310 likes | 636 Views
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี. และ. การขยายเวลาเบิกจ่าย. งานงบประมาณ 2. ฝ่ายควบคุมงบประมาณ. กองการเงินและบัญชี. พรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 การขอเบิกจ่ายเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่
E N D
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และ การขยายเวลาเบิกจ่าย งานงบประมาณ 2 ฝ่ายควบคุมงบประมาณ กองการเงินและบัญชี
พรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 การขอเบิกจ่ายเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ 1. เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี 2. เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปี งบประมาณหรือได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีและได้มีการกันเงิน ไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 หมวด 9 ข้อ 101 – 102 ข้อ 101 ส่วนราชการใดได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณโดยการซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ หรือเช่าทรัพย์สินที่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้างหรือสัญญาหรือข้อตกลงและมีวงเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไปหรือตามที่กระทรวงการคลังกำหนด กรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินไปชำระหนี้ได้ทันสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือว่าใบสั่งซื้อหรือสั่งจ้างหรือสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้จัดทำหรือลงไว้ในระบบเป็นการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีต่อไปได้อีกเป็นเวลา 6 เดือนนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
ในกรณีที่ส่วนราชการไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีกให้กระทรวงเจ้าสังกัดขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้วให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ ข้อ 102 การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ส่วนราชการต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแบ่งเป็น 2 กรณี 1. กรณีมีหนี้ผูกพัน 2. กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน
กรณีมีหนี้ผูกพัน มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง สัญญา ข้อตกลงต้องมีวงเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป สร้างเอกสารสำรองเงินไว้ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบ อิเล็กทรอนิกส์ Government Fiscal ManagementInformationSystems :GFMIS( เอกสารสำรองเงินประเภทCX CKหรือใบสั่งซื้อ สั่งจ้างPO) ก่อนสิ้นปีงบประมาณ สามารถขยายเวลาเบิกจ่ายเงินต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจากวันสิ้น ปีงบประมาณ
ประเภทเอกสารสำรองเงินกรณีมีหนี้ผูกพันประเภทเอกสารสำรองเงินกรณีมีหนี้ผูกพัน • PO= ข้อผูกพันที่ทราบมูลค่าและระยะเวลาเบิกจ่ายที่แน่นอน • CX=ข้อผูกพันที่ไม่ทราบมูลค่าที่แน่นอน • CK = กรณีที่มีข้อผูกพันโดยมิได้เกิดจากการจัดซื้อ จัดจ้าง หรือเช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่า K) ค่าเวนคืนที่ดิน ** ไม่ต้องขออนุมัติ **
ข้อที่ควรระวังกรณีกันเงินแบบมีหนี้ผูกพันข้อที่ควรระวังกรณีกันเงินแบบมีหนี้ผูกพัน • ข้อผูกพัน (ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง สัญญา) ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50,000 บาทไม่สามารถกันเงินได้ ต้องรีบเบิกจ่ายให้ทันภายใน ปีงบประมาณ • เอกสารสำรองเงินประเภทPOที่มีมูลค่าน้อยกว่า 50,000 บาท แต่ วงเงินของสัญญามีมูลค่าตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ต้องรวบรวมแจ้ง กลุ่มงานพัฒนาระบบพัสดุ กองพัสดุ ดำเนินการต่อไป • หลักฐานการก่อหนี้ผูกพัน ต้องเก็บหลักฐานเอกสารไว้ให้ กตน. และ สตง. ไว้ตรวจสอบ
กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน มีหลักเกณฑ์ดังนี้ • ไม่สามารถดำเนินการผูกพันได้ทันภายในปีงบประมาณ • จำเป็นต้องใช้จ่ายเงินต่อไป (งานไม่แล้วเสร็จ) • ต้องไม่ใช่เงินเหลือจ่าย • สร้างเอกสารสำรองเงินในระบบGFMISประเภทCFก่อนสิ้นปีงบประมาณ • ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง/กรมบัญชีกลาง • สามารถขยายเวลาเบิกจ่ายได้อีก 6 เดือนนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
การกันเงินกรณีเบิกแทนส่วนราชการอื่นมีหลักเกณฑ์ดังนี้การกันเงินกรณีเบิกแทนส่วนราชการอื่นมีหลักเกณฑ์ดังนี้ • สร้างเอกสารสำรองเงินในระบบ GFMISประเภท SC (ทั้งกรณีมีหนี้ และไม่มีหนี้ผูกพัน) • ขอตกลงกับกระทรวงการคลัง / กรมบัญชีกลาง • สามารถเบิกจ่ายต่อไปได้อีก 6 เดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี • กรณีหน่วยเบิกจ่ายในส่วนกลางที่มีรหัสพื้นที่ P 1000 ทั้งหมดจะต้องรวบรวมใบกันทั้งหมดให้งานงบประมาณ 2 ฝ่ายควบคุมงบประมาณเป็นผู้ทำการกันเงิน ไว้เบิกเหลื่อมปีภายในเดือนกันยายน ของทุกปี ซึ่งจะมีหนังสือแจ้งเวียนให้ทราบถึงแบบฟอร์มที่ขอกันเงินและกำหนดการที่จะรวบรวมจัดส่งแบบฟอร์มที่จะขอกันเงิน งานงบประมาณ 2 จะทำการกันเงินที่ TERMINAL ในส่วนกลางให้ทั้งหมด • PO ทั้งหมดต้องรวบรวมจัดส่งกลุ่มงานพัฒนาระบบพัสดุ กองพัสดุ ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งกองพัสดุจะต้องแจ้งเวียนแบบฟอร์มในการกันและหมายกำหนดการให้ทราบทุกครั้ง
การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน • ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายใน 6 เดือน นับจากวันที่อนุมัติให้กันเงิน/ขยาย • ไม่ใช่เงินเหลือจ่าย (ยกเว้นเป็นเงินที่อยู่ในระหว่างตกลงขอเปลี่ยนแปลง รายการงบประมาณกับสำนักงบประมาณ/กรมบัญชีกลาง) • ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง /กรมบัญชีกลางทั้งกรณีมีหนี้ผูกพันและกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน ภายในวันที่ 31 มีนาคม และ 30 กันยายน ของทุกปี • กระทรวงการคลัง /กรมบัญชีกลางมีนโยบายให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่ายเงินรวมแล้วไม่เกิน 2 ปีงบประมาณ
การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินในส่วนกลาง P1000 การขยายเวลาเบิกจ่ายประเภท POรวบรวมจัดส่งกลุ่มงานพัฒนาระบบพัสดุ กองพัสดุ ภายในเวลาที่กำหนด การขยายเวลาเบิกจ่ายที่เป็นเลขสำรองเงินประเภท CX CK CFCG SC PF ให้ กอง /สำนัก ในส่วนกลาง จัดทำแบบขอขยายเวลาเบิกจ่าย และ ตรวจสอบรายละเอียดและยอดเงินรวบรวมจัดส่ง งานงบประมาณ 2 ฝ่ายควบคุมงบประมาณ ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อดำเนินการเลือก(List) และขอตกลงกับกระทรวงการคลัง/กรมบัญชีกลาง Confirm ต่อไป
การตรวจสอบก่อนจัดส่งใบกันเงินและขยายการตรวจสอบก่อนจัดส่งใบกันเงินและขยาย • ให้ตรวจสอบรายละเอียดของรหัสงบประมาณ แหล่งของเงิน รายการผูกพัน ที่จะขอทำการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้ถูกต้องและจะต้องมียอดคงเหลือที่เพียงพอกับการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ ถ้ารายการต่าง ๆ ไม่ถูกต้องจะไม่สามารถกันเงินในระบบได้ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการกันเงิน อาจจะทำให้ไม่สามารถกันเงินได้ทันเวลาในปีงบประมาณนั้น • การขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน จะต้องตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ กับงานงบประมาณ 2 และยอดเงินคงเหลือจากระบบ GFMIS ให้ถูกต้องตรงกันทั้ง 3 ด้าน ถ้าตรวจสอบพบว่ายอดเงินไม่ถูกต้องตรงกันจะต้องรีบทำการแก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่จะทำการขยายในระบบ
การอนุมัติเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่ายเงินการอนุมัติเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน • กระทรวงการคลัง/กรมบัญชีกลาง จะอนุมัติและยกยอดกรณีมีหนี้ ผูกพันให้ก่อนโดยดูจาก web:gfmisreport.mygfmis กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน อนุมัติและยกยอดให้ดูที่ ZFMA53N และZFMA53 ในระบบ GFMIS • สามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือได้จาก webกองการเงินและบัญชี ฝ่ายควบคุมงบประมาณ • การเบิกจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันให้เริ่มดำเนินการได้นับตั้งแต่วันที่ กรมบัญชีกลางอนุมัติในระบบGFMIS
มาตรการภายในเกี่ยวกับการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และขยายเวลาเบิกจ่าย
หนังสือกระทรวงการคลังที่ ว 21 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 • เรื่อง การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ GFMIS • อนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ.2545 - 2551 กรณีมีหนี้ผูกพันทุกรายการที่ได้รับอนุมัติมีวงเงินแต่ละรายการตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป • รายการที่ไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2552 มีวงเงินคงเหลือต่ำกว่า 5,000 บาท เห็นควรให้พับไป • หากมีความจำเป็นให้ทำหนังสือขอทบทวนการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินกับกรมบัญชีกลาง โดยให้ระบุเหตุผล และความจำเป็นแต่ละรายการเป็นกรณี ๆ ไป
ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย • สร้าง PO ซ้ำในระบบซึ่งจะทำให้ยอดเงินคงเหลือน้อยกว่าความเป็นจริง จะต้องทำการแก้ไขโดยยกเลิก PO ที่ซ้ำนั้นเสียก่อนจะทำการกันเงินหรือขยายเงิน มิฉะนั้นจะไม่สามารถกันเงินหรือ ขยายให้ครบวงเงินที่ต้องการ • เมื่อขยายหรือกัน PO ไว้ในระบบเมื่อตรวจสอบพบรายละเอียดไม่ถูกต้อง ห้ามหน่วยงานแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก PO โดยเด็ดขาดจะต้องแจ้ง กลุ่มงานพัฒนาระบบพัสดุ กองพัสดุเพื่อทำการแก้ไขให้ในระบบ GFMISต่อไป
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลเงินกันให้ถูกต้องข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลเงินกันให้ถูกต้อง • ให้จัดทำรายงานสถานะการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี โดยให้จัดส่งเอกสารดังตัวอย่างต่อไป ให้งานงบประมาณ 2 ฝ่ายควบคุมงบประมาณเพื่อทำการตรวจสอบยอดรายจ่ายและยอดเงินคงเหลือให้ถูกต้องตรงกัน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อความสะดวกในการขยายเงินกันในงวดถัดไป • จะต้องตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ จากระบบ GFMIS ให้ถูกต้องตรงกันทุกครั้งก่อนจัดส่งรายงานโดยดูได้จาก web กองการเงิน ฝ่ายควบคุมงบประมาณ
ขอบคุณค่ะ • งานงบประมาณ 2 • ฝ่ายควบคุมงบประมาณ • กองการเงินและบัญชี • โทร. 02-2410741-9 ต่อ 2626