1 / 78

อ.กรรณิกา ชากำนัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อ.กรรณิกา ชากำนัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. ชนิดของกล้ามเนื้อ. 1. กล้ามเนื้อ ลาย ( striated muscle ) หรือ กล้ามเนื้อ โครงร่าง ( skeletal muscle). 2.  กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth  muscle ) . 3.  กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac  muscle ). กล้ามเนื้อ. มีคุณสมบัติโดยทั่วไป คือ

eara
Download Presentation

อ.กรรณิกา ชากำนัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อ.กรรณิกา ชากำนัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

  2. ชนิดของกล้ามเนื้อ 1.กล้ามเนื้อลาย (striated muscle) หรือ กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) 2.  กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth  muscle ) 3.  กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac  muscle )

  3. กล้ามเนื้อ มีคุณสมบัติโดยทั่วไป คือ • การหดตัว (Contractility) เป็นความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะหดตัวเมื่อได้รับการกระตุ้น • การยืดตัว (extensibility) ความสามารถในการยืด โดยไม่ได้รับอันตรายต่อเนื้อเยื่อ • การยืดหยุ่น (elasticity) ความสามารถในการยืดหยุ่นได้คล้ายยาง เมื่อกล้ามเนื้อถูกยืดออกแล้วกล้ามเนื้อสามารถคืนสู่สภาพเดิมได้ • การตอบสนองต่อสิ่งเร้า(irritability) ความสามารถที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นไม่ว่าตัวกระตุ้นภายใน หรือภายนอก

  4. 1 กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดเดียวที่ยึดเกาะกับกระดูก  ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber)  ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย สีเข้ม สีอ่อนสลับกันเห็นเป็นลายตามขวาง แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ( voluntary muscle ) เช่น กล้ามเนื้อที่ แขน ขา หน้า ลำตัว เป็นต้น

  5. ประเภทของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลาย

  6. 2.  กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth  muscle ) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลายตามขวาง  ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะแบนยาวแหลมหัวแหลมท้าย ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวตรงกลาง  ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ( involuntary  muscle ) เช่นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ

  7. ประเภทของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเรียบ

  8. 3.  กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac  muscle ) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะ  รูปร่างเซลล์จะมีลายตามขวางและมีนิวเคลียสหลายอันเหมือนกล้ามเนื้อลาย  แต่แยกเป็นแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง  การทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ

  9. ประเภทของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ

  10. จุดเกาะของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายมีการยึดเกาะจากกระดูกหนึ่งและข้ามข้อต่อไปเกาะกับกระดูกหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัว จะทำให้เกิดมีการดึงและเหนี่ยวรั้งกระดูกให้มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น จุดเกาะของกล้ามเนื้อมีทั้งที่เป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) โดยในขณะที่กล้ามเนื้อมีการหดตัว จุดเกาะต้นมักเป็นจุดที่อยู่นิ่งกับที่ ส่วนจุดเกาะปลายเป็นจุดที่กระดูกมีการเคลื่อนไหว

  11. มัดกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างจุดเกาะต้นและจุดเกาะปลาย เรียกว่า “body” หรือ “belly” เป็นส่วนขอกล้ามเนื้อที่มีหลอดเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามพบว่ากล้ามเนื้อบางมัดอาจจะมีจุดเกาะต้นได้หลายจุด เช่น กล้ามเนื้อ biceps brachiiมีจุดเกาะ 2 แห่ง และกล้ามเนื้อ triceps brachiiมีจุดเกาะ 3 แห่ง

  12. การประสานงานของกล้ามเนื้อการประสานงานของกล้ามเนื้อ การงอ (flexion) การเหยียด(extension) การหุบ (adduction) การกาง (abduction) การยกขึ้น (elevation) การดึงลง (depression) การหมุน (rotation) และการควง(circumduction)

  13. การจัดเรียงตัวของใยกล้ามเนื้อ (Muscle Architectur)

  14. กล้ามเนื้อลาย ( Striated Muscle ) ลักษณะโครงสร้างของกล้ามเนื้อลาย

  15. ประกอบด้วยเซลล์หรือใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) เป็นจำนวนมาก เรียงขนานกันและอยู่รวมกันเป็นมัด โดยปลายทั้งสองข้างของมัดกล้ามเนื้อจะยึดติดกับเอ็นซึ่งยึดติดกับกระดูกอีกทีหนึ่ง

  16. เส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นประกอบขึ้นด้วยหน่วยย่อยๆ เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก หรือ myofibril ในแต่ละไฟบริลประกอบขึ้นด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อฝอย หรือ myofilamentsเป็นหน่วยย่อยที่สุดของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีความสำคัญอยู่ 2 ชนิด เส้นใยกล้ามเนื้อฝอยแบบหนา (Thick filament) และ เส้นใยกล้ามเนื้อฝอยแบบบาง (Thin filament)

  17. เซลล์กล้ามเนื้อลาย มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-100 ไมโครเมตร และมีความยาวต่างกันออกไป ตั้งแต่ 2-3 มม. ไปจนถึง 30 ซม. มีองค์ประกอบภายในเซลล์เหมือนเซลล์ทั่วๆไป ผนังที่ห่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า sarcrolemmaและเรียกไซโตพลาสซึมว่า sarcoplasm เซลล์ กล้ามเนื้อลายมี nucleus จำนวนหลายอันเรียงรายอยู่บริเวณขอบๆของเซลล์ ภายใน sarcroplasmมี thick และ thin filament มากมายซึ่งถือว่าเป็น organellsที่มีมากที่สุดในเซลล์ มี sarcroplamic reticulum แทรกตัวอยู่ระหว่าง fibril มี T-tubules ทำหน้าที่เชื่อม sarcrolemmaของเซลล์กล้ามเนื้อเข้าด้วยกัน

  18. Thick filament Thinfilament

  19. เส้นใยกล้ามเนื้อฝอยแบบหนา (Thick filament) ประกอบด้วยโปรตีนไมโอซิน (myosin) ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนจำนวน 6 เส้น คือ เส้นใยโปรตีนชนิดหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นโปรตีนชนิดเบา (light chain) 4 เส้น เส้นใยโปรตีนชนิดบาง และส่วน N-terminal ของเส้นใยโปรตีนชนิดหนักจะขดรวมกันเป็นส่วนหัว (globularhead) ของ myosin ส่วนหางของ myosin เกิดจากการพันตัวเป็นเกรียวของเส้นใยโปรตีนชนิดหนัก 2 เส้น

  20. บนส่วนหัวของ myosin นี้จะมีตำแหน่งสำคัญ 2 แห่งคือ ตำแหน่งที่ให้โปรตีนแอกทินมาเกาะ (actin binding site) และตำแหน่งที่มีเอนไซม์ adenosine triphosphatase(ATPase) อยู่ ATPase ทำหน้าที่สลาย ATP เพื่อให้ได้พลังงานซึ่งใช้ในการหดตัวของกล้ามเนื้อ

  21. เส้นใยกล้ามเนื้อฝอยแบบบาง (thin filament ) 1.acthin เป็นโปรตีนที่มีลักษณะกลม เรียกว่า G-actin รวมกันเป็นเส้นบางๆเรียกว่า F-actin (fibrous actin) 2เส้นพันกันเป็นเกลียวคล้ายเชือก G-actin จะมีตำแหน่งให้หัวของ myosin มาเกาะ myosin blinding site 2.Tropomyosin เป็นโปรตีนที่มีลักษณะเป็นเส้นใยสองเส้นพันกันเป็นเกลียว ฝังอยู่ในร่องของเกลียว F-actin 3.Troponin เป็นโปรตีนขนาดเล็ก กลม ประกอบขึ้นด้วย 3 หน่วยย่อย คือ Troponin-I(IN-I) เป็นหน่วยย่อยที่มีบทบาทในการยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อ Troponin-(TN-C) เป็นหน่วยย่อยที่มีความสามารถในการจับตัวกับแคลเซียมซึ่งจะเป็นตัวก่อให้เกิด การหดตัวของกล้ามเนื้อและ TN-T เป็นหน่วยย่อย ที่ทำหน้าที่เป็นตัวยึดโทรโพนินเข้ากับโทรโพไมโอซิน ในแต่ล่ะช่วงของ thin filament จะมี G-actin อยู่ 7 หน่วย จับกับ 1 หน่วยของโทรโพไมโอซินซึ่งจับกับ 1 หน่วยของโทรโพนินอีกทีหนึ่ง

  22. การเร้าและการหดตัวของกล้ามเนื้อ(excitation-contraction coupling : EC coupling) EC coupling เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กล้ามเนื้อถูกเร้าไปจนถึงกล้ามเนื้อเกิดการหดตัว แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆดังนี้ การเร้ากล้ามเนื้อให้เกิดแอกชั่นโพเทนเชียล การส่งสัญญาณบริเวณไทรแอด การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของฟิลาเมนต์ การหดตัวของกล้ามเนื้อ การคลายตัวของกล้ามเนื้อ

  23. Motor unit Neuromuscular junction

  24. การเร้ากล้ามเนื้อ (excitation of skeletal muscle)

  25. Terminal axon หลั่ง acetylcholine เซลล์ประสาทส่งสัญญาณมาที่ terminal axon Permeability ของผนังเซลล์ ทำให้ Na+ เข้าเซลล์ Ach จับกับ Ach receptor ที่ motor end plate Depolarization หรือการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ทางไฟฟ้าที่เรียกว่า เอ็นเพลทโพเทนเซียล( End plate potential,Epp)

  26. อย่างไรก็ตาม Eppนี้ ไม่สามารถส่งผ่านไปบริเวณอื่นๆ ของเซลล์ แต่ถ้า Eppมีขนาดสูงถึงระดับเทรชโฮลด์(threshold) จะทำให้เกิดเป็นแอกชั่นโพเทนเชียลในกล้ามเนื้อ (muscle action potential ) แอกชั่นโพเทนเชียลนี้จะถูกส่งผ่านไปตามเยื่อหุ้มเซลล์และผนังของ T-tubule มีการส่งสัญญาณบริเวณไทรแอดทำให้มีการหลั่งของ Ca++จาก SR

  27. การส่งสัญญาณบริเวณไทรแอดการส่งสัญญาณบริเวณไทรแอด บริเวณที่ T-tubule และส่วนปลายของ SR (terminal cisterna) มาพบกันมีการพัฒนาไปมีลักษณะพิเศษ โดยที่ T-tubule จะมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับรู้สัญญาณไฟฟ้า (Voltage sensor) เรียกว่า dihydropyridinereceptor,DHPอยู่ตรงกันข้ามกับโปรตีนryanodine receptor ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่บน terminal cisterna ของ SR ไรยาโนดีนรีเซปเตอร์นี้ทำหน้าที่เป็นช่องแคลเซียม ( Calcium channel ) สามารถปล่อย Ca++จาก SR ได้ในอัตราเร็วสูง เมื่อแอกชั่นโพเทนเชียลเดินทางเข้าสู่ T-tubule จะทำให้ DHP ในบริเวณที่มีประจุไฟฟ้า (gating domains) เกิดการเคลื่อนไหว และส่งผลไปทั่วโมเลกุลของ DHP รวมทั้งไรยาโนรีเซปเตอร์ด้วย ดังนั้นทำให้ไรยาไนดีน รีเซปเตอร์ปล่อย Ca++ออกมา

More Related