1 / 14

ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถม

ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถม. จาก Geotechnical Engineering of Embankment Dams, 1992, Fell, et.al. แปลเรียบเรียงโดย ดร.ธนู หาญพัฒนพานิชย์ ผชช.วธ. กุมภาพันธ์ 2549. ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถม.

dutch
Download Presentation

ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถมผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถม จาก Geotechnical Engineering of Embankment Dams, 1992, Fell, et.al. แปลเรียบเรียงโดย ดร.ธนู หาญพัฒนพานิชย์ ผชช.วธ. กุมภาพันธ์ 2549

  2. ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถมผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนถม  แผ่นดินไหวก่อให้เกิดแรงกระทำเพิ่มเติมต่อตัวเขื่อนนอกเหนือไปจากแรงสถิตที่มีอยู่แล้ว แรงกระทำจากแผ่นดินไหวเป็นแรงกระทำที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ ในลักษณะของการกระทำซ้ำๆ (cyclic) และเกิดขึ้นทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ผลจากแรงแผ่นดินไหวอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อไปนี้แก่เขื่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ พร้อมกันหลาย ๆ อย่างก็ได้ 1

  3. - การทรุดตัวหรือแตกร้าวของตัวเขื่อน โดยเฉพาะบริเวณใกล้สันเขื่อน - การยุบตัวของเขื่อนทำให้ระยะเผื่อพ้นน้ำ (free board) ต่ำลง อาจทำให้เกิดการไหลข้ามของน้ำ จากอ่างเก็บน้ำ - ความไม่มั่นคงของลาดตัวเขื่อน ฐานยัน และอาคารระบายน้ำล้น ทำให้เกิดการรั่วและเขื่อนพัง เสียหายได้ - การกลายเป็นทรายเหลวหรือสูญเสียกำลังรับแรงของมวลดินตัวเขื่อนและฐานราก เนื่องมาจาก การเพิ่มสูงขึ้นของแรงดันน้ำภายในมวล - การเคลื่อนตัวของระนาบรอยเลื่อนที่พาดผ่านฐานรากเขื่อน - การไหลท้นของน้ำข้ามสันเขื่อน เนื่องจากคลื่นน้ำ (Seiches) ที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของ แผ่นดินไหว - การไหลท้นของน้ำข้ามสันเขื่อน เนื่องจากคลื่นน้ำที่เกิดจากดินถล่มขนาดใหญ่ที่ขอบอ่างเก็บน้ำ - การเสียหายของท่อระบายน้ำลอดตัวเขื่อน ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำรั่วลอดตัวเขื่อนและกัดพาเขื่อน เสียหาย 2

  4. โอกาสเกิดปัญหาข้างต้นขึ้นอยู่กับโอกาสเกิดปัญหาข้างต้นขึ้นอยู่กับ 1. ขนาดของแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น 2. สภาพของฐานราก และภูมิประเทศ 3. ชนิดของเขื่อน 4. ขนาดของเขื่อน การศึกษา สำรวจ ออกแบบ และก่อสร้าง เพื่อรองรับแรงแผ่นดินไหว จึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบข้างต้น และเกณฑ์ความสำคัญของเขื่อน (hazard rating) 3

  5. ความแรงของแผ่นดินไหว กำหนดได้จากค่าต่อไปนี้ 1. ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เช่น มาตรา Richter 2. ความรุนแรง (Intensity) เช่น มาตรา Modified Mercalli 3. ค่าอัตราเร่ง (Acceleration) มักวัดเป็นสัดส่วนเทียบกับขนาดของแรง ดึงดูดโลก (ค่า g) การเคลื่อนที่ของคลื่นแผ่นดินไหวไปตามพื้นดิน โดยทั่วไปจะเกิดการลดทอน (Attenuation) ของแรงแผ่นดินไหว การเคลื่อนที่ของคลื่นไปตามชั้นหิน ความแรงจึงลดลงไปเรื่อย ๆ ตามระยะทาง แต่ในบางกรณี เช่น เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้าสู่ตัวกลางที่หลวม เช่น ดินตะกอนแม่น้ำ จะทำให้เกิดการขยายตัว (Amplify) ของคลื่นได้ ความแรงของแผ่นดินไหว จึงเพิ่มความแรงได้ เช่นที่เกิดขึ้นกับแผ่นดินไหว Maxico City ในปี พ.ศ.2528 คลื่นแผ่นดินไหวในชั้นหินวัดได้เพียง 0.03 g เพราะอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมากถึง 400 กิโลเมตร แต่ที่ผิวของชั้นดิน แรงแผ่นดินไหวขยายขึ้นเป็น 0.17 g ด้วยความถี่ที่ลดลง จึงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่ออาคารบนผิวดินที่ไม่ได้ออกแบบไว้รับแรงแผ่นดินไหว มีคนเสียชีวิตนับหมื่น 4

  6. การออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ICOLD (Bulletin 46, 1983) ได้แนะนำค่าแรงแผ่นดินไหวสำหรับออกแบบไว้ 2 ค่า 1. Design Basis Earthquake (DBE)หมายถึง ค่าขนาดแผ่นดินไหวที่ใช้สำหรับการออกแบบ จะเป็นแผ่นดินไหวที่สูงสุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุของอาคาร (บางครั้งก็เรียก Operating Basis Earthquake, OBE) โดยทั่วไปจะพิจารณาสำหรับคาบอายุที่มากกว่า 100 ปีขึ้นไป ค่าแผ่นดินไหวนี้จะหาได้จากวิธีการวิเคราะห์แบบความน่าจะเป็น (Probabilistic analysis) จากแผ่นดินไหวที่เคยบันทึกไว้ได้ 2. Maximum Credible Earthquake (MCE)หมายถึง ค่าขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเขื่อน โดยพิจารณาจากแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนมีพลังรอบ ๆ บริเวณที่ตั้งเขื่อนหาได้ด้วยวิธีกำหนดค่า (Deterministic Analysis) 5

  7. ข้อกำหนดของ ICOLD คือ ภายใต้แผ่นดินไหว MCE การออกแบบเขื่อนจะต้องรองรับไม่ให้เกิด 1) วัสดุตัวเขื่อน และฐานรากกลายเป็นดินเหลว 2) เกิดการทรุดตัว เลื่อนตัวของลาดเขื่อนและฐานราก 3)เกิดการสูญเสียระยะเผื่อพ้นน้ำ 4)เกิดการแตกตัวของเขื่อนจนน้ำไหลรั่วโดยควบคุมไม่ได้ 5) อาคารระบายน้ำ และอุปกรณ์ เสียหายรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อเขื่อน ส่วนข้อกำหนดของ ICOLD ภายใต้ DBE เสนอไว้ว่า เขื่อนอาจเสียหายได้แต่ความมั่นคงของตัวเขื่อนยังคงอยู่ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเขื่อนยังคงใช้งานได้ ICOLD (Bulletin 72, 1989) ได้กำหนดเพิ่มเติมให้ใช้ Maximum Design Earthquake มีค่าเท่ากับ หรือ น้อยกว่า MCE 6

  8. การประมาณค่า DBE โดยทั่วไปจะหาได้ด้วยวิธี ความน่าจะเป็น จากข้อมูลแผ่นดินไหวบริเวณรอบๆ ที่ตั้งเขื่อน โดยแนะนำให้ใช้วิธีของ Cornell 1968 หรือ McGuire 1976 ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลขนาด จุดศูนย์กลาง ที่ตั้งและความลึกของแผ่นดินไหว 2. เลือกใช้สมการการลดทอน (attenuation equation) เพื่อ ประเมินค่าอัตร เร่งสูงสุด (peak ground acceleration, PGA) ณ ที่ตั้งเขื่อนที่เกิดจา แผ่นดินไหว สมการอาจได้มาจากบันทึกอัตราเร่งที่วัดได้จากแผ่นดินไหว หรือใช้สมการที่มีเผยแพร่ทั่วไป หลาย ๆ สมการ โดยต้องคัดเลือกให้ เหมาะสมกับสภาพทางธรณีวิทยา และสภาพแรงกระทำในเปลือกโลก (tectonic) ของที่ตั้งเขื่อน 3. แสดงค่า PGA ลงในกราฟเทียบกับคาบเวลาของการเกิด แล้วหาค่า คาบเวลาเกิดของแรงแผ่นดินไหวของ DBE (ดูรูปที่ 1) 7

  9. รูปที่ 1 8

  10. การประมาณค่า MCE โดยทั่วไปควรใช้วิธีกำหนดค่า (Deterministic Analysis) มากกว่าวิธีความน่าจะเป็น มีขั้นตอนดังนี้ 1. ค้นหารอยเลื่อนสำคัญ ๆ ในพื้นที่รอบ ๆ เขื่อน (อาจครอบคลุมรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร โดยทั่วไปใช้ประมาณ 200-300 กิโลเมตร) 2. ประเมินความมีพลังของรอยเลื่อนแต่ละแนว โดยเฉพาะการมีบันทึกการเกิดแผ่นดินไหวที่ แนวรอยเลื่อน นั้น ๆ อาจต้องใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยาสัณฐาน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ การขุดร่องสำรวจหาอายุการเคลื่อนตัวของชั้นดินบนรอยเลื่อน เพื่อหาช่วงอายุของการ เคลื่อนตัวครั้งต่าง ๆ 3. ประเมินขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดของแต่ละรอยเลื่อน โดยต้องพิจารณาจากขนาดความยาว ของรอยเลื่อนรวมถึงต้องพิจารณารวมเอาแผ่นดินไหวที่เกิดกระจายทั่วไปในพื้นที่ด้วย(Back ground earthquake) ทำการแสดงค่าระหว่างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่สำคัญของรอยเลื่อน เช่น ความยาว, ความลึก เทียบกับขนาดแผ่นดินไหว (รูปที่ 2) 9

  11. รูปที่ 2 10

  12. การประมาณค่า MCE (ต่อ) 4. ประเมินค่าอัตราเร่งสูงสุดที่จุดตั้งเขื่อนที่เกิดจากค่า MCE ของแต่ละรอยเลื่อน ด้วยสมการ ลดทอนที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์หาค่าแผ่นดินไหวสูงสุด ด้วยเหตุที่ช่วงเวลาของการ สั่นสะเทือน, คาบเวลาของการสั่นสะเทือนขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหว และมีผลกระทบ ต่อเขื่อนได้ เช่นเดียวกับขนาดของแผ่นดินไหว จึงควรทำการวิเคราะห์หาค่า MCE จาก แผ่นดินไหวหลาย ๆ แนว 5. ในกรณีที่ไม่สามารถประมาณค่า MCE ได้ด้วยวิธีกำหนดค่า อาจต้องใช้วิธีความน่าจะเป็นก็ ได้ โดยต้องใช้โอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 1 ใน 10,000 (คาบเวลาเกิดซ้ำ 10,000 ปี) ค่า DBE และ MCE ที่ได้จะนำไปใช้ในการคำนวณหาค่าอัตราเร่งสูงสุดและสร้างคลื่นแผ่นดินไหว เพื่อใช้ในการคำนวณความมั่นคงเขื่อนแบบ Dynamic 11

  13. การเกิดแผ่นไหวที่กระตุ้นด้วยการเก็บกักน้ำ (Reservoir Trigger Seismic) ICOLD (1989) สรุปไว้ว่า - อ่างเก็บน้ำสามารถกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว ขนาดสูงสุดได้ ระหว่าง 5 ถึง 6.5 - ส่วนใหญ่เกิดในเขื่อนที่มีความจุใหญ่มาก และเขื่อนมีความสูงมาก ขนาดความจุที่เป็นไปได้ คือ มากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร และ มีระดับเก็บกักสูงมากกว่า 100 เมตร - โอกาสเกิดแผ่นดินไหวลักษณะข้างต้น ต้องนำไปรวมพิจารณาหา ค่าแรงกระทำแผ่นดินไหวด้วย 12

  14. THANK YOU

More Related