1.39k likes | 4.64k Views
汉语拼音. ความเป็นมาของสัทอักษรพินอิน. พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน ( จีนตัวเต็ม : 漢語拼音; จีนตัวย่อ : 汉语拼音;
E N D
ความเป็นมาของสัทอักษรพินอินความเป็นมาของสัทอักษรพินอิน พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวเต็ม: 漢語拼音;จีนตัวย่อ: 汉语拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn แปลว่า การถอดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)
พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization formodern Chinese)
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย
เรียนภาษาจีนด้วย pinyin อย่างเดียวได้หรือไม่(能否仅利用拼音来学习汉语?) 拼音(pinyin) หมายถึง ตัวอักษรโรมันที่ใช้ในการกำกับการออกเสียงของภาษาจีน คนไทยที่เรียนภาษาจีนนิยมพูดเป็นคำทับศัพท์คือ พินอิน (pinyin) หรือไม่ก็แปลเป็นสัทอักษร และยังมีบางท่านชอบใช้ภาษาอังกฤษมาเรียก คือ phonetic สาเหตุที่การเรียนการสอนภาษาจีนต้องอาศัย 拼音(pinyin) ก็เนื่องจากระบบการเขียนภาษาจีนไม่ได้แสดงการออกเสียง การเรียนรู้การออกเสียงในภาษาจีนจึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องหมายกำกับการออกเสียงเข้ามาช่วย
ซึ่งในช่วงประมาณ 2,000 ปีที่ผ่านมานี้ เคยใช้เครื่องหมายเก่าสองระบบ แต่เพื่อทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนมีประสิทธิภาพและสะดวกมากยิ่งขึ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้พัฒนาและประกาศใช้ระบบอักษรโรมันกำกับการออกเสียงของภาษาจีนขึ้นมาใหม่อีกระบบหนึ่งในปี ค.ศ.1958 โดยดัดแปลงมาจาก International Phonetic Alphabets ชื่อเต็มภาษาจีนเรียกว่า 汉语拼音(hànyŭpīnyīn) ซึ่งเปรียนเสมือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ต้องใช้ในการเรียนภาษาจีน
การออกเสียง องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน 1. พยางค์ 2. พยัญชนะ 3. สระ 4. การอ่านรวมเป็นพยางค์ 5. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ
กฎการเขียนสัทอักษรพินอินกฎการเขียนสัทอักษรพินอิน โดยทั่วไป สัทอักษรพินอินของพยางค์ต่างๆ ประกอบขึ้นจากการสะกดรวมของเสียงพยัญชนะและสระ จากนั้นจึงใส่เสียงวรรณยุกต์ประกอบเข้าไป กฎการเขียนและสะกดพยางค์ของพยัญชนะและสระมีดังนี้ 1. พยัญชนะ j,q,x จะสะกดรวมกับสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง i และ ü เท่านั้น เมื่อพยัญชนะ j,q,x ประสมกับสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง ü จะต้องลดรูปจุดสองจุดบน ü
2. เมื่อพยางค์ที่ประกอบขึ้นจากสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง i และ ü ไม่มีเสียงพยัญชนะมาประกอบ จะต้องเปลี่ยนรูป i เป็น y และเปลี่ยนรูป u เป็น w 3. เมื่อสระ ui,un,iu,ü ประกอบขึ้นเป็นพยางค์ด้วยตัวเอง จะต้องเขียนเป็น ui→wei un→wen iu→you ü→yu 4. เครื่องหมายคั่นเสียง เมื่อพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียง a, o, e อยู่หลังพยางค์อื่น และทำให้การสะกดแบ่งพยางค์ไม่ชัดเจน เราจะใช้เครื่องหมายคั่นเสียง(’)มาคั่นระหว่างพยางค์
วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ใช้เครื่องหมาย ˉ,/,ˇ และ \ แทนตามลำดับ เครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งสี่จะเขียนไว้บนเสียงหลักของสระในแต่ละพยางค์ (เสียงหลักของสระหมายถึงเสียงที่ต้องอ้าปากกว้างและออกเสียงดังที่สุดในบรรดาเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นสระ) เช่น qiāng, qiáng, qiǎng, qiàng เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลางมีคุณสมบัติในการแยกความหมาย ดังนั้น หากเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็จะต่างไปด้วย
ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้ 1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย: ā ē ī ō ū ǖ 2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา ( / ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย: á é í ó ú ǘ 3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม ( v ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง"เอก") : ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย ( \ ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย: à è ì ò ù ǜ 5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย: a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น yo เยาะ) ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)
การใส่วรรณยุกต์ โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน (e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
สรุปหลักการอ่านออกเสียงตัวพินอิน (Pinyin) 1. พินอิน (Pinyin) คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเสียงพูดในภาษาจีนกลาง 2. พยัญชนะ : ตัวพินอินที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะมีทั้งหมด 23 ตัว (พยัญชนะแท้ 21 ตัว + พยัญชนะที่มาจากสระ 2 ตัว : y,w) ได้แก่
อักษรแทนเสียงพยัญชนะต้นมีทั้งหมด 23 ตัว b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s y w
3. สระ : ตัวพินอินที่ใช้แทนเสียงสระมีทั้งหมด 37 ตัว ได้แก่ a o e e* ai ei ao ou an en ang eng ong er i u uu ia ie iao iu (iou) ian in iang ing iong ua uo uai ui (uei) uan un (uen) uang ueng uue uuan uun
4. ตัวสะกด : ภาษาจีนกลาง ไม่มีตัวสะกดเหมือนภาษาไทย เพราะได้รวมตัวสะกดเข้ากับสระแล้ว 5. วรรณยุกต์ : ภาษาจีนกลาง มีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง หากไม่ใส่วรรณยุกต์ให้ออกเสียงเบา ในที่นี้ขอใช้ตัวเลขแสดงเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์เสียง 1-4 แทนด้วยเลข 1-4 หากไม่ใส่วรรณยุกต์ แทนด้วยเลข 5
6. วิธีอ่านออกเสียงคำในภาษาจีน คือ การนำเสียงพยัญชนะผสมกับเสียงสระ แล้วออกเสียงสูงต่ำตามวรรณยุกต์ ทั้งนี้ เสียงพยัญชนะจะไม่อยู่โดด ๆ จะต้องนำไปผสมกับสระเท่านั้น ส่วนเสียงสระจะออกเสียงโดยนำไปผสมกับพยัญชนะก็ได้ หรือจะออกเสียงโดด ๆ ก็ได้ 7. กฎที่ต้องจำ- สระ i (อี) เมื่อนำมาผสมกับพยัญชนะ z , c , s ,zh , ch , sh , r สระ i จะไม่ออกเสียงอี แต่จะออกเสียง อือ