1 / 30

การลงทุนทางอ้อมและการถือหุ้น ระหว่างกันของบริษัทในเครือ

การลงทุนทางอ้อมและการถือหุ้น ระหว่างกันของบริษัทในเครือ. วัตถุประสงค์ของการศึกษา - เพื่อทำให้ทราบลักษณะการลงทุนทางอ้อม ของบริษัทใหญ่ - เพื่อทำให้ทราบแนวปฏิบัติในการปรับปรุง รายการเพื่อจัดทำงบการเงินรวม กรณีการ ลงทุนทางอ้อมอย่างเป็นลำดับ

efrem
Download Presentation

การลงทุนทางอ้อมและการถือหุ้น ระหว่างกันของบริษัทในเครือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลงทุนทางอ้อมและการถือหุ้นการลงทุนทางอ้อมและการถือหุ้น ระหว่างกันของบริษัทในเครือ

  2. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา - เพื่อทำให้ทราบลักษณะการลงทุนทางอ้อม ของบริษัทใหญ่ - เพื่อทำให้ทราบแนวปฏิบัติในการปรับปรุง รายการเพื่อจัดทำงบการเงินรวม กรณีการ ลงทุนทางอ้อมอย่างเป็นลำดับ - เพื่อทำให้ทราบแนวปฏิบัติในการปรับปรุง รายการเพื่อจัดทำงบการเงินรวม กรณีการ ลงทุนเกี่ยวโยงกันตั้งแต่ 3 ฝ่าย - เพื่อทำให้ทราบแนวปฏิบัติเมื่อบริษัทย่อยถือ หุ้นบริษัทใหญ่

  3. การลงทุนทางอ้อมของบริษัทใหญ่ การที่บริษัทย่อยถือหุ้นบริษัทใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงรายการในส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย ทั้งหมดมีผลทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้นในการจัดทำงบการเงิน รายละเอียดของแต่ละหัวข้อจะกล่าวถึงโดยละเอียดในบทนี้ การลงทุนทางอ้อมของบริษัทใหญ่ การลงทุนทางอ้อมของบริษัทใหญ่ที่จะกล่าวถึงในบทนี้มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรกบริษัทใหญ่ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โดยก่อนหน้า หรือต่อมา บริษัทย่อยแห่งนั้นลงทุนในหุ้นสามัญในบริษัทย่อยของตนเอง ในที่นี้จะเรียกว่าการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นว่า เป็นการลงทุนอย่างเป็นลำดับ ลักษณะเช่นนี้ ส่วนได้เสียที่บริษัทใหญ่มีในบริษัทย่อยของบริษัทย่อยเข้าลักษณะการลงทุนทางอ้อมของบริษัทใหญ่ และถ้า ส่วนได้เสียจำนวนดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 50 หรือ จนได้อำนาจควบคุม บริษัทย่อยของบริษัทย่อยจะถูกจัดเป็นบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งของบริษัทใหญ่ด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่มีส่วนได้เสียในบริษัท ก ร้อยละ 80 ต่อมาบริษัท ก ลงทุนในหุ้นสามัญบริษัท ข มีส่วนได้เสียร้อยละ 75 เมื่อคำนวณส่วนได้เสียสุทธิที่บริษัทใหญ่มีในบริษัท ข แล้วจะได้เท่ากับ .80 x .75 หรือร้อยละ 60 ดังนั้น ทั้งบริษัท ก และบริษัท ข จะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่

  4. อีกลักษณะหนึ่งของการลงทุนทางอ้อมของบริษัทใหญ่จนมีอำนาจควบคุมบริษัทย่อยแห่งหนึ่งผ่านทางการลงทุนระหว่างบริษัทย่อย ในที่นี้จะเรียกว่าการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นเป็นการลงทุนที่เกี่ยวโยงกันตั้งแต่ 3 ฝ่าย ลักษณะดังกล่าวจะเกิดเมื่อบริษัทใหญ่ลงทุนในหุ้นสามัญของ 2 บริษัท สมมติว่าเป็นบริษัท ก และบริษัท ข ไม่ว่าในระดับที่อาจได้หรือไม่ได้อำนาจควบคุมก็ตาม และบริษัทหนึ่งสมมติให้เป็นบริษัท ก มีการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท ข เมื่อส่วนได้เสียสุทธิที่บริษัทใหญ่มีในบริษัท ข คำนวณได้มากกว่าร้อยละ 50 บริษัท ข จะกลายเป็นบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่ที่เกิดจากการลงทุนทางอ้อม ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่มีส่วนได้เสียในบริษัท ก และบริษัท ข ร้อยละ 80 และ 40 ตามลำดับ บริษัท ก มีส่วนได้เสียในบริษัท ข ร้อยละ 25 ส่วนได้เสียที่บริษัทใหญ่มีในบริษัท ข สุทธิจะเท่ากับ (.80 x .25) + .40 หรือร้อยละ 60 ดังนั้น บริษัท ข เข้าเกณฑ์เป็นบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่อีกแห่งหนึ่ง แนวปฏิบัติในการจัดทำงบการเงินรวมของการลงทุนทางอ้อมจนบริษัทใหญ่มีบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นในแต่ละลักษณะ มีดังนี้

  5. การจัดทำงบการเงินรวมสำหรับการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับการจัดทำงบการเงินรวมสำหรับการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ การลงทุนทางอ้อมจนบริษัทใหญ่ได้อำนาจควบคุมบริษัทย่อยของบริษัทย่อยในที่นี้ สมมติให้ การลงทุนในบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่เป็นลำดับการลงทุนที่ 1 และการลงทุนของบริษัทย่อยที่ 1 ในบริษัทย่อยที่ 2 เป็นลำดับการลงทุนที่ 2 ไม่ว่าลำดับการลงทุนที่ 1 หรือที่ 2 จะเกิดขึ้นก่อน ขั้นตอนการปรับปรุงและตัดรายการเพื่อทำงบการเงินรวมจะเหมือนกัน จุดแตกต่างกันจะมีตรงการกระจายส่วนเกิน ถ้าลำดับการลงทุนที่ 1 เกิดขึ้นก่อนลำดับที่การลงทุนที่ 2 การกระจายส่วนเกินจะทำในลักษณะแยกกันอย่างอิสระเหมือนกับกรณีของการซื้อเงินลงทุนเข้ามาหลายครั้ง ที่กล่าวไว้ในบทที่ 6 ในกรณีลำดับการลงทุนที่ 2 เกิดขึ้นก่อน เมื่อบริษัทใหญ่ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทย่อยที่ 1 ส่วนเกินที่เกิดขึ้นอาจเป็นส่วนเกินที่เกิดจากการประมูลค่าสินทรัพย์บริษัทย่อยที่ 1 เพิ่ม และ / หรือส่วนเกินที่เกิดจากการประมูลค่าสินทรัพย์บริษัทย่อยของบริษัทย่อยที่ 1 เพิ่ม ตัวอย่างมีดังนี้

  6. กรณีที่ 1 ลำดับการลงทุนที่ 1 เกิดขึ้นก่อนลำดับการลงทุนที่ 2 การกระจายส่วนเกินของการลงทุนลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 มีตามตัวอย่างต่อไปนี้ สมมติ วันที่ 1 มกราคม 25x1 บริษัท ใหญ่ จำกัด ซื้อส่วนได้เสีย 80% ใน บริษัท ก จำกัด (ลำดับการลงทุนที่ 1) รายการอาคารมีมูลค่ายุติธรรมสูงกว่าราคาตามบัญชี 200,000 บาท ประมาณว่าจะมีอายุการใช้งานอีก 10 ปี ตารางการกำหนดและการกระจายส่วนเกินมีรายละเอียด ดังนี้ จำนวนที่จ่ายซื้อ 1,200,000 หัก ส่วนได้เสียในบริษัท ก จำกัด หุ้นสามัญ 1,000,000 กำไรสะสม 1 ม.ค. 25x1 300,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,300,000 ส่วนได้เสีย 80%1,040,000 ส่วนเกินกว่าราคาตามบัญชี 160,000 เดบิต หัก กระจายไปให้ อาคาร 200,000 เดบิต ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุม (40,000) เครดิต

  7. ในวันที่ 1 มกราคม 25x2 บริษัท ก จำกัด ซื้อส่วนได้เสีย 75% ในบริษัท ข จำกัด (ลำดับการลงทุนที่ 2) อุปกรณ์ของบริษัท ข จำกัด ถูกประเมินมูลค่าเพิ่ม 40,000 บาท โดยมีอายุการใช้งานคงเหลือประมาณ 4 ปี ตารางการกระจายส่วนเกิน มีดังนี้ จำนวนที่จ่ายซื้อ 210,000 หัก ส่วนได้เสียในบริษัท ข จำกัด หุ้นสามัญ 200,000 กำไรสะสม 1 ม.ค. 25x2 40,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น 240,000 ส่วนได้เสีย 75%180,000 ส่วนเกินกว่าราคาตามบัญชี 30,000 เดบิต หัก กระจายไปให้ อาคาร 40,000 เดบิต ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุม (10,000) เครดิต

  8. กรณีที่ 2 ลำดับการลงทุนที่ 2 เกิดขึ้นก่อนลำดับการลงทุนที่ 1 เมื่อบริษัทใหญ่ ซื้อส่วนได้เสียในบริษัทที่มีบริษัทย่อยอยู่ ส่วนได้เสียที่ บริษัทใหญ่ซื้อจะเป็นรายการทุนหุ้นสามัญและกำไรสะสมจากงบการเงินรวมของบริษัทดังกล่าว ส่วนเกินที่เกิดจากการจ่ายซื้อสูงกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิ อาจเป็นส่วนที่เกิดจากการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทั้ง 2 กิจการเพิ่ม ส่วนที่เหลือถือเป็นค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมกิจการ สมมติ วันที่ 1 มกราคม 25x3 บริษัท ใหญ่ จำกัด ซื้อส่วนได้เสีย 80% ใน บริษัท ก จำกัด (ลำดับที่การลงทุนที่ 1) ประเมินมูลค่าอาคารของบริษัท ก จำกัด เพิ่ม 100,000 บาท และอุปกรณ์ของบริษัท ข จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ก จำกัด ถูกประเมินมูลค่าเพิ่ม 40,000 บาท ตารางการกระจายส่วนเกิน มีดังนี้

  9. จำนวนที่จ่ายซื้อ 1,434,000 จำนวนที่จ่ายซื้อ 1,434,000 หัก ส่วนได้เสียในบริษัท ก จำกัด หุ้นสามัญของบริษัท ก จำกัด 1,000,000 กำไรสะสม 1 ม.ค. 25x3 (จากงบการเงินรวม) 600,000 ส่วนของบริษัทใหญ่ 1,600,000 ส่วนได้เสีย 80%1,280,000 ส่วนเกินกว่าราคาตามบัญชี 154,000 เดบิต หัก กระจายไปให้ อาคารของบริษัท ก จำกัด 100,000 เดบิต อุปกรณ์ของบริษัท ข จำกัด 40,000 เดบิต ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุม – บริษัท ก จำกัด (26,000)ก เครดิต ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุม – บริษัท ข จำกัด (10,000)ข เครดิต ค่าความนิยม 50,000 เดบิต ก(100,000 x .20) + (40,000 x .75 x .20) ข(40,000 x .25)

  10. ตารางการกระจายส่วนที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัท ก จำกัด ซื้อส่วนได้เสียใน บริษัท ข จำกัด (ลำดับการลงทุนที่ 2) ในวันที่ 1 มกราคม 25x1 จำนวนส่วนได้เสีย 75% อุปกรณ์มีมูลค่ายุติธรรมสูงกว่าราคาตามบัญชีจำนวน 60,000 บาท ซึ่งมีรายละเอียดปรากฏดังนี้ จำนวนที่จ่ายซื้อ 225,000 หัก ส่วนได้เสียในบริษัท ข จำกัด หุ้นสามัญ 200,000 กำไรสะสม 1 ม.ค. 25x1 40,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น 240,000 ส่วนได้เสีย 75%180,000 ส่วนเกินกว่าราคาตามบัญชี 45,000 เดบิต หัก กระจายไปให้ อุปกรณ์ 60,000 เดบิต ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุม (15,000) เครดิต

  11. ในขั้นตอนการบันทึกรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย ด้านบริษัทใหญ่มีจุดที่ต้องให้ความระมัดระวังในการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย ตัวเลขส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่รับรู้จะคำนวณมาจากกำไรสุทธิของบริษัทย่อย บวกด้วยส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยที่รับรู้มาจากกำไรสุทธิของบริษัทของตนเองคูณด้วยอัตราส่วนได้เสียที่บริษัทใหญ่มีในบริษัทย่อย ตัวอย่างเช่น บริษัท ใหญ่ จำกัด มีส่วนได้เสียในบริษัท ก จำกัด 80% และบริษัท ก จำกัด มีส่วนได้เสียในบริษัท ข จำกัด 75% กำไรสุทธิประจำปีของบริษัท ก จำกัด และบริษัท ข จำกัด มีจำนวน 100,000 บาท และ 80,000 บาท ตามลำดับ จำนวนส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยที่บริษัท ก จำกัด รับรู้จากรายงานกำไรสุทธิประจำปีของบริษัท ข จำกัด จะเท่ากับ 60,000 บาท (80,000 x .75) สำหรับบริษัท ใหญ่ จำกัด จำนวนส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยที่จะรับรู้เท่ากับ 128,000 บาท [(100,000 + 60,000) x .80] อย่างไรก็ตามขั้นตอนดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่จะพบเมื่อจัดทำงบการเงินรวม แต่ละกิจการต้องรับรู้รายการกำไรสุทธิตามส่วนได้เสียที่มีในกำไรสุทธิที่รายงานซึ่งเป็นจำนวนที่รวมส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยไว้แล้ว ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยจะถูกตัดออกไปทั้งจำนวน คู่รายการที่ต้องปรับปรุงตัดออกไปคือ บัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย

  12. ข้อแนะนำสำหรับลำดับขั้นตอนในการตัดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินรวม ควรเริ่มตัดบัญชีเงินลงทุนในคู่รายการของลำดับการลงทุนที่ 1 ก่อน หลังจากนั้นจึงทำการตัดบัญชีเงินลงทุนระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อยในลำดับการลงทุนที่ 2 การทำตามขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้ส่วนเกินที่ถูกตัดจำหน่าย ถูกจัดสรรไปให้ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุมตามส่วนได้เสีย ตัวอย่างการตัดรายการปรากฏในกระดาษทำการ 7 – 1 โดยมีข้อมูลต่างๆดังนี้ - วันที่ 1 มกราคม 25x1 บริษัท ใหญ่ จำกัด ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท ก จำกัด 15,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 75 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและเรียกชำระมูลค่าแล้ว หุ้นรายการดังกล่าวมีราคาตามมูลค่าหุ้นละ 10 บาท ณ วันที่ทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ก จำกัด กำไรสะสมของบริษัท ก จำกัด มีจำนวน 100,000 บาท ราคาที่บริษัท ใหญ่ จำกัด จ่ายซื้อเท่ากับ 400,000 บาท รายการอาคารมีมูลค่ายุติธรรมสูงกว่าราคาตามบัญชี 233,333 บาท มีอายุการใช้งานโดยประมาณ 10 ปี - วันที่ 1 มกราคม 25x2 บริษัท ก จำกัด ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ข จำกัด 8,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและเรียกชำระมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญมีราคาตามมูลค่าหุ้นละ 10 บาท ณ วันที่ทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ข จำกัด กำไรสะสมของบริษัท ข จำกัด เท่ากับ 120,000 บาท ราคาที่บริษัท ก จำกัด จ่ายซื้อเท่ากับ 270,000 บาท ส่วนเกินจากราคาจ่ายซื้อสูงกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิเป็นค่าความนิยมทั้งจำนวน 94,000 บาท

  13. - ระหว่างบริษัท ใหญ่ จำกัด บริษัท ก จำกัด และบริษัท ข จำกัด มีรายการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน ดังนี้ บริษัท ก จำกัดขาย บริษัท ข จำกัด ขายสินค้า สินค้าให้บริษัท ใหญ่ จำกัด ให้บริษัท ก จำกัด อัตรากำไรขั้นต้น (จากราคาขาย) 30% 25% สินค้าคงเหลือ 1 ม.ค. 25x3 10,000 8,000 ซื้อขายระหว่างปี 50,000 30,000 สินค้าคงเหลือ 31 ธ.ค. 25x3 7,000 5,000 บริษัท ใหญ่ จำกัด และบริษัท ก จำกัด ใช้วิธีส่วนได้เสียอย่างง่ายในการบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อย

  14. ในกรณีที่บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย ใช้วิธีราคาทุนในการบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อย ลำดับขั้นตอนของการปรับให้บัญชีเงินลงทุน ณ วันต้นปีไปเป็นตัวเลขตามวิธีส่วนได้เสียอย่างง่ายควรเริ่มปรับปรุงที่ลำดับการลงทุนที่ 2 ก่อน (บริษัทย่อยที่ 1 ลงทุนในบริษัทย่อยที่ 2) จากนั้นจึงทำการปรับปรุงบัญชีเงินลงทุนของลำดับการลงทุนที่ 1 (บริษัทใหญ่ลงทุนในบริษัทย่อยที่ 1) การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้การปรับปรุงตัวเลขบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่มีความถูกต้อง กล่าวคือตัวเลขกำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัทย่อยที่ 1 ครบถ้วนพร้อมสำหรับการปรับปรุงบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่ให้เป็นยอดตามวิธีส่วนได้เสียอย่างง่าย จากตัวอย่างที่ผ่านมา สมมติว่าบริษัท ใหญ่ จำกัด และบริษัท ก จำกัด ใช้วิธีราคาทุนในการบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อย ปี 25x1 และ ปี 25x2 บริษัท ก จำกัด รายงานกำไรสุทธิ 150,000 บาท และ 174,000 บาท ตามลำดับ ปี 25x2 บริษัท ข จำกัด รายงานกำไรสุทธิ 60,000 บาท ลำดับขั้นตอนในการปรับปรุงให้บัญชีเงินลงทุนที่บันทึกด้วยวิธีราคาทุนให้เป็นยอดตามวิธีส่วนได้เสียอย่างง่าย มีดังนี้

  15. (ป1) เดบิต เงินลงทุนในบริษัท ข จำกัด 48,000 เครดิต กำไรสะสม – บริษัท ก จำกัด 48,000 ปรับปรุงบัญชีเงินลงทุนในบริษัท ข จำกัด เท่ากับ 80% ของ 60,000 บาท (กำไรสะสมที่เปลี่ยนแปลงจาก 1 ม.ค. 25x2 – 1 ม.ค. 25x3) (ป2) เดบิต เงินลงทุนในบริษัท ก จำกัด 243,000 เครดิต กำไรสะสม – บริษัท ใหญ่ จำกัด 243,000 ปรับปรุงบัญชีเงินลงทุนในบริษัท ก จำกัด เท่ากับ 75% ของ 324,000 บาท (กำไรสะสมที่เปลี่ยนแปลงจาก 1 ม.ค. 25x1 – 1 ม.ค. 25x3)

  16. การจัดทำงบการเงินรวมสำหรับการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นในลักษณะการลงทุนที่เกี่ยวโยงกันการจัดทำงบการเงินรวมสำหรับการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นในลักษณะการลงทุนที่เกี่ยวโยงกัน ในกรณีการลงทุนทางอ้อมที่เกิดขึ้นในลักษณะการลงทุนที่เกี่ยวโยงกันตั้งแต่ 3 ฝ่าย บริษัท ใหญ่ ถือหุ้นใน 2 บริษัทที่มีการลงทุนระหว่างกัน เมื่อคำนวณส่วนได้เสียที่เกิดจากลักษณะการลงทุนทางอ้อมทำให้ได้อำนาจควบคุม กล่าวคือมีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมมากกว่าร้อยละ 50 มีจุดที่ต้องระวังในเรื่องการปรับปรุงรายการในขั้นตอนการทำงบการเงินรวมให้ตัวเลขถูกต้องครบถ้วน อธิบายโดยตัวอย่างต่อไปนี้ บริษัท ใหญ่ จำกัด ร้อยละ 30 ร้อยละ 80 ร้อยละ 40 บริษัทย่อย 2 จำกัด บริษัทย่อย 1 จำกัด

  17. จากข้อมูลข้างต้น บริษัท ใหญ่ จำกัด มีส่วนได้เสียทางตรงในบริษัทย่อย 2 จำกัด เพียงร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามบริษัท ใหญ่ จำกัด มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย 2 จำกัด ซึ่งเป็นผลมาจากมีส่วนได้เสียคำนวณผ่านการลงทุนทางบริษัทย่อย 1 จำกัด อีก ร้อยละ 32 (.80 x .40) รวมส่วนได้เสียทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 62 ดังนั้น บริษัทย่อย 2 จำกัด เป็นอีก 1 บริษัทย่อยของบริษัท ใหญ่ จำกัด ที่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการจัดทำงบการเงินรวม แนวปฏิบัติที่ต้องการความละเอียดรอบคอบสำหรับกรณีตัวอย่างดังกล่าว มีดังนี้ 1. ถ้ามีส่วนเกินกว่าราคาตามบัญชีที่เกิดจากการลงทุนของบริษัทย่อย 1 จำกัดในบริษัทย่อย 2 จำกัด เมื่อปรับปรุงส่วนที่ตัดจำหน่ายออกไปแล้วของปีก่อนกับ กำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัทย่อย 1 จำกัด ต้องปรับปรุงกำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัท ใหญ่ จำกัด ด้วยสัดส่วนที่ปรับปรุงไปให้กำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัทย่อย 1 จำกัด กับกำไรสะสม ณ วันต้นปี บริษัท ใหญ่ จำกัด เท่ากับ 20 : 80

  18. 2. รายการที่มีผลทำให้ต้องปรับปรุงกำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัทย่อย 2 จำกัด เช่น รายการกำไรในสินค้าคงเหลือต้นปีที่บริษัทย่อย 2 จำกัด ทำการขายให้บริษัทย่อย 1 จำกัดไป เมื่อต้องตัดเอาจำนวนดังกล่าวออกไป กำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัทย่อย 1 จำกัด ต้องถูกปรับปรุงออกไป .20 x .40 หรือ ร้อยละ 8 ให้ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย 1 จำกัด และกำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัท ใหญ่ จำกัด ต้องถูกปรับปรุงออกไป .30 + (.80 x .40) หรือ ร้อยละ 62 ของจำนวนที่ต้องทำการปรับปรุง 3. ในการคำนวณจำนวนกำไรสุทธิของแต่ละกิจการที่ต้องกระจายไปให้ส่วนของบริษัท ใหญ่และส่วนน้อย การคำนวณควรเริ่มที่บริษัทย่อย 2 จำกัดก่อน กำไรสุทธิหลังปรับปรุงของบริษัทย่อย 2 จำกัด ต้องกระจายไปให้บริษัท ใหญ่ จำกัด ร้อยละ 30 บริษัทย่อย 1 จำกัด ร้อยละ 40 และส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุมร้อยละ 30 การคำนวณลำดับถัดมาจะเป็นการกระจายกำไรสุทธิหลังปรับปรุงของบริษัทย่อย 1 จำกัด ร้อยละ 80 กระจายไปให้บริษัท ใหญ่ จำกัด และร้อยละ 20 กระจายไปให้ส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุม 4. ถ้าวิธีราคาทุนใช้ในการบันทึกรายการเงินลงทุน รายการปรับปรุงเพื่อทำให้บัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยมีตัวเลขตามวิธีส่วนได้เสียอย่างง่าย ให้เริ่มจากคู่ของบริษัทย่อยกับบริษัทย่อยก่อน การปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ตัวเลขกำไรสะสมของบริษัทย่อยถูกต้องครบถ้วนสำหรับขั้นตอนการปรับบัญชีเงินลงทุนคู่ระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อย

  19. บริษัทย่อยถือหุ้นบริษัทใหญ่บริษัทย่อยถือหุ้นบริษัทใหญ่ เมื่อบริษัทย่อยลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทใหญ่ รายการเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทใหญ่ต้องถูกปรับปรุงตัดออกไป แนวปฏิบัติที่เป็นทางเลือกมี 2 วิธี คือ วิธีหุ้นซื้อคืน (Treasury Stock Method) และวิธีให้กลับคืน (Reciprocal Method) วิธีแรกเป็นวิธีที่กิจการโดยทั่วไปนิยมเลือกปฏิบัติ สำหรับวิธีหลังมีความซับซ้อนมากกว่าและมีแนวปฏิบัติที่ขัดต่อแนวคิดโดยทั่วไปในจุดที่ถือว่าหุ้นสามัญของบริษัทใหญ่ ที่บริษัทย่อยถือไว้เป็นเงินลงทุน ยังคงเหมาะสมที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไร ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ถูกพิจารณาว่าเป็นวิธีที่ล้าสมัย ดังนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงแนวปฏิบัติของวิธีของหุ้นซื้อคืนเท่านั้น วิธีหุ้นซื้อคืน ตามแนวปฏิบัติของวิธีหุ้นซื้อคืน จำนวนหุ้นสามัญของบริษัทใหญ่ที่บริษัทย่อยถือไว้เป็นรายการเงินลงทุนจะถูกถือว่าเป็นรายการหุ้นซื้อคืนของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อยถือเป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วกลับเข้ามา จำนวนหุ้นซื้อคืนดังกล่าวจะถูกรับรู้รายการด้วยราคาทุนที่ได้มา ถ้ามีการจำหน่ายหุ้นจำนวนดังกล่าวออกไป กำไรจากการจำหน่ายถือเป็นส่วนเกินมูลค่าหุ้นในทางกลับกันขาดทุนให้ปรับออกจากส่วนเกินมูลค่าหุ้น และปรับออกจากกำไรสะสมในกรณีที่ส่วนเกินมูลค่าหุ้นไม่มี ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงขั้นตอนการปรับปรุงรายการเพื่อจัดทำงบการเงินรวม

  20. บริษัท ย่อย จำกัด ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ใหญ่ จำกัดไว้เป็นรายการเงินลงทุน จำนวน 10% ของหุ้นสามัญของบริษัท ใหญ่ จำกัดที่ออกจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก มูลค่าที่ซื้อเท่ากับ 100,000 บาท กระดาษทำการงบการเงินรวม (บางส่วน) สำหรับปีที่บริษัท ย่อย จำกัดถือหุ้นสามัญของบริษัท ใหญ่ จำกัดเป็นรายการเงินลงทุน จะปรากฏรายการปรับปรุงและการตัดบัญชี ดังนี้

  21. สมมติว่า ปีต่อมาบริษัท ย่อย จำกัดขายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท ใหญ่ จำกัดออกไปทั้งจำนวนในมูลค่า 110,000 บาท รายการปรับปรุงเพื่อจัดทำงบการเงินรวมสำหรับข้อมูลข้างต้น มีดังนี้ กระดาษทำการงบการเงินรวม (บางส่วน) สำหรับปีที่บริษัท ย่อย จำกัดขายรายการเงินลงทุนในหุ้นสามัญบริษัท ใหญ่ จำกัด รายการปรับปรุงและตัดบัญชีจะมีดังนี้

  22. กระดาษทำการ 7 – 1 การลงทุนทางอ้อม บริษัท ใหญ่ จำกัด และบริษัท ย่อย กระดาษทำการงบการเงินรวม สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 25x3

  23. ตัดรายการส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ จำกัด รับรู้ 75% ของกำไรสุทธิที่รายงานจากบริษัท ก จำกัด 100,000 บาท บวก ส่วนแบ่งกำไรที่บริษัท ก จำกัดรับรู้จากกำไรสุทธิที่รายงานจากบริษัท ข จำกัด 24,000 บาท ตัดรายการเงินลงทุนในบริษัท ก จำกัด กับ 75% ของบัญชีหุ้นสามัญและกำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัท ก จำกัด

  24. กระจายส่วนเกินไปให้อาคาร 175,000 บาท สำหรับการลงทุนในบริษัท ก จำกัด ที่ เกิดขึ้นเป็นลำดับที่ 1 • ปรับปรุงตัดจำหน่ายส่วนเกินที่กระจายไปให้อาคารจำนวน 3 ปี ปีละ 23,333 บาท ปรับปรุงกับกำไรสะสมของบริษัทใหญ่ จำกัด และบริษัทย่อย จำกัด จำนวน 2 ปี (25x1 และ 25x2) และ 1 ปี (ปีปัจจุบัน – 25x3) ตัดเป็นค่าใช้จ่าย • ตัดรายการส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย ที่บริษัท ก จำกัด รับรู้ 80% ของกำไรสุทธิที่รายงานจากบริษัท ข จำกัด 30,000 บาท • ตัดรายการเงินลงทุนในบริษัท ข จำกัด กับ 80% ของบัญชีหุ้นสามัญและกำไรสะสม ณ วันต้นปีของบริษัท ข จำกัด • กระจายส่วนเกินไปให้ค่าความนิยม 94,000 บาท สำหรับการลงทุนในบริษัท ข จำกัด ที่เกิดขึ้นเป็นลำดับที่ 2 • ตัดรายการซื้อ – ขายสินค้าเป็นระหว่างกัน • ปรับปรุงตัดรายการกำไรในสินค้าคงเหลือ 1 ม.ค. 25x3 ที่บริษัท ก จำกัด ขายให้บริษัท ใหญ่ จำกัด • ปรับปรุงตัดรายการกำไรในสินค้าคงเหลือ 31 ธ.ค. 25x3 ที่บริษัท ก จำกัด ขายให้บริษัท ใหญ่ จำกัด

  25. (11) ปรับปรุงตัดรายการกำไรในสินค้าคงเหลือ 1 ม.ค. 25x3 ที่บริษัท ข จำกัด ขายให้ บริษัท ก จำกัด (12) ปรับปรุงตัดรายการกำไรในสินค้าคงเหลือ 31 ธ.ค. 25x3 ที่บริษัท ข จำกัด ขายให้บริษัท ก จำกัด

  26. ผู้จัดทำ นางสาวอริสรา อัครเรืองรอง รหัส 53128301052

More Related