทิลเอสเทอร์ ) ส่วนบนออกจากกลีเซอรีนด้านล่าง แล้วผ่านกระบวนการ Washing เพื่อกำจัดแอลกอฮอล์และโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ตกค้าง

  20. การแยกชั้นไบโอดีเซล เมทิลเอสเทอร์ มีลักษณะเป็นของเหลวใส ประมาณ 80-90% กลีเซอลีน มีลักษณะเหนียวข้น ประมาณ 10-20% ที่มา:http://www.vcharkarn.com/vcafe/62205/1

  21. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยวัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย • ถั่วเหลือง • ถั่วลิสง • ปาล์มน้ำมัน • งา • มะพร้าว • ละหุ่ง หรือ สบู่ดำ

  22. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในต่างประเทศวัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในต่างประเทศ • ฝรั่งเศสใช้เมล็ดเรพ , เมล็ดทานตะวัน • สเปนใช้เมล็ดเรพ , เมล็ดทานตะวัน • อิตาลีใช้ถั่วเหลือง • ออสเตรเลีย ใช้น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร • เยอรมัน ใช้เมล็ดเรพ , น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร • สหรัฐอเมริกาใช้ถั่วเหลือง

  23. การใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานในไทยการใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานในไทย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกหนึ่งสำหรับประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมักจะประสบปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ประเทศไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำไบโอดีเซล เช่น มะพร้าว ปาล์ม เมล็ดทานตะวัน หากนำผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูปเป็นน้ำมันไบโอดีเซล เพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลในภาคเกษตร อย่างน้อยก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ในเรื่องการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้พืชผลทางการเกษตรมีราคาสม่ำเสมออีกด้วย

  24. การใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานในไทยการใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานในไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 รัฐบาลมีนโยบายปรับลดสัดส่วนการนำไบโอดีเซลบี 100 ผสมในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากปัจจุบันที่มีการผสมเป็นไบโอดีเซลบี 3 และบี 5 ให้เหลือไบโอดีเซลบี 2 เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มดิบขาดแคลน และจะพิจารณาปรับเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลบี 100 อีกครั้งหลังสถานการณ์คลี่คลาย

  25. การใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานต่างประเทศการใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานต่างประเทศ • B2 (ไบโอดีเซล 2 %: ดีเซล 98 %) มีจำหน่ายทั่วไปในมลรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา และจะบังคับใช้ทั้งมลรัฐในปี พ.ศ. 2548 • B5 (ไบโอดีเซล 5%: ดีเซล 95 %) มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส โดยกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายเป็นน้ำมันสูตร B5 • B20 (ไบโอดีเซล 20%: ดีเซล 80%) เป็นน้ำมันผสมที่คณะกรรมการไบโอดีเซลแห่งชาติ และสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ใช้ตามกฎหมายยานยนต์เชื้อเพลิงทดแทนของประเทศ ปัจจุบันนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา

  26. การใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานต่างประเทศการใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานต่างประเทศ • B40 (ไบโอดีเซล 40 %: ดีเซล 60%) เป็นสูตรที่ใช้ในรถยนต์ขนส่งมวลชนในประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อผลในการลดมลพิษ • B100 (ไบโอดีเซล 100 %) เป็นน้ำมันไบโอดีเซล 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและออสเตรีย โดยได้รับการรับรองจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของประเทศ

  27. สรุปการใช้ไบโอดีเซลในประเทศไทยสรุปการใช้ไบโอดีเซลในประเทศไทย ไบโอดีเซลเหมาะที่จะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แนวโน้มการใช้พลังงานที่มากขึ้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แม้กระทั่งมลภาวะที่แย่ลงทุกวัน ถ้าหันมาใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรแล้วผลที่ได้คือ -ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ -ส่งเสริมรายได้ให้กับภาคเกษตรให้เกษตรกรมีรายได้ -ลดภาวะมลพิษในอากาศ -ช่วยเรื่องภาวะสิ่งแวดล้อม เช่นน้ำมันที่ปรุงอาหารแล้วจำนวนมาก ได้กลับมาใช้ได้อีก โดยไม่ต้องเททิ้งให้เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม

  28. เอกสารอ้างอิง 1) ปาล์มน้ำมัน.http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.html. 2)Refinery of Palm Oil. http://www.andrew.cmu.edu/user/jitkangl/Palm%20Oil/Refinery%20of%20Palm%20Oil.htm 3) การผลิตน้ำมันปาล์มไบโอดีเซล (CPO B100) : http://www.vcharkarn.com/vcafe/62205/1. 4) ไบโอดีเซล(Biodiesel): http://www.korattreat.net/node/71. .

  29. THE END Q&A

More Related