1 / 34

โดย นางสาววราภรณ์ ชำนิงาน

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซเดียมคลอ ไรด์. โดย นางสาววราภรณ์ ชำนิงาน. การผลิตโซเดียมคลอ ไรด์.

eli
Download Presentation

โดย นางสาววราภรณ์ ชำนิงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซเดียมคลอไรด์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซเดียมคลอไรด์ โดย นางสาววราภรณ์ ชำนิงาน

  2. การผลิตโซเดียมคลอไรด์การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงมีสูตรเป็นNaClเป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุ  Na  และClลักษณะเป็นผลึกสีขาวรสเค็มรูปผลึกเป็นทรงลูกบาศก์จุดหลอมเหลว  801 0C  ละลายน้ำได้ดีโดยมากได้จากน้ำทะเล และจากดิน • เกลือแกงแบ่งตามวิธีในการผลิตมี  2  ประเภทคือ 1. เกลือสมุทรคือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงที่ผลิตได้จากน้ำทะเล 2. เกลือสินเธาว์คือโซเดียมคลอไรด์หรือ เกลือแกงที่ผลิตได้จากเกลือหิน ซึ่งพบใต้เปลือกโลกในชั้นหินทรายหรือในผิวดินหรือน้ำใต้ดิน

  3. การผลิตเกลือสมุทร เกลือสมุทรทำกันมากในบริเวณใกล้ทะเลเช่นที่จังหวัดสมุทรสาครเพชรบุรีฉะเชิงเทราและชลบุรีโดยมากจะทำนาเกลือปีละ  2  ครั้งในประเทศไทยมีอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ ครึ่งปีดังนั้นการทำนาเกลือจึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม การทำนาเกลือใช้วิธีการแยกโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเลดังนั้นจึงต้องใช้หลัก  “การระเหยและการตกผลึก”  โดยการให้น้ำทะเลระเหยไปจนเหลือน้ำปริมาณน้อยที่สุด ซึ่งเมื่อถึงจุดอิ่มตัวของเกลือ จะทำให้เกลือเกิดการตกผลึกออกมา

  4. กรรมวิธีในการผลิตเกลือสมุทรมีขั้นตอนต่าง ๆดังนี้ 1.  การเตรียมพื้นที่นาโดยทั่วไปใช้พื้นที่ประมาณ 40 ไร่จากนั้นก็ขุดตอไม้รากไม้ปรับพื้นที่ให้เรียบแน่นแบ่งที่นาออกเป็นแปลง ๆ แปลงละ  1  ไร่ยกขอบแปลงให้สูงแล้วทำร่องระบายน้ำระหว่างแปลง  2.   การทำนาเกลือ 2.1 แบ่งพื้นที่ทำนาเป็น  3  ตอนได้แก่นาตากนาเชื้อ และนาปลงซึ่งระดับพื้นที่จะลดหลั่นลงตามลำดับเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำและขังน้ำ

  5. 2.2 ก่อนถึงฤดูการทำนาเกลือให้ระบายน้ำเข้าเก็บขังไว้เพื่อให้น้ำสะอาดผงโคลนตมแร่ธาตุ จะได้ตกตะกอน พื้นที่ที่ขังน้ำไว้ตอนนี้ เรียกว่านาวัง 2.3 จากนั้นระบายน้ำเข้าสู่นาตากให้ระดับน้ำสูงกว่าพื้นนาประมาณ  5 cm  เมื่อน้ำระเหยไปจนวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำทะเลได้  1.08  จึงถ่ายน้ำเข้าสู่นาเชื้อ เพื่อให้แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4)   ตกผลึกออกมาเป็นผลพลอยได้

  6. ส่วนน้ำทะเลที่เหลือปล่อยให้ระเหยไปจนมีความถ่วงจำเพาะ  1.2 แล้วจึงระบายน้ำทะเลนั้นเข้าสู่นาปลง  2  วันNaClเริ่มตกตะกอนและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ น้ำทะเลที่เหลือจะมีความเข้มข้นของ  Mg2+Cl-และ  SO42-ไอออนเพิ่มขึ้นจึงต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเพิ่มอีกเพื่อป้องกันมิให้  MgCl2และ  MgSO4ตกผลึกปนกับNaClออกมาด้วย ซึ่งจะทำให้เกลือที่ได้มีสิ่งเจือปนคุณภาพไม่ดี โดยปกติจะปล่อยให้NaClตกผลึกประมาณ  9  - 10 วันจึงขูดเกลือออกขณะที่มีน้ำทะเลขังอยู่เกลือที่ได้นำไปตากแดด  1 -2 วันแล้วจึงเก็บเข้าฉาง ผลพลอยได้จากการทำนาเกลือคือกุ้งปลาและ  CaSO4

  7. คุณภาพของเกลือโซเดียมคลอไรด์คุณภาพของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ขึ้นอยู่กับสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในเกลือ ถ้ามีเกลือแมกนีเซียมปนอยู่มากจะชื้นง่าย ราคาตก ดังนั้นถ้าต้องการเกลือที่มีคุณภาพดีควรเติมปูนขาว  0.4 - 0.5  กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร ลงในนาเชื้อเพื่อทำให้น้ำทะเลมีสมบัติเป็นเบส (pH  ประมาณ  7.4 - 7.5 )  Mg2+ไอออนจะตกตะกอนออกมาในรูปของ  Mg(OH)2ทิ้งไว้จนน้ำทะเลใสแล้วจึงไขน้ำนี้เข้าสู่นาปลงNaClจะตกผลึกออกมาเป็นส่วนใหญ่ซึ่งผลึกของเกลือโซเดียมคลอไรด์นี้จะค่อนข้างบริสุทธิ์ มีคุณภาพดี

  8. การผลิตเกลือสินเธาว์ ผลิตได้จากแหล่งแร่เกลือหิน  (Rock  Salt)  พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสานเช่นจังหวัดชัยภูมิมหาสารคามยโสธรอุบลราชธานีและอุดรธานี การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือ ใช้การละลายการกรองการระเหยและการตกผลึกหรือการละลายและการตกผลึกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของเกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้นๆ

  9. วิธีการผลิตเกลือสินเธาว์วิธีการผลิตเกลือสินเธาว์ การผลิตเกลือสินเธาว์จะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มา และลักษณะการเกิดของเกลือซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้  1.  เกลือจากผิวดินจะใช้วิธีขุดคราบเกลือตามผิวดินมาละลายน้ำกรองเศษตะกอนออกแล้วนำน้ำเกลือไปเคี้ยวให้แห้งจะได้ตะกอนเกลือตกผลึกออกมานิยมทำเกลือชนิดนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่จังหวัดนคราชสีมาชัยภูมิมหาสารคามอุดรธานีสกลนครและร้อยเอ็ด

  10. 2.  เกลือจากน้ำเกลือบาดาลเกลือที่ได้จากแหล่งนี้จะทำกันมากที่จังหวัดมหาสารคามนครราชสีมาอุดรธานีอุบลราชธานีร้อยเอ็ด สกลนครชัยภูมิและหนองคายเกลือบาดาลมีอยู่ในระดับตื้น  5 - 10 เมตรหรือระดับลึก  30 เมตร

  11. วิธีการผลิตเกลือใช้วิธีการขุดหรือเจาะลงไปใต้ดินและสูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มน้ำเกลือในกระทะเหล็กใบใหญ่โดยใช้ฟืนหรือลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงจนน้ำเกลือแห้งจะได้เกลือตกผลึกออกมา วิธีการผลิตเกลือใช้วิธีการขุดหรือเจาะลงไปใต้ดินและสูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มน้ำเกลือในกระทะเหล็กใบใหญ่โดยใช้ฟืนหรือลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงจนน้ำเกลือแห้งจะได้เกลือตกผลึกออกมา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านเชื้อเพลิงเพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการสูบเกลือจากบ่อน้ำบาดาลมาใส่ไว้ในนาตากซึ่งทำเป็นลานดินหรือลานซีเมนต์แล้วทำให้น้ำระเหยออกไป จะได้เกลือตกผลึกออกมาเรียกวิธีนี้ว่าการทำนาตาก

  12. 3.  เกลือจากชั้นเกลือหิน วิธีการผลิตทำได้โดยการอัดน้ำจืดลงไปละลายเกลือในชั้นเกลือหิน แล้วสูบสารละลายมาทำให้บริสุทธิ์ด้วยการเติมสารละลายNaOHกับ  Na2CO3เพื่อกำจัด  Ca2+และ  Mg2+ดังปฏิกิริยา                                 Mg2+ (aq) + 2OH- (aq)  Mg(OH)2 (s)                               Ca2+ (aq)  +  CO32- (aq)  CaCO3 (s)

  13. จากนั้นกรองตะกอนที่เกิดขึ้นนี้ออกแล้วนำสารละลายที่ได้มาตกผลึก จากนั้นกรองตะกอนที่เกิดขึ้นนี้ออกแล้วนำสารละลายที่ได้มาตกผลึก แยกNaClออกทำให้สารละลายมีNaClปริมาณลดลง และในสารละลายนี้ยังมีNa2SO4และ  Na2CO3ละลายปนอยู่ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่ต้องการ เรียกสารละลายนี้ว่า  “น้ำขม”   นำสารละลายไปเติม  CaCl2พอเหมาะ เพื่อกำจัดไอออนต่าง ๆ ออกเป็นสาร  CaSO4และ  CaCO3ซึ่งไม่ละลายน้ำดังสมการ Ca2+ (aq)  +  SO42- (aq)    CaSO4 (s) Ca2+ (aq)  +  CO32- (aq)    CaCO3 (s) นำสารละลายที่ได้ไปตกผลึกแยกNaClออกไปอีก

  14. ประโยชน์ ของเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์ 1. เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมีความชื้น  Ca2+และ Mg2+ต่ำ 2. เกลือสมุทร เหมาะสำหรับใช้บริโภคเพราะมีไอโอดีนอยู่ร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณ75 มิลลิกรัมต่อปีเมื่อได้รับไอโอดีนร่างกายจะนำไปเก็บไว้ในต่อมไทรอยด์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมองประสาทและเนื้อเยื่อต่างๆ ถ้าขาดจะเป็นโรคคอพอก และถ้าขาดตั้งแต่ยังเด็กร่างกายจะแคระแกร็นสติปัญญาต่ำหูหนวกเป็นใบ้ตาเหล่และอัมพาต

  15. การผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมการผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม 1. ปัญหาการกระจายของดินเค็มทำให้พื้นดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก 2. ปัญหาการกระจายของเกลือลงสู่แหล่งน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ 3. ปัญหาการยุบของพื้นดินบริเวณที่ผลิตเกลือบาดาล

  16. การนำเกลือมาใช้ในอุตสาหกรรมการนำเกลือมาใช้ในอุตสาหกรรม

  17. การนำเกลือมาใช้ในอุตสาหกรรมการนำเกลือมาใช้ในอุตสาหกรรม • การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีนด้วยกระแสไฟฟ้า • การผลิต NaOHโดยใช้ cell เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน • การผลิต NaOH โดยใช้ไดอะแฟรม • การผลิต NaOH โดยใช้ cell ปรอท • การผลิตโซดาแอช • การผลิตสารฟอกขาว

  18. การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีนด้วยกระแสไฟฟ้าการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีนด้วยกระแสไฟฟ้า การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน อาจได้จากโซเดียมคลอไรด์ โดยอาศัยหลักการของเซลล์อิเล็กโทรไลต์หลังจากการทดลองแยก สารละลายด้วยกระแสไฟฟ้า โดยใช้สารละลาย NaCl อิ่มตัว เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แตกตัวได้ดังนี้ : NaCl(aq) Na+ (aq) + Cl- (aq)

  19. เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าลงไป จะเกิดปฏิกิริยา ดังนี้ ที่แอโนด(+) : 2 Cl- (aq) Cl2 (g) + 2 e- โดยแก๊สคลอรีนทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสสีแดง และสีน้ำเงินชื้น จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพราะ Cl2(g) ทำปฏิกิริยากับ H2O ได้ HCl , HClO ซึ่งฟอกจางสีได้ ที่แคโทด(-) : 2 H2O (l) + 2 e- 2 OH- (aq) + H2 (g) ทดสอบแก๊สไฮโดรเจนโดยใช้ก้านธูปที่มีเปลวไฟไปจ่อที่ขั้วลบของแบตเตอรี่ ไฟจะดับพร้อมเกิดเสียงดังเป๊าะ และ OH- (aq) จะมีสมบัติเป็นเบส จึงทดสอบได้เมื่อหยดสารละลายฟีนอฟทาลีน ในสารละลายจะสังเกตเห็นสีชมพูบริเวณขั้วลบของแบตเตอรี่ แสดงว่ามี OH- (aq)เกิดขึ้นนั่นเอง

  20. ปฏิกิริยารวม : 2 Cl- (aq) + 2 H2O (l) 2 OH- (aq) + H2 (g) + Cl2 (g) สารละลายที่เหลือจากการแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้าจะมี โซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH จาก Na+ (aq) + OH- (aq) NaOH (aq) ดังนั้น เมื่อนำสารละลายไประเหยจะพบโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นสารสีขาวเหลืออยู่ในการผลิต NaOH ในอุตสาหกรรมนั้น จะใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อน โดยผ่าน NaCl(aq) อิ่มตัว เข้าไปในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ตลอดเวลา H2(g) , Cl2(g) และNaOH(aq) ที่เกิดขึ้น จะต้องแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสาร

  21. การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และก๊าซคลอรีนการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และก๊าซคลอรีน 1.การผลิตโดยใช้เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนคล้ายกับเซลล์ไดอะแฟรมต่างกันที่ใช้เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนแทนไดอะแฟรมโดยเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนจะยอมให้เฉพาะไอออนบวกผ่านเท่านั้นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ที่แอโนด  2Cl-Cl2+ 2e- ที่แคโทด  2H2O + 2e- 2OH- + H2 OH-จะรวมกับ Na+ เกิดเป็นNaOHการผลิตNaOHโดยวิธีนี้จะได้ความเข้มข้นประมาณ 30-40%

  22. 2.การผลิตโดยใช้เซลล์ไดอะแฟรม2.การผลิตโดยใช้เซลล์ไดอะแฟรม เซลล์ไดอะแฟรม เป็นเซลล์ที่มีแผ่นแอสเบสตอสกั้นระหว่างแอโนดกับแคโทด แอโนดจะทำด้วยไทเทเนียม แคโทดจะทำด้วยเหล็กกล้า ปฏิกิริยาที่เกิดในเซลล์ ที่แอโนด  2Cl- Cl2 + 2e- ที่แคโทด  2H2O + 2e- H2 + 2OH- ไอออนบวกและไอออนลบสามารถไหลผ่านแอสเบสตอสได้ ดังนั้นสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ผลิตได้จะมีโซเดียมคลอไรด์ปนอยู่ในปริมาณมาก จึงไม่ค่อยนิยมใช้วิธีนี้

  23. 3.การผลิตโดยใช้เซลล์ปรอท3.การผลิตโดยใช้เซลล์ปรอท เซลล์ปรอทเป็นเซลล์ที่ใช้ไทเทเนียมเคลือบเป็นแอโนดและใช้ปรอทเป็นแคโทด ปฏิกิริยาที่เกิดในเซลล์ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่แอโนด  2Cl-Cl2 + 2e- ที่แคโทด Na+ + e-NaHgx Na+จะรับอิเล็กตรอนเกิดเป็น Na เข้ารวมกับปรอทเกิดเป็นโซเดียมอะมัลกัม จากนั้นแยก NaOHออกจากHg โดยผ่านน้ำบริสุทธิ์เข้าไป Naจะทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นNaOHดังสมการ 2NaHgx + 2H2O 2NaOH + H2 + 2xHg

  24. การผลิตNaOHวิธีนี้จะได้NaOHเข้มข้น50 %และ Hg หลังจากแยกNaOHออกแล้วสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ในการผลิตNaOHนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือจะมี HgCl2 ปนออกมากับน้ำทิ้ง จุลินทรีย์จะเปลี่ยน HgCl2ให้เป็นสารอินทรีย์ของปรอทเช่น (CH3)2Hg สารปรอทจะเข้าไปสะสมอยู่ในสัตว์น้ำและถ่ายทอดมาสู่คนทำให้เป็นโรคพิษปรอทได้

  25. การผลิตโซดาแอช ชื่อทางเคมีโซดาแอช: โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) กระบวนการผลิตโซดาแอช: กระบวนการโซลเวย์ หรือกระบวนการโซดาแอมโมเนีย วัตถุดิบ : 1.โซเดียมคลอไรด์(NaCl) 2. แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) 3. แก๊สแอมโมเนีย (NH3)

  26. ขั้นตอนการผลิต: 1. นำ CaCO3(s) มาเผา ได้ CaO(s) และ CO2(g) 2. นำ CO2(g) ไปทำปฏิกิริยากับ NaCl(aq) เข้มข้น และ NH3(g) ได้ NaHCO3(s) และ NH4Cl(aq) 3. กรองแยกNaHCO3(s) ออก แล้วนำไปเผา ได้ Na2CO3(s) หรือโซดาแอช

  27. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก : CO2(g) จากการเผาNaHCO3(s) และ CaO(s)จากการเผาCaCO3(s) เมื่อนำมาละลายน้ำ จะได้ Ca(OH)2(aq) และเมื่อ Ca(OH)2(aq) ทำปฏิกิริยากับ NH4Cl(aq) จะได้ NH3(g) กลับมาใช้ในขึ้นตอนที่ 2 อีกครั้งและเกิด CaCl2(s) นำไปใช้เป็นใช้เป็นสารดูดความชื้น แต่มีการนำไปใช้น้อย จึงเกิดปัญหาในการกำจัด NaHCO3(s) ทำผงฟู NH4Cl(aq)ทำปุ๋ยเคมี

  28. เพิ่มเติม : - บางประเทศที่ผลิต NaOHได้มากเกินต้องการ อาจผลิตโซดาแอช โดยผ่าน CO2(g) ลงในNaOH (aq) โดยตรง ได้ NaHCO3(s) เมื่อเผาแล้วจะได้โซดาแอช - นอกจากการผลิตด้วยกระบวนการโซลเวย์ ยังได้จากแร่โซดาแอชในธรรมชาติ พบมากใน สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล อินเดีย รัสเซีย จีน

  29. CaCO3 NaCl+H2O CO2 NH3 เผา NaHCO3+NH4Cl H2O Ca(OH)2 CaO+CO2 CO2+Na2CO3+H2O NH4Cl CaCl2+2H2O+NH3 การเกิดโซดาแอช

  30. การผลิตสารฟอกขาว การผลิตสารฟอกขาวมีวิธีการดังนี้ 1. เตรียมแก๊สคลอรีน 2KMnO4(s) + 16HCl(aq) 2KCl(aq) + 2MnCl2(aq) + 8H2O(l) +5Cl2(g) 2. ผลิตสารฟอกขาว 2NaOH(aq) + Cl2(g) NaOCl(aq) + NaCl(aq) + H2O(l) หรือ Na2CO3(aq) + Cl2(g) NaOCl(aq) + NaCl(aq) + CO2(g)

More Related