1 / 132

ผลกระทบและการปรับตัวจากการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท

ผลกระทบและการปรับตัวจากการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. เนื้อหา. ความเป็นมาของการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท ผลกระทบของการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท

eadoin
Download Presentation

ผลกระทบและการปรับตัวจากการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลกระทบและการปรับตัวจากการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

  2. เนื้อหา ความเป็นมาของการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท ผลกระทบของการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท ข้อเสนอแนะต่อการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท การปรับตัวเพื่อรองรับการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท

  3. ความเป็นมาของการกำหนดอัตราค่าจ้าง 300 บาท

  4. ค่าจ้างขั้นต่ำของไทย ประเทศไทยได้นำหลักการของ ILO (International Labour Organization ) มาประยุกต์ใช้ในกำหนดค่าจ้างโดยให้นิยามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ “ ค่าจ้างที่จ่ายให้แรงงานไร้ฝีมือหนึ่งคนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควรแต่สภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น”

  5. ย้อนอดีตการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยย้อนอดีตการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานไร้ฝีมือเมื่อแรกเข้าทำงาน เริ่มบังคับใช้ครั้งแรกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 โดยเริ่มกำหนดในสี่จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี เดิมการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำจะใช้คณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติ เป็นกลไกไตรภาคีที่กำหนดอัตราค่าจ้างอัตราเดียวทั่วประเทศ ต่อมาเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2544 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำใหม่โดยมีคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำประจำจังหวัดเป็นผู้กำหนด ปัจจุบันระบบการปรับค่าแรงขั้นต่ำกำลังย้อนหลังเข้าระบบการปรับค่าจ้างแบบเดิมคือใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งรอประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลปี 2554

  6. หลักการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของไทยหลักการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของไทย แบ่งพิจารณาออกเป็น 3 ด้านคือ • ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ซึ่งหมายความว่าจังหวัดที่มีค่าครองชีพสูง ควรมีระดับค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่าจังหวัดอื่น • ความสามารถในการจ่ายของลูกจ้าง โดยพิจารณาจากแรงงานไร้ฝีมือคือแรงงงานมี่มีวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่า ม.6 และไม่เคยทำงานมาก่อนหรือทำงานมาไม่เกิน 1ปี • คณะกรรมการค่าจ้าง เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำหนดค่าจ้าง รวมทั้งการให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างทั้งค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานโดยปกติจะมีการประชุมเพื่อปรับค่าจ้างขั้นต่ำทุกปี แต่จะปรับหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ความเหมาะสม

  7. ประเด็นที่ต้องมีความเข้าใจตรงกันว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ • ผลตอบแทนที่ให้กับลูกจ้างที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ ให้สามารถดำรงชีวิตตามอัตถภาพ ภายใต้ปัจจัย 4 และมีเงินเหลือพอสมควรที่จะทำให้คุณภาพชีวิตมีความสุข • เป็นแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ระบบแรงงานที่ไม่ต้องมีความรู้ และไม่มีทักษะ นายจ้างต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการฝึกงาน จึงจะสามารถทำงานได้ • ค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงดัชนีให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อทำงานถึงระยะเวลาหนึ่ง นายจ้างจะต้องมีการปรับรายได้ให้มีความเหมาะสมกับความสามารถ และสามารถที่จะเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตได้ตามอัตภาพ • ค่าแรงขั้นต่ำยังไม่รวมถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งนายจ้างควรจะจัดไว้ให้กับลูกจ้างตามสมควร อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้

  8. แนวทางในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแนวทางในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ • ภายใต้อนุสัญญาของ ILO ได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำภายใต้มาตรา 3 จะต้องนำปัจจัยด้านค่าครองชีพ และผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อการดำรงชีพของคนงาน และครอบครัว แต่จะต้องนำปัจจัยทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการพัฒนาเศรษฐกิจ ระดับคุณภาพชีวิต และการคงไว้ซึ่งระดับการจ้างงานที่สูง • สำหรับประเทศไทย อัตราค่าจ้างยังมีความจำเป็น เนื่องจากลักษณะของนายจ้างมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก จำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเป็นภาคบังคับให้นายจ้าง จ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้าง ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด • การกำหนดอัตราค่าจ้างจะต้องครอบคลุมทั้งมิติของความสามารถของนายจ้างและขีดความสามารถของอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถแข่งขัน • ภาคการเมือง ไม่ควรเข้ามาแทรกแซง และชี้นำอัตราค่าจ้าง ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของระบบไตรภาคี

  9. 1. การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย 1. ปี พ.ศ. 2499 ออกกฎหมายเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและ มีการตั้งสหภาพแรงงาน และมีการเจรจาต่อรอง 2. ปี พ.ศ. 2515 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ให้อำนาจ - ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้าง ขั้นต่ำ การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้าง วันลา - แต่งตั้งคณะกรรมการค่าจ้าง - อัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ครั้งแรก เมื่อ 14 ก.พ. 2516 ใน 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี ลูกจ้างได้รับประโยชน์ประมาณ 100,000 คน

  10. 1. การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย 3. ปี พ.ศ. 2517 กำหนดนโยบายแรงงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ 4. ปี พ.ศ. 2518 กำหนดกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ และ กำหนดเป็นนโยบายว่ารัฐบาลจะให้ความคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับ ความเป็นธรรมและค่าจ้างที่ดีขึ้น

  11. 2. ความเป็นมา - องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO (International Labor Organisation) ได้ตราอนุสัญญาฉบับที่ 131 ว่าด้วยการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ( Minimum Wage Fixing Convention No. 131 ) ประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้ จะต้องกำหนดระบบค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นมาใช้สำหรับผู้ประกอบอาชีพที่มีรายได้กลุ่มต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควร โดยต้องคำนึงถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานของลูกจ้างแลครอบครัว ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง มาตรฐานความเป็นอยู่ในส่วนอื่นของระบบเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งต้องเป็นไปตามสภาพและความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

  12. 2. ความเป็นมา ประเทศไทย ถึงแม้จะไม่ได้รับรองอนุสัญญาก็ได้นำหลักการ ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มาปรับใช้ให้สอดคล้อง

  13. 3. แนวคิดในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย เมื่อปี 2516 • ตลาดแรงงานไทยเป็นตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ • ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • ทำให้แรงงานไร้ฝีมือส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

  14. 4. คณะกรรมการค่าจ้าง เป็นองค์การไตรภาคี จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 มีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ลูกจ้างควรได้รับตามความ เหมาะสมแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคม

  15. 4. คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการค่าจ้าง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน คือ - คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด จำนวน 76 คณะ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสนอขอปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด - คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอจังหวัดและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการค่าจ้าง

  16. 5. แนวคิดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำหมายถึง อัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือ (แรงงานไร้ฝีมือ) 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น

  17. 6. แนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คณะกรรมการค่าจ้าง ศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 87 แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551แบ่งเป็นหลักเกณฑ์ 3 กลุ่ม คือ

  18. 6. แนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 1) ด้านความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง (ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ และราคาของสินค้า) 2) ด้านความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง (ต้นทุนการผลิต ความสามารถของธุรกิจ และผลิตภาพแรงงาน) 3) ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม (ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม)

  19. แนวทางในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ดังนี้แนวทางในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ดังนี้ 1) ความสอดคล้องเหมาะสมของข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดกับข้อมูลต่าง ๆ 2) ได้นำข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานในภาพรวมทั้งประเทศ และต่างประเทศ มาใช้ประกอบการพิจารณาข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ - อัตราเงินเฟ้อของประเทศ - อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ - อัตราการว่างงานของประเทศ - ผลกระทบของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในภาพเฉลี่ยรวมที่มีต่อด้านแรงงาน ด้านผู้ประกอบการ ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ - ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโลก - ปัจจัยอื่น ๆ ที่คณะกรรมการค่าจ้างเห็นสมควร

  20. 7. สถิติการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราเงินเฟ้อย้อนหลัง 10 ปี (ปี พ.ศ. 2545 - 2554 (ก.ค.))

  21. สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย • ประเทศไทยมีคนจนและคนเกือบจนประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15.4 ของประชากรทั้งหมด • สังคมไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากขึ้น ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ ตกอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของรายได้ถึงร้อยละ 38.4 กลุ่มที่จนที่สุดร้อยละ 10 เป็นเจ้าของรายได้เพียงร้อยละ 1.69 ( รายได้ของของกลุ่มคนที่รวยที่สุด 10 % แรกกับกลุ่มคนจนที่สุด 10% ล่างสุด แตกต่างกันถึง 22.79 เท่า

  22. ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญหลายด้าน ดังนี้ • โครงสร้างเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มเจ้าของทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน และธุรกิจขนาดกลางมีการพัฒนาช้า • การกระจายการบริการพื้นฐานของรัฐมีความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ • โครงสร้างภาษียังไม่เป็นธรรมจึงไม่ช่วยสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์การพัฒนา • ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน • การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม • การบริหารราชการแผ่นดิน

  23. ค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

  24. ค่าจ้างขั้นต่ำแท้จริงค่าจ้างขั้นต่ำแท้จริง ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

  25. ความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (1) ความเหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ประกอบด้วยรายจ่ายที่จำเป็นต่างๆได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาลและยาที่นอกเหนือจากประกันสังคม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่ายานพาหนะ (2) ความเหมาะสมต่อการใช้จ่ายตามคุณภาพ คือขนาดของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพรวมกับค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัย เงินทำบุญ ทอดกฐินและผ้าป่าและค่าใช้จ่ายเพื่อการบันเทิงและพักผ่อน (3) ความเหมาะสมตามผลิตภาพของแรงงาน (Marginal Productivity of Labour) ซึ่งวัดจาก Real GDP ต่อจำนวนการจ้างงาน

  26. ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศ อยู่ต่ำกว่าระดับที่สอดคล้องกับการใช้จ่ายตามคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2551-2553 ช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังน้อยกว่าความ ต้องการใช้จ่ายตามอัตภาพ

  27. แม้เมื่อคิดรวมถึงสวัสดิการต่างๆ เงินโบนัส และค่าล่วงเวลา ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่ใช่ตัวเงิน ก็ยัง พบว่าค่าต่างตอบแทนจากการทำงาน (Compensation of employees) ของแรงงานระดับล่างยังต่ำกว่าอัตรา ค่าจ้างตามคุณภาพในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะจำนวนวันหรือชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง ล่วงเวลา และเงินโบนัส ล้วนมีความสัมพันธ์และ อ่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจจะเห็นว่าในช่วงเศรษฐกิจ ไม่ดีตลาดแรงงานจะปรับตัวโดยการลดจำนวนชั่วโมง การทำงานและการเลิกจ้าง ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อค่า ต่างตอบแทนของแรงงาน

  28. 1. นโยบายรัฐบาล นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ข้อ 1.8 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ข้อ 1.8.2 ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพ ของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพ ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี สำนักแรงงานสัมพันธ์

  29. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายคุ้มครองแรงงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 โดยคณะกรรมการค่าจ้างมีแนวคิดเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่า “เป็นอัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือ 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น” หลักการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(มาตรา 87 ) 1. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ 2. ข้อเท็จจริงอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สำนักแรงงานสัมพันธ์

  30. ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 เป็นต้นไป 1.ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้น 79 บาท จากอัตราวันละ 221 บาท เป็นวันละ 300 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 2.ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม เพิ่มขึ้น 85 บาท จากอัตราวันละ 215 บาท เป็นวันละ 300 บาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.5 3. ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดที่เหลือ 70 จังหวัด ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 ของอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำจังหวัดในปี 2554 4.ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดที่เหลืออีก 70 จังหวัด ตามข้อ 3. อีกครั้ง เป็นวันละ 300 บาท โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 สำหรับจังหวัดภูเก็ต กรุงเทพมหานคร จังหวัด นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท 5. ในปี 2557 และปี 2558 ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัดไว้ที่วันละ 300 บาทเท่ากันทั่ว ประเทศ หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความผันผวนอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2557 และปี 2558 ได้ตามความเหมาะสม

  31. ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2555 และปี 2556-2558 สำนักแรงงานสัมพันธ์

  32. ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2555 และปี 2556-2558 (ต่อ) สำนักแรงงานสัมพันธ์

  33. คำชี้แจงประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง นายจ้างรายใดได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถือว่านายจ้างรายนั้นปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว ส่วนนายจ้างรายใดที่ยังจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ปรับค่าจ้าง ให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามท้องที่ที่สถานประกอบกิจการดำเนินการอยู่ สำนักแรงงานสัมพันธ์

  34. คำชี้แจงประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง แรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จะเป็นแรงงานที่มีทักษะฝีมือมากขึ้น มีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น นายจ้างควรปรับค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สำนักแรงงานสัมพันธ์

  35. ความแตกต่างของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2554 และ 2555 สำนักแรงงานสัมพันธ์

  36. หลักการพื้นฐานการปรับค่าจ้างของสถานประกอบกิจการหลักการพื้นฐานการปรับค่าจ้างของสถานประกอบกิจการ 1. นโยบายบริษัทในการจ่าย(Ability to pay) 2. ผลกระทบต่อแรงจูงใจและความเท่าเทียมภายใน 3. ความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน 4. การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและการบริหารต้นทุนแรงงาน สำนักแรงงานสัมพันธ์

  37. เศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคบริการและอุตสาหกรรมเศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคบริการและอุตสาหกรรม GDP ราคาปัจจุบัน มูลค่าปี 2552 9.05 ล้านล้านบาทองค์ประกอบ ร้อยละ ภาคเกษตร 11.6 ภาคนอกเกษตร 88.4 การผลิต 3.08ล้านล้านบาทหรือ 34.1% การค้าและซ่อมบำรุง 14.1 การเหมืองแร่และก่อสร้าง 06.1 การไฟฟ้า แก๊สและประปา 03.2 การบริการ 2.80ล้านล้านบาทหรือ 30.9% ๑ ภาคเอกชน 26.2 ๒ ภาครัฐ 04.7

  38. เศรษฐกิจไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นสัดส่วนที่สูงมาก (ไป) GDP: SMEsราคาปัจจุบัน มูลค่าปี 2552 3.08 ล้านล้านบาทจาก 9.09 ล้านล้านบาท (ขนาดใหญ่ 66.3%ขนาดกลาง 20.0%ขนาดเล็ก 13.7%)องค์ประกอบ ร้อยละ 33.7 ของ GDP การผลิต 1.03ล้านล้าน 30.4% การค้าและซ่อมบำรุง 1.02ล้านล้าน 29.9% การเหมืองแร่ 01.6% ก่อสร้าง 05.9% การไฟฟ้า แก๊สและประปา 00.3% การบริการภาคเอกชน 1.09ล้านล้าน 32.0%

  39. จำนวน SMEs 2.90 ล้านราย (ขนาดใหญ่ 4,653 แห่งขนาดกลาง 12,065 แห่ง และขนาดเล็ก 2,883,282 แห่ง) แบ่งเป็นภาคการค้า 1.37 ล้านแห่ง ภาคบริการ 0.97ล้านแห่งและ ภาคการผลิต 0.55 ล้านแห่ง การจ้างงานภาคที่เป็นทางการ ล้านคน % SE8.26 66.6 ME 1.44 11.6 LE 2.70 21.8 Total (private employees)12.40 100.0 การจ้างงาน SMEsล้านคน % ภาคการค้าและซ่อมบำรุง 2.91 30.02 ภาคบริการ 3.47 35.75 ภาคการผลิต 3.32 34.23 รวม 9.70 100.00

  40. อุตสาหกรรม SMEs ส่วนมากใช้เทคโนโลยีต่ำ ทำให้ยกระดับผลิตภาพและค่าจ้างสูงๆยากมาก

  41. รู้จักตลาดแรงงานไทย

  42. เอกสารประกอบการประชุมประชาพิจารณ์ วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2554 โรงแรมอุบลอินเตอร์เนชั่นแนล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จำนวนประชากร ประชากรในวัยแรงงาน และกำลังแรงงานในไตรมาส 3 ปี 2544-2553มีแนวโน้มขยายตัวน้อยมากและเข้าสู่สังคมสูงอายุ ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  43. จำนวนกำลังแรงงานจำแนกตามระดับการศึกษาในไตรมาส 3 ปี 2551-2553 ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ 47 เอกสารประกอบการประชุมประชาพิจารณ์วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2554 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร

  44. การจ้างงานของไทยยังใช้ผู้มีการศึกษาต่ำการจ้างงานของไทยยังใช้ผู้มีการศึกษาต่ำ • การจ้างงาน ไตรมาส 2 ปี 2552 แบ่งตามอาชีพ ระดับการศึกษาที่จบ ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เฉลี่ย 4 ไตรมาส,สำนักงานสถิติแห่งชาติ 48 -48-

  45. จำนวนผู้ว่างงาน อัตราการว่างงานในไตรมาส 3และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปี 2544-2553 ที่มา: ข้อมูลจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานได้จาก การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูล GDP ได้จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 49 เอกสารประกอบการประชุมวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2554 ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  46. จำนวนผู้ว่างงาน จำแนกตามระดับการศึกษา ในไตรมาส 3 ปี 2551-2553 ที่มา: ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ 50 เอกสารประกอบการประชุมประชาพิจารณ์วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2554 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร

More Related