1 / 52

รายงานสรุปผลการศึกษาทบทวนข้อมูลทั่วไป ประเด็นศักยภาพ

รายงานสรุปผลการศึกษาทบทวนข้อมูลทั่วไป ประเด็นศักยภาพ ที่สำคัญ พร้อมการทบทวน SWOT ของจังหวัดราชบุรี. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 โครงการทบทวนแผนพัฒนาและร่างแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการจังหวัดราชบุรี ประจำปีงบประมาณ พ . ศ . 2555. วันที่ 5 กรกฏาคม 2553.

eleanor-gay
Download Presentation

รายงานสรุปผลการศึกษาทบทวนข้อมูลทั่วไป ประเด็นศักยภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานสรุปผลการศึกษาทบทวนข้อมูลทั่วไป ประเด็นศักยภาพ ที่สำคัญ พร้อมการทบทวน SWOT ของจังหวัดราชบุรี การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1โครงการทบทวนแผนพัฒนาและร่างแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการจังหวัดราชบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 วันที่ 5 กรกฏาคม 2553

  2. การศึกษาทบทวนข้อมูลทั่วไปและประเด็นศักยภาพที่สำคัญของจังหวัดราชบุรีการศึกษาทบทวนข้อมูลทั่วไปและประเด็นศักยภาพที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี

  3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เป็นตัวสะท้อนถึงความสำคัญของประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ที่มา: สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคและจังหวัด (Gross Regional and Provincial Product) 2008, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  4. ในภาพรวมการขยายตัวของ GPP จังหวัดราชบุรีมีอัตราที่หดตัวลง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก อัตราขยายตัวของ GPP และโครงสร้างการกระจายรายได้จากการผลิต ร้อยละ • ในปี พ.ศ.2551 จังหวัดการผลิตรวมของจังหวัด ราชบุรี หดตัวร้อยละ 3.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปีที่ผ่านมา มีสาเหตุจาก • การผลิตนอกภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 4.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในปีก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากสาขาหลัก ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมหดที่การผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติการเงิน • การผลิตภาคเกษตรชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.0 จากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 มีสาเหตุหลักมาจากการเพาะปลูกพืชลดลง แต่การเลี้ยงปศุสัตว์ขยายตัวได้ดี ส่วนสาขาประมงขยายตัวร้อยละ 1.6 ที่มา: สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคและจังหวัด (Gross Regional and Provincial Product) 2008, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  5. จังหวัดราชบุรีพึ่งพิงสาขาการผลิตที่สำคัญ คือ การผลิตไฟฟ้า ก๊าซและประปา รองลงมาเป็นสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในขณะที่ภาคการเกษตรนั้นมาเป็นอันดับสาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 • การจัดอันดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ • การผลิตไฟฟ้า ก๊าซและน้ำประปา • อุตสาหกรรมการผลิต • เกษตรกรรม • การค้าปลีก การค้าภายใน ที่มา: สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคและจังหวัด (Gross Regional and Provincial Product) 2008, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  6. เกษตร สังคม อุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดราชบุรี

  7. หากพิจารณาข้อมูลพื้นที่ทางการเกษตรพบว่าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำไร่ รองมาเป็นพื้นที่ ทำนาและปลูกไม้ผล ในขณะที่การทำปศุสัตว์ก็เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นกัน จังหวัดราชบุรีมีพื้นที่ถือครองทั้งสิ้น 2,817,468 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรรวม 1,298,530 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่ถือครองทั้งหมด ทั้งนี้ พื้นที่ทางการเกษตรมีการใช้ประโยชน์และมีผลผลิตที่สำคัญ ดังนี้ การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของจังหวัดพ.ศ. 2552 พื้นที่ (ไร่) ข้อมูลพื้นที่ทางการเกษตร จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2552 (นอกภาคเกษตร) ที่มา: สำนักงานเกษตร จังหวัดราชบุรี

  8. พื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งผลิตพืชไร่ อย่าง ข้าว อ้อย และปศุสัตว์ โครงสร้างด้านการเกษตรของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พ.ศ. 2552 • ในภาพรวมพบว่า ราชบุรีมีสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง สัปปะรด ข้าวโพด • ส่วนด้านปศุสัตว์ราชบุรีที่มีสินค้าที่สำคัญ คือ สุกร (ผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ) และไก่เนื้อ นอกจากนี้ โคนมและโคเนื้อก็เป็นสินค้าเกษตรกรรมหลักของจังหวัดด้วย • นอกจากนี้ ราชบุรียังมีสินค้าสำคัญอื่นๆ อีกเช่น กล้วยไม้ ที่มา: สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี พ.ศ.2552 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

  9. เกษตร สังคม อุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดราชบุรี

  10. อุตสาหกรรมหลักของราชบุรี เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป ภาคอุตสาหกรรม ข้อมูล : สภาอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2552 อุตสาหกรรมหลักของจังหวัดส่วนใหญ่จะอยู่ในด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงสีข้าว  โรงงานน้ำตาลและผงชูรส โรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอโลหะ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธาราม ได้แก่ โรงผลิตภัณฑ์เซรามิค โรงงานผลิตกระดาษ อู่ต่อรถยนต์  เป็นต้น           สภาวะการลงทุนภาคอุตสาหกรรมปี  2552  มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.89 (เงินลงทุนปี 2551 จำนวน 86,262 ล้านบาทและเงินลงทุนปี  2552 จำนวน 88,926  ล้านบาท)

  11. ซึ่งไม่ต่างจากภาพรวมของกลุ่ม ที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดของกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1 มูลค่าผลิตภัณฑ์สาขาอุตสาหกรรม ปี 2549 ณ ราคาคงที่ จำแนกตามภูมิภาค ที่มา: ยุทธศาสตร์ภาคกลาง สำนักงาคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  12. วิสาหกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP จังหวัดราชบุรี ผ้าเขียนลายทอง ตำบล วัดเพลง อำเภอวัดเพลง กระยาสารท ทิพย์ ตำบล วัดเพลง อำเภอวัดเพลง ผ้าจกถอมือ ตำบล ดอนแร่ อำเภอเมือง ผลิตภัณฑ์ไชโป้วหวานรูปแบบต่างๆ ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม เส้นหมี่อบแห้ง ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม ผ้าซิ่นตีนจก ตำบล คูบัว อำเภอเมือง หัตถกรรมผ้าไหม ตำบล ท่าผา อำเภอบ้านโป่ง นม UHT ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม ซอสมะเขือเทศ ตำบลบ้านสิงห์อำเภอโพธาราม สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  (OTOP)  ที่ได้รับการคัดสรรในระดับจังหวัดอยู่ในระดับ 5 ดาว  มีทั้งสิ้นจำนวน 26 รายการ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม 19 รายการ ผลิตภัณฑ์ผ้า เครื่องแต่งกาย 5 รายการและผลิตภัณฑ์ของใช้/ขอตกแต่ง 2 รายการ ที่มา: ประกาศผลการคัดเลือกสุดยอดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งอำเภอ กรมพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2552

  13. เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับ 5 ดาวของจังหวัดอื่นๆ แล้วพบว่าราชบุรีเป็นรองแค่นครปฐม เชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร ผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นระดับ 5 ดาวทั่วประเทศ ปี 2552 (748 รายการ) จำนวนผลิตภัณฑ์ นครปฐม เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ราชบุรี เชียงราย ที่มา: ประกาศผลการคัดเลือกสุดยอดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งอำเภอ กรมพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2552

  14. เกษตร สังคม อุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดราชบุรี

  15. รายได้ (ล้านบาท) นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ทั้งนี้ หากแยกพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่ากาญจนบุรีมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด แม้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะยังคงเป็นชาวไทยมากกว่าต่างชาติ จำนวนนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจร ปี 2551 รายได้จากนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจร ปี 2551 จำนวน (คน) 1,115,221 1,153.49 นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย • ประเด็นที่น่าสนใจ • การท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักทัศนาจรที่ท่องเที่ยวระยะสั้นแบบไม่ค้างคืน มากกว่านักท่องเที่ยวที่มาพักค้างคืน โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย • 28.09 • กิจกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดยังมีน้อย สังเกตุจากวันพักเฉลี่ยเพียง 1.62 วัน • ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวยังตกอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 700 – 800 บาทต่อวัน

  16. ธรรมชาติ/ผจญภัย ด่านการค้าชายแดน สุขภาพ ชายทะเล ประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม นิเวศ/เกษตร สถานที่ท่องเที่ยวในราชบุรีมีความหลากหลาย แต่ยังขาดเอกลักษณ์และความโดดเด่น จีน สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี - ท่องเที่ยวสถานที่ทางศาสนา ไหว้พระ ทำบุญ - ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี - ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ นิเวศ อนุรักษ์ - ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เวียดนาม พม่า ลาว พระพุทธฉาย– ราชบุรี เมืองโบราณคูบัว – ราชบุรี ธารน้ำร้อนบ่อคลึง – ราชบุรี ค้างคาววัดเขาช่องพราน – ราชบุรี สวนผึ้ง, บ้านคา– ราชบุรี พระปรางค์วัดมหาธาตุ – ราชบุรี หนังใหญ่ วัดขนอน– ราชบุรี หมู่บ้านช้างและหมู่บ้านลิง – ราชบุรี ตลาดน้ำดำเนินสะดวก – ราชบุรี อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม– ราชบุรี • รูปภาพจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มา: การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CEO Retreat) มาเลเซีย

  17. ท่องเที่ยว สังคม อุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม เกษตร วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดราชบุรี

  18. ตัวชี้วัดภายใต้ประเด็นต่างๆของการพัฒนาคน จากรายการการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2552โดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP)

  19. ดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2552แสดงความเปรียบเทียบการพัฒนาคนในจังหวัดต่างๆ พบว่า ราชบุรีอยู่ในลำดับที่ 36 ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนาคนปานกลาง มีทั้งหมด 16 จังหวัด ส่วนภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาคนในจังหวัดสูงสุด แม่ฮ่องสอนอยู่ในลำดับสุดท้าย ที่มา : รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2552 โดย UNDP

  20. เมื่อพิจารณาดัชนีความก้าวหน้าของคน จะเห็นว่าราชบุรีมีดัชนีดังกล่าวในประเด็นสุขภาพ การศึกษา ชีวิตการงาน การคมนาคมฯ ที่อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าหรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของประเทศ ในขณะที่ประเด็นด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน และการมีสวนร่วมต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเล็กน้อย 31 56 32 18 50 25 67 33 ที่มา : คณะที่ปรึกษา รวบรวมจากข้อมูลดัชนีความก้าวหน้าของคน ในรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2552 โดย UNDP

  21. เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดของตัวชีวัดด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน พบว่าค่าเฉลี่ยในแต่ละตัวชี้วัดจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ยกเว้นในเรื่องปัญหาเด็กที่ประสบภาวะยากลำบากกับแรงงานเด็ก ที่ค่าของดัชนีอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศค่อนข้างมาก ในขณะที่การจับกุมยาเสพติดค่อนข้างสูง

  22. เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดของตัวชีวัดด้านการมีส่วนร่วม พบว่าราชบุรีมีดัชนีการมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศค่อนข้างมากทั้งในด้านอัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งและจำนวนองค์กรชุมชนต่อจำนวนประชากร ในขณะที่ดัชนีการมีส่วนร่วมในชุมชน ทั้งเรื่องของครัวเรือนที่มีส่วนร่วมในกลุ่ม/องค์กรในท้องถิ่น หรือครัวเรือนที่มีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

  23. พิจารณาตัวชี้วัดของ UNDP กับเป้าประสงค์และกลยุทธ์ของยุทธศาสตร์ที่ 2

  24. ท่องเที่ยว สังคม อุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม เกษตร วิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดราชบุรี

  25. เนื้อที่ป่าไม้จากการสำรวจของกรมป่าไม้ ในปี 2551 พบว่าจังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 33.79 หรือประมาณ 1,755,790 ตร.กม. จากเนื้อที่ทั้งหมด 5,196,462 ตร.กม. คิดเป็นลำดับที่ 20 ของประเทศ และเป็นลำดับที่สองของกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1 รองจากกาญจนบุรี ปัญหาและอุปสรรค1. มีชนกลุ่มน้อยแถบชายแดน ไทย-พม่า บุกรุกทำไร่เลื่อนลอย2. มีการลักลอบตัดไม้เพื่อการสร้างบ้านเรือน และเพื่อการค้า3. มีความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และที่อยู่อาศัยจึงทำให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม4. มีการขายสิทธิในที่ดินทำกินซึ่งทางราชการออกให้ และไปบุกรุกพื้นที่ใหม่เพิ่มเติม ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดราชบุรี ที่มา : กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  26. คุณภาพแม่น้ำ ของสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ ที่สถานีบ้านโป่ง พบว่าระดับคุณภาพน้ำปกติ โดยมีระดับออกซิเจนละลายในน้ำอยู่ที่( DO ) อยู่ที่ 5.0 mg/2L ซึ่งเหมาะกับการใช้ประโยชน์ในการเกษตร การอุปโภคและบริโภค โดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน   ที่มา : ระบบรายข้อมูลสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  27. สรุปเกณฑ์คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินที่ทำการตรวจวัดแยกเป็นรายลุ่มน้ำสรุปเกณฑ์คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินที่ทำการตรวจวัดแยกเป็นรายลุ่มน้ำ ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2551

  28. ปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ ราชบุรีจัดอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงในช่วงปี 2550 – 2551 โดยมีฝุ่นละอองในอากาศสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด  ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2551

  29. สถิติปัญหามลพิษที่ได้รับร้องเรียนจากทั่วประเทศในปี 2552 พบว่าจังหวัดราชบุรีมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 3 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องกลิ่นเหม็น 2 เรื่องและฝุ่นละออง/หมอกควัน 1 เรื่อง จัดอยู่ในจังหวัดที่มีเรื่องร้องเรียนสูงเป็นอันดับที่ 23 จังหวัดที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร โดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียนคิดเป็นร้อยละ 71 ของเรื่องร้องเรียนทั้งประเทศ ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  30. ขยะมูลฝอย เมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นต่อคนต่อวันของราชบุรีกับจังหวัดอื่นๆ รวม 26 จังหวัดของภาคกลางพบว่า ราชบุรีอยู่ในลำดับที่ 5 โดยมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นวันละ 1.81 กก.ต่อคนต่อวัน 9.5 % 2548 2549 2550 2551 ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2551 ปริมาณขยะมูลฝอยในแต่ละปีของราชบุรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2551 ปริมาณขยะเพิ่มสูงถึง 9.5 %

  31. บริบทการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรีบริบทการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี

  32. แนวโน้มปัจจัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญแนวโน้มปัจจัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญ ในอนาคต 20 ปี ข้างหน้า บริบทการเปลี่ยนแปลงหลัก • การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินโลก • การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด • การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม • การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี • การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  33. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces) 1. Regional Integration 4. Aging World ประชากรสูงอายุของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค แนวโน้มปัจจัยภายในประเทศ (Internal Forces) 5. Technology 2. Chindia Hub of ASIA 1. Economic Restructuring การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ศูนย์กลางอำนาจเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนมาอยู่ประเทศแถบเอเซียมากขึ้น เปลี่ยนจากภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและบริการ 6. Energy ความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้น มีการหาแหล่งพลังงานทดแทน 2. Aging People 3. Global Finance 7. Global Warming การเปลี่ยนแปลงด้านการเงินของโลกจะมีความผันผวนมากขึ้น 3. Urbanization and Regional Development ภาวะโลกร้อน ความเป็นเมืองมากขึ้น ประชากรในชนบทลดลง ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  34. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces) 1.การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในอนาคตจะมีความเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในอนุภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ทั้งเส้นทางคมนาคมทางบก โทรคมนาคม และโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและพลังงาน เช่น มีการประกาศใช้ east-west corridor นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านการค้า ตลอดจนความพยายามส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดความแตกต่างทางด้านรายได้กับไทย ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เวียดนาม หรือพม่าถ้าเริ่มมีประชาธิปไตยมากขึ้น อาจจะเป็นประเทศเวียดนามรายใหม่ที่หลายประเทศอยากจะไปลงทุน เพราะสามารถจะเชื่อมโยงกับประเทศอินเดีย ซึ่งในอนาคตมีการรวมตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น ดังนั้น ในอีก 20 ปีข้างหน้า ภูมิภาคนี้น่าจะเป็นภูมิภาคที่มีความเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  35. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces)(ต่อ) 2.เศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจมาอยู่ที่ประเทศแถบเอเชียมากขึ้น จีนและอินเดียจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกในอนาคต รวมทั้งประเทศบราซิลและรัสเซียจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากขึ้น การผลิตต่างๆ จะย้ายมาอยู่ในแถบเอเชียทั้งหมด จะมี ASEAN Century นอกจากนี้อาจจะมีประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจ (emerging country) เพิ่มขึ้น ดังนั้นใน 20 ปีข้างหน้าจุดรวมของอำนาจทางเศรษฐกิจจะเคลื่อนมาสู่ทางด้านเอเชียมากขึ้น ขณะที่ประเทศอเมริกา ญี่ปุ่น หรือยุโรป กำลังเข้าสู่สังคมประชากรสูงอายุแล้ว และจะยังมีปัญหาเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่ง ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  36. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces)(ต่อ) 3.การเปลี่ยนแปลงด้านการเงินโลก (global finance) จะมีความผันผวนมากขึ้น แนวโน้มในระยะยาว ประเทศและทวีปต่างๆ จะมีการรวมกลุ่ม (integrate) หรือมีข้อตกลงการค้า การลงทุน และการเงินมากขึ้น ดังนั้น จะมีโอกาสการเคลื่อนย้ายเงินทุนสูง นอกจากนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) อาจจะมีการเก็งกำไรหรือเข้ามาลงทุนในที่ต่างๆ มากขึ้น ทั้งนี้ การเงินของโลกจะมีผู้เล่นสำคัญใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ธนาคารกลางของประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศ (reserve) อยู่มาก เช่น จีน ญี่ปุ่น หรือประเทศในแถบตะวันออกกลาง จะมีการตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งเริ่มมีทุนสำรองมาก และจะตั้งกองทุนในลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อความผันผวนหรือผลกระทบที่อาจจะสร้างปัญหามากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  37. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces)(ต่อ) 4. ประชากรสูงอายุของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายประเทศเริ่มเข้าสู่aging societyทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาจะมีจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุทั้งหมดในโลก และผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 55 จะเป็นผู้หญิง เพราะมีอายุยืนกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะจะมีปัญหามากในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่แต่งงานและมีรายได้น้อย การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น จะมีการเคลื่อนย้ายเงินจากประเทศที่มีเงินออมมากมาลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา การย้ายถิ่น (immigration) ที่คนในประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสไปหางานทำในประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้นในอนาคต หรือการปรับโครงสร้างพื้นฐาน โดยอาจต้องเปลี่ยนจากการสร้างโรงเรียนไปสร้างโรงพยาบาลมากขึ้น เป็นต้น ปัญหาสังคมผู้สูงอายุจะเป็นนโยบายใหญ่ระยะยาวของชาติ เพราะมีผลกระทบอย่างมากสำหรับประเทศที่เข้าสู่ aging society แล้ว เช่น ญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาผลิตภาพต่ำ กำลังแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในอนาคต แม้จะพยายามแก้ปัญหาโดยพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงาน เช่นเดียวกับประเทศอเมริกาซึ่งมีคนแก่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำลังแรงงานเริ่มลดลง ทั้งนี้ อเมริกาแก้ปัญหาโดยเปิดรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  38. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces)(ต่อ) 5.เทคโนโลยี จะอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 4 ประการคือ Atoms Neurons (เซลล์สมอง) Genes และ Bits (Information) เทคโนโลยีจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ NanoTechnology BioTechnology Information Technology และ Cognitive Sciences ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของสมอง จิต และพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นการส่งเสริม Neurotechnology เช่น สามารถจะดึงความทรงจำบางอย่างที่หายไปกลับคืนมาโดยวิธีหรือเครื่องมือต่างๆ คนตาบอดสามารถมองเห็นภาพได้จากการเห็นภาพโดยไม่ต้องผ่านสายตา ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  39. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces)(ต่อ) 6.พลังงาน มีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันของโลกอาจจะหมดไปภายใน 50-60 ปี ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ต่ำกว่า 2 เท่าใน 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ทำให้มีการพยายามหาแหล่งพลังงานอื่นๆ หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อทดแทนน้ำมันมากขึ้น นอกจากนี้ หลายประเทศเริ่มมีการทำสัญญาเพื่อจับจองแหล่งพลังงานเพิ่มมากขึ้น เช่น จีนเริ่มมองหาแหล่งพลังงานเพื่อทำสัญญาจับจองน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  40. แนวโน้มปัจจัยภายนอกประเทศ (External Forces)(ต่อ) 7.ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ถ้ามีการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณเช่นปัจจุบันนี้ จะส่งผลให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดพายุหรือภัยพิบัติต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ระดับน้ำจะสูงขึ้นและส่งผลกระทบกับพื้นที่ชายฝั่งภาคเกษตร นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเกี่ยวกับ asset cash ต่างๆ เช่น หุ้นเกี่ยวกับบริษัทอาหารพันธบัตรระหว่างประเทศที่มีความเสี่ยงกับเรื่องของ global warming ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  41. แนวโน้มปัจจัยภายในประเทศ (Internal Forces) 1.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ จากภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น และเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่ไทยเริ่มสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันจากการที่ค่าจ้างสูงขึ้น 2.สังคมผู้สูงอายุ ประชากรสูงอายุเพิ่มจาก 7 ล้านคนในปัจจุบัน เป็น 16 ล้านคนในปี 2570 ขณะที่ประชากรวัยต่ำกว่า 14 ปี จะลดจาก 14 ล้านคน เหลือ 10 ล้านคน ส่งผลกระทบต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงาน 3.การเปลี่ยนแปลงความเป็นเมืองมากขึ้น โดยประชากรในเมืองของไทยจะเพิ่มมากกว่า 14 ล้านคน ในปี 2573 ขณะที่ประชากรในชนบทจะลดลง ที่มา: ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “วิสัยทัศน์ประเทศไทย” สู่ปี 2570

  42. การศึกษาทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT)

  43. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี จุดแข็ง (Strength) มีตลาดกลางเกษตร จำนวน 2 แห่ง (ตลาดศรีเมืองและตลาดซื้อขายพืชไร่)ที่สามารถระบายสินค้าไปสู่ภาคต่างๆได้เป็นอย่างดี  มีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร และอาหารทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็กเป็นจำนวนมาก  มีความคล่องตัวในระบบการขนส่ง และระยะทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ  ผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย เช่น พืช ผัก ผลไม้ กล้วยไม้ ด้านปศุสัตว์เช่น สุกร โคนม  มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายครอบคลุมทุกประเภท รวมทั้งมีวัฒนธรรมพื้นเมือง ภูมิปัญญา ที่เป็นต้นทุนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการผลิตด้านอื่นๆ  ? แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ? มีความพร้อมด้านยุทธศาสตร์กำลัง แรงงานที่จะพัฒนาศักยภาพได้ ? มีแนวท่อก๊าชธรรมชาติผ่าน มีศักยภาพในการก่อสร้างสถานีแรงดันต่ำ พลังงานด้านต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้

  44. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี จุดอ่อน (Weakness) มูลค่าผลผลิต ต่อพื้นที่การเพาะปลูก ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ในขณะที่ จังหวัดในกลุ่มเดียวกัน มีมูลค่าผลผลิตสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยของประเทศ  • เกษตรใช้สารเคมีใช้สารเคมีปริมาณมาก  • ผลตอบแทนจากการทำเกษตรอินทรีย์ยังไม่จูงใจให้เกษตรกรรักษามาตรฐานการผลิต  • ขาดการจัดการน้ำเสีย เป็นสาเหตุต่อการพัฒนาสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP ยั่งยืน  ? • เกษตรกรมีหนี้สินและต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสูง ? ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตรแปรรูปยังขาดการบริหารจัดการด้านการตลาด ? • ภาคอุตสาหกรรมประจำท้องถิ่น ขาดมาตรฐานผลผลิตที่ดี (ไม่ได้มาตรฐานหรือขาดการรับรองมาตรฐาน) • การประชาสัมพันธ์และการบริหารจัดการด้านการตลาดในด้านท่องเที่ยวยังขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 

  45. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี จุดอ่อน (Weakness) • ผู้ประกอบการขาดทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว  • ขาดปัจจัยในด้านอัตลักษณ์ (ภาพลักษณ์ เสน่ห์) ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว  • สถานที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวมีขนาดเล็ก ยังไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ได้ 

  46. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี โอกาส (Opportunity) มีกฎหมายด้านวิสาหกิจชุมชน ในการสนับสนุนให้เกิดองค์กรชุมชน  • รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนของกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในลักษณะกองทุนต่างๆ  • มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องโดยฝ่ายวิชาการภาครัฐและสองสถาบันการศึกษา  ? • รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศ (แล้วราชบุรีจะได้รับโอกาสที่ดีกว่าจังหวัดอื่นๆ อย่างไร) ? • กลุ่มจังหวัดมีทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเป็นวงจรภายในกลุ่มจังหวัด รัฐบาลส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการส่งออก 

  47. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรี อุปสรรค (Threat) ปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกและโรคระบาด มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศและการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก 

  48. สรุปผลการทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านเศรษฐกิจของจังหวัดราชบุรีและข้อเสนอแนะ • หลายประเด็นยังขาดข้อมูลอ้างอิง โดยอาจเป็นความคิดเห็นหรือการตัดสินใจด้วยความรู้สึก ทำให้ประเด็นที่ได้มาขาดน้ำหนัก และความน่าเชื่อถือ • ในบางประเด็นยังขาดการอธิบายขยายความที่ชัดเจน ทำให้อาจเกิดความเข้าใจที่ขาดเคลื่อน อาทิ ประเด็นสถานที่ท่องเที่ยวมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ควรปรับเป็น บริเวณแนวชายแดนที่ติดกับประเทศพม่ามีความมั่นคงปลอดภัย ส่งผลให้เป็นปัจจัยบวกต่อการท่องเที่ยวและการเข้ามาลงทุนในพื้นที่ เป็นต้น • ประเด็นการมีแนวท่อแก๊ซผ่าน คณะที่ปรึกษาและมติในที่ประชุมเห็นตรงกันว่าไม่ควรเป็นจุดแข็งของจังหวัด จึงควรตัดประเด็นดังกล่าวออกในการทบทวนแผนพัฒนาในอนาคต • ประเด็นจุดอ่อนในเรื่องภาคอุตสาหกรรมในท้องถิ่นขาดมาตรฐาน มีผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอให้นำออกไป ที่ปรึกษาเสนอให้นำข้อมูลโรงงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเทียบกับโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดมาพิจารณาก่อน • ประเด็นการมีเส้นทางที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนั้นขัดแย้งกับ SWOT ของกลุ่ม จึงควรมีการทบทวนและหารือกับผู้แทนของกลุ่มจังหวัดต่อไป

  49. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านสังคมของจังหวัดราชบุรี ( จุดแข็ง (Strength) ชุมชนมีความตระหนักมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาสังคมด้วยวิธีของชุมชนเอง   ประชาชนเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่ดี ประชาชนสถานะที่เหมาะสม พอเพียงต่อมีงานทำและรายได้   วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่นที่ทุกชนเผ่าให้การยอมรับและส่งเสริมการสืบทอด จุดอ่อน (Weakness)  ปัญหาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินที่ยังไม่ลดลง  เด็กและเยาวชนมีค่านิยมการดำรงชีวิตชีวิตที่ไม่เหมาะสม  เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ ภาษาไทย ต่ำกว่าร้อยละ 50 บุคลากรทางการศึกษามีความเชี่ยวชาญวิชาหลัก ในระบบการศึกษาที่ไม่เพียงพอ  ชุมชนยังมีปัญหาด้านสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ดี  ? สังคมยังขาด คุณธรรม จริยธรรมและห่างเหินจากการใช้หลักธรรมมะในการดำเนินชีวิต

  50. การทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ด้านสังคมของจังหวัดราชบุรี จุดอ่อน (Weakness) ต่อ สังคมในปัจจุบันมีจิตสาธารณะไม่เพียงพอ ทำให้เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม  ? ขาดการนำทางสังคมที่สามารถประสานสร้างความสมานฉันท์  การละเลยต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ขาดวินัยทางสังคม โอกาส (Opportunity) • นโยบายรัฐบาล กำหนดให้ทุกฝ่ายเร่งสร้างความสมานฉันท์ โดยใช้ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี  ? • การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการปรับทิศทางของสังคมที่เหมาะสม อุปสรรค (Threat) ? • เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดกระแสการเลียนแบบ วัฒนธรรม และและค่านิยมที่ไม่เหมาะสม

More Related