1 / 32

เทคโนโลยีพลังงาน

เทคโนโลยีพลังงาน. พลังงาน / พลังงาน ทดแทน พลังงานชีวภาพ , ชีวมวล. พลังงาน คือ อะไร. พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีพลังงาน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งใดก็ตามที่เคลื่อนไหว เติบโต หรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง ย่อมมีพลังงานความร้อนเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง

elita
Download Presentation

เทคโนโลยีพลังงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคโนโลยีพลังงาน • พลังงาน/พลังงานทดแทน • พลังงานชีวภาพ , ชีวมวล

  2. พลังงาน คือ อะไร • พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีพลังงาน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งใดก็ตามที่เคลื่อนไหว เติบโต หรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง ย่อมมีพลังงานความร้อนเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง • เราอาจมองไม่เห็นความร้อนเคลื่อนที่แต่ความร้อนทำให้โมเลกุล เคลื่อนที่เร็วขึ้นพลังงานอาจถูกเก็บไว้ได้ เช่น พลังงานอยู่ในก้อนถ่านหิน ในกล่องไม้ขีดไฟ

  3. พลังงานทดแทน พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น 2 ประเภท • พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น • พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น

  4. พลังงานสิ้นเปลือง พลังงานสิ้นเปลือง (Nonrenewable energy) • คือ แหล่งพลังงานจากใต้พื้นดิน เมื่อใช้หมดแล้วไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่หรือหามาทดแทนโดยธรรมชาติได้ทันความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว • ต้องใช้เวลานานกว่าร้อยล้านปีที่จะสร้างขึ้นมาอีกได้และมีปริมาณจำกัด ชื่อที่ใช้แทนพลังงานกลุ่มนี้จึงมีทั้งพลังงานฟอสซิลและพลังงานที่ใช้แล้วหมด • ตัวอย่างของพลังงาน ได้แก่ น้ำมันดิบ (ปิโตรเลียม), ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติและพลังงานนิวเคลียร์ (แร่ยูเรเนียม) ฯลฯ

  5. พลังงานจากเชื้อเพลิง • เชื้อเพลิง คือ วัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมี เช่น การเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัว หรือการรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง • คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์ คือ พลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้

  6. ข้อดี-ข้อเสีย ของพลังงานสิ้นเปลือง ข้อดีของพลังงานสิ้นเปลือง • ไม่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของวัน, สภาพอากาศหรือฤดูกาลก็ได้พลังงานต่อเนื่อง • นำมาผลิตไฟฟ้าได้ในราคาถูกและคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ • นำมาผลิตไฟฟ้าจะได้พลังงานต่อหน่วยน้ำหนักจำนวนมาก • พลังงานนิวเคลียร์ใช้เชื้อเพลิงเพียงเล็กน้อยก็ผลิตไฟฟ้าได้จำนวนมาก • พลังงานนิวเคลียร์สร้างมลพิษทางอากาศเพียงเล็กน้อย และไม่สร้าง CO2

  7. ข้อดี-ข้อเสีย ของพลังงานสิ้นเปลือง ข้อเสียของพลังงานสิ้นเปลือง • สามารถหาได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น และเป็นแหล่งพลังงานที่มีจำกัด • ไม่มีความเสถียรในเรื่องราคาพลังงาน • การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดมลพิษมากมาย รวมถึงเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก, โลกร้อนขึ้นและเกิดฝนกรด ฯลฯ • พลังงานนิวเคลียร์ ทำให้เกิดของเสียที่เป็นพิษสูงและขนส่งอย่างปลอดภัยทำได้ยาก • การขุดหรือระเบิดถ่านหินหรือแร่ยูเรเนียม และน้ำมันรั่วจาการขุดเจาะ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม

  8. พลังงานหมุนเวียน พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) • คือ แหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติรอบตัวเรา หามาใช้ได้ไม่มีวันหมด ซึ่งสามารถสร้างทดแทนได้ในช่วงเวลาสั้นๆ • โดยธรรมชาติหลังจากมีการใช้ไป จึงมีหลายชื่อที่ใช้เรียก - พลังงานทดแทนและพลังงานใช้ไม่หมด รวมถึงพลังงานสะอาดและพลังงานสีเขียว เนื่องจากไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง • ตัวอย่างของพลังงาน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังน้ำ, พลังงานคลื่นในทะเล, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานชีวมวล, พลังงานความร้อนใต้พิภพและพลังงานไฮโดรเจน ฯลฯ

  9. พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ • เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง • การใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ • การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า • การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน

  10. พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ • ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ • เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) • เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system) • เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)

  11. พลังงานลม • ลม เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก • พลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ • การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน (อ่าวไทย)

  12. พลังงานน้ำ • พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย • พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ หรือเพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน

  13. ข้อดี-ข้อเสีย ของพลังงานหมุนเวียน ข้อดีของพลังงานหมุนเวียน • สามารถหาได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลก • สามารถผลิตพลังงานได้ตลอดเวลา เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ • ใช้ไม่มีวันหมด , เป็นแหล่งพลังงานที่ได้มาฟรี • นำมาผลิตไฟฟ้าได้ในราคาถูก เช่น พลังน้ำ • มีความเสถียรในเรื่องราคาพลังงาน • เป็นพลังงานสะอาด ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ, น้ำและไม่เกิดขยะของเสีย

  14. ข้อดี-ข้อเสีย ของพลังงานหมุนเวียน ข้อเสียของพลังงานหมุนเวียน • พบได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ • ไม่สามารถผลิตพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง • ต้นทุนในตอนเริ่มต้นสูง , ต้องใช้พื้นที่มากในการติดตั้ง • ต้องมีการเก็บพลังงานไว้ ซึ่งไม่คุ้มค่าเชิงพาณิชย์ • อาจเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ • อาจทำให้โลกร้อนขึ้นได้ เช่น การเผาไหม้ของพลังงานชีวมวล • เกิดมลพิษทางเสียง เช่น พลังงานลม • อาจทำลายระบบนิเวศน์และส่งผลต่อการอพยพย้ายถิ่นฐานของสิ่งมีชีวิต

  15. พลังงานชีวภาพ คือ อะไร • พลังงานชีวภาพ คือ พลังงานที่ได้จากวัตถุดิบในธรรมชาติ จากสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งอาจเป็นพลังงานที่ได้จากการหมักของเสียจากสิ่งมีชีวิตดังกล่าว หรือนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่ให้พลังงานได้โดยตรง • เชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ Biofuel คือ เชื้อเพลิงที่ได้จากชีวมวล (Bimass) หรือ สสารที่ได้จากพืชและสัตว์โดยมีพื้นฐานจากการสังเคราะห์แสง แล้วเก็บรวบรวมพลังงานจากดวงอาทิตย์เอาไว้ในรูปของพลังงานเคมี

  16. ชีวมวล คือ อะไร • ชีวมวล (Biomass) หมายถึง พืชและสัตว์ที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของโลก และถูกจัดเป็นพลังงานทดแทนซ พลังงานจากฟอสซิลซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด และอาจหมดลงได้ แบ่งชีวมวลตามแหล่งที่มาได้ดังนี้ • พืชผลทางการเกษตร (agricultural crops) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน รวมถึงพืชน้ำมันต่างๆ ที่สามารถนำน้ำมันมาใช้เป็นพลังงานได้ • เศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร (agricultural residues) เช่น ฟางข้าว เศษลำต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง

  17. ชีวมวล คือ อะไร • ชีวมวล (Biomass) • ไม้และเศษไม้ (wood and wood residues) เช่นไม้โตเร็ว ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ เศษไม้จากโรงงานผลิตเครื่องเรือน และโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น • ของเหลือจากจากอุตสาหกรรมและชุมชน (waste streams) เช่น กากน้ำตาล และชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาล แกลบ ขี้เลื่อย เส้นใยปาล์ม และกะลาปาล์ม

  18. พลังงานชีวมวล • พลังงานชีวมวล (Bio-energy) หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ มีดังนี้คือ 1. การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีวมวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และความดันสูงไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่างชีวมวลประเภทนี้คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้

  19. พลังงานชีวมวล 2. การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่าแก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้สำหรับกังหันแก๊ส(gas turbine) 3. การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ(biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้สามารถใช้ขยะอินทรีย์ชุมชน มูลสัตว์ น้ำเสียจากชุมชนหรืออุตสาหกรรมเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบชีวมวลได้

  20. พลังงานชีวมวล 4. การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้ • กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน กากน้ำตาล และเศษลำต้นอ้อย ให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน • กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่านกระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชั่น (transesterification) เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล • พลังงานชีวมวลแบบเชื้อเพลิงเหลว ได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซล

  21. เชื้อเพลิงชีวภาพ • เชื้อเพลิงชีวภาพแตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหินและปิโตรเลียม) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสิ้นเปลือง ตรงที่เชื้อเพลิงชีวภาพจัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถฟื้นฟูหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ • ข้อดีของเชื้อเพลิงชีวภาพ คือ สถานะที่หลากหลายของเชื้อเพลิงทั้งในสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ จึงสะดวกและสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่สำคัญคือ การเผาเชื้อเพลิงชีวภาพไม่ก่อให้เกิดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น และยังก่อให้เกิดปริมาณก๊าซพิษน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเมื่อเทียบกันในอัตราต่อหน่วย การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจึงเท่ากับเป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่างมาก

  22. เชื้อเพลิงชีวภาพ • ปัจจุบันโลกใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพในปริมาณไม่มาก คือ ประมาณร้อยละ 15 เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการค้นคว้าพยายามใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นในยุโรปมีการนำเชื้อเพลิงชีวภาพไปใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าขนาดเล็กและใช้ในภาคเกษตรกรรม เป็นต้น

  23. เชื้อเพลิงชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพหลักมี 3 รูปแบบ 1. ของแข็ง ได้แก่ ไม้ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย มูลสัตว์ ถ่าน เขา เปลือกสัตว์หรือเปลือกพืช อาทิ แกลบข้าว ฝ้าย ถั่วลิสง เป็นต้น เนื้อไม้มีเซลลูโลส (Cellulose) เป็นสารประกอบหลักประมาณร้อยละ 50 สารประกอบแต่ละชนิดจะให้ความร้อนแตกต่างกันไป ไม้ที่มีความชื้นต่ำจะให้ค่าความร้อนมากกว่าไม้ที่มีความชื้นสูง การนำไม้สดไปใช้เป็นฟืนโดยตรงจะให้ความร้อนน้อย คือมีค่าความร้อนต่ำ ปัจจุบันทรัพยากรไม้มีปริมาณลดน้อยลงมาก เพื่อใช้ทำฟืนจึงมีปริมาณลดลง

  24. เชื้อเพลิงชีวภาพ 2. ของเหลว พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่อยู่ในรูปของเหลวอาจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ • แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ มีสถานะเป็นของเหลวระเหยง่าย • แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมี 2 ชนิดคือ เอทานอล (แอลกอฮอล์ที่รับประทานได้) • เมทานอล (แอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทานได้)

  25. เชื้อเพลิงชีวภาพ น้ำมันจากพืชและสัตว์ ได้แก่ น้ำมันพืชบริสุทธิ์ น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว (Waste Vegetable Oil) ไขสัตว์ และไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืช ไขสัตว์ และน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยผ่านกรรมวิธีทางเคมี น้ำมันจากขยะ น้ำมันซึ่งมีคุณลักษณะทางเคมีและกายภาพคล้ายคลึงกับปิโตรเลียม สามารถสกัดจากขยะชีวมวลมาใช้งานได้ 3. ก๊าซชีวภาพ (Biogas) คือ ก๊าซมีเทนที่ได้จากการหมักมูลสัตว์หรือของเสียจากโรงเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ โดยรวบรวมของเสียเหล่านี้ใส่ในถังหมักที่มีเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาในที่ไม่มีอากาศ

  26. พลังงานขยะ • พลังงานขยะ ในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล • ซึ่งนับวันจะมี ปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้นขยะ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้านการผลิตพลังงาน เพราะขยะ มีศักยภาพที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้ • เนื่องจากมีปริมาณมาก และไม่ต้องซื้อหาแต่ในปัจจุบันมีการนำขยะมาผลิต เป็นพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนด้านอื่น ๆ

  27. พลังงานขยะ • การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) เป็นกระบวนการหมักของเสียในสภาวะที่ไร้ออกซิเจนเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ สำหรับใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อนและสุดท้ายยังสามารถปรับสภาพดินให้สามารถนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืช

  28. พลังงานขยะ ระบบย่อย สลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ตามความเข้มข้นของ สารอินทรีย์ที่ป้องเข้าสู่ถังหมัก ได้แก่ • การหมักแบบแห้ง (Dry Digestion) ซึ่งมีความ เข้มข้นของสารอินทรีย์ประมาณร้อยละ 20 – 40 และ • การหมักแบบเปียก (Wet Digestion) ซึ่งมีความเข้มข้นของสารอินทรีย์น้อยกว่าร้อยละ

  29. พลังงานขยะ • การผลิตพลังงานโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill Gas to Energy)เป็นการพัฒนาและปรับปรุงระบบฝังกลบขยะเพื่อลดการปล่อยก๊าซชีวภาพออก และนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากหลุมฝังกลบขยะมาใช้ • พลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพที่ได้สามารถนำไป ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงพลังงานได้หลายทางเช่นเดียวกับก๊าซชีวภาพที่ได้จากระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน

  30. พลังงานขยะ • การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิง ขยะ เป็นการนำขยะมาผ่านกระบวนการจัดการต่าง ๆ • ได้แก่ การคัดแยกด้วยมือหรือเครื่องจักร การลดขนาดการผสมการทำให้แห้ง การอัดแท่งการบรรจุแลการเก็บ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ทางกายภาพและเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ(RDF) ที่มีค่าความร้อนสูงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงาน อีกทั้งยังสะดวกต่อการจัดเก็บและขนส่ง

  31. พลังงานขยะ • การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง(Gasification)การผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน (MS Gasification) เป็นกระบวนการทำให้ขยะกลายเป็น ก๊าซโดยทำปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์ (Partial Combustion) • กล่าวคือสารอินทรีย์ในขยะจะทำปฏิกิริยากับอากาศหรือ ออกซิเจนในปริมาณจำกัดและทำให้เกิดก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือคาร์บอนมอนออกไซค์ไฮโดรเจนและมีเทน • องค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิงจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปฏิกรณ์ (Gasified) สภาวะความดันอุณหภูมิและคุณสมบัติของก๊าซเชื้อเพลิง

  32. พลังงานขยะ • คุณภาพของก๊าซเชื้อเพลิงโดยอาจจำเป็นต้องทำความสะอาดก๊าซเชื้อเพลิง • โดยการกำจัดก๊าซ ที่เป็นกรดสารประกอบของโลหะอัลคาไลน์น้ำมันทาร์และฝุ่นละออง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบลดปัญหาการเสียหายของอุปกรณ์และป้องกันปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น • การนำขยะมาผลิตพลังงาน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยกำจัดขยะที่เกิดขึ้นได้อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังทำให้ได้ประโยชน์จากขยะกลับมาในรูปของ พลังงานจากขยะ • ทำให้ประเทศมีแหล่งพลังงานเพิ่มขึ้นแต่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ที่สุดยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อการอนุรักษ์พลังงานในยุควิกฤตพลังงานเช่นนี้

More Related