940 likes | 1.22k Views
การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ผศ. ดร. ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รู้ก่อน ได้เปรียบ. การพัฒนาสังคมสู่ยุคทุนทางปัญญา. ค.ศ. 1300 คลื่นลูกที่หนึ่ง “ปฏิวัติเกษตรกรรม” การมีที่ดินจะสร้างความมั่งคั่ง.
E N D
การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ผศ. ดร. ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รู้ก่อน ได้เปรียบ การพัฒนาสังคมสู่ยุคทุนทางปัญญา ค.ศ. 1300 คลื่นลูกที่หนึ่ง “ปฏิวัติเกษตรกรรม” การมีที่ดินจะสร้างความมั่งคั่ง ค.ศ. 1800 คลื่นลูกที่สอง “ปฏิวัติอุตสาหกรรม” การมีเงินทุนสร้างความมั่งคั่ง ค.ศ. 1965คลื่นลูกที่สาม “ปฏิวัติสารสนเทศ” สารสนเทศที่เหนือกว่าจะ สร้างความมั่งคั่ง ค.ศ. 2004 คลื่นลูกที่ 4 “สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ความรู้จะสร้างสมรรถนะเหนือคู่แข่ง”
โลกาภิวัตน์ สินค้า/บริการ คน / แรงงาน ความรู้/ข่าวสาร ทุน เทคโนโลยี ICT ทำให้การบันทึก/แพร่กระจาย ความรู้ง่ายขึ้นและถูกลงมาก บรรษัทข้ามชาติ กระจายการลงทุนและการรับ ช่วงการผลิตไปยังประเทศต่าง ๆ
คุณลักษณะของสังคม/เศรษฐกิจฐานความรู้คุณลักษณะของสังคม/เศรษฐกิจฐานความรู้ สังคมฐานความรู้ ความรู้ทำให้ประชาชนมีอำนาจความมั่งคั่งทางวัตถุและวัฒนธรรมและเป็นสังคมที่ยั่งยืน (WSF, 2003) แรงขับเคลื่อนหลัก เศรษฐกิจ ฐานความรู้ ความรู้ ความรู้ถูกแปรเป็นสินทรัพย์และปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการสร้างการเจริญเติบโตในทุกสาขาเศรษฐกิจ (APEC, 2000)
ภาพที่พึงประสงค์ของเศรษฐกิจ/สังคมฐานความรู้ของประเทศไทยภาพที่พึงประสงค์ของเศรษฐกิจ/สังคมฐานความรู้ของประเทศไทย การเข้าถึงความรู้ของ ประชาชนเพิ่มขึ้น ช่องว่างทางความรู้ใน สังคมลดลง การยกระดับและสร้างมูลค่าใน อุตสาหกรรมและบริการ ยุทธศาสตร์ การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ร่วมกับความรู้และภูมิปัญญาไทย • การยกระดับคุณธรรมและจริยธรรมนำไปสู่สังคมสันติสุข
ทำไมต้อง ”การจัดการความรู้” ? สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร 1. ภาวะของการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคต 2. กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy) 3. ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี 4. ความรู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก 2 -3 ปี การเรียนรู้ที่ เร็วกว่า (faster learning) จะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน
ทำไมต้อง”การจัดการความรู้” ? • สภาพแวดล้อมภายในองค์กร 1. ความผิดพลาดซ้ำๆ ของผู้ปฏิบัติงาน 2. ความรู้อยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อลาออกไปความรู้ก็จะไปกับ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น ทำให้องค์กรขาดความรู้นั้นไป 3. องค์กรมี Best Practice แต่ไม่เคยนำมาใช้ และบางครั้งองค์กรก็ ไม่รู้ว่า Best Practice ของตนคืออะไร 4. องค์กรมีความคิดริเริ่มซ้ำซ้อน (Wheel reinvention) หรือเรื่อง เดียวกันตลอดเวลา 5. องค์กรต้องการผลงานที่ดีขึ้นในเรื่องของผลกำไร และการ ตอบสนองที่ดีต่อลูกค้า
ทำไมต้อง”การจัดการความรู้” ? • Asset Management • การเปลี่ยนแปลงของกระแสธุรกิจ(New World Economy) • โรคสมองไหล • เครื่องมือพัฒนาบุคลากร • การพัฒนาความรู้ขององค์กร • การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
Asset Management • Tangible Asset • Man • Machine • Money • Material • Intangible Asset • Knowledge • Experience • Competency • Idea/Imaginary • Leadership • Relation/Connection • Team Work
พัฒนาการของทฤษฎีทางการจัดการพัฒนาการของทฤษฎีทางการจัดการ
การบริหารความรู้ในองค์กรเป็นข้อกำหนดในการพัฒนาระบบราชการของ ก.พ.ร. เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่าส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประเมินผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในการสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
ประเด็นการประเมินผล มิติ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนา องค์กร (น้ำหนัก : ร้อยละ 20) มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ (น้ำหนัก : ร้อยละ 10) มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล ตามยุทธศาสตร์ (น้ำหนัก : ร้อยละ 60) มิติที่ 2 ด้านคุณภาพ การให้บริการ (น้ำหนัก : ร้อยละ 10) คุณภาพการให้บริการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การบริหารความรู้ในองค์กร การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลาการให้บริการ ผลสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ การจัดการสารสนเทศ การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง
องค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ (Strategy-focused Organization) การบริหารกระบวนการ ประสิทธิภาพ efficiency ลดรอบระยะเวลาดำเนินการ การพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น ลดต้นทุน & ความสูญเสีย Reengineering Lean Enterprise Six Sigma TQM เพิ่มผลผลิต กระบวนการบริหารลูกค้า ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง Blueprint for Change คุณภาพ quality เพิ่มคุณค่า Value Creation เพิ่มความพึงพอใจ การดูแลผู้รับบริการ ความโปร่งใส มีส่วนร่วม เพิ่มความไว้วางใจ การวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ประสิทธิผล effectiveness ขีดสมรรถนะ capacity-building ทุนมนุษย์ เพิ่มความพร้อมเชิง ยุทธศาสตร์ ทุนข้อมูลสารสนเทศ&ทุนความรู้ ทุนองค์กร
ความหมายของการจัดการความรู้ความหมายของการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ เป็นศาสตร์ที่เป็นสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ โมเดลทางธุรกิจ (business model)โดยการใช้ความรู้ ในบริบทของธุรกิจประกอบด้วยการสร้างความรู้ การประมวล การแลกเปลี่ยนในการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ และการสร้าง นวัตกรรม ในทางปฏิบัติการจัดการความรู้ เป็นการกระทำร่วมกัน ของงานประจำและเทคโนโลยีควบคู่กันๆไป (Ruggles,Rudy. http://www.sims.berkeley.edu./courses/is213/s99/Projects/P9/web_site/about_km.html
เป้าหมายของการจัดการความรู้เป้าหมายของการจัดการความรู้ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ - การตอบสนองความต้องการ (responsiveness)ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร - นวัตกรรม (innovation)ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้ - ขีดความสามารถ (competency)ของบุคลากร และขององค์กร - ประสิทธิภาพ (efficiency)ในการทำงาน
การจัดการความรู้ - เกี่ยวข้องกับการกำหนดกิจกรรมทางความรู้ในแต่ละ Business Function - โดยการรวมกิจกรรมดังกล่าวกับกระบวนการจัดการความรู้ (KM process) - และเชื่อมโยงกับแรงงานความรู้ (knowledge worker) และชุมชนความรู้ (knowledge communities) - เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินทางความรู้ได้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
การจัดการความรู้ในองค์กรการจัดการความรู้ในองค์กร • ในทุกๆหน่วยงานจะมีหน่วยงานย่อย ๆ 2. ในทุก ๆ หน่วยงานทั้งใหญ่และหน่วยงานย่อยต้อง เกี่ยวข้องกับความรู้เนื่องจากองค์กร - ต้องการความคิดสร้างสรรค์ - ต้องการการเรียนรู้ - ต้องการทำสิ่งที่ดีขึ้น - ต้องการสร้างคุณภาพ 3. ต้องการการจัดการความรู้ในทุกขั้นตอนตามกลยุทธ์ขององค์กร - โดยการเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์และเป้าหมายของ ธุรกิจ - เป็นการทุ่มเทพลังงานและความพยายามไปใน ทิศทางที่ถูกต้อง
Explicit Knowledge Tacit Knowledge
ประเภทของความรู้ 1. ความรู้โดยนัย / เฉพาะตัว (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ สัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่ สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงานและการแก้ปัญหา 2. ความรู้ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge)เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมและถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการ ต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คู่มือต่าง ๆ 3.วัฒนธรรมความรู้ (Culture Knowledge) เป็นความเชื่อ ค่านิยม ระเบียบปฏิบัติ และปทัศสถานขององค์กร ซึ่งจะเกิดจากสภาพแวดล้อมขององค์กร องค์กรที่พัฒนามาเป็นระยะเวลานานจะมีการพัฒนาความเชื่อร่วมกัน และเป็นธรรมชาติขององค์กร ความสามารถหลักขององค์กร ( Core competency) ซึ่งก็คือวัฒนธรรมขององค์กรนั่นเอง
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง(Computer/Information Science) Management = Objects จtเกี่ยวข้องกับ AI/ Re-engineering Information Management ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหม่และเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. การจัดการสารสนเทศ (IM) หรือระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) และ Supply Chain / Logistic/ MRP /ERP 2.ศูนย์ความรู้ (Knowledge Center) รวมทั้งการสร้างฐานความรู้และห้องสมุด สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง(Philosophy/Psychology/Sociology Business/ Management) Management = Process จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงทักษะของบุคคลที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งทักษะและKnow How ซึ่งกลุ่มนี้จะเติบโตช้า 1. การจัดการเกี่ยวลูกค้า (Customer)=CRM Data Warehouse/ Data Miming/ Business Intelligent 2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์(Staff)=HRM/HRD /WBI/ WBT /E-Learning 3. วัฒนธรรมองค์กร ขอบข่ายในการจัดการความรู้ Track = Management of Information (Explicit Knowledge) Track= Management of People (Tacit Knowledge)
กระบวนการของความรู้ Tacit Knowledge ปัญญา การตัดสินใจ คุณค่า ความรู้ ความตระหนัก ประสบการณ์ที่ผ่านมา ExplicitKnowledge สารสนเทศ ประมวลผล ข้อมูล เหตุการณ์
การเรียนรู้ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้การเรียนรู้ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เมื่อก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เราต้องเรียนรู้ให้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง เรียนรู้ที่สัมพันธ์กับการทำงานและสามารถปฎิบัติงานได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
พัฒนาการของการจัดการความรู้พัฒนาการของการจัดการความรู้
ขั้นที่หนึ่ง พัฒนาการของการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) และการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) วลีที่สำคัญในขั้นนี้ก็คือ Best Practices และการเรียนรู้โดยใช้ “lessons learned”
ขั้นที่สอง พัฒนาการของการจัดการความรู้ เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และมิติทางวัฒนธรรม - Peter MSenge ได้เสนอเรื่ององค์กรการเรียนรู้ - Nonaka, Ikujiro และ Hirotaks takeuchi แนวความคิดเรื่องความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) วลีสำคัญในขั้นที่สองของการจัดการความรู้ก็คือชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice)
ขั้นที่สาม พัฒนาการของการจัดการความรู้ เน้นความสำคัญของเนื้อหา ( Content) เนื้อหาเอกสารในการประชุม KM world ในปี ค.ศ. 2000 ได้นำเสนอเรื่องการจัดการเนื้อหา (Content Management) เป็นครั้งแรก และปี ค.ศ. 2001 ขั้นที่สาม ของการจัดการความรู้ก็คือการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) และเนื้อหา (Content) โดยจะให้ความสำคัญกับความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศ (Retrievability)
กระบวนการจัดการความรู้Model: Probst Knowledge identification knowledge transfer knowledge acquisition knowledge storing knowledge development knowledge utilization
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการสารสนเทศ - สารสนเทศจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของมัลติมีเดีย -บัตรรายการ AACR II จะเปลี่ยนเป็น Meta data ตัวอย่างเช่น Metadata Records, RDA, Metadata Schemas, XML, และ FRBRoo Model - หัวเรื่อง จะเปลี่ยนเป็น Ontology - การบริการสารสนเทศ (Information Service) ที่มุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการ (Quality of service) การจัดหาเนื้อหาดิจิตอลและให้บริการผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ(Content Provider) การให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการ(Customer Oriented) การบริการเชิงรุก(Proactive service)
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ - สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์, Web 2.0, Library 2.0, Really Simple Syndication (RSS), Blogs, Wikis. Short Message Service (SMS), Podcasting, Mashups, Tagging, Folksonomies, OpenSource Software (OSS), Open Access (OA) • - บริการ IT resources ที่มีขนาดใหญ่เสมือนจริง และมีความยืดหยุ่นสูง • ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Cloud computing ขึ้น และจะเปลี่ยนรูปแบบในการใช้งานจากการซื้อเป็นการเช่า โดยคาดว่า ตลาด Cloud computing services จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นในรูป HaaS (Hardware as a Service) PaaS (Platform as a Service) SaaS (Software as a Service) DaaS (Database as a Service) และ IaaS (Integration as a Service) จนอาจจะเรียกว่า Everything as a Service
การเปลี่ยนแปลงทางด้านด้านสื่อสารสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงทางด้านด้านสื่อสารสารสนเทศ -สังคมบนเครือข่าย (Social Networking/ Social Computing) เกิดขึ้น เช่น การสื่อสารโดยใช้ facebook , Hi5 เป็นต้น -การเข้าถึงสารสนเทศได้ในทุกที่ทุกเวลา (Access Anywhere, Anytime) จัดเก็บข้อมูล (Communication devices for ubiquitous information)ในอนาคต สามารถเปิดให้เข้าถึงได้ในทุกที่ทุกเวลา สามารถจัดเก็บและนําส่งข้อมูลทั้งข้อมูลตัวอักษร ภาพนิ่ง เสียง เพลง และภาพเคลื่อนไหว • การบริการข้อมูลตำแหน่ง (Location Based Services) เป็นการระบุตำแหน่งที่อยู่ (Location) ซึ่งปัจจุบันใช้เทคโนโลยี Global Positioning System (GPS) และคาดว่าจะมีเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งอื่นๆ ที่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในระยะเวลาอันใกล้ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ให้มีความถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีความสำคัญในการพัฒนารูปแบบการใช้งาน (Applications) ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม
การพัฒนาห้องสมุดสู่ศูนย์ความรู้การพัฒนาห้องสมุดสู่ศูนย์ความรู้
การจัดการความรู้เป็นลำดับที่ละขั้นการจัดการความรู้เป็นลำดับที่ละขั้น
1.ขั้นเตรียมการ กระบวนการที่ 1 การกำหนดวิสัยทัศน์ที่สัมพันธ์กับแนวคิดทางการจัดการความรู้หรือทุนทางปัญญาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ โดยเปลี่ยนวิธีการดำเนินการองค์กรความตระหนักและผลประโยชน์ขององค์กร โดยการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่องค์กรความรู้หรือองค์กรการเรียนรู้ และการจัดการทุนทางปัญญา ขั้นที่ 1 : การกำหนดวิสัยทัศน์ (Leadership Formulation) ขั้นที่ 2 : การสื่อสารทั่วทั้งองค์กร
1.ขั้นเตรียมการ กระบวนการที่ 2 ดำเนินการตรวจสอบวัฒนธรรมองค์กร และระบบค่านิยม เพื่อทำให้แน่ใจว่าวัฒนธรรมองค์กรไม่เป็นผลร้ายต่อการจัดการความรู้และการจัดการทุนทางปัญญา ขั้น 1 : การตรวจสอบค่านิยมทางวัฒนธรรม ขั้น 2 :การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมระดับฝ่ายบริหารและแผนก ขั้น 3 : การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั่วทั้งองค์กร การตรวจสอบวัฒนธรรม (Culture audit) และการปรับเปลี่ยนเป็นกระบวนการที่องค์กรพยายามที่จะมองหา implicit values ที่ประกอบกันเป็นรากฐานของรูปแบบพฤติกรรม (behavioral patterns) งานประจำ (work routines) สไตล์ของผู้นำ (leadership style) และรูปแบบการตัดสินใจ
2. ขั้นยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Level) กระบวนการที่ 3 ดำเนินการตรวจสอบความรู้(knowledge audit) วิเคราะห์ช่องว่าง (gap analysis) ของแหล่งความรู้ และหาช่องว่างของความรู้ การพบช่องว่างในการไหลของความรู้ในเครือข่าย ช่องว่างนั้นก็คือพื้นที่ของความรู้ขององความรู้ขององค์กรที่มีข้อจำกัดหรือไม่มีแหล่งทรัพยากรความรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อของการปฏิบัติงาน การเติบโต และอัตราความก้าวหน้าในอนาคต การดำเนินการตรวจสอบความรู้ เป็นกระบวนการที่สำคัญ ไม่ใช่ต่อการจัดการความรู้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ทั้งในระดับองค์กรและหน่วยงานด้วย สำหรับการสนับสนุนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการแข่งขันสำหรับการจัดการความรู้ เป้าหมายที่สำคัญก็เพื่อค้นหาแหล่งความรู้และเครือข่ายที่องค์กรมีหรือควรมี และช่องว่างที่วิกฤต (critical gaps) ของแหล่งความรู้ในองค์กร ช่องว่างความรู้ที่วิกฤต (critical knowledge gap) เป็นการอธิบายถึงการขาดความรู้ขององค์กร ขั้นที่ 1 การสำรวจสถานะของแหล่งความรู้ ขั้นที่ 2 จัดทำแผนที่แหล่งความรู้ ขั้นที่ 3 การจัดทำเครือข่ายและการไหลของความรู้ภายในและภายนอกองค์กร
2. ขั้นยุทธ์ศาสตร์ (Strategic Level) กระบวนการที่ 4 ระบุและปรับเปลี่ยนยุทธวิธีความรู้ เพื่อเติมเต็มช่องว่างและเพื่อกระบวนการสร้างความรู้อย่างยั่งยืน ขั้นที่ 1 :กำหนดยุทธศาสตร์ความรู้ที่จะเติมเต็มช่องว่าง ยุทธวิธีที่ดีที่สุดในการจัดลำดับแหล่งความรู้ที่มีอยู่ /ยุทธศาสตร์ชุมชนนักปฏิบัติ ขั้นที่ 2 : ทำความเข้าใจตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ความรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนหรือการสร้างความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ความต้องการจำเป็นสำหรับนวัตกรรมกับแบบจำลองในกระบวนการวิกฤตธุรกิจ (Critical Business Process) การดำเนินธุรกิจในทุกพื้นที่หรือทุกกระบวนการจะมีความรู้ทั้งความรู้ที่เปิดเผยและความรู้โดยนัย ทั้งความรู้ที่มีลักษณะการประยุกต์ใช้ได้กว้างหรือแคบ และเกี่ยวกับการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่กับความรู้ใหม่ ดังนั้นเพื่อตัดสินยุทธศาสตร์การจัดการความรู้
3. ขั้นปฏิบัติการ (Operational Level) กระบวนการที่ 5 ดำเนินกระบวนการเผยแพร่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) โดยผ่านชุมชนนักปฏิบัติและหน่วยงานกลาง( central unit) ขั้นที่ 1 : กำหนดชุมชนนักปฏิบัติและยุทธศาสตร์ความรู้ ขั้นที่ 2 : สร้างชุมชนนักปฏิบัติทั้งในส่วนกลางและหน่วยงาน ขั้นที่ 3 : การประเมินกรณีการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ 3.1 วางโครงร่างของชุมชนนักปฏิบัติ ซึ่งควรจะมีรายละเอียดรวมถึงบทบาทต่างๆ 3.2 จัดทำ workshop ระหว่างผู้นำและสมาชิกทุกคนของชุมชนนักปฏิบัติ 3.3 กำหนดงานการพัฒนาการจัดหมวดหมู่ความรู้ให้กับสมาชิกชุมชนนักปฏิบัติใช้ในการเข้าถึงความรู้
3. ขั้นปฏิบัติการ (Operational Level) กระบวนการที่ 6 กำหนดแนวทาง (guideline) ระบบสนับสนุน โครงสร้างสารสนเทศที่ไม่เป็นทางการของชุมชนนักปฏิบัติ โดยมุ่งความสนใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ความรู้ขององค์กรต้องมีการกำหนดเป็นประเด็น (domain) ความรู้สำหรับชุมชนนักปฏิบัติ ที่เป็นรูปแบบสำหรับการฝึกปฏิบัติที่แน่นอนจากส่วนกลาง ที่เป็นเจ้าของกระบวนการของการกระจายการปฏิบัติ, การประยุกต์ใช้, การทำให้เป็นปัจจุบันและความเหมาะสมกับแต่ละองค์กร ขั้นที่ 1 : นำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศให้คณะกรรมการทบทวน โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ กระจายการปฏิบัติที่เป็นเลิศไปสู่หัวหน้าแผนกที่เกี่ยวข้องเพื่อกระตุ้นพนักงานในการระบุและสะสมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ -ส่งเสริมแผนกให้ยอมรับการการปฏิบัติที่เป็นเลิศและจัดให้มีวันนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศประจำปี -สร้างแฟ้มสะสม (portfolio) ของการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ขั้นที่ 2 ประเมินตรวจสอบรับรองว่าถูกต้องและการกระจาย ขั้นที่ 3 การประเมินและประยุกต์ใช้ความรู้
3. ขั้นปฏิบัติการ (Operational Level) กระบวนการที่ 7ออกแบบสถาปัตยกรรมฐานความรู้ (knowledge base architecture) สนับสนุนการสร้างความรู้และงานหลักของธุรกิจ โดยมีกระบวนการเลือก เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อทำให้มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งความรู้โดยนัย และความรู้ที่ปรากฏ ขั้นที่ 1 : การออกแบบและสถาปัตยกรรม 1. ศูนย์ความรู้ (Knowledge Centers)รวมความรู้ต่างๆ เพื่อสนับสนุนกระบวนการเกิดภาวะวิกฤตเพื่อสร้างศูนย์ความรู้ 2.ศูนย์การเรียนรู้ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning Centers)ทำให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุดโดยจัดให้มี e-learning material ที่มีความรับผิดชอบในด้านการแสดงความรู้และความต้องการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพ
3. ขั้นปฏิบัติการ (Operational Level) กระบวนการที่ 7ออกแบบสถาปัตยกรรมฐานความรู้ 3. ฐานข้อมูลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices Database) จัดให้มีการเข้าถึงการปฏิบัติที่เป็นเลิศกับแนวทางเพื่อผลลัพธ์ นี่รวมถึงบทเรียน (Lessons Learned) และ แนวทางในการแก้ปัญหา (solutions ) 4. นามานุกรมผู้เชี่ยวชาญ (Expert Directory)จัดให้มีการติดต่อสารสนเทศของความรู้และสาระสำคัญที่แบ่งประเภทตามการปฏิบัติ, ความรู้,และประสบการณ์ ขั้นที่ 2 : ออกแบบศูนย์ความรู้ ขั้นที่ 3 : พัฒนาการจัดหมวดหมู่ความรู้สำหรับฐานความรู้ Company Logo
Strategic Levers’ Link in Knowledge and LearningManagement Tacit/ExplicitKnowledgeEfficiency Knowledge Management Knowledge Connectivity Strategy Knowledge Innovation Learning Organization Intellectual capital Learning Behavior Core Competency Performance Development People Mindset Improvement Tool/Technique Equipment Performance Manufacturing Scorecard Learning Capability Cost Performance
การกำหนดกลยุทธ์KMขององค์กรการกำหนดกลยุทธ์KMขององค์กร วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ด้านทิศทางดำเนินธุรกิจBusiness Strategy กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์Human Resource Strategy กลยุทธ์ด้านลูกค้า customerStrategy กลยุทธ์ด้านโครงสร้างองค์กรOrganizationaland Structure Strategy
การเปลี่ยนผ่านองค์กร องค์กรดั้งเดิม องค์กรการเรียนรู้ องค์กรนวัตกรรม ลักษณะองค์กร การจัดการนวัตกรรม ลักษณะ การบริหารจัดการ แบบราชการ การจัดการความรู้ การจัดการทุนทางปัญญา
ทุนทางปัญญา สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธ์ ทุนลูกค้า +ทุนตลาด วัฒนธรรมองค์กร Knowledge Asset ทุนองค์กร การทำงานเป็นทีม ผู้นำ ทุนมนุษย์ สมรรถนะของบุคลากร
Information Technology (Strategic Tools) Organization Information And Knowledge ERP SOA Information Management Dissemination Information And Knowledge Document Center Learning Resource Center / information commons Media Center/E-Learning Knowledge Center
เป้าหมายของการจัดการความรู้เป้าหมายของการจัดการความรู้ 1)เพื่อพัฒนางานคือการพัฒนาคุณภาพองค์กรให้บรรลุ ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น 2) เพื่อการพัฒนาคนคือ พัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงาน 3) การพัฒนานวัตกรรมใหม่คือ สินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 4) เพื่อการพัฒนา “ฐานความรู้” ขององค์กรหรือการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรมีศักยภาพในการฟันฝ่าความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตได้ดีขึ้น
เป้าหมายของการจัดการความรู้เป้าหมายของการจัดการความรู้ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ - การตอบสนองความต้องการ (responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร - นวัตกรรม (innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้ - ขีดความสามารถ (competency) ของบุคลากร และขององค์กร - ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นหัวใจของการจัดการความรู้ การจัดบรรยากาศและเครื่องอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถือเป็นการจัดการความรู้ทั้งสิ้น