280 likes | 384 Views
รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ : คุณูปการและบทวิพากษ์. วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร Assistant Professor of Political Economy, GRIPS Tokyo. คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 15 กันยายน 2557. ประเด็นอภิปราย. ตำแหน่งแห่งที่และ คุณูปการของ “รัฐไทยกับการปฎิรูปเศรษฐกิจ” บทวิพากษ์เชิงทฤษฎีและจากมุมมองเอเชียตะวันออก
E N D
รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ: คุณูปการและบทวิพากษ์ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร Assistant Professor of Political Economy, GRIPS Tokyo คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 15 กันยายน 2557
ประเด็นอภิปราย • ตำแหน่งแห่งที่และคุณูปการของ “รัฐไทยกับการปฎิรูปเศรษฐกิจ” • บทวิพากษ์เชิงทฤษฎีและจากมุมมองเอเชียตะวันออก • ข้อเสนอแนะการศึกษารัฐไทยในอนาคต
1. ตำแหน่งแห่งที่และคุณูปการต่อวงวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง
ข้อเสนอของอภิชาต (2556) แบ่งได้เป็นสองส่วน “อภิชาต”= อภิชาต สถิตนิรามัย (2556) รัฐไทยกับการปฎิรูปเศรษฐกิจ: จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
ตำแหน่งแห่งที่ในวงวิชาการ: วงวิชาการไทย (I) • เอนก เหล่าธรรมทัศน์, เขียน ; สายทิพย์ สุคติพันธ์, เรียบเรียงเป็นไทย. 2539. มองเศรษฐกิจการเมืองไทยผ่านการเคลื่อนไหวของสมาคมธุรกิจ. กรุงเทพฯ: คบไฟ. • เอนก: จาก “อำมาตยาธิปไตย” (bureaucratic polity) สู่ “ภาคีรัฐ-สังคมแบบเสรี” (liberal corporatism) ในยุครัฐบาลเปรม • อภิชาต: เศรษฐกิจการเมืองไทย พ.ศ. 2500–2540= “ทุนนิยมนายธนาคาร” ผ่านความสัมพันธ์สามเส้าระหว่าง นายทหาร–เทคโนแครต–นายธนาคารเอกชน
ตำแหน่งแห่งที่ในวงวิชาการ: วงวิชาการไทย (II) • ผาสุก พงษ์ไพจิตร. 2541. พัฒนาการอุตสาหกรรมและพัฒนาการเศรษฐกิจ: ประสบการณ์ของเกาหลีใต้ บราซิล ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • ผาสุกชี้ว่าไทยเป็น “รัฐขั้นกลาง” ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าบราซิล แต่ด้อยกว่าเกาหลีใต้ • อภิชาตเน้นบทบาทของรัฐและเทคโนแครตต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
ตำแหน่งแห่งที่ในวงวิชาการ: วงวิชาการไทย (III) • รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. 2532/2546. กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย: บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475-2530. กรุงเทพฯ: คบไฟ. • รังสรรค์มองว่าเทคโนแครตเป็นส่วนหนึ่งในอุปทานของกระบวนการกำหนดนโยบาย ที่ต้องปะทะกับตัวแสดงอื่นๆ+ โครงสร้างส่วนบนของระบบเศรษฐกิจ+ ระบบทุนนิยมโลก • แม้รังสรรค์จะใช้คำว่า “ตลาดนโยบายเศรษฐกิจ” แต่ในแง่การให้เหตุผล ก็ใช้ “การต่อสู้ของพลังทางสังคม” อธิบายนโยบายเช่นกัน โดยไม่ผ่านความเข้มแข็ง-อ่อนแอของรัฐ
ตำแหน่งแห่งที่ในวงวิชาการ: วงวิชาการนานาชาติ เควิน เฮวิสัน (2006) แบ่งสำนักคิดที่วิเคราะห์เศรษฐกิจการเมืองไทยออกเป็น 4 สำนัก • สำนักการทำให้ทันสมัย (modernization school) • สำนักทฤษฎีพึ่งพิง (dependency school) • สำนักเสรีนิยมใหม่ (neoclassical school) • สำนักสถาบันนิยม (institutionalist school) • งานเช่น Christensen et al. (1993); Doner and Ramsay (1997); Thitinan (2001) • ลักษณะร่วมกัน คือ การยึดถือมโนทัศน์ “ทวิรัฐ” (bifurcated state)ซึ่งมีอิทธิพลสูงสุดในการอธิบายการเมืองไทยหลังอำมาตยาธิปไตย ดู Hewison, Kevin. 2006. “Thailand: Boom, Bust and Recovery.” In The Political Economy of South-East Asia. Markets, Power and Contestation, ed. Gary Rodan, Kevin Hewison, and Richard Robison. Melbourne: Oxford University Press.
คุณูปการทางวิชาการและการกำหนดนโยบายคุณูปการทางวิชาการและการกำหนดนโยบาย นอกเหนือไปฐานข้อมูลใหม่ของการกำหนดนโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาคอันเกิดจากความอุตสาหะของผู้เขียนในการค้นคว้าวิจัยแล้ว ผลกระทบที่ลึกซึ้งได้แก่: • การฟื้นฟูมโนทัศน์เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องรัฐ • ยุคจอมพล ป. มิใช่เพียงยุค “สวรรค์ของนักแสวงหาค่าเช่า” • การเมืองภายในเป็นปัจจัยชี้ขาดในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ • การ “ปฎิรูป” ต้องรวมถึงระบบราชการและเทคโนแครตด้วย
คุณูปการ 1: การฟื้นฟูมโนทัศน์เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องรัฐ • การฟื้นฟูการกรอบวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบัน ที่ถูกละเลยไปในเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก • อัมมาร สยามวาลา: “งานเขียน…เล่มนี้จะอ่อนไหวต่อบริบททางการเมืองมากกว่างานของนักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไป จุดเด่นดังกล่าวนี้ปรากฏชัดเจนที่สุดในบทที่ 4...ซึ่งเป็นหัวใจของหนังสือ และมีการวิเคราะห์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ” • ผาสุก พงษ์ไพจิตร: “จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ [คือ] จะเข้าใจพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทย...จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับระบบเศรษฐกิจ บทบาทของพลังทางสังคมสำคัญๆ ที่อยู่เบื้องหลังรัฐไทยในห้วงเวลาหนึ่งๆ รวมทั้งระบบการแบ่งสรรผลประโยชน์ที่ลงตัว”
คุณูปการ 2: ยุคจอมพล ป. มิใช่เพียง “สวรรค์ของนักแสวงหาค่าเช่า” • อภิชาตชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จและทิศทางของการปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาคเริ่มต้นขึ้นในยุคจอมพล ป. • เช่น การยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราที่ใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลก การยกเลิกการควบคุมสินค้านำเข้า การออกกฎหมายสวัสดิการสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งหมดนี้เป็นรากฐานสำคัญที่จอมพลสฤษดิ์นำไปต่อยอด • ในแง่นี้ งานของอภิชาตจึงอยู่ในกระแสใหม่ของสังคมศาสตร์ไทยที่กลับมาฟื้นฟูความเข้าใจต่อยุคสมัยจอมพล ป. โดยเปิดมิติทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากประเด็นทางประวัติศาสตร์และการเมือง
คุณูปการ 3: การเมืองภายในเป็นปัจจัยชี้ขาดในการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ • ข้อเสนอเด็ดเดี่ยวของอภิชาต (2556) =“สภาวะการเมืองภายในประเทศไทยเป็นปัจจัยชี้ขาด” (หน้า 106) ไม่ใช่แรงกดดันจากภายนอก เช่น สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ระบบทุนนิยมโลก • การปฏิรูปยุคจอมพล ป. เกิดจากความพยายามเอาตัวรอดจากฐานการเมืองอันง่อนแง่น สหรัฐอเมริกาจึงเป็นแนวร่วมที่ต้องไขว่คว้า: “บทบาทในการปรับปรุงรัฐเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลจอมพล ป. สมัยที่ 2 นั้น เป็นผลพลอยได้จากนโยบายด้านการต่างประเทศของเขา” (หน้า 50) • จอมพลสฤษดิ์ “การพัฒนาเศรษฐกิจกลายมาเป็นเป้าหมายหลักของรัฐไทย...สืบเนื่องจากจอมพลสฤษดิ์มีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งอ้างอิงสิทธิธรรมในการปกครองใหม่ การท้าทายอำนาจทางการเมืองของ พคท. รวมทั้งภาวะสงครามเย็นและสงครามในอินโดจีน” (หน้า 106) • ผู้วิจารณ์ หากจะปรับข้อเสนอนี้ให้แหลมคมยิ่งขึ้น ก็อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไม่เคยเป็นเป้าหมายหลักของชนชั้นนำไทย เป็นแต่เพียงผลพลอยได้ (by-product) ของการต่อสู้ทางการเมือง
คุณูปการ 4:การ “ปฎิรูปเศรษฐกิจ” ต้องรวมถึงระบบราชการและคุณค่า/ความสามารถของเทคโนแครตด้วย • ในบริบทที่คำว่า “ปฎิรูป” ถูกนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อและหลักลอย งานของอภิชาตน่าจะช่วยย้ายความสนใจของการปฏิรูปจากนักการเมืองและระบบเลือกตั้ง กลับมาที่ปัญหาใจกลางของตัวรัฐเอง • เช่น การปรับปรุง “ระบบราชการที่แยกส่วน” “ความเสื่อมถอยทางคุณธรรมของเทคโนแครต” หรือ “อำนาจเผด็จการของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย” ซึ่งทั้งหมดนี้ อภิชาตชี้ให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่ทำให้การปฏิรูปเศรษฐกิจไทยล้มเหลว
ปัญหาสามประการของ “รัฐไทยกับการปฎิรูปเศรษฐกิจ” • ปัจจัยอธิบาย: แล้วอะไรกำหนดรัฐอ่อน-รัฐแข็ง แล้วรัฐอ่อน-รัฐแข็งสำคัญหรือไม่? • สมมติฐานต่อเทคโนแครต: คุณพ่อรู้ดีหรือสัตว์เศรษฐกิจ? • บทบาทรัฐและลำดับความสำคัญ: รัฐแข็ง/รัฐพัฒนาที่ไม่สนใจอุตสาหกรรม?
ปัจจัยอธิบาย: แล้วอะไรกำหนดรัฐอ่อน-รัฐแข็ง แล้วรัฐอ่อน-รัฐแข็งสำคัญหรือไม่?
ปัญหา 1: แล้วอะไรกำหนดรัฐอ่อน-รัฐแข็ง แล้วรัฐอ่อน-รัฐแข็งสำคัญหรือไม่?(I) • ในบทที่๑ อภิชาตเสนอว่า “การต่อสู้ระหว่างกลุ่มพลังทางสังคม” กำหนดความเข้มแข็งของรัฐ • ในบทที่ ๕ การต่อสู้ดังกล่าวเหลือเพียง “การเสื่อมสลายของปทัสถานของเหล่าขุนนางนักวิชาการ” • ในบทที่ ๖ และ ๗ “กติกาการเมือง” อันได้แก่ รัฐธรรมนูญ กลับมากลายเป็นประเด็นใหญ่ • สรุปแล้ว พลังทางสังคม เทคโนแครต หรือรัฐธรรมนูญ เป็นตัวชี้ขาดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิรูป? • งานสายสถาบันนิยมมักจะฟันธงปัจจัยอธิบายไปเลย เช่น ประชาธิปไตยทำให้การจัดการเศรษฐกิจมหภาคถูกแทรกแซง; ระบอบอาณานิคมญีปุ่นสร้างรัฐแข็งให้เกาหลีใต้
ปัญหา 1: แล้วอะไรกำหนดรัฐอ่อน-รัฐแข็ง แล้วรัฐอ่อน-รัฐแข็งสำคัญหรือไม่?(II) • อภิชาตแยกส่วนการวิเคราะห์ ความสำเร็จ – ความล้มเหลวออกจากกันมากเกินไป ซึ่งทำให้: • ขาดมุมมองต่อความลักลั่นปะปนระหว่างความสำเร็จกับความล้มเหลว หรือผลทางอ้อมของนโยบาย (โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับเอเชียตะวันออก) • มองไม่เห็นข้อจำกัดภายใน อันเกิดจากองค์ประกอบของแนวร่วมการเมืองเอง • พันธมิตร “ทหาร-เทคโนแครต-นายธนาคาร” เกิดจากการต่อรองโดยนัย (implicit bargain)ที่มีต้นทุนของมันเองอยู่แล้ว เทคโนแครตเองก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมนี้ มิใช่ผู้ถูกกระทำ • A package deal?หากความล้มเหลวของการปฎิรูปเกิดจากพันธมิตรหรือรัฐธรรมนูญลักษณะนี้ นั่นก็เป็นต้นทุนที่เกิดจากการหล่อเลี้ยงระบอบเผด็จการทหารและเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคนั่นเอง • ในแง่นี้ ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิรูปเศรษฐกิจย่อมสามารถอธิบายได้จากลักษณะและองค์ประกอบของแนวร่วมทางการเมืองแต่ละระบอบ โดยความอ่อน-แข็งของรัฐแทบจะไม่มีนัยสำคัญอะไรในการอธิบายผลปลายทางเลย
ปัญหา 1: แล้วอะไรกำหนดรัฐอ่อน-รัฐแข็ง แล้วรัฐอ่อน-รัฐแข็งสำคัญหรือไม่?(III) Vu, Tuong. 2010. Paths to Development in Asia: South Korea, Vietnam, China, and Indonesia. Cambridge: Cambridge University Press. ความสัมพันธ์ชนชั้นนำและผลต่อโครงสร้างรัฐ องค์ประกอบของรัฐพัฒนา Centralized structure Cohesive political organizations Growth-conducive state–class relations or foreign alliances Ideological congruence
สมมติฐานต่อเทคโนแครต: คุณพ่อรู้ดีหรือสัตว์เศรษฐกิจ?
ปัญหา 2: เทคโนแครต: คุณพ่อรู้ดีหรือสัตว์เศรษฐกิจ? (I) • สมมติฐานของรังสรรค์ =“ขุนนางนักวิชาการไทยเป็นปุถุชนที่มีกิเลสตัณหา มีความเห็นแก่ตัว และแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุด (utility maximization) ดุจดังมนุษย์โดยทั่วไป” (รังสรรค์ 2546: 119) • สมมติฐานของอภิชาต เทคโนแครต = “มีพฤติกรรมอนุรักษนิยม ซื่อสัตย์ และมีความกลมเกลียวภายในสูง” (หน้า 222) • เราควรนำ ผลประโยชน์ + อุดมการณ์ ของเทคโนแครตเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วย • ผลประโยชน์: งานศึกษา เช่น Adolph (2013) Bankers, Bureaucrats, and Central Bank Politics: The Myth of Neutralityพบว่า [อาชีพในอดีต] + [อาชีพที่คาดหวังในอนาคต] มีผลต่อการกำหนดนโยบายของเทคโนแครตในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งในธนาคารกลาง • อุดมการณ์: ปัญหาที่อภิชาตตั้งไว้ว่า “ด้วยเหตุใดพวกเทคโนแครตที่ขึ้นชื่อว่ามีพฤติกรรมอนุรักษนิยม ซื่อสัตย์และมีความกลมเกลียวภายในสูง จึงเปิดเสรีบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย และตั้งใจกระตุ้นให้มีการนำเข้าเงินทุนขนานใหญ่” (หน้า 332) ไม่น่าจะเป็นประเด็น เพราะเทคโนแครตเสรีนิยมใหม่ทั่วโลกในทศวรรษ 2530 ต่างก็เลือกแนวทางเปิดเสรีทางการเงิน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนซื่อสัตย์
ปัญหา 2: เทคโนแครต: คุณพ่อรู้ดีหรือสัตว์เศรษฐกิจ? (II) • อำนาจเทคโนแครตกับความเจริญทางเศรษฐกิจ: • ความรุ่งเรือง/เสื่อมถอยของเทคโนแครตไม่ควรถูกโยงเข้ากับความสำเร็จ/ล้มเหลวของเศรษฐกิจอย่างเป็นเส้นตรง • หากเทคโนแครตไทยมีอำนาจมากกว่าที่ได้รับ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าพวกเขาจะไม่ขับประเทศไปสู่การเปิดเสรีที่มากกว่านี้ดังเช่นในละตินอเมริกาทศวรรษ 1980 ซึ่งนายพลให้อำนาจเทคโนแครตเสรีนิยมใหม่มากกว่าไทย • เทคโนแครตเอเชียตะวันออก: กลุ่มข้าราชการผู้มีอำนาจในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกยุคไล่กวดไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ • ในญี่ปุ่นพวกเขามีพื้นฐานการศึกษาด้านนิติศาสตร์ • ในไต้หวันพวกเขาคือวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ • ในเกาหลีใต้พวกเขาคือนักเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์ผู้เชื่อมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก!
บทบาทรัฐและลำดับความสำคัญ: รัฐแข็ง/รัฐพัฒนาที่ไม่สนใจอุตสาหกรรม?
ปัญหา 3: รัฐพัฒนาที่ไม่สนใจอุตสาหกรรม? (I) • แก่นของงานชิ้นนี้ = การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนแครตกับทุนธนาคาร ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองไทยรัฐพัฒนาไม่ใช่แกนกลางในงานชิ้นนี้ • ความสำเร็จในการปฏิรูปของรัฐ = การปรับปรุงเศรษฐกิจมหภาค? • ความยอกย้อนคือ ในขณะที่อภิชาตเลือกใช้มโนทัศน์รัฐอ่อน-รัฐแข็งในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เมื่อวิเคราะห์ว่าชุดนโยบายใดเป็นคุณหรือเป็นโทษกับระบบเศรษฐกิจ อภิชาติกลับมีความโน้มเอียงไปยังเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ • ในขณะที่กลุ่มนักวิชาการที่สร้างและพัฒนากรอบมโนทัศน์รัฐพัฒนาต่างเน้นย้ำว่า • ในช่วงแรก การปฎิรูปที่ดินเพื่อการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพภาคเกษตร • ช่วงต่อมา ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อแข่งขันในตลาดส่งออก • รักษาความสมดุลระหว่างอุตสาหกรรม-เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ: ประเทศเอเชียตะวันออกให้ความสำคัญกับนโยบายอุตสาหกรรม เช่น หากต้องเลือกให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเพื่อแลกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เกาหลีใต้เลือกอย่างหลัง ในขณะที่เทคโนแครตไทยจะเลือกควบคุมเงินเฟ้อ
ปัญหา 3: รัฐพัฒนาที่ไม่สนใจอุตสาหกรรม? (II) • อภิชาตเอง (หน้า 94-5) ก็ชี้ว่าการพัฒนาในยุคสฤษดิ์ต่างจากเอเชียตะวันออกตรงที่ไทยใช้ธนาคารเอกชนเป็นหัวหอกผู้กำหนดทิศทางการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม (private bank-led investment) ในขณะที่ในไต้หวันและเกาหลีใต้ รัฐมีหน้าที่นี้ (หรือที่เรียกกันว่า “policy loans”) นอกจากนี้ พอมาถึงหลังวิกฤต 2540 อภิชาตยังชี้ให้เห็นต่อว่า “รัฐไทยเกือบจะไม่มีประสบการณ์ในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดังเช่นที่ประเทศเกาหลีใต้เคยทำมาก่อนเลย ทำให้รัฐไทยไม่มีบุคลากรหรือความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนอย่างเพียงพอ” (หน้า 281) • สำเร็จหรือล้มเหลว? เมื่อรวมสองประเด็นนี้เข้าด้วยกัน ก็อาจจะพออนุมานได้ว่า ระบอบทุนนิยมนายธนาคารไทย + การเน้นรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมากเกินไป ไม่น่าจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจดังที่อภิชาตนำเสนอ เพราะนอกจากจะไม่สามารถส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เท่าเอเชียตะวันออกแล้ว ก็ยังทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในยามวิกฤตไม่มีประสิทธิผลอีกด้วย • รัฐกับอุตสาหกรรม: แม้ว่าปัจจัยที่ทำให้เอเชียตะวันออกประสบความสำเร็จจะสามารถถกเถียงกันได้ แต่หากเลือกศึกษาจากมโนทัศน์รัฐพัฒนาแล้ว เราไม่อาจละเลยบทบาทของนโยบายอุตสาหกรรมได้
ข้อถกเถียงในวงวิชาการนานาชาติข้อถกเถียงในวงวิชาการนานาชาติ • ปัจจัยกำหนดรัฐพัฒนา: อาณานิคม ภัยคุกคาม หรือการเมืองชนชั้นนำ • รัฐหลายมิติ: ความสามารถทางการคลัง ความสามารถทางการบริหาร ความสามารถด้านอุตสาหกรรม • ความหลากหลายของระบบทุนนิยม(Varieties of Capitalism) • นโยบายอุตสาหกรรมและกับดักรายได้ขนาดกลาง (middle-income trap)
บทสรุป • “รัฐไทยกับการปฎิรูปเศรษฐกิจ” คือ หมุดหมายที่สำคัญของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง • คุณูปการของงาน คือ มโนทัศน์รัฐไทย การเมืองภายใน และยุคสมัยจอมพล ป. • ปัญหาของงานอยู่ที่ปัจจัยกำหนดรัฐอ่อน-รัฐแข็ง สมมติฐานเทคโนแครต และภาคอุตสาหกรรม • การศึกษารัฐไทยในอนาคตควรให้น้ำหนักกับกรอบทฤษฎีและการศึกษาเปรียบเทียบ