1 / 39

กลยุทธ์องค์กร : ระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์องค์กร : ระดับกลยุทธ์. บทที่ 6. รู้จักกับ GE.

Download Presentation

กลยุทธ์องค์กร : ระดับกลยุทธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลยุทธ์องค์กร : ระดับกลยุทธ์ บทที่ 6

  2. รู้จักกับ GE • GE หรือชื่อเต็มคือ General Electric เป็นบริษัทอุตสาหกรรมหนักรายใหญ่ของโลก ซึ่งก่อตั้งโดยนักประดิษฐ์ โธมัส อัลวา เอดิสัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 (นับถึงปัจจุบันก่อตั้งมาประมาณ 130 ปี) ปัจจุบันมีพนักงาน 300,000 คน ดำเนินธุรกิจใน 100 ประเทศ • ตั้งแต่ กันยายน 2001 ที่ Jeffrey Immelt ดำรงตำแหน่ง CEO และประธานคณะกรรมการของ GE บริษัทต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เช่น ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากผู้ก่อการร้ายโจมตีตึกเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ นิวยอร์ค ตามด้วยวิกฤตเศรษฐกิจเมื่องปี 2008-2009

  3. หน่วยธุรกิจของ GE ในปี 2009 • Technology Infrastructure • Energy Infrastructure • Capital Finance • Consumer and Industrial • NBC Universal (สถานีโทรทัศน์)

  4. รู้จักกับ GE • GE Capital (ธุรกิจบริการทางด้านการเงิน) ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากกำไรมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GE มาจากธุรกิจนี้ ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทลดลง 84% มูลค่าของผู้ถือหุ้นลดลง 378 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ต้องขอเงินทุนอัดฉีดเข้าไปในบริษัทจาก Warren Buffett อีกจำนวน 15 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ • 50% ของรายได้มากจากนอกสหรัฐฯมีพนักงานมากกว่า 300,000 คน ในมากกว่า 100 ประเทศ • Jeffrey ตัดสินใจปรับกลยุทธ์ระดับองค์กรใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากธุรกิจการเงินที่บริษัทต้องพึ่งพิง

  5. รู้จักกับ GE • บริษัทขายหุ้นส่วนใหญ่ของ NBC ให้กับ Comcast บริษัทเคเบิ้ลที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ • บริษัทได้กำหนดแนวทางการทำธุรกิจใหม่โดยเน้นเรื่อง “Green economy” และเร็วนี้เน้นธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ (Health care) ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต • เพื่อใช้โอกาสเหล่านี้ บริษัทออกกลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ เรียกว่า “ecomagination” and “healthymagination”

  6. รู้จักกับ GE • Ecomaginationใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า โดยปัจจุบัน GE เป็นผู้ลงทุนในพลังงานสะอาดรายใหญ่ของโลก และรายได้จาก ecoproductมูลค่า 85 พันล้านดอลลาร์ บริษัทลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเครื่อง Co2 capture, smart grid, wind turbine ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อติดตั้งได้สะดวกขึ้น, เทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันใน deep sea มากขึ้น, การใช้น้ำซ้ำในภาคอุตสาหกรรม 100% reuse • Healthymaginationเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขด้วยเทคโนโลยี เช่น ออกแบบเครื่อง MRI, X-ray ให้ทำงานได้ดีขึ้น ธุรกิจนี้มีมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ โดยเริ่มลงทุนมาตั้งแต่ปี 2008

  7. Ecomagination • พลังงานทดแทน (renewable energy) • GE เริ่มเข้ามาในธุรกิจพลังงานลม ซึ่งซื้อส่วนนี้มาจากบริษัท Enron ตอนที่มีปัญหาล้มละลายช่วงประมาณปี 2002 ตอนนี้ถือเป็นเบอร์สองของโลกในเรื่องนี้ • ส่วนพลังงานแสงอาทิตย์ GE มองว่าการผลิตเซลล์พลังงานด้วยซิลิคอนไม่ใช่อนาคต แต่เป็นเทคโนโลยีด้าน thin film น่าจะไปได้ดีกว่า เลยซื้อบริษัทด้านนี้มาเป็นบริษัทลูก ปัจจุบันประสิทธิภาพของฟิล์มของ GE อยู่ที่อัตราการดูดซับพลังงาน 13% เยอะกว่าค่าเฉลี่ยในท้องตลาดที่ประมาณ 10% แต่ GE ตั้งเป้าว่าต้องได้ 14% อีกสักพักจะเริ่มผลิตเทคโนโลยีนี้ออกมาทำตลาด

  8. Ecomagination • น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (oil & gas) GE มีเทคโนโลยีครบถ้วนทั้งวงจร นับตั้งแต่การขุดเจาะ ไปถึงโรงแยก-โรงกลั่นน้ำมัน • การจัดการพลังงาน (energy management)เป็นเซ็กเตอร์ใหม่ที่ GE เพิ่งเริ่ม เน้นไปที่โครงข่าย smartgridให้นำส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พลังงานรั่วไหลน้อยลง บริษัทลูกในธุรกิจนี้ได้แก่ LINEAGE POWER และ Converteam

  9. Healthymagination • Diagnostic & Clinical Equipmentอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงพยาบาล GE มีเกือบครบทุกอย่าง ในที่นี้รวมเทคโนโลยีด้านการฉายภาพ (imaging) เช่น เครื่องเอกซ์เรย์ MRI CT-Scan • Information & Tech Servicesระบบจัดการฐานข้อมูลในโรงพยาบาล ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลคนไข้แต่รวมไปถึง image storage หรือการเก็บข้อมูลภาพถ่ายจากเครื่องมือต่างๆ และการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ • Molecular Medicineธุรกิจเกิดใหม่ด้าน lifescienceเกี่ยวกับชีวภาพและเซลล์ เช่น bio process, cell science

  10. ธุรกิจการบิน (GE Aviation) • ปัจจุบัน GE เป็น 1 ใน 2 รายใหญ่ด้านเครื่องยนต์เครื่องบิน (คู่แข่งสำคัญคือ Rolls-Royce และ Pratt & Whitney) ลูกค้าสำคัญคือบริษัทผลิตเครื่องบินอย่าง Boeing และ Airbus แต่ก็ให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์กับสายการบินต่างๆ ทั่วโลกด้วย ล่าสุดเพิ่งเซ็นสัญญากับ Air Asia มูลค่ามหาศาลไป ถือเป็นสัญญาซ่อมบำรุงก้อนใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ • นอกจากลูกค้าที่เป็นสายการบินพาณิชย์แล้ว ยังมีธุรกิจการบินที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ เช่น เครื่องบินทหาร, ด้านระบบการนำทาง และล่าสุดกำลังจับมือกับ Honda ทำเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่ใช้ในเครื่องบินส่วนตัว (private jet) น่าจะเริ่มเห็นผลในปีหน้า ธุรกิจด้านการบินของ GE คิดเป็นมูลค่า 17-18 พันล้านดอลลาร์

  11. ธุรกิจขนส่งและคมนาคม (Transportation) • ปัจจุบัน GE เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์หัวรถจักรรถไฟที่ใช้ดีเซล อันดับหนึ่งของโลก แต่ในอนาคตกำลังจะทำเครื่องยนต์รถไฟแบบใหม่ที่เป็นไฮบริด เสร็จในปี 2015-2016 • นอกจากนี้ยังมีธุรกิจด้านระบบส่งสัญญาณของรางรถไฟและถนน รวมถึงการขุดเจาะเหมือง น้ำมัน และท้องทะเล

  12. ธุรกิจด้านหลอดไฟ (Lighting) • GE เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีหลอดไฟแบบ LED ที่บริษัทเชื่อว่าจะเป็นอนาคต เพราะกินไฟน้อยกว่าหลอดไฟในปัจจุบัน 30-40% โดยผลิตภัณฑ์ของ GE จะจับตลาดไปทางไฮเอนด์ ถึงแม้จะแข่งเรื่องราคากับบริษัทจีนไม่ได้ แต่บริษัทเชื่อว่าคุณภาพผลิตภัณฑ์ดีกว่า โดยหลอด GE มีอายุการใช้งาน 25,000 ชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติน่าจะอยู่ได้ 20 ปี • นอกจากนี้ยังมีไฟเฉพาะทางอื่นๆ เช่น ไฟอุตสาหกรรม หรือ ไฟถนน ลูกค้าในระดับโลกที่เพิ่งดำเนินธุรกิจกันไปคือ Starbucks ที่เปลี่ยนระบบไฟในร้านเป็น LED ทั้งหมดเพื่ออนุรักษ์พลังงาน และใช้หลอดของ GE

  13. Refocusing GE: A Future of Clean-Tech and Health Care? ChapterCase GE’s Changing Product Scope Source: Author’s depiction of data in GE annual reports. 8-16

  14. Refocusing GE: A Future of Clean-Tech and Health Care? ChapterCase GE’s Changing Geographic Scope Source: Author’s depiction of data in GE annual reports. 8-17

  15. ระดับของกลยุทธ์ • ระดับสูงสุด คือ กลยุทธ์องค์กร หรือกลยุทธ์กิจการ (Corporate strategy) เกี่ยวกับทิศทางองค์กรโดยรวม ดังนั้นจะเกี่ยวข้องกับการกระจายธุรกิจหรือการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมเป็นหลัก • ระดับกลาง คือ กลยุทธ์ธุรกิจ (Business strategy) มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเดียวเป็นหลัก • ระดับบริหารขั้นต้น คือ กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional strategy) เน้นการปฏิบัติงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

  16. Corporate level Business level Functional level กลยุทธ์ระดับบริษัท กลยุทธ์ระดับ ธุรกิจ กลยุทธ์ระดับ ธุรกิจ กลยุทธ์ระดับ ธุรกิจ กลยุทธ์ระดับ หน้าที่การขาย กลยุทธ์ระดับ หน้าที่การขาย กลยุทธ์ระดับ หน้าที่การขาย

  17. What Is Corporate Strategy? Three dimensions What stages of industry value chain and degrees of vertical integration What range of products and services and degrees of horizontal integrationand diversification Where in the world to compete and global strategy 8-20

  18. ความคิดเพื่อสร้างกลยุทธ์องค์กรความคิดเพื่อสร้างกลยุทธ์องค์กร • การมุ่งผลิตภัณฑ์/การบริการ (Product) เป็นการให้ความสำคัญต่อการมุ่งความเชี่ยวชาญในธุรกิจ หลังจากนั้น เป็นการกระจายขอบเขตเชิงธุรกิจ (Diversification or horizontal integration ) เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน (ดูรูป 6.1) • การมุ่งที่กระบวนการ (Process) คือ กระบวนการผลิตภายในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) การผลิตภัณฑ์แบบต่อเนื่องครบวงจร (Integration or vertical integration) • การมุ่งในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical) เป็นการมุ่งธุรกิจในพื้นที่เก่า และสามารถขยายสู่พื้นที่ใหม่ทางภูมิศาสตร์ด้วยผลิตภัณฑ์เก่าและใหม่ และกระบวนการ

  19. กลยุทธ์องค์กร • เกี่ยวข้องกับทิศทางในอนาคตขององค์การ เป้าหมายคือมีผลกำไรที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเลือกและบริหารในกลุ่มธุรกิจที่แตกต่างกันในหลาย ๆ อุตสาหกรรม • คำถามที่ควรหาคำตอบ (ประโชค ชุมพล, 2538) • กำลังทำธุรกิจอะไร อีก 5 ปี หรือ 10 ปี ข้างหน้าจะทำธุรกิจอะไร • ควรอยู่ในธุรกิจเดิมด้วยการดำเนินงานเหมือนเดิมหรือไม่ • ควรออกจากธุรกิจไปเลยหรือไม่ • ควรขยายขอบเขตการดำเนินอีกหรือไม่ • หรือดำเนินงานโดยใช้กลยุทธ์ผสมอย่างไร

  20. กลยุทธ์องค์กร • คำถามที่ควรหาคำตอบ (พักตร์ผจง และพสุ, 2542) • องค์กรจะขยายตัว หดตัว หรือทำทุกอย่างเหมือนเดิม • องค์กรจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดิมหรือขยายตัวไปสู่อุตสาหกรรมอื่น • ถ้าจะโตหรือขยายตัวแล้ว จะกระทำโดยขยายจากภายในหรือภายนอก • จากคำถามดังกล่าว สามารถแยกกลยุทธ์องค์กรออกเป็น 4 แนวทาง • กลยุทธ์การขยายตัว (Growth strategies) • กลยุทธ์รักษาระดับ (Stability strategies) • กลยุทธ์การถอย (Retrenchment strategies) • กลยุทธ์ผสมผสาน (Combination strategies)

  21. 1. กลยุทธ์การขยายตัว (Growth strategies) • เพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจที่เติบโต ด้วยการเพิ่มสินค้าและบริการ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาดหรือการขยายขอบเขตทางภูมิศาสตร์ วัตถุประสงค์คือเพื่อเพิ่มปริมาณกลุ่มเป้าหมาย (Target group) • ผลงานวิจัยจากผู้บริหาร 358 คน พบว่า บริษัทได้ใช้กลยุทธ์ขยายตัวบ่อยครั้งที่สุด คิดเป็น 6 เท่าของกลยุทธ์รักษาระดับ และ 7 เท่าของกลยุทธ์การถอย และในอเมริกาบริษัทร้อยละ 54.2 ใช้กลยุทธ์นี้

  22. เหตุผลที่สนับสนุนให้ใช้กลยุทธ์ขยายตัวเหตุผลที่สนับสนุนให้ใช้กลยุทธ์ขยายตัว • เพื่อความอยู่รอด ในภาวการณ์ที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจมาก • แสดงถึงการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เพราะวัดจากอัตราการเจริญเติบโต • สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคม • สร้างชื่อเสียงให้กับผู้บริหาร และหากประสบผลสำเร็จผู้บริหารจะได้รับผลตอบแทนที่สูง และบริษัทจะได้รับการยกย่อง • บริษัทที่ขยายตัวจะได้รับผลสำเร็จที่ดีกว่า และอยู่รอดได้ในธุรกิจ • ก่อให้เกิดอำนาจการค้า สามารถผูกขาดในอุตสาหกรรมนั่นได้ • ได้รับอิทธิพลจากภายนอกให้ต้องขยายตัว เช่น จากผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์

  23. แนวทางการขยายตัว • ขยายตัวในอุตสาหกรรมเดียว เรียกว่า การขยายตัวแบบมุ่งความเชี่ยวชาญ (Concentration) โดยจะเน้นใช้ทรัพยากรขยายตัวในอุตสาหกรรมเดิม เช่น แมคโดนัลด์ เป๊ปซี่ โคลา โคล่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ • การมุ่งเชี่ยวชาญตามแนวนอน (Horizontal concentration) คือ การขยายตัวไปยังตลาดส่วนอื่นหรือตลาดใหม่ เป็นการขยายตัวในเชิงภูมิศาสตร์ • การมุ่งความเชี่ยวชาญแบบแนวนอน (Vertical concentration) ขยายโดยกลับไปหาวัตถุดิบ (Backward) หรือมุ่งไปข้างหน้าเพื่อหาช่องทางการจัดจำหน่าย (Forward) (ดูตัวอย่าง 6.1)

  24. HTC’s Backward and Forward Integration along the Industry Value Chain in the Smartphone Industry 8-27

  25. แนวทางการขยายตัว • การกระจายธุรกิจ (Diversification) เป็นการกระจายธุรกิจซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ หรือไม่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมเลยก็ได้ เนื่องจากแต่ละอุตสาหกรรมจะมีศักยภาพในการทำกำไรที่แตกต่างกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง • การกระจายแบบเกาะกลุ่ม (Concentric diversification) คือ การขยายตัวเข้าธุรกิจใหม่ ที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม • การกระจายแบบไม่เกาะกลุ่ม (Conglomerate diversification) คือ การขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่โด่ยที่ธุรกิจนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมเลย

  26. 2. กลยุทธ์รักษาระดับ (Stability strategies) • จำหน่ายสินค้า หรือบริการแบบเก่าไปยังกลุ่มเป้าหมายเดิม หรือเป็นการรักษาสถานภาพเดิมของธุรกิจ รวมทั้งโครงสร้างการบริหารก็จะไม่เปลี่ยนแปลง • ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นของการพัฒนามายาวนาน การแข่งขันมิได้ผันผวน ตลาดไม่เติบโตจนก้าวกระโดด • อัตราการทำกำไรค่อนข้างจะสม่ำเสมอ เป็นธุรกิจที่เก็บเกี่ยวกระแสเงินสดได้ (cash cow) • ปัจจัยภายนอกอาจเป็นอุปสรรคที่จะขยายธุรกิจ เช่น กฎหมายป้องกันการรวมตัวเพื่อการผูกขาดทางการค้า

  27. เหตุผลที่ต้องกลยุทธ์รักษาระดับ • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก • วิเคราะห์ผลการดำเนินงานโดยนำผลการปฏิบัติจริงไปเทียบกับเป้าหมายแล้วพบว่าไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ • กลยุทธ์นี้มีความเสี่ยงน้อย หากเปลี่ยนแปลงมากจึงย่อมมีโอกาสล้มเหลวมากเช่นกัน • ผู้บริหารไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง • มีการบริหารมีอนุรักษ์นิยม ไม่ต้องการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ที่มีความเสี่ยง

  28. กลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบเกาะกลุ่มกลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบเกาะกลุ่ม (Concentric Diversification) Growth Strategy

  29. กลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบไม่เกาะกลุ่ม (Conglomerate Diversification) Growth Strategy

  30. 3. กลยุทธ์การถอย (Retrenchment strategies) • การถอยหรือการหดตัวหมายถึง องค์กรมีความจำเป็นต้องลดขนาดการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เช่น ยกเลิกสายผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด หรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการปรับโครงสร้างองค์กร ที่อาจนำไปสู่การลดพนักงาน หรือลดกิจกรรมบางอย่าง เช่น การทำวิจัยและพัฒนา กิจกรรมทางด้านการตลาด • เป็นทางเลือกที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะเป็นการส่งสัญญาณความล้มเหลวในการบริหารธุรกิจ • แต่อย่างไรก็ตาม จะถูกเลือกใช้เมื่อมีวิกฤต ที่ไม่สามารถใช้ทางเลือกอื่น ๆ ได้แล้ว

  31. เหตุผลที่เลือกกลยุทธ์ถอยเหตุผลที่เลือกกลยุทธ์ถอย • ธุรกิจกำลังประสบปัญหา • ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด และมีแรงกดดันจากผู้ถือหุ้น หรือลูกค้า ที่ต้องปรับลดบางส่วน เพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพบางส่วน • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ธุรกิจไม่สามารถจะปรับตัวเองได้ • โอกาสที่จะทำธุรกิจในส่วนอื่น ๆ มีสูง แต่ตัวธุรกิจมีข้อจำกัดในแง่ของทรัพยากร จึงต้องเลือกไปใช้ในส่วนที่มีโอกาสหรือผลตอบแทนที่สูงกว่า

  32. ระดับการถอยขึ้นอยู่กับภาวะวิกฤตระดับการถอยขึ้นอยู่กับภาวะวิกฤต • ถ้าไม่รุนแรงมาก อาจเพียงแค่ลดจำนวนพนักงานหรือปรับโครงสร้างองค์กร • ถ้ารุนแรงมาก เลิกกิจการ “การถอยง่ายในแง่คิด แต่ยากลำบากในการปฏิบัติ เพราะเป็นทางเลือกที่เจ็บปวดของผู้บริหาร รวมทั้งพนักงาน”

  33. กลยุทธ์การถอยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ • กลยุทธ์การฟื้นกิจการ (Turnaround strategy) คือ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะกับยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่ยังมีความดึงดูดสูง และประสบปัญหาที่ร้ายแรง สามารถแบ่งเป็น การลดขนาดและลดต้นทุน และพลักฟื้นกิจการเพื่อดำเนินการต่อ ซึ่งหากทำได้สำเร็จบริษัทอาจเข้าสู่การเริ่มต้นใหม่หรือขยายตัวได้อีก • กลยุทธ์ไม่ลงทุน (Divestment strategy) ใช้ในกรณีที่หน่วยธุรกิจนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่ดึงดูดต่ำ หรืออ่อนแอ หรือผลการดำเนินงานไม่ดี ไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์รวมขององค์กร

  34. กลยุทธ์การถอยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ • กลยุทธ์เชลย (Captive company strategy) หมายถึง บริษัทพึ่งพาลูกค้ารายใหญ่รายเดียวให้เป็นผู้ซื้อสินค้า เพราะบริษัทไม่สามารถสร้างตลาด หรืออุตสาหกรรมมีความน่าสนใจไม่มาก ข้อเสียคือ ลูกค้าจะมีอำนาจต่อรองมาก • กลยุทธ์เลิกดำเนินงาน (Liquidation strategy) จะใช้เมื่อไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ หรือฐานะการแข่งขันอ่อนแอและอยู่ในอุตสาหกรรมทีร่ไม่ดึงดูด กลยุทธ์นี้ไม่ค่อยใช้เพราะผู้บริหารจะถูกมองว่าล้มเหลว

  35. 4. กลยุทธ์ผสมผสาน • เป็นการรวมทั้ง 3 แบบ โดยการใช้ร่วมกัน แต่ใช้ในหน่วยธุรกิจที่แตกต่างกัน โดยมากจะใช้กับบริษัทที่มีหลายหน่อยธุรกิจและมีสายผลิตภัณฑ์หลากหลายและครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม

  36. เหตุผลที่เลือกกลยุทธ์ผสมผสานเหตุผลที่เลือกกลยุทธ์ผสมผสาน • องค์กรอาจทำธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมหลากหลาย แต่อุตสาหกรรมแต่ละอันจะมีวงจรชีวิตที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือความแตกต่างในการดำเนินกลยุทธ์ • บริษัทข้ามชาติที่ดำเนินธุรกิจทั่วโลก ย่อมต้องใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปตามพื้อนที่ของแต่ละประเทศ เช่นประเทศที่กำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควรใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจ ในทางตรงกันข้ามประเทศที่อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย อาจเลือกใช้กลยุทธ์การถอย

More Related