1 / 56

Next

Next. พุทธประวัติ. อำนาจอธิปไตย. สถาบันการเงิน. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. แบบฝึกหัด. พุทธประวัติพระพุทธเจ้า. Next. พุทธประวัติ

Download Presentation

Next

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Next

  2. พุทธประวัติ อำนาจอธิปไตย สถาบันการเงิน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบฝึกหัด

  3. พุทธประวัติพระพุทธเจ้าพุทธประวัติพระพุทธเจ้า Next

  4. พุทธประวัติ             1 ชาติตระกูล เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือกำเนิดในวรณะกษัตริย์ ประสูติเมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือนวิสาขะ) ก่อพุทธศักราช 80 ปี พระบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะมีกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นเมืองหลวง (อยู่ทางตอนเหนือของดินแดนชมพูทวีป ในปัจจุบันเป็นประเทศเนปาล) พระมารดา คือ พระนางสิริมหามายา แห่งโกลิยะวงศ์ แคว้นโกลิยะ มีกรุงเทวทหะ เป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล) เมื่อทรงมีพระชนม์ได้ 29 พรรษา ได้เสด็จออกผนวชถือเพศบรรพชิต(นักบวช) โดยมีสาเหตุคือ ทรงได้เห็นความจริงและชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ การแก่ เจ็บ ตาย สมณะ (เทวทูตทั้ง 4) และทรงเห็นสภาพปัญหาสังคมตามระบบวรรณะและความไม่เป็นธรรมในสังคม 2  การตรัสรู้ เมื่อทรงผนวชแล้ว “พระสิทธัตถะโคตรมะ” ได้เดินทางไปยังแคว้นมคธ เพื่อศึกษาและแสวงหาหนทางดับทุกข์ของมวลมนุษย์ ทรงใช้เวลาถึง 6 ปี จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดิอนวิสาขะ) ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เมื่อมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา ขั้นตอนการแสวงหาสัจธรรมดังกล่าวทรงกระทำโดยลำดับดังนี้ Next

  5.      1) ขั้นที่  1  การฝึกปฏิบัติโยคะ ทรงได้ศึกษาวิธีฝึกปฏิบัติโยคะกับเจ้าสำนัก 2 ท่าน คือ   อาฬารดาบส และ อุทกดาบส  แต่ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ จึงทรงเปลี่ยนวิธีการใหม่             2)ขั้นที่  การบำเพ็ญตบะ ทรงใช้วิธีทรมารร่างกายให้ลำบาก เช่น เปลือยกาย ตากแดดตากฝน ฉันมูลโค และนอนบนหนามแหลมคม ฯลฯ แต่ก็ยังไม่บรรลุมรรคผล              3) ขั้นที่  3  การบำเพ็ญทุกรกิริยา หมายถึงการกระทำในสิ่งที่ยากยิ่ง ได้แก่ กัดฟัน กลั้นลมหายใจ และอดอาหาร แต่ก็ยังไม่ตรัสรู้จึงเลิกปฏิบัติวิธีนี้ และกลับมาเสวยอาหารเหมือนเดิม              4) ขั้นที่  4  การบำเพ็ญเพียรทางจิต คือ ทรงใช้ปัญญาคิดค้นหาเหตุผล และเกิดความคิดว่าปัญหาชีวิตของมนุษย์ควรจะแก้ไขด้วยการปฏิบัติทางกาย ละควรเดินสายกลางไม่ใช้ทัศนะที่สุดโต่ง 3. การประกาศศาสนา             3.1 การแสดงปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมครั้งแรก (ปฐมเทศนา) โปรด“ปัญจวัคคีย์” ที่ป่าอิสปตนมฤคยทายวัน ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เรียกหลักธรรมนั้นว่า“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” สาระสำคัญคือ ใช้แนวทางการดับทุกข์ตามมรรคมีองค์แปด และหลักธรรมอริยสัจ 4 และได้พระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ โกณทัญญะ หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม“อนัตตลักขณสูตร” (พระสูตรว่าด้วยอนัตตา) จนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง5 สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด Next

  6.   3.2 การประดิษฐานของพระพุทธศาสนา ในระยะแรกการประกาศและเผยแพร่ พระศาสนาของพระพุทธองค์อยู่ในดินแดนแคว้นมคธเป็นส่วนใหญ่ มีผู้ศรัทธาขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวกและ เป็นอุบาสกผู้อุปถัมภ์พระศาสนา ที่สำคัญมีดังนี้                        1) ยสะ กุลบุตร  บุตรชาวเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี พร้อมทั้งเพื่อนและบริวารอีก 54 ขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวก                         2) ชฏิล (นักบวชเกล้ามวยผม) 3 พี่น้อง ตั้งสำนักเผยแพร่คำสอนของตนที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมทั้งบริวาร 1,000 รูป ขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวก                         3) พระเจ้าพิมพิสาร กษ้ตริย์แห่งเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทรงสร้างวัดเวฬุวัน (สวนไผ่) ถวายเป็นที่จำพรรษา เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา                         4) ศิษย์ของสำนักสัญชัยเวลัฏฐบุตร แห่งเมืองราชคฤห์ 2 คน ขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวก ต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “พระสารีบุตร” และ “พระโมคคัลลานะ” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พระศาสนาในเวลาต่อมา 3.3   ศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนาแห่งใหม่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล มีผู้ศรัทธาให้การอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนามากมาย จนเมืองสาวัตถีกลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา แห่งใหม่ Next

  7. การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน        พระพุทธเจ้าทรงประกาศและเผยแผ่พระศาสนาเป็นเวลา 45 ปี จนกระทั่งทรงมีพระชนม์ได้ 80 พรรษา จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินาราย แคว้นมัลละ เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี (ปีรุ่งขึ้นเริ่มนับ พ.ศ. 1)       พระสงฆ์สาวกองค์สุดท้ายที่ทรงบวชให้ ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนแก่สุภัททปริพาชก ซึ่งเป็นพระภิกษุในพรุพุทธศาสนาถือว่าเป็นพระสงฆ์องค์สุดท้ายที่ทรงบวชให้           ปัจฉิมโอวาท พระพุทธองค์ที่ได้ตรัสสอนแก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งสุดท้ายก่อน ปรินิพพาน คือ จงดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท Next

  8. อำนาจอธิปไตย back next

  9. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.อำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจในการออกกฎหมายเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ 2.อำนาจบริหารหรืออำนาจในการนำกฎหมายไปใช้ในการบริหารประเทศ 3.อำนาจตุลาการหรือออำนาจในการตัดสินคดีความให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้ Next

  10. อำนาจอธิปไตย อำนาจนิติบัญญัติ(รัฐสภา) อำนาจบริหาร(คณะรัฐบาล) อำนาจตุลาการ(ศาล) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ศาลปกครอง ศาลทหาร Next

  11. อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการตรากฎหมาย และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร สถาบันที่ใช้อำนาจนี้ คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานสภา รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา Next

  12. 1. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาเพื่อทำหน้าที่แทนตน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะอยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน โดยมาจากการเลือกตั้ง 2 ระบบ คือ - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครับเลือกตั้งเขตเลือกตั้งละ 1 คน - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 125 คน โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 เสียง 2. วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว.) จำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนใจแต่ละจังหวัด โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ 1 เสียง และให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ จังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน และมาจากการสรรหาอีก 73 คน วุฒิสมาชิกอยู่ในตำแหน่งวาระละ 6 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว Next

  13. อำนาจบริหาร อำนาจบริหาร คือ อำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้น คณะบุคคลที่ทำหน้าที่คือรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะทำการคัดเลือกบุคคลเป็นรัฐมนตรีเสนอต่อพระมหากษัตริย์เพื่อรงแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีไม่ได้ Next

  14. อำนาจตุลาการ อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีความต่างๆ เพื่ออำนวยความยุธรรมให้แก่ประชาชนตามกฎหมาย ผู้ใช้อำนาจตุลาการคือศาล เป็นผู้พิจารณาและพิพากษาคดีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายตุลาการมีฐานะพิเศษและสำคัญอย่างยิ่งศาลเป็นองค์กรอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารเพื่อให้การดำเนินการพิพากษาคดีเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และป้องกันการแทรกแซงจากการใช้อิทธิพลจากสถาบันการเมืองอื่นๆรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดศาลของไทยไว้ 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร Next

  15. สถาบันการเงิน Next

  16. สถาบันการเงิน หมายถึง  สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม  ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ  โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม  และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม  กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคนเราประกอบอาชีพมีรายได้เกิดขึ้น  เขาย่อมมีอิสระที่จะนำรายได้นั้นไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคก็ได้  หรือจะเก็บออมไว้ในสถาบันการเงินต่างๆ  เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยงอกเงยก็ได้  และทางด้านการเงินของประเทศปกติก็จะมีอยู่  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มหนึ่งมีรายได้แล้วต้องการจะเก็บออมไว้  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเงินทุนไปประกอบธุรกิจของตน  สถาบันการเงินจะเข้ามาเป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินแก่คนทั้ง  2  กลุ่มนี้  สถาบันการเงินจะระดมเงินออกจากประชาชนในรูปแบบต่างๆ กัน  แล้วให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุนในกิจการของตน Next

  17.  สถาบันการเงินประเภทธนาคาร  -ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)คือ สถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485  ให้มีฐานะเป็นธนาคารกลางของประเทศทำหน้าที่ควบคุมดูแลระบบการเงินการธนาคาร ของประเทศ  เป็นสถาบันที่ดำเนินการโดยไม่แสวงหากำไร และไม่แข่งขันกับสถาบันการเงินของเอกชน หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย 1. ผลิตธนบัตรและออกธนบัตร                       2. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล (ตัวแทนทางการเงินของรัฐ) 3. รักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ             4. กำหนดนโยบายทางการเงินของประเทศ 5. รักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ                     6. กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 7. ควบคุมดูแลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินต่าง ๆ Next

  18.  ธนาคารพาณิชย์ (commercla  bank)ธนาคารพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีความสำคัญที่สุดในประเทศไทย   เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ   ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505   และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม   กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยยอมให้ไม่ต้องใช้คำว่า “บริษัท” นำหน้า   แต่ให้มีคำว่า “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อเท่านั้น เช่น ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)   ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด  (มหาชน) เป็นต้น    ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านการเงินในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การรับฝากเงิน   กล่าวโดยทั่วไปเราอาจแบ่งการรับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์   เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้                                            (1) เงินฝากกระแสรายวัน (current account  หรือchecking account)   หรือ  เงินฝากเผื่อเรียก (demand deposit)    เงินฝากประเภทนี้ธนาคารต้องจ่ายคืนเมื่อผู้ฝากทวงถาม   การฝากแบบนี้ผู้ฝากจะต้องนำเงินจำนวนหนึ่งมาฝากกับธนาคาร  และทางธนาคารจะมอบสมุดเช็คให้ผู้ฝากเพื่อลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินได้ตามวงเงินที่ฝากไว้   นักธุรกิจส่วนใหญ่นิยมฝากกระแสรายวัน   เพราะสะดวกในการสั่งจ่ายเงินในการประกอบธุรกิจโดยไม่ต้องเสียเวลานับเงิน   และไม่จำเป็นต้องพกพาเงินจำนวนมากติดตัวไป ส่วนธนาคารก็สามารถนำเงินที่ลูกค้าฝากไว้นั้นไปให้กู้ยืมต่อไปได้   ตามปกติการฝากเงินกระแสรายวันในประเทศไทยผู้ฝากจะไม่ได้รับดอกเบี้ย (2) เงินฝากออมทรัพย์ (savings deposit)  คือ  เงินฝากที่ผู้ฝากจะเบิกถอนเมื่อใดก็ได้   โดยนำเอกสารคู่ฝากไปเบิกที่ธนาคาร หรือถอนจากเครื่องเอทีเอ็ม (3)  เงินฝากประจำ  (time deposit)  เป็นเงินประเภทกำหนดระยะเวลาในการเบิก-ถอน  และจำถอนคืนได้ต่อเมื่อครบกำหนดหรือต้องแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าก่อน  โดยทั่วไปการฝากเงินประเภทนี้ผู้  ฝากจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ Next

  19. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Next

  20. เศรษฐกิจพอเพียง (อังกฤษ: sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 มีใจความดังนี้ Next

  21. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง          “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไป ในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัว ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน          ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ ของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” Next

  22. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น เป็นที่มาของ นิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้ และ คุณธรรม"ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง" พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง (พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) คำว่า ความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ผนวกกับ คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) ในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ดังที่แผนภาพและการจัดแสดงในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่าทุกๆ ระดับจากประชาชนทุกฐานะไปจนถึงรัฐบาลสามารถนำไปปฏิบัติได้ Next

  23. การนำไปใช้          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบทปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่วิเคราะห์หรือตั้งคำถาม เนื่องจากประเพณี สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง"  คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง สมเกียรติได้ให้สัมภาษณ์วิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ว่า "รัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แต่พูดเหมือนคุณทักษิณ แต่คุณทักษิณพูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม 100 เปอร์เซ็นต์ลงไป.. ซึ่งรัฐบาลนี้ต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรมและสังคม" สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่า ความไม่เข้าใจ นี้ อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด. Next

  24.  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด  เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน Next

  25. แบบฝึกหัด Next

  26. 1.พุทธประวัติ กล่าวถึงเรื่องอะไร ?ก. ความเป็นไปของพระพุทธเจ้าข. ความเป็นไปของพระสาวกค. ความเป็นไปของนักบวชง ความเป็นไปของพุทธบริษัท

  27. ถูกต้องค่ะ Next

  28. ผิดค่ะ Next

  29. 2.วันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ตรงกับวันอะไร ?ก. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  ข. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6ค. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8ง. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  

  30. ถูกต้องค่ะ Next

  31. ผิดค่ะ Next

  32. 3.วันใดที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรกในพระพุทธศาสนา ก.   วันมาฆบูชา  ข.   วันเข้าพรรษา   ค.    วันวิสาขบูชาง.    วันอาสาฬหบูชา3.วันใดที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรกในพระพุทธศาสนา ก.   วันมาฆบูชา  ข.   วันเข้าพรรษา   ค.    วันวิสาขบูชาง.    วันอาสาฬหบูชา

  33. ถูกต้องค่ะ Next

  34. ผิดค่ะ Next

  35. 4.ข้อใดคือความหมายที่ดีที่สุดของคำว่า  “อำนาจอธิปไตย”ก.  อำนาจที่เป็นของประชาชนข.  อำนาจที่ปราศจากการแทรกแซงค.  อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศง.   อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่มาจากประชาชน4.ข้อใดคือความหมายที่ดีที่สุดของคำว่า  “อำนาจอธิปไตย”ก.  อำนาจที่เป็นของประชาชนข.  อำนาจที่ปราศจากการแทรกแซงค.  อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศง.   อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่มาจากประชาชน

  36. ถูกต้องค่ะ Next

  37. ผิดค่ะ Next

  38. 5.การสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร  สุนทรเวช  นายกรัฐมนตรีคนที่  25  ของประเทศไทยแสดงถึงข้อใดก.  การถ่วงดุลของอำนาจนิติบัญญัติต่ออำนาจบริหารข.  การถ่วงดุลของอำนาจบริหารต่ออำนาจนิติบัญญัติค.  การถ่วงดุลของอำนาจตุลาการต่ออำนาจบริหารง.  การถ่วงดุลของอำนาจตุลาการต่ออำนาจนิติบัญญัติ5.การสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร  สุนทรเวช  นายกรัฐมนตรีคนที่  25  ของประเทศไทยแสดงถึงข้อใดก.  การถ่วงดุลของอำนาจนิติบัญญัติต่ออำนาจบริหารข.  การถ่วงดุลของอำนาจบริหารต่ออำนาจนิติบัญญัติค.  การถ่วงดุลของอำนาจตุลาการต่ออำนาจบริหารง.  การถ่วงดุลของอำนาจตุลาการต่ออำนาจนิติบัญญัติ

  39. ถูกต้องค่ะ Next

  40. ผิดค่ะ Next

  41. 6.ข้อใดไม่ใช้หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยก.รับฝากเงินจากประชาชนทั่วประเทศข.รักษาทุนสำรองเงินตราของประเทศค.เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ง.ดูแลการซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศ6.ข้อใดไม่ใช้หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยก.รับฝากเงินจากประชาชนทั่วประเทศข.รักษาทุนสำรองเงินตราของประเทศค.เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ง.ดูแลการซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศ

  42. ถูกต้องค่ะ Next

  43. ผิดค่ะ Next

  44. 7.สถาบันการเงินที่รับเครื่องใช้ทั้งใหม่และใช้แล้วไว้เป็นการประกันชำระหนี้และคิดดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ยืมเรียกว่าอะไรก.โรงรับจำนำข.บริษัทเงินทุนค.ธนาคารพาณิชย์ง.บริษัทเครดิตฟองซิเอร์7.สถาบันการเงินที่รับเครื่องใช้ทั้งใหม่และใช้แล้วไว้เป็นการประกันชำระหนี้และคิดดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ยืมเรียกว่าอะไรก.โรงรับจำนำข.บริษัทเงินทุนค.ธนาคารพาณิชย์ง.บริษัทเครดิตฟองซิเอร์

  45. ถูกต้องค่ะ Next

  46. ผิดค่ะ Next

  47. 8.หน่วยงานหรือสถาบันใดที่มีหน้าที่ในการออกธนบัตรไทยก.กรมธนารักษ์ข.ธนาคารพาณิชย์ค.กระทรวงการคลังง.ธนาคารแห่งประเทศไทย8.หน่วยงานหรือสถาบันใดที่มีหน้าที่ในการออกธนบัตรไทยก.กรมธนารักษ์ข.ธนาคารพาณิชย์ค.กระทรวงการคลังง.ธนาคารแห่งประเทศไทย

  48. ถูกต้องค่ะ Next

  49. ผิดค่ะ Next

  50. 9.ข้อใดไม่ใช่การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก.ยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ข.ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายค.ทำมาค้าขาย ก่อนทำมาหากินง.ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม

More Related