290 likes | 437 Views
สาขาการเงินของไทย. เอกสารอ้างอิง. วเรศ อุปปาติก เศรษฐศาสตร์การเงินและธนาคาร 2544 บทที่ 6 และ 9 อรวรรณ รัตนภากร “โครงสร้างทางการเงินไทยในระดับมหภาค” บทความเสนอในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14-15 มิถุนายน 2548. เอกสารอ้างอิง.
E N D
เอกสารอ้างอิง • วเรศ อุปปาติก เศรษฐศาสตร์การเงินและธนาคาร 2544 บทที่ 6 และ 9 • อรวรรณ รัตนภากร “โครงสร้างทางการเงินไทยในระดับมหภาค” บทความเสนอในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14-15 มิถุนายน 2548
เอกสารอ้างอิง • รุ่ง โปษยานนท์ มัลลิกะมาส, ดอน นาครทรรพ และ ผจงจิต จิตตะมัย “ความท้าทายของธนาคารพาณิชย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน” บทความเสนอในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
สาขาการเงิน: ฝากเงิน ยืมเงิน • บทบาทของตัวกลางระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน (intermediation) • ส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร
โครงสร้างสาขาการเงิน • สาขาการเงิน มีทั้งนอกระบบ และในระบบ • การเงินนอกระบบ: รัฐไม่กำกับดูแล เช่น กลุ่มแชร์ การกู้จากบุคคล • เคยมีขนาดใหญ่ (90% ของสินเชื่อรวมในปี 2505) • แต่ได้ลดลงมากเพราะการพัฒนาของในระบบ
โครงสร้างสาขาการเงิน • การเงินในระบบ: รัฐกำกับดูแล • ประกอบด้วย สถาบันการเงิน และตลาดทุน (หลักทรัพย์ ตราสารหนี้)
โครงสร้างสาขาการเงิน • สถาบันการเงิน: • ธนาคารพาณิชย์ • ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (ออมสิน อาคารสงเคราะห์ SME EXIM)
โครงสร้างสาขาการเงิน • สถาบันการเงิน: • สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทบริการให้สินเชื่อ) • อื่นๆ ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงรับจำนำ
เท่าที่ผ่านมา สถาบันการเงิน (โดยเฉพาะธนาคาร) มีบทบาทมากที่สุด • แต่ตลาดทุนมีแนวโน้มใหญ่ขึ้นมากภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • ก่อน WW2 ธนาคารต่างชาติมีบทบาทเด่น ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมด้านการค้าต่างประเทศ • ช่วง WW2 ธนาคารต่างชาติดำเนินงานได้ยาก จึงเริ่มมีธนาคารไทยทดแทน เช่น ธ. กรุงเทพฯ ธ.กสิกรไทย • ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2485)
ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • ธนาคารต่างชาติถูกจำกัดให้เปิดได้เพียงสาขาเดียว • ธนาคารไทยจำกัดจำนวนไว้ 15 แห่ง แต่ขยายสาขาได้มาก • Big four: กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และ ไทยพาณิชย์ ที่เหลือมีทั้งขนาดกลางและเล็ก
ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • กำกับดูแลโดย ธปท. ตาม พรบ. การธนาคารพาณิชย์ 2505 เช่น กำหนดเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง กำหนดให้ถือเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่อง กำหนดเงินสำรองหนี้สูญ
ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • กระจายความเป็นเจ้าของโดยให้ธนาคารต้องเป็นบริษัทมหาชน และบุคคลหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกิน 5% เพื่อแก้ปัญหาให้กู้กับบริษัทของเจ้าของธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • จัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2528) สำหรับช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน + คุ้มครองผู้ฝากเงิน โดยสถาบันการเงินส่งเงินเข้ากองทุนฯ 0.2% ของยอดเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • นโยบาย “ไม่ให้เปิดใหม่ – เก่าล้มไม่ได้” กลายเป็นปัญหา moral hazard? • เริ่มเปิดเสรีการเงิน (2533) ให้ธนาคารมีกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) และการกู้เงินจากต่างประเทศจนทำให้เกิดวิกฤติ
บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ (ก่อนวิกฤติ) • บริษัทเงินทุน คล้ายกับธนาคาร แต่รับฝากเงินไม่ได้ ต้องกู้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และให้กู้ในลักษณะที่เสี่ยงกว่า • บริษัทเงินทุนเคยรวมกับธุรกิจหลักทรัพย์ (นายหน้าค้าหุ้น) เคยมีปัญหา “ล้มละลาย” มาแล้ว (2522-26) เพราะเล็กและเสี่ยงกว่าธนาคาร จึงมักเป็นด่านแรกที่เจอปัญหา • ธปท. กำกับดูแลไม่ทั่วถึง มีช่องโหว่สำหรับกิจกรรมนอกระบบ เช่น แชร์แม่ชม้อย
สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • การไหลออกของเงิน หุ้นราคาตกต่ำ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุด นำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงิน (เริ่มด้วยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และต่อมากระทบถึงธนาคาร) • ผู้ฝากแห่ไปถอนเงิน เกิดปัญหาสภาพคล่อง และต่อมากลายเป็นปัญหาความอยู่รอดทางการเงิน
สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • ธปท. สั่งปิดบริษัทเงินทุนชั่วคราวก่อน แต่ต่อมาก็ต้องปิดถาวรเป็นจำนวนกว่า 50 แห่ง (ส่วนใหญ่) ปัจจุบันเหลือเพียง 5 ราย (แยกธุรกิจหลักทรัพย์ออกไปแล้ว) และบางรายปรับเป็นธนาคาร • การล้มของบริษัทเงินทุน การลดค่าเงินบาท และภาวะหนี้เสีย (NPL) ที่รุนแรง กระทบไปถึงธนาคารทุกแห่ง
สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • กระทรวงการคลังและ ธปท. เข้าแทรกแซงด้วยวิธีการต่างๆ • กองทุนฟื้นฟูฯ ให้กู้และเข้าควบคุมกิจการ (ยังมีหุ้นใหญ่ในหลายแห่ง) • ตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย เช่น องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) • อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นธนาคารเกิน 49% เป็นเวลา 10 ปี • ประกันเงินฝากเต็มจำนวนเงิน • ช่วยเพิ่มทุน
สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • รัฐบาลต้องกู้เงิน (ขายพันธบัตร) ให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นภาระของผู้เสียภาษีในที่สุด • ปิดธนาคาร 1 แห่ง อีก 3-4 แห่งต้องถูกควบ/โอนกิจการ • ปัจจุบันมีธนาคาร 18 แห่ง:Big four + ขนาดกลาง + ขนาดเล็ก (retail bank)
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • บทเรียนในอดีต: ความสำคัญของการมีระบบที่เข้มแข็ง และบริการที่ทั่วถึง • แผนพัฒนาระบบฯ เพื่อให้บริการทางการเงินได้ทั่วถึง (ชนบท และ SME) และปรับตามสภาพที่เปลี่ยนไป (เช่น universal banking และเปิดเสรีสาขาการเงิน) ใน 5-10 ปี
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • บริการมากขึ้นสำหรับผู้มีรายได้น้อย และปรับให้ ธกส. เป็นธนาคารเพื่อพัฒนาชนบท • ลดความหลากหลายของประเภทสถาบันการเงิน อยากเห็นธนาคารให้บริการการเงินได้ทุกประเภท • ธนาคาร 2 ประเภท: ธนาคารพาณิชย์ (ทุกประเภทบริการ) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ประชาชนรายย่อย + SME)
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • One presence: กลุ่มธุรกิจเดียวไม่จำเป็นต้องมีสถาบันหลายประเภท มีธนาคารอย่างเดียวก็พอเพื่อ economies of scale และคุมกำเนิดบริษัทเงินทุน • กำหนดให้ธนาคารมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและมีเงินทุนเพียงพอ เพิ่มความเข้มงวดในด้านเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Basel 2) และเงินสำรองหนี้สูญ
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • ธปท. ปรับปรุงวิธีการกำกับดูแล (แก้ไขกฎหมายสถาบันการเงินอยู่) • ปรับปรุงข้อมูล credit bureau เพื่อการปล่อยสินเชื่อที่เสี่ยงน้อย
การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • จะใช้ระบบประกันเงินฝาก (ที่ไม่ก่อปัญหา moral hazard) โดยออกกฎหมายใหม่ทดแทนการประกันเงินฝากเต็มจำนวนเงิน • เปิดให้มีการแข่งขันจากธนาคารของต่างชาติอย่างค่อยเป็นค่อยไป (ธนาคารไทยแข่งกับธนาคารต่างชาติได้ไหม?)