1 / 28

นายหน้า Brokerage

นายหน้า Brokerage. อ.ลภัสรดา ปราบปราม. สัญญานายหน้า ม. 845. ????. นายหน้า ( Broker ) คือ บุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ ตกลงทำหน้าที่เป็นกลาง หรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก. สัญญานายหน้า. บุคคลที่สาม ก (ตัวการ) สัญญานายหน้า

Download Presentation

นายหน้า Brokerage

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นายหน้าBrokerage อ.ลภัสรดา ปราบปราม

  2. สัญญานายหน้า ม. 845 ????

  3. นายหน้า (Broker) คือ บุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ ตกลงทำหน้าที่เป็นกลาง หรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก

  4. สัญญานายหน้า บุคคลที่สาม ก (ตัวการ) สัญญานายหน้า ม. 845 สัญญาระหว่างตัวการกับบุคคลที่สาม นายหน้าทำการแนะนำชี้ช่องเพื่อให้บุคคลที่สามเข้าทำสัญญากับตัวการ ข (นายหน้า)

  5. ตกลงดำ แดง บำเหน็จ มีการทำสัญญาชี้ช่อง(ติดต่อ)จัดการ ขาว • ดำต้องการขายรถยนต์ของตน จึงติดต่อ นายแดงให้หาผู้ซื้อให้ นายแดงติดต่อให้นายขาวมาซื้อรถยนต์ดังกล่าว จนสำเร็จ ดังนี้ นายดำเป็นตัวการและนายแดงเป็นนายหน้า

  6. แบบของสัญญานายหน้า • ไม่ได้กำหนดแบบ/ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ • วาจา/ลายลักษณ์อักษร • กรณีมีปัญหาเรื่องค่าบำเหน็จ คู่กรณีก็อาจนำพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงต่อศาล

  7. ความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายหน้าความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายหน้า • 1. ต้องมีการแสดงเจตนาด้วยใจสมัคร ไม่ใช่ข่มขู่ กลฉ้อฉล หรือสำคัญผิด • 2. ต้องเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน • 3. มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล • 4. ผู้ทำนิติกรรมต้องมีความสามารถตามกฎหมาย???

  8. เรื่องนายหน้าซื้อขายที่ดินนั้น เมื่อนายหน้าได้กระทำการครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่เจ้าของที่ดินมิได้รับผลตามสัญญาเพราะความผิดของตนเอง นายหน้าก็มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างตามสัญญา (ฎ. 443/2461)

  9. นายหน้าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 845 นั้น ได้แก่ผู้ที่ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าทำสัญญากัน หรือผู้ที่จัดการให้ได้ทำสัญญากัน และนายหน้ามีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันเสร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น การที่ ก. ได้พา ส. ผู้ซื้อไปพบกับผู้ขายและพากันไปดูที่ดิน และต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก. จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จโดยไม่จำเป็นที่ ก. จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุกๆ ครั้ง (ฎ. 3181/2536)

  10. นายหน้าได้ชี้ช่องวิ่งเต้นจัดการให้ผู้ที่มีความประสงค์จะเช่าตลาด ได้เช่าตลาดจนสำเร็จสมประสงค์แล้ว ดังนี้ นายหน้าก็มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากผู้เช่า จากที่ได้ตกลงกันไว้ (ฎ. 1050)

  11. โจทก์เป็นนายหน้าให้จำเลยในการขายเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุในอาหารให้แก่องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปโดยวิธีพิเศษ แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกัน ทางองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปก็ได้กำหนดให้มีการจัดซื้อใหม่โดยวิธีประกวดราคา จำเลยจึงได้ไปยื่นซองประกวดราคาและเจรจาต่อรองราคากับองค์การดังกล่าวเอง จนตกลงทำสัญญาซื้อขายกันได้ การซื้อขายรายนี้จึงสำเร็จลงได้เพราะการเข้าชื่อเสนอประกวดราคาของจำเลยเอง โดยโจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนการกระทำของโจทก์ในระหว่างที่เป็นนายหน้าให้จำเลยในตอนแรกก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้ช่องหรือจัดการในส่วนสำคัญอันทำให้สัญญาซื้อขายได้ทำกันสำเร็จในตอนหลัง จำเลยไม่ต้องชำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์ (ฎ. 3592/2532 )

  12. ค่าใช้จ่ายของนายหน้า ม. 845 วรรคสอง • ปกติ: นายหน้าไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายอันตนเสียไป เนื่องจากการชี้ช่อง หรือการจัดการแนะนำชี้ช่องให้บุคคลสองฝ่ายเข้าทำสัญญา

  13. กิจการนายหน้าที่มีกฎหมายพิเศษกิจการนายหน้าที่มีกฎหมายพิเศษ • นายหน้าประกันภัย - ประมวลแพ่ง ลักษณะ 20 - พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ม. 5 นายหน้าประกันวินาศภัย คือ ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น

  14. นายหน้าประกันชีวิต - พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ม. 5 นายหน้าประกันชีวิต คือ ผู้ซึ่งชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทโดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น

  15. นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ม. 4 นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หมายความว่า การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่านายหน้า

  16. การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ จัดตั้งในรูป • บริษัทจำกัด • บริษัทมหาชน จำกัด

  17. นายหน้าตามประมวลแพ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่งนายหน้าตามประมวลแพ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง • ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับนายหน้า เป็นความสัมพันธ์ในทางนิติกรรมสัญญา • นายหน้าตามกฎหมายพิเศษมีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชน และเป็นกฎหมายที่รัฐได้เข้าไปแทรกแซงเพื่อควบคุม กำกับในการประกอบอาชีพ • หน้าที่และความรับผิดชอบเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ความรับผิดชอบของนายหน้าพิเศษในบางกรณีกฎหมายกำหนดโทษเชิงความรับผิดทางอาญาด้วย

  18. ค่าบำเหน็จ ม. 846 • ค่าบำเหน็จของนายหน้าเป็นสาระสำคัญของสัญญานายหน้า

  19. นายหน้าฝ่าฝืนต่อหน้าที่ ม. 847 • เป็นบทลงโทษนายหน้า เนื่องจากนายหน้าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่ได้ตกลงไว้กับตัวการ 1.นายหน้าทำการให้แก่บุคคลภายนอก เป็นการฝ่าฝืนต่อการที่ตนเข้ารับทำหน้าที่ของนายหน้า 2. รับคำมั่นจากบุคคลภายนอกว่าจะให้บำเหน็จอันควรแก่นายหน้าผู้กระทำการโดยสุจริต

  20. คำถาม • การที่บุคคลหนึ่งเป็นนายหน้าของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งแล้ว จะเป็นนายหน้าของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ เป็นนายหน้าของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้หรือไม่

  21. ถ้าการทำการเป็นนายหน้าให้บุคคลภายนอกด้วย ไม่เป็นการทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบหรือผลประโยชน์แล้ว นายหน้าก็ย่อมทำการได้ กล่าวคือไม่เป็นฝ่าฝืนต่อหน้าที่นายหน้าของตน และไม่ต้องห้ามตามม. 847 แต่อย่างใด นายหน้าก็ชอบที่จะได้รับค่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายตามสิทธิของตนได้

  22. นายหน้าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 847 จะหมดสิทธิได้รับค่าบำเหน็จ และหมดสิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปอีก

  23. ตกลงดำ แดงบำเหน็จขายม้า(ม้าไม่สมบูรณ์,ตกลงดำ แดงบำเหน็จขายม้า(ม้าไม่สมบูรณ์, ราคาแพงกว่าปกติ)ขาว

  24. ตกลงขาว แดงบำเหน็จ ซื้อม้า(ม้าดี, ราคายุติธรรม) ดำ

  25. ขอบเขตความรับผิดของนายหน้า ม. 848 • นายหน้าเป็นเพียงสะพานทอดให้บุคคลสองฝ่ายเข้าทำสัญญากัน • นายหน้าจึงไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำขึ้น • เว้นแต่ นายหน้าจะไม่ได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รับรู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง • ป้องกันการทุจริตของนายหน้า เช่นเดียวตัวแทนเข้าทำสัญญาโดยไม่เปิดเผยชื่อของตัวการ

  26. นายหน้า ตัวแทนค้าต่างนายหน้า ตัวแทนค้าต่าง 1. จะได้รับมอบสินค้าและมีสิทธิครอบครองในสินค้านั้นจากตัวการ 2. เป็นผู้เข้าทำสัญญาในนามของตนเอง มีสิทธิฟ้อง หรือถูกฟ้องในนามของตัวแทนค้าต่าง 3. ทำสัญญากับบุคคลภายนอกในนามของตน 1. ตัวการไม่ได้ส่งมอบสินค้าและไม่ได้ส่งมอบสิทธิครอบครองในตัวทรัพย์สินให้แก่นายหน้า 2. เป็นผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้เข้าทำสัญญาเท่านั้น 3. ไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับสัญญา

  27. นายหน้า ตัวแทน 1. เป็นผู้ทำการแทนตัวการในนามของตัวการตามที่ตัวการมอบหมายให้ทำการ (767) 2. ปกติไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญา หรือทางการประพฤติต่อกัน หรือโดยปริยาย (803) 3. ถ้าเป็นกิจการตาม 798 – จะผูกพันตัวการต่อเมื่อได้ทำตาม 798 4. ตัวการต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของตัวแทนที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบอำนาจและละเมิดต่อบุคคลภายนอก 1. เป็นคนกลางที่ช่วยชี้ช่องให้บุคคลฝ่ายหนึ่งได้เข้าทำสัญญากัน 2. ได้รับบำเหน็จ 3. กฎหมายไม่กำหนดไว้ ดังนั้น การตั้งนายหน้า ตัวการอาจจะแต่งตั้งด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร 4. ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของนายหน้า

  28. ขอให้โชคดีกับการสอบปลายภาคค่ะขอให้โชคดีกับการสอบปลายภาคค่ะ

More Related