1 / 32

หลักการทดลอง

หลักการทดลอง. ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการทดลอง. ทรีทเมนต์ (Treatment ) หมายถึงสิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของวัตถุทดลอง หรือวิธีปฏิบัติที่ใช้กระทำกับหน่วยทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะวัดผลและเปรียบเทียบ เช่น ต้องการ เปรียบเทียบพันธุ์ต่างๆ ของสุกร  พันธุ์ของ สุกร คือ ทรีท เมนต์

dunn
Download Presentation

หลักการทดลอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการทดลอง

  2. ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการทดลองศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการทดลอง • ทรีทเมนต์ (Treatment)หมายถึงสิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของวัตถุทดลอง หรือวิธีปฏิบัติที่ใช้กระทำกับหน่วยทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะวัดผลและเปรียบเทียบ • เช่น ต้องการเปรียบเทียบพันธุ์ต่างๆ ของสุกร  พันธุ์ของสุกร คือ ทรีทเมนต์ • ต้องการเปรียบเทียบวิธีการเลี้ยงไก่ไข่  วิธีการเลี้ยง คือ ทรีทเมนต์

  3. ในการทดลองทั่วไป จะมีทรีทเมนต์ชนิดหนึ่งเรียกว่า คอนโทรล (Control) คือ ตัวแทนของสิ่งหรือสภาพที่เป็นอยู่ หรือปฏิบัติจริง เช่น ปกติชาวบ้านใช้รำเลี้ยงหมู แต่ผู้วิจัยต้องการใช้มันเส้น หรือเศษอาหารเลี้ยงแทนรำ  รำ = คอนโทรล ในกรณีอาหารสัตว์ คอนโทรล = สูตรอาหารมาตรฐาน (basal ration)

  4. 2. หน่วยทดลอง (Experimental unit)หมายถึงหน่วยหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งของวัตถุทดลองที่ได้รับทรีทเมนต์ใด ๆ ในครั้งหนึ่ง ๆ ขนาดของหน่วยทดลอง = จำนวนหรือปริมาณของวัตถุในหนึ่งหน่วยทดลอง หน่วยเดี่ยว = สุกร 1 ตัว ในคอก, ไก่ 1 ตัวในกรง หน่วยกลุ่ม = สุกร 10 ตัวในคอก , ไก่ 10 ตัวในกรง

  5. 3. ความคลาดเคลื่อนของการทดลอง (Experimental error; ) คือ ความแตกต่างระหว่างหน่วยทดลอง 2 หน่วยที่ได้รับทรีทเมนต์เดียวกัน ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือวิธีปฏิบัติ หรือธรรมชาติของหน่วยทดลองเอง

  6. 3. ความคลาดเคลื่อนของการทดลอง (Experimental error)เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องควบคุมในอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้ผลการทดลองที่แม่นยำสูง โดย 1. ความผันแปรที่มีอยู่แล้วในหน่วยทดลอง แก้ไข โดยการเลือกหน่วยทดลองที่สม่ำเสมอกัน หรือเลือกใช้แผนการทดลองที่เหมาะสมกับสภาพของหน่วยทดลอง 2. ความผันแปรที่เกิดขึ้นในขณะทดลอง แก้ไข โดยเพิ่มความละเอียดลออในการทดลอง

  7. 3. ความคลาดเคลื่อนของการทดลอง (Experimental error)หมายถึง ความผันแปรระหว่างหน่วยทดลองที่ได้รับทรีทเมนต์เดียวกัน มี 2 สาเหตุ 3.1 ความผันแปรที่มีอยู่แล้วในหน่วยทดลอง (inherent variability) เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์ น้ำหนักเมื่อเริ่มทำการทดลอง 3.2 ความผันแปรที่เกิดขึ้นในขณะทดลอง (extraneous variability) เกิดจากการขาดความสม่ำเสมอในวิธีปฏิบัติ เช่น ให้อาหารสัตว์ไม่ครบ

  8. 4. การซ้ำ (Replication)หมายถึง การที่ทรีทเมนต์หนึ่ง ๆ ปรากฏในการทดลองมากกว่า 1 ครั้ง จำนวนซ้ำ = จำนวนครั้งที่ทรีทเมนต์นั้น ๆ ปรากฏในการทดลอง วัตถุประสงค์ของการซ้ำ 1. เพื่อประมาณค่าความคลาดเคลื่อนของการทดลองได้ หากการทดลองที่มีจำนวนซ้ำ = 1 จะให้ค่า dfสำหรับความคลาดเคลื่อน (n-1)= 0 ทำให้ไม่สามารถคำนวณหาค่าทางสถิติได้

  9. 4. การซ้ำ (Replication) วัตถุประสงค์ของการซ้ำ 2. เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำของการทดลองให้สูงขึ้น โดย ความแม่นยำมาก ความคลาดเคลื่อนน้อย จาก โดย r = จำนวนซ้ำ 2 s s = - y r

  10. 4. การซ้ำ (Replication) วัตถุประสงค์ของการซ้ำ 3. ขยายขอบเขตของการสรุปผล เช่น ทำการทดลองเลี้ยงสุกรซ้ำหลายๆสถานีทดลอง (แพร่ สระบุรี ขอนแก่น เพชรบุรี สงขลา) จะสรุปผลได้กว้างกว่าทำการทดลองที่เดียว 4. ควบคุมความคลาดเคลื่อนในหน่วยทดลองให้น้อยลง

  11. 5. การสุ่ม (Randomization)หมายถึง วิธีการจัดทรีทเมนต์ให้กับหน่วยทดลอง โดยคำนึงถึง กฎแห่งโอกาส (law of chance) • วัตถุประสงค์ของการสุ่ม • เพื่อขจัดความลำเอียง (bias) อันเกิดจากตัวผู้ทดลองเอง • เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดการวิเคราะห์ความแปรปรวน ที่กำหนดว่า ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นโดยสุ่มและอิสระจากกัน

  12. 5. การสุ่ม (Randomization)มีวิธีการสุ่มดังนี้ • จับสลาก • ใช้ตารางเลขสุ่ม นิยมใช้ในกรณีมีหน่วยทดลองมาก ๆ โดยใช้ตารางเลขสุ่มหมื่นตัว (Ten thousand random number table) ทำโดย • 2.1 สุ่มหน้าตาราง 2.2 สุ่มตำแหน่งที่เริ่มต้นใช้ตาราง • 2.3 ให้หมายเลขกำกับตัวเลข 2.4 ทำการสุ่มทรีทเมนต์

  13. 6. แบบหุ่นทางสถิติ (Mathematical model)หมายถึง สมการที่ใช้อธิบายว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อลักษณะที่ศึกษา ทำให้ทราบว่าความผันแปรทั้งหมดในข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนต่าง ๆ อย่างไรบ้าง เช่น

  14. 6. แบบหุ่นทางสถิติ (Mathematical model) Yij = ค่าสังเกตของหน่วยทดลองที่ i = ค่าเฉลี่ยของประชากร i = อิทธิพลของทรีตเมนต์ i, i = 1, 2, 3… εij = ความคลาดเคลื่อนของการทดลอง

  15. ขั้นตอนในการวางแผนการทดลองขั้นตอนในการวางแผนการทดลอง 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการทดลอง ควรกำหนดให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีขอบเขตเฉพาะ อาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้ - มีลักษณะเป็นคำถามเพื่อใช้เป็นแนวทางหาคำตอบ - มีลักษณะเป็นสมมุติฐานที่ต้องการทดสอบ - กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Specification) ที่ต้องการจะได้ - กำหนดในรูปของอิทธิพล (Effect) ที่ต้องการประมาณค่า

  16. 2. เลือกทรีทเมนต์ที่จะใช้ในการทดลอง โดย วัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างชัดเจนจะช่วยทำให้สามารถกำหนดชนิดและจำนวน ทรีทเมนต์ที่จะทดลองได้ง่ายขึ้น 3. เลือกหน่วยทดลองและกำหนดขนาดของหน่วยทดลอง การเลือกใช้ขนาดของหน่วยทดลองที่เหมาะสมจะทำให้ความคลาดเคลื่อนของการทดลองต่ำ หากหน่วยทดลองมีขนาดใหญ่เกินทำให้ควบคุมยาก เสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายสูง ขนาดของการทดลอง = จำนวนของหน่วยทดลองทั้งหมดที่ต้องใช้ (จำนวนซ้ำ)

  17. 4. การเลือกแผนการทดลองที่มีประสิทธิภาพ โดย มีลักษณะดังนี้ - ให้ความคลาดเคลื่อนของการทดลองต่ำ - สามารถตอบวัตถุประสงค์ของการทดลองได้ครบถ้วน - ง่ายต่อการวิเคราะห์ - ประหยัดค่าใช้จ่าย และสะดวกในการทดลอง

  18. 5. การดำเนินการทดลอง ต้องพยายามควบคุมให้เกิดความคลาดเคลื่อนให้น้อยที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและการขาดความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ 6. การวิเคราะห์และตีความหมาย ข้อมูลที่ได้จากการทดลองที่มีการวางแผนไว้ มักจะไม่มีปัญหาในการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจพบว่าผลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์มีความขัดแย้งกับกฎ ข้อความจริง หรือทฤษฎีที่รวบรวมมา

  19. ปัจจัยที่กำหนดจำนวนซ้ำปัจจัยที่กำหนดจำนวนซ้ำ • ความแปรปรวนของหน่วยทดลอง • ถ้าหน่วยทดลองแปรปรวนสูง จำเป็นต้องใช้จำนวนซ้ำมาก • โดยทั่วไป ใช้ ค่าที่นิยมใช้วัดความแปรปรวนคือ ค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปร (Coefficient of variability, CV) โดย

  20. ปัจจัยที่กำหนดจำนวนซ้ำปัจจัยที่กำหนดจำนวนซ้ำ 2. ปริมาณความแตกต่างค่าเฉลี่ยของทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ที่มีความแตกต่างกันมากจะใช้จำนวนซ้ำน้อยกว่า เช่น การทดสอบผลของการใช้และไม่ใช้ปุ๋ย จะมีจำนวนซ้ำน้อยกว่าการทดสอบผลของปุ๋ย A กับ B

  21.  = ความน่าจะเป็นที่จะปฏิเสธสมมติฐานหลัก เมื่อสมมติฐานหลักนั้นเป็นจริง  = ความน่าจะเป็นที่จะยอมรับสมมติฐานหลัก เมื่อสมมติฐานทางเลือกนั้นเป็นจริง ปัจจัยที่กำหนดจำนวนซ้ำ 3. ขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ การทดลองที่ต้องการคลาดเคลื่อนต่ำ ต้องใช้จำนวนซ้ำมาก การตัดสินใจ ความเป็นจริง Hoเป็นจริง Hoไม่เป็นจริง ความผิดพลาดประเภทที่ 1,  1-  ปฏิเสธ Ho ความผิดพลาดประเภทที่ 2,  1-  ยอมรับ Ho

  22. 4. ประเภทของการทดสอบ การทดสอบแบบหางเดียวจะใช้จำนวนซ้ำน้อยกว่าการทดสอบแบบสองหาง - แบบหางเดียว จะให้ผลสรุปที่มีความคลาดเคลื่อนตรงกับระดับนัยสำคัญของการทดสอบที่กำหนด - แบบสองหาง ระดับนัยสำคัญของการทดสอบจะถูกแบ่งออกเป็นสองด้าน ถ้าต้องการความคลาดเคลื่อนตรงกับระดับนัยสำคัญของการทดสอบ ต้องกำหนดให้ค่าลดลงครึ่งหนึ่งของการทดสอบแบบหางเดียว ทำให้ต้องเพิ่มซ้ำมากขึ้น

  23. 5. จำนวนทรีทเมนต์ที่ต้องการทดลอง จำนวนทรีทเมนต์มากจะใช้จำนวนซ้ำน้อยกว่าการทดลองที่มีจำนวนทรีทเมนต์น้อย เพื่อให้มีจำนวนความเป็นอิสระ (degree of freedom) มากพอ 6. แผนการทดลอง แผนการทดลองที่ให้ ค่า Error dfสูง จะใช้จำนวนซ้ำน้อยกว่า แผนการทดลองที่ให้ Error dfต่ำ

  24. 6. แผนการทดลอง

  25. 7. งบประมาณและระยะเวลา หากต้องการให้การทดลองมีความคลาดเคลื่อนต่ำ จำเป็นต้องใช้จำนวนซ้ำมาก ดังนั้นถ้าผู้ทดลองมีงบประมาณมากและระยะเวลาทดลองที่พอเพียงพอก็สามารถทำได้

  26. ส่วนประกอบที่จำเป็นของแผนการทดลองส่วนประกอบที่จำเป็นของแผนการทดลอง • แผนการทดลองที่นำไปใช้ทดลองแล้วทำให้ได้มีข้อมูลที่มีคุณภาพ • สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้อง มีส่วนประกอบดังนี้ • มีการซ้ำ เพื่อประมาณค่าความคลาดเคลื่อนได้ • มีการสุ่ม เพื่อขจัดความลำเอียงและทำให้ได้ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปตามข้อกำหนด • มีการควบคุมการคลาดเคลื่อน ให้ต่ำ สามารถตรวจความแตกต่างของ trt ได้

  27. ประเภทของแผนการทดลอง 1. ทรีทเมนต์มาจากปัจจัยเดียว • ไม่มีการจัดกลุ่มทดลอง • (1) Completely randomized design

  28. 2. มีการจัดกลุ่มหน่วยทดลอง 2.1 แต่ละกลุ่มสามารถใส่ได้ครบทุกทรีทเมนต์ a) การจัดกลุ่มในทิศทางเดียว (2) Randomizedcompletely block design b) การจัดกลุ่มทำในสองทิศทาง (3) Latin square design

  29. c) การจัดกลุ่มทำในสามทิศทาง (4) Graeco -Latin square design 2.2 แต่ละกลุ่มไม่สามารถใส่ได้ครบทุกทรีทเมนต์ a) การจัดกลุ่มในทิศทางเดียว (5) Incompletely block design b) การจัดกลุ่มทำในสองทิศทาง (6) Incompletely Latin square design

  30. 2. ทรีทเมนต์มาจากหลายปัจจัย • 2.1 ปัจจัยถูกใช้ผสมกัน • หน่วยทดลองมีขนาดเดียว • a) ไม่มีการจัดกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มใส่ได้ครบทุกทรีทเมนต์ • (7) Factorial experiment in any design • b) มีการจัดกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มใส่ได้ไม่ครบทุกทรีทเมนต์ • (8) Confounded design

  31. 2. ทรีทเมนต์มาจากหลายปัจจัย 2. หน่วยทดลองมีขนาดต่างกัน (9) Split – plot and split – block design 2.2 ปัจจัยหนึ่งซ้อนอยู่ใต้ปัจจัยอื่น (10) Hierarchical or Nested design

  32. 3. แผนการทดลองประเภทอื่น ๆ 3.1 หน่วยทดลองแต่ละหน่วยได้รับหลายทรีทเมนต์ (11) Change-over and Switchback designs 3.2 การทดลองเฉพาะบางส่วนของซ้ำ (12) Fractional factorial design 3.2 การทดลองที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (13) Response surface design

More Related