1 / 34

ข้อมูลและสารสนเทศ

อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์ ครูชำนาญการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. ข้อมูลและสารสนเทศ. ข้อมูล.

edolie
Download Presentation

ข้อมูลและสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์ ครูชำนาญการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ข้อมูลและสารสนเทศ

  2. ข้อมูล ข้อมูล คือข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ตัวอย่างข้อมูล เช่น • เลข 1.5 อาจจะถูกกำหนดให้เป็นจำนวนหน่วยการเรียนของวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ • 8.30 แทนเวลาเข้าเรียน • สัญลักษณ์ แทนการเลี้ยวขวา

  3. คุณสมบัติของข้อมูล • ความถูกต้อง • ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน • ความสมบูรณ์ • ความกระชับและชัดเจน • ความสอดคล้อง

  4. ชนิดและลักษณะของข้อมูลชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลสำหรับการประมวลผลแบ่งเป็น 2 ชนิด • ข้อมูลชนิดจำนวน (Numeric data) ก) จำนวนเต็ม ข) จำนวนทศนิยม เช่น 25.78, 123.0 * 104 ฯลฯ • ข้อมูลชนิดอักขระ (Character data) เช่น Computer, 17, &76 ฯลฯ

  5. สารสนเทศ ข้อมูล การประมวลผล สารสนเทศ สารสนเทศ คือสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ รูปแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ

  6. กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศกระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ • การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล • การรวบรวมข้อมูล • การตรวจสอบข้อมูล • การประมวลผลข้อมูล • การจัดกลุ่มข้อมูล • การจัดเรียงข้อมูล • การสรุปผล • การคำนวณ • การดูแลรักษาข้อมูล • การเก็บรักษาข้อมูล • การทำสำเนาข้อมูล • การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล • การปรับปรุงข้อมูล

  7. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ • ระบบเลขฐานสอง • รหัสแทนข้อมูล • การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ • การจัดเก็บคำสั่งในหน่วยความจำ

  8. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ระบบเลขฐานสอง คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการแทนที่สภาวะของกระแสไฟฟ้าได้ 2 ภาวะ คือ - สภาวะที่มีกระแสไฟฟ้า - สภาวะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า เพื่อให้โปรแกรมเมอร์สามารถสั่งการคอมพิวเตอร์ได้ จึงได้มีการสร้างระบบตัวเลขที่นำมาแทนสภาวะของกระแสไฟฟ้า โดยตัวเลข 0 จะแทนสภาวะไม่มีกระแสไฟฟ้า และเลข 1 แทนสภาวะมีกระแสไฟฟ้า

  9. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ระบบเลขฐานสอง ตารางแสดงรูปแบบของเลขในฐานสอง ฐานสิบ ฐานแปด และฐานสิบหก

  10. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์: รหัสแทนข้อมูล • รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) • รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) • รหัส UniCode

  11. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์: รหัสแทนข้อมูล • รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) นิยมใช้กับระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและ IBM สามารถแทนข้อมูลได้ 256 สัญลักษณ์

  12. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์: รหัสแทนข้อมูล • รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) นิยมใช้ในกลุ่มคอมพิวเตอร์ประเภท PCs และที่ใหญ่กว่าบางชนิด โดยได้กำหนดให้กลุ่มของบิตในการแทนสัญลักษณ์ข้อมูลต่าง ๆ โค้ดนี้สามารถแทนสัญลักษณ์ได้ 256 สัญลักษณ์ บิตที่ใช้จำนวน 8 บิต

  13. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์: รหัสแทนข้อมูล • รหัส UniCode(Unicode Worldwide Character Standard) ใช้ 16 บิต ในการแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยการใช้เนื้อที่ขนาด 16 บิต ทำให้สามารถแทนสัญลักษณ์ได้ 65536 สัญลักษณ์ ซึ่งมากพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์ทุกตัวในทุกภาษาในโลกนี้ ปัจจุบันระบบ Unicode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น

  14. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ รูปแสดงตัวอย่างการแทนข้อมูลด้วยรหัสเลขฐานสองในหน่วยความจำ

  15. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บมีความถูกต้อง การเขียนหรืออ่านทุกครั้งจึงต้องตรวจสอบความ ถูกต้องของข้อมูล วิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันคือการเพิ่มบิตพาริตี (parity bit)เพื่อตรวจสอบจำนวนเลข 1 ในรหัสแทนข้อมูลว่ามีจำนวนคู่ หรือจำนวนคี่ ตัวอย่างเช่น พาริตีคู่ (even parity)ซึ่งเป็นการทำให้จำนวนของเลข 1 เป็นจำนวนคู่ บิตพาริตีที่เติมสำหรับข้อมูลตัวอักษร A และ E เป็นดังนี้

  16. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ข้อมูล Aมีเลข 1 สองตัว ซึ่งเป็นจำนวนคู่ จึงใส่บิตพาริตีเป็นเลข 0ข้อมูล Eมีเลข 1 เป็นจำนวนคี่ จึงใส่บิตพาริตีเป็น 1 เพื่อให้มีเลข 1 เป็นจำนวนคู่ เมื่อต้องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ให้พิจารณาจำนวนของเลข 1 ที่ปรากฏในรหัสแทนข้อมูลนั้นร่วมกับบิตพาริตี ถ้ามีเป็นจำนวนคู่แสดงว่าข้อมูลถูกต้อง แต่ถ้าได้เป็นจำนวนคี่แสดงว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง

  17. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : พาริตี้บิต (parity bit)

  18. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ข้อความ BANGKOKเมื่อเก็บในหน่วยความจำหลักของไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีบิตพาริตีด้วยจะเป็นดังรูป รูปแสดงตัวอย่างการแทนข้อความในหน่วยความจำแบบมีบิตพาริตี

  19. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บคำสั่งในหน่วยความจำ รูปแสดงตัวอย่างการแทนคำสั่งภาษาเครื่อง

  20. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ :การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ Bit byte field record file การจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ โดยเรียงจากหน่วยเล็กที่สุดไปหาใหญ่ที่สุดดังภาพ

  21. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ :การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ รูปแสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างข้อมูลภายในแฟ้มข้อมูล

  22. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ :การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ พิจารณาการเก็บประวัติของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประวัติของนักเรียนคนหนึ่ง ๆ จะบันทึกลงในระเบียนประวัติหนึ่งใบ โดยประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ฯลฯ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ และใบระเบียนประวัติของนักเรียนในโรงเรียนจะได้รับการจัดเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียน

  23. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์: แฟ้มข้อมูล - ลักษณะของแฟ้มข้อมูล เขตข้อมูล (Field)หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บค่าข้อมูลที่ต้องการ ระเบียน (Record)หมายถึง กลุ่มของเขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน record จึงประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตข้อมูลขึ้นไป แฟ้มข้อมูล (File)หมายถึง กลุ่มของระเบียน (record) ข้อมูลที่มีเขตข้อมูล (field) เหมือนๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยระเบียนข้อมูลตั้งแต่ระเบียนขึ้นไป เช่น แฟ้มประวัตินักเรียนในชั้นเรียนประกอบด้วย ระเบียนข้อมูลประวัติของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งประวัติเหล่านี้มีเขตข้อมูลที่เหมือนกัน โดยเขตข้อมูลที่เหมือนกันในระเบียนอาจมีค่าที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

  24. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ :การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียน รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียนในคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนเก็บใน 1 ระเบียนและแต่ละระเบียนประกอบด้วย 7 เขตข้อมูล

  25. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : แฟ้มข้อมูล – ประเภทของแฟ้มข้อมูล • แฟ้มลำดับ หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จะเข้าถึงได้ไปตามลำดับ (sequential) สื่อตัวอย่างที่เห็นง่ายก็คือ แถบบันทึกเพลง (tape) กว่าจะเข้าไปถึงเพลงลำดับท้าย ๆ ก็ต้องหมุนผ่านเพลงแรก ๆ ไปก่อน ต้องรอจนกว่าจะถึงเพลงที่ต้องการ (ตรงข้ามกับจานเสียงหรือซีดี(CD) ที่เราสามารถเลือกฟังเพลงที่ต้องการได้ทันที) • แฟ้มสุ่มหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บระเบียน (record) กระจายออกไปในเนื้อที่จัดเก็บบนสื่อต่าง ๆ (medium) โดยไม่เรียงไปตามลำดับก่อนหลังอย่างแฟ้มลำดับ (sequential file) ตำแหน่งของระเบียนมักจะขึ้นอยู่กับเขตหลัก (key field) เขตหลักนี้จะขึ้นกับฟังก์ชันแบบแฮช (hashing function) เพื่อระบุตำแหน่งที่แน่นอนในที่จัดเก็บ มีความหมายเหมือน direct file ดู random access ประกอบ • แฟ้มดัชนี หมายถึง แฟ้มพิเศษต่างหากที่บอกตำแหน่งที่อยู่ของระเบียนต่าง ๆ ที่เก็บ ไว้ในแฟ้มฐานข้อมูล (database file) การหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ จะทำได้เร็วมาก

  26. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : แฟ้มข้อมูล – ข้อดีและข้อเสียของแฟ้มข้อมูล ข้อดี - การประมวลผลข้อมูลทำได้รวดเร็ว - ค่าลงทุนในเบื้องต้นต่ำ ไม่จำเป็นต้องใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงก็สามารถประมวลผลได้ - โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมสามารถควบคุมการใช้งานในแฟ้มข้อมูลของตนเองได้ ข้อเสีย - มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล - ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้ม - ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด - ความขึ้นต่อกัน (Dependency) ระหว่างโปรแกรมประยุกต์และโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

  27. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล • ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง (sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล

  28. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล - องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล • Hardware • Software • ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) ทำหน้าที่ ควบคุมดูแล การสร้าง การเรียกใช้ข้อมูล การแก้ไขข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูล การจัดทำรายงาน DBMS เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างการเรียกใช้ฐานข้อมูลในเครื่องกับผู้ใช้ระบบ และจัดการให้ผู้ใช้แต่ละระดับมองเห็นข้อมูลได้ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง DBMS เช่น dBASE, FoxBase, Microsoft Access, SQL Server, MySQL, Oracle, Informix เป็นต้น • ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกเขียนขึ้นโดยใช้ภาษาระดับสูง เช่น C, Delphi, JAVA เป็นต้น

  29. การจัดการข้อมูล ฐานข้อมูล - องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล • Data • User • ผู้ใช้งาน (End User) เป็นบุคคลที่นำสารสนเทศไปใช้เพื่อวางแผนหรือตัดสินใจในธุรกิจ • ผู้พัฒนาฐานข้อมูล (Developer) เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตั้งแต่การออกแบบ และการเขียนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล รวมไปถึงการดูแลบำรุงรักษาฐานข้อมูล • ผู้บริหารและจัดการฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) • นักเขียนโปรแกรม (Programmer)

  30. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล - ลักษณะของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล อาจารย์ วิชา นักเรียน ห้องเรียน ผลการเรียน

  31. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล - โครงสร้างข้อมูลในระบบฐานข้อมูล

  32. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล – ข้อดีและข้อเสียของฐานข้อมูล ข้อดี - ข้อมูลมีการเก็บอยู่รวมกันและสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ - ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล • สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ • การควบคุมความคงสภาพของข้อมูล • การจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลจะทำได้ง่าย • ความเป็นอิสระระหว่างโปรแกรมประยุกต์และข้อมูล • การมีผู้ควบคุมระบบเพียงคนเดียว ข้อเสีย • การใช้งานฐานข้อมูลจะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง • การสูญเสียข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้

  33. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ข้อแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลและระบบฐานข้อมูล

  34. การจัดการข้อมูล ข้อแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลและระบบฐานข้อมูล

More Related