350 likes | 799 Views
แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี. พญ. ช่อแก้ว โตวณะบุตร นพ.กิตติศักดิ์ ชมประเสริฐ นางสาว อรวรรณ พุ่มผกา โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2557. แผนผังภายในอาคารตรวจรักษา. ทางเข้า - ออก. ห้องฉายรังสี Linac. ห้องวางแผนการรักษา.
E N D
แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีแนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี พญ. ช่อแก้ว โตวณะบุตร นพ.กิตติศักดิ์ ชมประเสริฐ นางสาวอรวรรณ พุ่มผกา โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี2557
แผนผังภายในอาคารตรวจรักษาแผนผังภายในอาคารตรวจรักษา ทางเข้า-ออก ห้องฉายรังสีLinac ห้องวางแผนการรักษา ห้อง simulator ห้องผสมยาเคมี ห้องตรวจแผนกรังสีรักษา ห้องตรวจเคมีบำบัด ห้องฉีดยาเคมีบำบัด ห้อง CT sim ห้องตรวจทันตกรรม ห้องฉายรังสี Cobalt ห้องฉายรังสี Linac MLC เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ห้องน้ำผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วยใน ทางเข้า-ออก
กลุ่มงานรังสีรักษา บุคลากร - แพทย์รังสีรักษาประจำ 2 คน, แพทย์ที่ปรึกษา 3 คน - นักฟิสิกส์การแพทย์ประจำ 2 คน - นักรังสีการแพทย์ประจำ 9คน - ผู้ช่วยนักรังสีการแพทย์ 4 คน - ลาศึกษาต่อฟิสิกส์การแพทย์ 2 คน **พยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา 6 คน, ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน
กลุ่มงานรังสีรักษา เครื่องมือ - เครื่องจำลองการฉายรังสี conventional simulator - เครื่องจำลองการฉายรังสี CT Simulator - เครื่องฉายรังสีพลังงานสูง cobalt-60 - เครื่องฉายรังสีแบบเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานเดียว 6MV - เครื่องฉายรังสีแบบเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง (Linac MLC) - เครื่องใส่แร่ Ir-192 (High dose rate brachytherapy) - เครื่องวางแผนการรักษาแบบสามมิติ
กลุ่มงานรังสีรักษา • การให้บริการแบ่งเป็นสองส่วน 1. แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งให้บริการตรวจรักษา, รับปรึกษา, ให้คำแนะนำ และทำประวัติผู้ป่วยฉายรังสี รวมถึงการพยาบาลทั่วไป 2. ห้องฉายรังสี, ห้องใส่แร่, ห้องจำลองการฉายรังสี, ห้องวางแผนการรักษา • มีบริการคลินิกนอกเวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย ในวันจันทร์-พฤหัสบดี ตั้งแต่ 16.00-20.00 น. เฉพาะการจำลองการฉายรังสี และใส่แร่ (ยังไม่เปิดให้บริการตรวจรักษาและรับปรึกษานอกเวลา)
กลุ่มงานรังสีรักษา • ให้บริการฉายรังสีผู้ป่วยโดยเฉลี่ย 130-140 ราย/วัน • ให้บริการใส่แร่ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช และวางแร่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่บริเวณผิวหนัง • ให้บริการจำลองการฉายรังสีก่อนเริ่มฉายรังสีจริง (simulation) สำหรับผู้ป่วยใหม่ทั้งหมด รวมถึงผู้ป่วยระหว่างฉายรังสีที่เปลี่ยนเทคนิคการฉายรังสี และผู้ป่วยระหว่างฉายรังสีที่ทำรอยเส้นบนผิวหนังลบ • ให้บริการวางแผนการฉายรังสีทั้งแบบสองมิติ และ สามมิติ • ให้บริการทำอุปกรณ์ยึดตรึงผู้ป่วยเพื่อเตรียมการฉายรังสี
จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการฉายรังสีปีงบประมาณ แยกตามโรงพยาบาลแม่ข่าย
แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีที่ศูนย์มะเร็งชลบุรีแนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีที่ศูนย์มะเร็งชลบุรี **ผู้ป่วยทุกรายต้องเข้าระบบนัดคิวฉายรังสีโดยแนวทางดังต่อไปนี้ (ยกเว้นกรณีมีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษา) 1. ผู้ป่วย และ/หรือญาติ เดินทางมานัดด้วยตนเอง 2. โรงพยาบาลต้นสังกัดส่งนัดทางโทรสาร **ระยะเวลารอคอยของการนัดฉายรังสีเฉลี่ย 1.5-2 เดือน หากมีกำหนดระยะเวลาของการเริ่มฉายรังสี กรุณาส่งนัดล่วงหน้า
ระบบนัดคิวฉายรังสีที่ผู้ป่วยหรือญาติเดินทางมานัดด้วยตนเองระบบนัดคิวฉายรังสีที่ผู้ป่วยหรือญาติเดินทางมานัดด้วยตนเอง
เอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วยเอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วย 1.ใบส่งตัวจากแพทย์ ที่มีรายละเอียดการตรวจ วินิจฉัยโรค รวมถึงการรักษาที่ได้ทำไปแล้ว กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการรักษาหรือตรวจเพิ่มเติม หลังผู้ป่วยได้รับนัดฉายรังสีแล้ว กรุณาเขียนรายละเอียดการรักษา หรือ ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมมาให้ชัดเจน* 2. สำเนาใบรายงายผลทางพยาธิวิทยา** 3. ฟิล์มที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพร้อมผลอ่าน (ถ้ามี) 4. ใบรายงานผลทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วย 5. ใบรายงานการผ่าตัด กรณีที่อาจมีผลต่อการฉายรังสี
เอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วยเอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วย 6. Slide ชิ้นเนื้อ หรือ Paraffin Block (ในกรณีที่ผลอ่านชิ้นเนื้อไม่ชัดเจน) หมายเหตุ *กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวและมียาที่ใช้ประจำ กรุณาระบุโรคและนำยามาด้วย ** ขอสำเนา Pathology report ทุกใบที่เกี่ยวข้องและมีลายเซ็นพยาธิแพทย์กำกับ
กรณีติดต่อรับวันนัดด้วยตนเองกรณีติดต่อรับวันนัดด้วยตนเอง **หากสามารถนัดได้ ผู้ป่วยจะได้รับวันนัดพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ -ใบส่งตัวเดิม ตอบกลับโรงพยาบาลต้นสังกัด พร้อมแจ้งสิ่งที่ทางศูนย์มะเร็งต้องการให้ผู้ป่วยกลับไปตรวจพิเศษเพิ่มเติม - กรณีเอกสาร และรายละเอียดที่ให้มาครบถ้วน ผู้ป่วยจะได้รับจดหมายเพื่อขอให้ตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานซ้ำ เนื่องจากผลการตรวจเดิมอาจที่การเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องตรวจซ้ำ โดยให้ระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก่อนถึงวันนัดฉายรังสี - ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการฉายรังสี และการเตรียมตัวเพื่อมาฉายรังสี
ระบบนัดคิวฉายรังสีทางโทรสารระบบนัดคิวฉายรังสีทางโทรสาร
ระบบการนัดฉายรังสีทางโทรสารระบบการนัดฉายรังสีทางโทรสาร โรงพยาบาลต้นสังกัดส่งแบบฟอร์มการส่งผู้ป่วยนัดฉายรังสีทางโทรสาร เบอร์ 038 – 467833 (ศูนย์ประสานงานรับ-ส่งต่อ) เวลา 8.00-16.00น. งานพยาบาลผู้ป่วยนอกรังสีรักษารับนัด และส่งแบบฟอร์มยืนยันการนัด คิวผู้ป่วยเพื่อฉายรังสีทางโทรสารให้โรงพยาบาลต้นสังกัด โรงพยาบาลต้นสังกัดให้แบบฟอร์มยืนยันการนัดคิวผู้ป่วยฉายรังสีทางโทรสาร พร้อมเอกสารที่ใช้ประกอบการรักษาให้ผู้ป่วยนำมาในวันนัด
เอกสารที่ต้องแนบมาด้วยกรณีนัดทางโทรสารเอกสารที่ต้องแนบมาด้วยกรณีนัดทางโทรสาร 1. ใบนำโทรสารตามแบบฟอร์มของกลุ่มงานรังสีรักษา 2. ใบส่งตัวที่มีรายละเอียดการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างละเอียด 3. ผลชิ้นเนื้อที่เป็น official report 4. ผล x-ray ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เช่น ผล CT, MRI หรือ plain film ที่สำคัญ 5. เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้ป่วย **การนัดทางโทรสารจะสามารถนัดได้หรือไม่ขึ้นกับความสมบูรณ์ และครบถ้วนของรายละเอียดที่โรงพยาบาลต้นสังกัดส่งมาให้
ขั้นตอนการรับบริการผู้ป่วยใหม่เริ่มฉายรังสีขั้นตอนการรับบริการผู้ป่วยใหม่เริ่มฉายรังสี 1.ผู้ป่วยที่มารับวันนัดด้วยตนเอง สามารถยื่นบัตรโรงพยาบาลพร้อมใบส่งตัวได้ที่แผนกตรวจสอบสิทธิ์ที่อาคารตรวจรักษา เพื่อรอตรวจสอบสิทธิ์ และรอเวชระเบียนออกใบสั่งทำการ จากนั้นสามารถรอที่แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษาเพื่อดำเนินการต่อไป 2. ผู้ป่วยที่รับวันนัดทางระบบนัดทางโทรสาร ต้องยื่นเอกสารที่ศูนย์ประสานงานรับ-ส่งต่อ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ระบบการรับผู้ป่วยใหม่ที่นัดฉายรังสีทางโทรสารระบบการรับผู้ป่วยใหม่ที่นัดฉายรังสีทางโทรสาร ผู้ป่วยถือแบบฟอร์มยืนยันการนัดคิวผู้ป่วยฉายรังสีทางโทรสาร พร้อมเอกสารสำคัญมาติดต่อที่ศูนย์ประสานงานรับ-ส่งต่อผู้ป่วย ศูนย์มะเร็งชลบุรี ตรวจสอบสิทธิ เอกสารประกอบการรักษาที่สำคัญ ลงทะเบียนรับส่ง-ต่อกับพยาบาลที่ศูนย์ประสานงานฯ และส่งต่อยังแผนกเวชระเบียนเพื่อออกเวชระเบียนให้ผู้ป่วย ส่งผู้ป่วยมายังแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา เพื่อทำประวัติ พบแพทย์ และดำเนินการรักษา
สิ่งที่สำคัญที่ควรเน้นให้ผู้ป่วยทราบสิ่งที่สำคัญที่ควรเน้นให้ผู้ป่วยทราบ • ผู้ป่วยที่ได้รับวันนัดทางโทรสาร กรุณาแจ้งให้ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลก่อน 8.00 น. เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาสำหรับผู้ป่วยใหม่แต่ละรายประมาณ 1 ชั่วโมงกรณีเอกสารที่เตรียมมาครบถ้วน และอาจถึง 3 ชั่วโมงกรณีเอกสารไม่ครบ ซึ่งอาจทำให้ส่งฉายรังสีไม่ทันในวันนั้น และเกิดผู้ป่วยตกค้างในแต่ละวัน ทำให้เกิดความติดขัดของระบบงานและเกิดความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วย
สิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสีสิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสี 1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่ทางรพ.มะเร็งขอให้ตรวจเพิ่มเติม เช่น CBC, BUN, Cr, Electrolytes, LFT และ CXR (มีจดหมายให้ผู้ป่วยกลับไปดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนมาเริ่มฉายรังสี) 2. X-ray ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (CT, MRI, Plain film) พร้อมผลอ่าน 3. ผลชิ้นเนื้อที่ได้รับการขอย้อมพิเศษเพิ่มเติม (มักจะได้ block ชิ้นเนื้อมาแทน ซึ่งผู้ป่วยต้องเสียเวลารอเพิ่มขึ้น) กรณีที่ไม่ส่งย้อมให้ในกรณีใดๆก็ตาม กรุณาให้ผู้ป่วยนำ paraffin block หรือ slideมาให้ล่วงหน้าก่อนถึงวันนัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์ เพื่อดำเนินการส่งตรวจ
สิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสีสิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสี 4. ยารักษาโรคประจำตัวของผู้ป่วยให้เพียงพอสำหรับระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน 5. ใบส่งตัวใหม่ที่มีรายละเอียดการตรวจ รักษา กรณีมีการเปลี่ยนแปลงไปจากใบส่งตัวเดิม รวมถึงสิทธิการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปากมดลูกแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปากมดลูก 1. ยังไม่ได้ผ่าตัด – ส่งนัดได้โดยยังไม่ต้องทราบผลตรวจ IVP, cystoscope, proctoscopeถ้ากรณีตรวจภายในแล้วไม่สงสัยว่ามีการลุกลามไปยัง bladder หรือ rectum แต่ขอให้ระบุวันที่จะได้นัดตรวจพิเศษข้างต้นมาด้วย แต่หากสงสัยจะเป็นต้องรอผลตรวจดังกล่าวก่อน เพราะอาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจเพิ่มเติมด้วย - สามารถอนุโลมให้ส่ง CT whole abdomen แทนการตรวจ IVP, cystoscope, proctoscopeโดยขอเป็น CT อย่างน้อย 16 สไลด์ และ ให้รังสีแพทย์ระบุให้ชัดเจนว่ามีการลุกลามเข้า bladder หรือ rectum หรือไม่ หากสงสัยหรือระบุได้ไม่ชัดเจน ยังคงต้องส่งผู้ป่วยไปส่องกล้องตามเดิม 2. หลังผ่าตัด - ส่งนัดโดยเร็วที่สุดหลังทราบผลชิ้นเนื้อ โดยกำชับผู้ป่วยให้มา รพ. มะเร็งชลบุรีทันทีหลังได้ใบส่งตัว เนื่องจากคิวฉายรังสีรอประมาณ 1.5-2 เดือน ถ้าส่งมาช้าผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีช้า และมีโอกาสที่จะกลับเป็นซ้ำได้สูงขึ้น
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งเต้านมแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งเต้านม หลังผ่าตัด - ตามมาตรฐานควรได้รับการฉายรังสีภายใน 6 เดือนหากรับเคมีบำบัด หากไม่รับเคมีบำบัด ควรได้รับการฉายรังสีภายในไม่เกิน 8 สัปดาห์ - ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ให้ส่งนัดหลังได้ผลชิ้นเนื้อโดยเร็วที่สุด และกำชับให้ผู้ป่วยมานัดที่ รพ. ทันทีหลังได้ใบส่งตัว - กรณีมีข้อบ่งชี้ที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ให้ส่งนัดหลังจากผู้ป่วยได้ยาเคมีบำบัดไปแล้วครึ่งแรกของจำนวน cycle ทั้งหมด เช่น ได้สูตร FAC 6 cycles ส่งนัดหลังได้ cycle ที่ 3 (ก่อนรับ cycle ที่ 4)และระบุ regimen ของยาเคมีบำบัดมาด้วย
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ก่อนผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลังได้ผลชิ้นเนื้อ, CT whole abdomen และ CXR หลังผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลังทราบผลชิ้นเนื้อ โดยระหว่างรอคิวฉายรังสี สามารถให้ adjuvant chemotherapy ได้
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปอดแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปอด Concurrent chemoradiation • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลัง complete staging Sequential chemoRT • ส่งนัดคิวฉายรังสีหลังจากได้ยาเคมีบำบัดครึ่งแรกของจำนวน cycle ทั้งหมดที่คาดว่าจะให้ และระบุ regimen ของยาเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยได้รับมาด้วย
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งศีรษะและลำคอแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลังได้ผลตรวจครบตามที่ระบุในเอกสารประกอบ (ส่งตรวจสุขภาพช่องปาก และประเมินภาวะโภชนาการเบื้องต้นก่อนส่งมานัด) หลังผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีหลังจากทราบผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดโดยเร็วที่สุด (ผู้ป่วยควรได้รับการฉายรังสีหลังผ่าตัดภายใน 8สัปดาห์) และควรส่งตรวจพบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากก่อนส่งมานัด
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษาแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษา - ติดต่อแพทย์รังสีรักษาที่อยู่เวรรับปรึกษาในวันนั้นๆ โดยตรง หรือส่งเอกสารมานัดทางโทรสาร - ไม่มีบริการรับผู้ป่วยฉุกเฉินนอกเวลาราชการ หากมีกรณีเร่งด่วนที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฉายรังสีภายในวันนั้นๆ และต้องการให้รับไว้ในโรงพยาบาลกรุณาติดต่อแพทย์รังสีรักษาที่อยู่เวรรับปรึกษาก่อน 10.30น. และผู้ป่วยจำเป็นต้องถึงที่ รพ. มะเร็งก่อน 14.00น. - งดรับผู้ป่วยที่สัญญาณชีพไม่คงที่ไว้เป็นผู้ป่วยใน เนื่องจาก ไม่มีแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรม และศัลยกรรม อยู่เวรนอกเวลาราชการทุกวัน ยกเว้นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการ intensive care และ resuscitation
แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษาแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษา ภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษาที่จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับการฉายรังสีภายใน 72 ชั่วโมงมีดังต่อไปนี้ • Brain metastasis • SVC obstruction • Bone metastasis ที่มี severe bone pain • Bleeding from tumor • Tumor obstruction อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆร่วมด้วยว่าจะสามารถฉายรังสีได้หรือไม่
แนวทางการรับดูแลผู้ป่วยฉายรังสีแนวทางการรับดูแลผู้ป่วยฉายรังสี • เพื่อสนองตอบนโยบายเรื่องการบริหารจัดการเตียงและกำลังคนของ รพ. มะเร็งชลบุรี เรื่องการงดรับผู้ป่วยฉายรังสีเป็นผู้ป่วยใน • กลุ่มงานรังสีรักษาขอรับผู้ป่วยฉายรังสีเป็นผู้ป่วยในเฉพาะในกรณีดังนี้ • ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับฉายรังสี • ผู้ป่วยที่ KPS < 70 (KPS 70 = Cares for self; unable to carry on normal activity or to do active work) **ไม่ขึ้นกับภูมิลำเนา, สิทธิ์การรักษา, อายุ และระยะของโรค
จำนวนผู้รับบริการฉายรังสี(แยกตามจังหวัด) งบประมาณ 56
ปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงานปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงาน
ปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงานปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงาน
ตารางการออกตรวจแพทย์รังสีรักษาตารางการออกตรวจแพทย์รังสีรักษา - วันจันทร์-วันศุกร์ ปิดรับบัตรผู้ป่วยนอก (เก่า) 10.00น. ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเก่าที่มีภาวะฉุกเฉินที่ติดต่อล่วงหน้า - แพทย์รังสีรักษาออกตรวจและรับปรึกษา จันทร์-ศุกร์ 9.00 -12.00น. และมีเวรปรึกษาสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินถึง 15.00 น. - ตรวจตามระบบนัดหมาย กรณีไม่สามารถมาตามนัดได้ให้โทรศัพท์นัดใหม่ได้ที่เบอร์โทร. 038-784001-5 หรือ 038-455632-6 ต่อ 169, 174 (ห้องตรวจผู้ป่วยนอกรังสีรักษา) - ผู้ป่วยที่มาผิดนัดอาจไม่ได้รับการตรวจในวันที่ท่านมา แพทย์จะพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรวจรักษาเป็นรายๆไป
โรงพยาบาลที่มีหน่วยรังสีรักษาในบริเวณใกล้เคียงโรงพยาบาลที่มีหน่วยรังสีรักษาในบริเวณใกล้เคียง • รพ. มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี จ.ปทุมธานี, รพ. มะเร็งลพบุรี • รพ. ราชวิถี** สถาบันมะเร็งแห่งชาติ** รพ. รามาธิบดี • รพ. จุฬาลงกรณ์** รพ. พระมงกุฎฯ รพ. ภูมิพลฯ • รพ. ศิริราช** รพ. จุฬาภรณ์ • โรงพยาบาลเอกชน – รพ. บำรุงราษฎร์, รพ. วัฒโนสถ,ศูนย์มะเร็งกรุงเทพ, รพ. ธนบุรี **มีบริการคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ**