1 / 49

การพัฒนาภาคเกษตรของไทย

การพัฒนาภาคเกษตรของไทย. ศ.ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์ ศูนย์ศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 1.การพัฒนาภาคเกษตรไทยตามแนวคิดของผู้บรรยาย 1.1 การผลิตสินค้าเกษตรในอดีตที่ผ่านมา 1.2 ความสำคัญของตลาดกับการพัฒนาภาคเกษตร 1.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบตลาดอาหาร

elam
Download Presentation

การพัฒนาภาคเกษตรของไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาภาคเกษตรของไทยการพัฒนาภาคเกษตรของไทย ศ.ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์ ศูนย์ศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. 1.การพัฒนาภาคเกษตรไทยตามแนวคิดของผู้บรรยาย1.การพัฒนาภาคเกษตรไทยตามแนวคิดของผู้บรรยาย 1.1 การผลิตสินค้าเกษตรในอดีตที่ผ่านมา 1.2 ความสำคัญของตลาดกับการพัฒนาภาคเกษตร 1.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบตลาดอาหาร 1.4 การแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ การกีดกันและข้อกำหนดต่างๆ 1.5 วิเคราะห์นโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาด ราคาข้าว และสินค้าเกษตรประเภทอาหารราคาแพง เช่น ไข่ไก่ 1.6 วิเคราะห์การนำพืชผลเกษตรไปผลิตพลังงานทดแทนและผลกระทบ เนื้อหาในเอกสารและการบรรยาย

  3. เนื้อหาในเอกสารและการบรรยายเนื้อหาในเอกสารและการบรรยาย 2. GMOs ความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรและผลกระทบ 3.การพัฒนาภาคเกษตรตามแนว ธนินทร์ เจียรวนนท์ (ซีพี) 4.นโยบายการพัฒนาภาคเกษตรของรัฐบาลปัจจุบัน 5.แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) 6.ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย

  4. 1. การผลิตสินค้าเกษตรในอดีตที่ผ่านมา 1.1 ภาคเกษตรไม่หยุดนิ่งและโครงสร้างการผลิตเปลี่ยนมาก - ผลิตสินค้าหลักเดิมเพิ่มขึ้น: ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ไก่ - ผลิตสินค้าใหม่ๆ หรือสำคัญเพิ่มขึ้น : ผักและ ผลไม้ ไม้ดอก และไม้ประดับ สัตว์เลี้ยง ปาล์ม ปลาน้ำจืด น้ำเค็มประเภทต่างๆ รวมปลาสวยงาม

  5. 1.2 สินค้าที่เคยเหลือส่งออกกลับผลิตไม่พอหรือเลิกผลิต - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เคยเหลือส่งออก ปัจจุบันต้องนำเข้าบางปี - ปอหมดไป - กุ้งกุลาดำต้องนำเข้า และเปลี่ยนไปเลี้ยงกุ้งขาว 1.3 ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น : กุ้ง ไก่ ปลาทูน่า และอาหารทะเล ผักและ ผลไม้

  6. 1.4 เปลี่ยนแหล่งผลิต - ยางพาราไปอีสานและภาคเหนือ - อ้อยจากภาคกลางด้านตะวันตกและตะวันออกไป เหนือตอนล่างและอีสาน - ผลไม้ไปภาคเหนือ 1.5 เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยนมาก - ปัจจัยการผลิต : พันธุ์ เครื่องจักร ปุ๋ย - วิธีการผลิต และดูแลรักษา - การจัดการฟาร์ม : เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรแบบผูกพันสัญญา

  7. 1.6 สภาพแวดล้อมทางกายภาพเปลี่ยนไปมาก - ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงมาก - ขนาดที่ดินทำกินเล็กลง - ฝนตกน้ำท่วม และความแห้งแล้งสลับกัน และรุนแรงขึ้น - สภาวะโลกร้อน และสภาพอากาศเปลี่ยน - ค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากเกิดขาดแคลน แรงงาน และลูกหลานไม่ทำการเกษตรต่อ - ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็มลดน้อยลง

  8. หลักการพัฒนาภาคเกษตรของไทยต้องใช้ตลาดนำหลักการพัฒนาภาคเกษตรของไทยต้องใช้ตลาดนำ 2. ต้องใช้ตลาดสินค้าเกษตรหรือความต้องการเป็นตัวนำ โดยมีความหลากหลายของตลาดหรือความต้องการ 2.1 ตลาดในประเทศ - เพื่อบริโภคในรูปสินค้าเกษตรขั้นต้น • คุณภาพดี ราคาแพง สำหรับผู้บริโภครายได้สูง ส่วนใหญ่อยู่ในเมือง • คุณภาพต่ำ ราคาถูก สำหรับผู้มีรายได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ในชนบท - เพื่อเป็นปัจจัยการผลิต • ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป คุณภาพดีและปริมาณสม่ำเสมอ • ใช้ผลิตสินค้าอื่น เช่น อาหารสัตว์

  9. 2.2 ตลาดต่างประเทศ - เพื่อบริโภคในรูปสินค้าเกษตรขั้นต้น • คุณภาพดี ราคาแพง ขายในประเทศที่พัฒนา ซึ่งประชากร มีรายได้มากต้องการบริโภคอาหารที่ได้มาตรฐานสากล • คุณภาพไม่ค่อยดี ราคาถูก ขายในประเทศที่กำลังพัฒนา ด้อยพัฒนา ซึ่งประชากรมีรายได้น้อย - เพื่อเป็นปัจจัยการผลิต • ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปคุณภาพดีได้มาตรฐานและปริมาณสม่ำเสมอ • ใช้ผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น อาหารสัตว์

  10. 3. ปัจจัยสำคัญที่กระทบตลาดอาหาร 3.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของคน การตั้งและขยายชุมชนและเมือง - คนสูงอายุมีมากขึ้น ซึ่งต้องการอาหารสำหรับคนสูงอายุ - การตั้งเมืองหรือชุมชนใหม่ หรือขยายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดตลาดใหม่ และโครงข่ายการกระจายอาหารเปลี่ยนไป 3.2 การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร และปรุงอาหาร - แปรรูปอาหารได้หลากหลายมากขึ้น เก็บได้นานขึ้น โดยคุณค่าไม่เปลี่ยน ทำให้ขอบเขตตลาดกว้างขึ้น

  11. - เทคโนโลยีในการแช่เย็น แช่แข็ง มีประสิทธิภาพในการเก็บ อาหารได้ดีขึ้น ทำให้ไม่ต้องซื้อบ่อยและซื้อครั้งละมากๆ ซึ่งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย • เทคโนโลยีที่เป็นของใช้ในครัว เช่น เครื่องบด เครื่องตี Food processors Microwaves ทำให้การปรุงอาหารมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประหยัดเวลา 3.3 สตรีทำงานนอกบ้านมากขึ้น - มีเวลาในการเตรียมอาหารน้อยลง - ต้องการซื้ออาหารประเภทที่นำไปปรุงต่อไม่มากก็เสร็จ (Ready to cook)หรือพร้อมบริโภค (Ready to eat)

  12. 3.4 ความปลอดภัยด้านสุขภาพ และความสนใจด้านโภชนาการ - อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย - ความปลอดภัยในการบริโภค เช่น ไม่มีสารพิษตกค้าง ความสะอาด ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย 3.5 รายได้เพิ่มขึ้น ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น - ต้องการบริโภคอาหารประเภทมีมูลค่าสูงขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ - ต้องการซื้ออาหารที่มีการเพิ่มบริการทางการตลาดเข้าไปมากขึ้น 3.6 นโยบายเกี่ยวกับเกษตรทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ - นโยบายของประเทศที่ซื้อ - นโยบายของประเทศที่ขายแข่ง - ข้อกำหนด หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

  13. 4. การแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ การกีดกันทางการค้า ค่าใช้จ่ายในการตลาดและผลกระทบ 4.1 มีการแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น เป็นผลจากข้อตกลง ทางการค้าและเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าขึ้น 4.2 มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้น 4.3 ค่าใช้จ่ายในการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด ระบบโลจิสติกส์ และผลกระทบต่อเกษตรกร การพัฒนาภาคเกษตรและผู้บริโภค

  14. 4.4 การบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures ; SPS) 4.5 การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กำหนดให้โรงงานใช้ระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) หรือระบบการจัดการผลิตอาหาร โดยควบคุมตรวจสอบในขั้นตอนการผลิตแปรรูป เก็บรักษา และขนส่ง มีขั้นตอนใดจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่

  15. 5. การผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้นและแปรรูป 5.1 สนองความหลากหลายของตลาด 5.2 ต้องสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ดิน ฟ้าอากาศ และเศรษฐศาสตร์ 5.3 สอดคล้องกับลักษณะ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ของแต่ละครัวเรือนซึ่งอาจไม่เหมือนกัน 5.4 ต้องเพิ่มหรือเน้นที่ประสิทธิภาพการผลิต และ ลดต้นทุนการผลิต

  16. 6. แนวโน้มในอนาคตและแนวทางการพัฒนาการเกษตร 6.1 ต้องยอมรับว่าเกษตรกรมีความสามารถ มีเหตุผล และภาค เกษตรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดไม่ได้หยุดนิ่ง 6.2 ปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อสนองตอบต่อตลาดที่เปลี่ยนไป และมีความหลากหลาย - ผลิตสินค้าเกษตรที่คุณภาพไม่สูงนัก เพื่อการบริโภคใน ประเทศ และส่งออกไปประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา อาจเป็นฟาร์มขนาดเล็ก ใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่ทันสมัยมากนัก เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตร ผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์

  17. - ผลิตสินค้าเกษตรที่คุณภาพสูง ได้มาตรฐานสากลเพื่อบริโภค ของคนในเมืองที่รายได้สูง ส่งออกไปประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นวัตถุดิบแปรรูป อาจเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ในรูปบริษัทหรือ สหกรณ์ ใช้ระบบการบริหารจัดการและเทคโนโลยีการผลิตที่ ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการ แข่งขันในตลาดโลก อาจผลิตโดยใช้ระบบความผูกพันสัญญา 6.3 ผลิตสินค้าเกษตรฮาลาล 6.4 ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น เพราะไทยมีข้อได้เปรียบใน ขั้นตอนการแปรรูป โดยนำเข้าวัตถุดิบสินค้าเกษตรขั้นต้นบาง ชนิดมาแปรรูป

  18. 6.5 พัฒนาการตลาด ระบบการขนส่ง และกักเก็บ ระบบโลจิสติกส์เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตลาด 6.6 การวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านเครื่องจักรกล- การเกษตร พันธุ์และการผลิตปุ๋ยชีวภาพ 6.7 พัฒนาการชลประทานและระบบการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ 6.8 เกษตร GMOs

  19. 7. นโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาดและราคา(ข้าว) P S D Ps a b P* E* Pm C Q 0 Q1 Q* Q2 7.1 การรับจำนำกับการประกันรายได้ • แนวคิดทางทฤษฎีกรณีรับจำนำ

  20. แนวคิดทางทฤษฎีกรณีรับจำนำแนวคิดทางทฤษฎีกรณีรับจำนำ • P*และ Q*เป็นราคาและปริมาณที่ซื้อขายในตลาด ที่รัฐบาลไม่ได้แทรกแซง • Psเป็นราคาประกัน (ราคาขั้นต่ำ) • Q2เป็นปริมาณผลผลิตทั้งหมด • Q1เป็นปริมาณที่ซื้อขายในตลาดในราคา Ps • Q1 Q2เป็นปริมาณที่รัฐบาลรับซื้อ (รับจำนำ) ในราคา Ps • Q1 a b Q2 เป็นปริมาณเงินที่รัฐบาลจ่ายทั้งหมด

  21. แนวคิดทางทฤษฎีกรณีประกันรายได้แนวคิดทางทฤษฎีกรณีประกันรายได้ • Psเป็นราคาประกัน (ราคาเป้าหมาย) • Pmเป็นราคาที่เกษตรกรขายได้ในตลาด (ราคาอ้างอิง) • Q2เป็นปริมาณที่เกษตรกรขายทั้งหมด • Pm Ps b c เป็นเงินที่รัฐบาลจ่ายทั้งหมด

  22. การรับจำนำ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ชาวนา) ให้ขายข้าวได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เพราะราคาตลาดต่ำเกินไป ทำให้ชาวนาขาดทุน 2. ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวผลผลิตจะออกมามาก ราคาจะต่ำ และราคาจะค่อยๆสูงขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว โครงการรับจำนำจะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องรีบขายข้าว สามารถเก็บไว้รอขายเมื่อราคาสูงขึ้นได้

  23. วิธีการและหลักการ 1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่ไม่มียุ้งฉาง เก็บกักข้าวของตนเอง สามารถนำข้าวมาจำนำที่โรงสีที่เข้าร่วมโครงการในราคารับจำนำ ในปริมาณเท่าไหร่ก็ได้ ที่สามารถผลิตได้ และไปรับเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) 2. เกษตรกรที่มียุ้งฉางสามารถนำข้าวไปจำนำที่ ธกส. รับเงินที่ ธกส. โดยเก็บข้าวไว้ที่ยุ้งฉางของตนเอง 3. ทั้ง 2 กรณีหากครบกำหนดเวลารับจำนำ ถ้าเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนคืน ก็จะเป็นการขายข้าวให้รัฐบาลตามราคารับจำนำ ฉะนั้นเท่ากับเป็นการประกันราคาขั้นต่ำในราคารับจำนำ ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด (ขณะที่นำข้าวมาจำนำ) และในอนาคตหากราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น เกษตรกรก็สามารถมาไถ่ถอนคืนขายในตลาดได้ โดยจะได้ราคาสูงกว่าราคารับจำนำ

  24. วิธีการและหลักการ 4. ปริมาณข้าวที่รับจำนำไว้เมื่อตกเป็นของรัฐบาล ก็จะนำออกมาประมูลขายให้แก่พ่อค้าส่งออก โดยควรยึดหลัก (ก) แบ่งปริมาณประมูล แต่ละกองไม่มากนัก เพื่อให้พ่อค้ารายย่อยสามารถเข้ามาร่วมแข่งขันประมูลได้ (ข) ควรมีการวิเคราะห์สภาวะตลาดและราคาข้าวในตลาดโลกเพื่อหาจังหวะขายในช่วงที่ตลาดราคาสูง (ค) ไม่ควรเก็บกักข้าวไว้นานจนข้ามปี เพราะข้าวจะเสื่อมคุณภาพ ค่าใช้จ่ายในการเก็บกักสูง และยังมีข้าวที่ผลิตได้ใหม่ออกมาสมทบด้วย จะทำให้ราคาตก

  25. ปัญหาที่ผ่านมา ข้าวเสื่อมคุณภาพเร็ว เพราะสถานที่เก็บไม่ได้มาตรฐาน และเก็บนานเกินไป มีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น จากบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องและในหลายขั้นตอน มีปัญหาทั้งขั้นตอนการรับจำนำ ขั้นตอนการกักเก็บ และขั้นตอนการขาย

  26. การประกันรายได้ 1. โครงการประกันรายได้จะมีการกำหนดค่า 3 อย่าง คือ (ก) ราคาเป้าหมายหรือราคาประกัน (ข) ปริมาณข้าวที่เกษตรกรผลิตได้ หรือปริมาณข้าวที่ประกัน (ค) ราคาอ้างอิงหรือราคาที่เกษตรกรขายได้ 2. ตามทฤษฎี จะมีการกำหนดราคาประกันสูงกว่าราคาตลาด และให้เกษตรกรขายข้าวตามราคาตลาด ซึ่งจะต่ำกว่าราคาประกัน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับเงินจากการขายข้าวตามราคาประกัน 3. แต่การกำหนดปริมาณที่เกษตรกรผลิตหรือปริมาณประกันตายตัว ทำให้มีปัญหาคือ ถ้าเกษตรกรผลิตได้มากกว่านั้น ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชย แต่ถ้าเกษตรกรผลิตได้น้อยกว่านั้นก็จะได้รับเงินชดเชยตามปริมาณที่กำหนดหรือประกัน จะทำให้ไม่เป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรพัฒนาเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตที่จะไม่เพิ่มขึ้นในระยะยาว หรืออาจลดลงได้

  27. การประกันรายได้ 4. การกำหนดราคาอ้างอิงมีปัญหามาก เพราะราคาที่เกษตรกรขายได้จริง ค่อนข้างแตกต่างตามคุณภาพข้าว แตกต่างระหว่างพื้นที่ใกล้ไกลตลาด และช่วงเวลาที่เกษตรกรแต่ละรายขาย ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้จริง มีความแตกต่างและหลากหลาย ฉะนั้นราคาอ้างอิงจึงไม่ได้สะท้อนหรือใช้แทนราคาที่เกษตรกรจะขายได้จริง เกษตรกรส่วนใหญ่ จะขายได้จริงต่ำกว่าราคาอ้างอิง ทำให้ขายข้าวได้ ถึงแม้จะได้รับเงินชดเชยแล้วก็ยังต่ำกว่าราคาประกัน เช่น สมมุติการประกันราคาข้าว (ราคาเป้าหมาย) ที่ตันละ 15,000 บาท ราคาอ้างอิงตันละ 13,000 บาท รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้ตันละ 2,000 บาท แต่ถ้าราคาที่เกษตรกรขายได้จริงเพียงตันละ 10,000 บวกเงินชดเชยอีก 2,000 บาทก็จะได้รับเงินจากการขายข้าวได้เพียงตันละ 12,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาประกัน ปัญหานี้เคยมีเกษตรกรเดินขบวนร้องเรียนมาแล้ว และรัฐบาลก็ได้นำมาตรการรับจำนำข้าวมาช่วยแก้ไขปัญหา รวมทั้งให้ อ.ค.ส. และ อ.ต.ก. เข้าไปแทรกแซงรับซื้อ เพื่อให้ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้จริงเพิ่มสูงขึ้น

  28. 7.2 แนวนโยบายและมาตรการกรณีปัญหาสินค้าเกษตร ประเภทอาหารราคาแพง เช่น ไข่ไก่ • สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาสูงขึ้นในระยะสั้น • ความขัดแย้งกันด้านผลกระทบต่อเกษตรกรกับผู้บริโภค • การบริโภคสินค้าอาหารทดแทนกับการบริโภคร่วมกัน • การแก้ปัญหาโดยชั่งกิโลขายกับขายเป็นฟองเพื่อลดราคา • ข้อเสนอแนะนโยบายและมาตรการที่ควรจะเป็น

  29. 7.3 ผลกระทบของการนำพืชผลเกษตรไปผลิตพลังงานต่ออาหาร พืชพลังงาน ใช้อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดและข้าวฟ่างหวาน ผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำ เพื่อผสมเป็น เอธานอล และใช้ปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำผลิตเป็น ไบโอดีเซล ไม่กระทบการผลิตข้าว เพราะใช้พื้นที่แตกต่างกัน มีปัญหาพลังงานที่ใช้ในการกลั่นแอลกอฮอล์ ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าพืชพลังงานที่ใช้เป็นวัตถุดิบ และพลังงานที่ใช้ในการกลั่น ค่าพลังงานต่อลิตรจะต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน ทดแทนน้ำมันเบนซินได้ไม่เกิน 20% ถ้าเกินต้องปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์

  30. 7.3 ผลกระทบของการนำพืชผลเกษตรไปผลิตพลังงานต่ออาหาร กระทบพืชอาหาร เพราะแย่งพื้นที่กัน ยกเว้นจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ นำมาผลิตพลังงาน จะกระทบการนำไปใช้อย่างอื่น เช่น นำอ้อยมาผลิตแอลกอฮอล์ จะกระทบการผลิตน้ำตาล กระทบการบริโภคและส่งออกน้ำตาล นำมันสำปะหลังมาผลิตแอลกอฮอล์ จะกระทบ นำมันสำปะหลังไปใช้อย่างอื่น เช่น แป้งมัน อาหารสัตว์ ฯลฯ สรุปการนำผลผลิตเกษตรมาผลิตพลังงาน ไม่ง่าย และไม่ดีอย่างที่คิด ปัจจุบันยังต้องอุดหนุน ยังไม่คุ้ม

  31. GMOs ความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรและผลกระทบ

  32. GMOs ความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรและผลกระทบ 1. ความหมาย : องค์การอนามัยโลกให้ความหมาย GMOs (Genetically Modified Organisms) คือสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม (DNA) ไปในลักษณะที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2. มีการทำมานานแล้วและแพร่หลายในหลายประเทศ 3. วัตถุประสงค์เพื่อต้านทานโรคและแมลง เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณค่าผลผลิต และลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

  33. 4. มีการทำสัตว์บก สัตว์น้ำ และพืช 5. หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยอยู่ในขั้นทำการทดลอง 6. ที่ทำเพื่อการค้าได้แก่ เรพ (เมล็ดพืชน้ำมัน) ถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะละกอ มะเขือเทศ

  34. 7. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืช GMOs ได้แก่ เต้าหู้ เต้าเจี้ยว แป้งข้าวโพด นมเนย และผลิตภัณฑ์นมจากแม่โคที่ฉีดฮอร์โมน 8. ผลที่เป็นอันตรายต่อร่างกายยังไม่ชัดเจน มีแต่กลัวว่าจะเกิดผลต่อร่างกายในระยะยาวอีกหลายปีข้างหน้า 9. ประเทศต่างๆไม่ได้ห้ามบริโภค แต่ให้ปิดฉลากบอกให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคทราบและเลือกตัดสินใจเอง

  35. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรกรรม และสัดส่วนภาคเกษตรกรรมต่อทั้งหมด ณ ราคาคงที่ ปี 2531 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

  36. มูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเกษตรปี 2550-2554

  37. สัดส่วนสินค้าเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเกษตรส่งออกต่อมูลค่าส่งออกทั้งหมด ปี 2550-2554 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

  38. พื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตรมากที่สุด 8 อันดับแรกปี 2553 *ที่มา : โดยการพยากรณ์ข้อมูล จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หมายเหตุ : พื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรทั้งหมด 131.6 ล้านไร่ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2552)

  39. จำนวนประชากร กำลังแรงงาน และผู้มีงานทำในภาคเกษตร ปี 2554 ที่มา : กรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย , เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ , ตารางที่ 17 : ประชากรและค่าจ้าง

  40. การพัฒนาภาคเกษตรตามแนวธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี)

  41. การพัฒนาภาคเกษตรตามแนว ธนินท์ เจียรวนนท์(ซีพี) 1. สินค้าเกษตรมีราคาสูงและเงินเดือนทั้งภาคเอกชนและราชการต้องสูงด้วย 2. สินค้าเกษตรเหมือนบ่อน้ำมันบนดิน ต้องทำให้ราคาแพงด้วย 3. ราคาสินค้าเกษตรแพง เกษตรกรจะกระตือรือร้นเพิ่มผลผลิต ธนาคารก็กล้าปล่อยเงินกู้ และนักธุรกิจก็กล้าสนับสนุน 4. ประเทศไทยมีที่ดิน 130 ล้านไร่ ทำนา 62 ล้านไร่ และพื้นที่เขตชลประทานไม่เกิน 25 ล้านไร่

  42. 5. เสนอปรับใหม่ดังนี้ 5.1 พื้นที่เขตชลประทาน 25 ล้านไร่ปลูกข้าว โดยพัฒนาพันธุ์ ระบบชลประทานและเทคโนโลยี จะได้ผลผลิตมากกว่าใช้ที่ดิน 62 ล้านไร่ 5.2 พื้นที่ปลูกยางพารา ปัจจุบัน 13.4 ล้านไร่ เพิ่มเป็น 30 ล้านไร่ 5.3 พื้นที่ปลูกปาล์ม ปัจจุบัน 3.1 ล้านไร่ เพิ่มเป็น 12 ล้านไร่

  43. 5.4 เพิ่มราคาโดยจับมือกับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ 5.5 ลดปริมาณส่งออกเพื่อให้ราคาสูงขึ้น โดยร่วมมือกับ ประเทศอื่น 5.6 ปล่อยให้ราคาสินค้าที่เกษตรกรขายได้เป็นไปตามกลไกตลาด ปีที่ราคาต่ำขาดทุนจะชดเชยกับปีที่ราคาสูงได้กำไร ทำให้พออยู่ได้ 5.7 ทำการเกษตรแบบผูกพันสัญญากับบริษัทเพื่อให้บริษัทรับ ความเสี่ยงไป เกษตรกรไม่ต้องเสี่ยง

More Related