190 likes | 346 Views
เนื้อหาและภาษาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 : ภาพสะท้อนสังคมไทย Contents and Language of Songs about Thailand's 2011 Floods : A Reflection of Thai Society. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตวงรัตน์ คูห เจริญ. น้ำใจไทย http:// www.youtube.com/watch?v=eIPaSGkN6sA. ประเด็นที่จะนำเสนอ.
E N D
เนื้อหาและภาษาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554: ภาพสะท้อนสังคมไทยContents and Language of Songs about Thailand's 2011 Floods : A Reflection of Thai Society ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตวงรัตน์ คูหเจริญ
น้ำใจไทย http://www.youtube.com/watch?v=eIPaSGkN6sA
ประเด็นที่จะนำเสนอ • ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย • วัตถุประสงค์ของการวิจัย • ขอบเขตของการวิจัย • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ระเบียบวิธีวิจัย • ระยะเวลาวิจัย • ผลการวิจัย
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย • บทเพลงเป็นผลผลิตจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อสร้างความบันเทิงและเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และยังเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนภาพทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย • เหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นมหาอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในประเทศไทย ทั้งในแง่ของปริมาณน้ำ พื้นที่ และจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ • “ข่าวสาร”กลายเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาของการเฝ้าระวังของผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย หรือสำหรับผู้ที่กลายเป็นผู้ประสบภัยไปแล้ว แต่ “เสียงเพลง” ก็มีส่วนช่วยปลอบประโลมจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น • ผู้วิจัยจึงสนใจจะศึกษาเนื้อหาและภาษาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 เพื่อให้ทราบภาพสะท้อนของสังคมไทย และลักษณะการใช้ภาษาในบทเพลงที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของคนไทยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษาเนื้อหาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 ที่สะท้อนภาพสังคมไทย • เพื่อศึกษาการใช้ภาษาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 ที่ใช้ในการถ่ายทอดปรากฏการณ์ทางสังคม อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของคนไทยที่มีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
ขอบเขตของการวิจัย • จะศึกษาเฉพาะเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 และเผยแพร่ทางสื่อมวลชนและอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งเพลงไทยสากลและเพลงลูกทุ่ง รวม 50 เพลง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ทำให้เห็นภาพสะท้อนของสังคมไทยจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ผ่านบทเพลง • ทำให้เห็นศิลปะการใช้ภาษาในเพลงเกี่ยวกับน้ำท่วมประเทศไทย พ.ศ. 2554 เพื่อถ่ายทอดปรากฏการณ์ทางสังคม อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดของคนไทยที่มีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว • ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าของวรรณกรรม (เพลง) ที่มีบทบาทต่อสังคม ในฐานะที่เป็นสื่อในการสะท้อนภาพของสังคมไทย และความรู้สึกนึกคิดของคนไทยที่มีต่อเหตุการณ์อุทกภัยครั้งสำคัญในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นสื่อที่ใช้ส่งความรัก ความอาทร ให้ความหวังและกำลังใจแก่คนในสังคมที่ต้องเผชิญภัยพิบัติร่วมกัน • สามารถนำผลของการวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยทั้งทางด้านภาษาและวรรณกรรมที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย • เป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจในการประพันธ์คำร้องของบทเพลงเพื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ในสังคมหรือความสะเทือนอารมณ์ที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ระเบียบวิธีวิจัย • เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ การบันทึกข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในด้านต่อไปนี้ • เนื้อหาที่นำเสนอในเพลง • ภาพสะท้อนสังคมไทย • การใช้ภาษา • ชื่อเพลง • เนื้อเพลง • ภาพประกอบเพลง
ระยะเวลาการวิจัย • 12 เดือน (ตุลาคม 2555 - กันยายน 2556)
ผลการวิจัย • เนื้อหาที่นำเสนอในเพลง *นับความถี่ตามที่ปรากฏในบทเพลง
น้ำใจไทย แอ๊ด คาราบาว • * น้ำท่วมยิ่งมากเท่าไร น้ำใจไทยยิ่งมากกว่านั้นเราคนไทยไม่เคยทิ้งกัน เราคนไทยไม่ทอดทิ้งกันจะฝ่าวิกฤตน้ำไปด้วยกัน จะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันน้ำใจท้นท่วม ร่วมแก้ปัญหาน้ำเหนือไหลบ่า นาไร่ล่มจมดินโคลมถล่ม ทลายลุ่มเจ้าพระยาท่าจีน ปิง วัง ยม น่าน ยัน โขง ชี มูล(ซ้ำ *)ร้อยวันพันปี ก็มีเพียงครั้งนี้ที่น้ำฝนไหลรี่ น้ำผีไหลบ่าหลั่งเลือดน้ำตา สู้แรงวารีมีแต่เพียงศรัทธา แห่งความรักและผูกพัน(ซ้ำ *, *)เขื่อนคาว่าสูง ตลิ่งใจสูงกว่าคนไทยทั่วหล้า ส่งกำลังใจถึงกันซื้อข้าวซื้อของ ใส่กระสอบฝันต้องมีสักวัน จะผ่านพ้นมันได้เองมีสักวัน จะผ่านพ้นไปได้เอง(ซ้ำ *, *)จะฝ่าวิกฤตน้ำไปด้วยกัน จะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
ผลการวิจัย • ภาพสะท้อนสังคมไทย *นับความถี่ตามที่ปรากฏในบทเพลง
หลากน้ำตา หลายน้ำใจ เอ็มเจย์ • ไหลหลากจากฟ้า โหมเข้ามากระหน่ำกรุงไหลพัดพาท้องนาท้องทุ่ง พัดหอบกระบุงหมอนมุ้งถิ่นรักพลัดไปหมดสิ้นน้ำตาร่วงริน ไร้ที่พิงพักพลัดพรากคนเป็นที่รัก ไม่รู้เซซัดพลัดไปอยู่ไหนไหลหลากถากดิน ถมจนหมดสิ้นไม่มีจะเหลือนั่งรอชะเง้อคอยเรือ ทางการช่วยเหลือเมื่อไหร่จะมาบ้านที่อยู่ไกล น้ำป่าหลากไหลท่วมทุ่งทุกครามือไม้สั่นนั่งแหงนมองฟ้า ไหว้วอนเทวาช่วยตัวข้าทีต้องตัดสินใจ ลุยป่าฝ่าไปน้ำไหลเชี่ยวกรากห่วงคนข้างหลังลำบาก น้ำไฟตัดขาดไม่มีจะกินข้าวปลาอาหารก็อันตรธานซัดไปจนสิ้นห่วงลูกร้องไห้แดดิ้น ห่วงพ่อแม่จริงท่านก็แก่ชราไหลหลากจากใจขอวิงวอนไป คนไทยทั่วถิ่นเมตตาพวกข้าหมดสิ้น ไร้ที่ทำกินพักพิงอาศัยเสื้อผ้าหยูกยา ช่วยเมตตาพวกข้าได้ไหมน้ำป่าไหลหลากพรากไป ขอธารน้ำใจช่วยพวกข้าที
ผลการวิจัย : การใช้ภาษา • ชื่อเพลง
ผลการวิจัย : การใช้ภาษา เนื้อเพลง - ระดับคำ เนื้อเพลง - ระดับความ
มองน้ำเป็นครู ว.วชิรเมธี • *น้ำไหลมาอย่าให้ใจไหลไปเล่นคำความทุกข์ยิ่งใหญ่ ไม่อยู่ยืนยาวสัมผัสอยู่ใต้ฟ้า อย่ากลัวฝนพราวตะวันสกาว ความทุกข์จะคลายปัญหา คือยาวิเศษภาพพจน์ (อุปลักษณ์)รู้จักสังเกต ปัญหาจะหายไทยสามัคคีความดีประกายพอน้ำมลาย ความสุขจะคืนอย่าหวั่นอย่าไหว เมื่อใจยังอยู่ซ้ำคำมีน้ำเป็นครู เรียนรู้ให้ตื่นจะทุกข์หนักหนา แต่ถ้าหยัดยืนเพราะไทยจะคืน ด้วยไทยช่วยไทย(ซ้ำ *)อย่าหวั่นอย่าไหว เมื่อใจยังอยู่ซ้ำความมีน้ำเป็นครู เรียนรู้ให้ตื่นจะทุกข์หนักหนา แต่ถ้าหยัดยืนเพราะไทยจะคืน ด้วยไทยช่วยไทยเพราะไทยจะคืน ด้วยไทยกู้ไทยด้วยไทย ช่วยไทยด้วยไทย ช่วยไทย
ผลการวิจัย : การใช้ภาษา • ภาพประกอบเพลง
ถ้าเรารักกันมากพอ http://www.youtube.com/watch?v=_l5USn5ng7o