2.12k likes | 2.38k Views
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมบูรณาการ เพื่อพัฒนาเมืองทุ่งสงอย่างยั่งยืน. จากแนวคิด...ต้องทำวิกฤตให้เป็นโอกาส. พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 กรกฎาคม 253 3.
E N D
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมบูรณาการ เพื่อพัฒนาเมืองทุ่งสงอย่างยั่งยืน จากแนวคิด...ต้องทำวิกฤตให้เป็นโอกาส
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 กรกฎาคม 2533 “ปัญหาทุกอย่าง มีทางแก้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ ก็ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้หลายคน หลายทาง ด้วยความร่วมมือ ปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จักไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางและบ่อนทำลายความเจริญและความสำเร็จ” ทุกภาคส่วนในอำเภอทุ่งสง น้อมนำพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทใส่เกล้าฯ ปฏิบัติตามเมื่อได้ผลดีในเรื่องหนึ่งก็ดำเนินการเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปใช้ดำเนินงานในเรื่องอื่นๆ ต่อยอดความสำเร็จต่อเนื่องกันไป ทั้งนี้ โดยการบูรณาการความคิด “ความคาดหวัง “ของทุกภาคส่วนให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่น จังหวัด และประเทศ
สภาพทั่วไปของพื้นที่ (1) เทศบาลเมืองทุ่งสง มีเนื้อที่ 7.17 ตารางกิโลเมตร (2) คลองสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่ 4 สาย ได้แก่ • คลองท่าเลา • คลองท่าโหลน • คลองตม • คลองท่าแพ
ความเป็นมา จากสภาพภูมิประเทศของเมืองทุ่งสง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ เป็นแหล่งต้นน้ำ มีลำคลอง 4 สายไหลผ่านเมือง ไปรวมกันในลักษณะคอขวด ทำให้เมืองทุ่งสงประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง เกือบทุกปี และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ในปี2548 และ 2549 เมืองทุ่งสงประสบปัญหาอุทกภัยติดต่อกันถึง 2 ครั้ง ในเวลา 2 เดือน ส่งผลกระทบต่อชีวิตสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน “โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่า 250 ล้านบาท (ข้อมูลจากชมรมธนาคารอำเภอทุ่งสง)”
โครงการศึกษาความเหมาะสมการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัย
15 ธันวาคม 2548เกิดเวลากลางวัน
14 กุมภาพันธ์ 2549เกิดเวลากลางคืน
น้ำท่วมทุ่งสง 1-2 พฤศจิกายน 2553 และ 29-30 มีนาคม 54 มีนาคม 2554
น้ำท่วมทุ่งสง 1-2 พฤศจิกายน 2553 และ 29-30 มีนาคม 54 มีนาคม 2554
เหตุการณ์อุทกภัยปีล่าสุดเหตุการณ์อุทกภัยปีล่าสุด (วันที่ 27-31 มีนาคม 2554) สภาพน้ำในคลองท่าแพ (คลองเปิก) บริเวณชุมชนท่าแพใต้ สภาพน้ำท่วมบริเวณชุมชน ริมถนนชนปรีดา สภาพน้ำท่วมบริเวณชุมชนทุ่งสง-ห้วยยอด สภาพน้ำท่วมบริเวณชุมชนทุ่งสง-นาบอน ซอย 1
หลังน้ำท่วม เกิดความเสียหายมากมาย โคลนทรายจำนวนมากมากับน้ำ
ความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสียหายจากเหตุการณ์ น้ำท่วมและได้รับการฟื้นฟูจากเครือข่ายฯ ตชด42เรือนจำอำเภอทุ่งสงจังหวัดทหารบก ค่ายเทพสตรีศรีสุนทรอย่างรวดเร็วทันที
เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส • .....จุดประกาย การมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ สร้างเครือข่าย • การทำงาน เพื่อพัฒนาทุ่งสงให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนใช้การบูรณาการเป็นหัวใจ ใช้ยุทธศาสตร์เป็นตัวเชื่อมสู่การพัฒนาเมืองทุ่งสง
กลไกการบริหารงานของอำเภอทุ่งสงจำเป็นต้องบริหาร แนวทางการปฏิบัติราชการแบบบูรณาการผ่าน...เครือข่ายทุกภาคส่วน
ถักทอความร่วมมือ...สู่การพัฒนาเมืองทุ่งสงให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนถักทอความร่วมมือ...สู่การพัฒนาเมืองทุ่งสงให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ทุกภาคส่วนแก้ปัญหาเพียงลำพังไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ รวมพลังร่วมเป็นหนึ่งสร้างการทำงานแบบบูรณาการทำให้เมืองทุ่งสง มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป ร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาและร่วมบูรณาการ
กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ
1) การรับรู้ เรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาร่วมกัน อปท./ภูมิภาค/ส่วนกลาง/ประชาสังคม/ สถาบันวิชาการ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับรู้และตระหนักถึงปัญหา ร่วมปรึกษาหารือ ประชุม ระดมความเห็น
จากการพบปะหารือดังกล่าวทำให้เกิดการการเรียนรู้ปัญหาและสาเหตุเบื้องต้นในเรื่องน้ำท่วมร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1.ปัญหาด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการน้ำ1.ปัญหาด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการน้ำ สภาพปัญหาด้านอุทกภัยและบริหารจัดการน้ำในบริเวณพื้นที่อำเภอทุ่งสง • ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและฝนทิ้งช่วง • แหล่งน้ำตื้นเขิน • ขาดประสิทธิภาพของระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำ • ขาดการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบลุ่มน้ำ 2.ปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำ • ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค • ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร 3.ปัญหาด้านน้ำท่วม • พื้นที่สองฝั่งลำน้ำคลองท่าเลาทางท้ายน้ำ • เทศบาลเมืองทุ่งสงเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ
เส้นทางการระบายน้ำในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงเส้นทางการระบายน้ำในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง คลองท่าเลา คลองตม คลองท่าโหลน คลองเปิก(คลองท่าแพ) คลองตม คลองหมู่บ้านพัฒนา คลองท่าเลา 1 คลองท่าโหลน คลองท่าเลา คลองเปิก คลองท่าเลา คลองท่าโหลน
พื้นที่น้ำท่วมในเขตพื้นที่เมืองทุ่งสงพื้นที่น้ำท่วมในเขตพื้นที่เมืองทุ่งสง เขตผังเมืองรวมทุ่งสง พื้นที่น้ำท่วม
แนวคิดการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการบริหารจัดการน้ำแนวคิดการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการบริหารจัดการน้ำ 1. พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาตอนบนเหนือเขตเทศบาล - ศึกษาศักยภาพแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ตอนบน - หาพื้นที่ทำแก้มลิงชะลอน้ำเพิ่มเติม 2. การระบายน้ำในเขตชุมชนเมืองหรือในเทศบาลเมืองทุ่งสง - การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของลำน้ำต่างๆ - การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำหลากที่เข้าเขตเมือง - การผันน้ำเลี่ยงเมือง 3. การระบายน้ำในพื้นที่ตอนล่างหรือท้ายน้ำจากเขตชุมชน - ปรับปรุงลำน้ำให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ผันมา - ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพการระบายน้ำเพิ่มขึ้น 4. การวางระบบเฝ้าระวังเตือนภัยล่วงหน้าพื้นที่เขตชุมชนเมือง และกำหนด มาตรการในการอพยพราษฏรไปยังพื้นที่ปลอดภัย - ปรับปรุงระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยที่เทศบาลเมืองทุ่งสงที่ดำเนินการ อยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น
2) การก่อรูปเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ 2.1 ใช้การประชุมระหว่างภาคีต่าง ๆ …การประชุมปรึกษาหารือ แก้ปัญหาอุทกภัย ทุกภาคีของเมือง ทั้งหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ โรงเรียน สถานศึกษา ภาคประชาชน และภาคีอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง ฯลฯ จึงได้ร่วมกันประชุม ปรึกษาหารือกัน ประชุมครั้งแรกในวันที่ 2 มี.ค.49 มีนายอำเภอทุ่งสง (นายสุรินทร์ เพชรสังข์) เป็นประธาน การหารือเริ่มจากหาสาเหตุของน้ำท่วม และหาทางการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา น้ำท่วม การประชุมในช่วงแรกของปี 2549 ได้ร่วมหารือกันจำนวน 6 ครั้ง
2) การก่อรูปเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ ระดมความคิด กำหนดทิศทาง ของเครือข่าย กำหนดแนวทางแก้ปัญหา กำหนดผู้รับผิดชอบ เพื่อขับเคลื่อนโครงการสู่การปฏิบัติ เรียนรู้ และระดมความคิดเห็นในการขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
2) การก่อรูปเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ 2.2 การแต่งตั้งคณะทำงาน ตั้งคณะทำงานอำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ มีนายอำเภอทุ่งสง เป็นประธานคณะกรรมการ ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานในการดำเนินงานของเครือข่ายทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนับว่ามีความสำคัญ และจำเป็น ต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ โดยอำเภอทุ่งสงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแก้ปัญหาน้ำท่วม เป็น 2 คณะคือ 1. ด้านกายภาพ มีที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาทุ่งสง เป็นประธานคณะทำงาน 2. ด้านสังคมกฎหมาย ระบบแผนพัฒนาและผังเมืองมีผู้กำกับการกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 เป็นประธานคณะทำงาน
3) การกำหนดเป็นวาระท้องถิ่น
รูปแบบวิธีการดำเนินงานรูปแบบวิธีการดำเนินงาน รวมเป็นหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ เป็นไปอย่างมีระบบ จึงได้นำวาระท้องถิ่นเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม, การจราจร, การจัดการขยะ ฯลฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมประชาคมเมืองทุ่งสงครั้งที่ 2/2550 ในวันที่14-15 พฤษภาคม 2550 และร่วมกัน “จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ” ขึ้น ทำให้ทุกภาคส่วนได้เห็นสถานการณ์ของเมืองทุ่งสง แต่ละประเด็น ชัดเจนมากขึ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มที่ 1ภาวะมลพิษจุดมุ่งหมายการพัฒนา : มุ่งสู่การจัดการมลพิษในเมืองทุ่งสงอย่างยั่งยืน กลุ่มที่ 2การจราจรจุดมุ่งหมายการพัฒนา : การจราจรในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงใน อำเภอทุ่งสงมีระเบียบและผู้ใช้ถนนมีความปลอดภัย กลุ่มที่ 3น้ำท่วม/ผังเมืองจุดมุ่งหมายการพัฒนา : ลดผลกระทบและความเสียหายจากน้ำท่วมโดย บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ กลุ่มที่ 4ทรัพยากรธรรมชาติจุดมุ่งหมายการพัฒนา : สร้างจิตสำนึกแก่ชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ และใช้ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ ให้อุดมสมบูรณ์ เอื้อต่อวิถีชีวิตโดยชุมชนมีส่วนร่วม
4) การขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การขุดลอกลำคลอง เหมือง ที่มีต้นไม้หรือวัชพืชขึ้นปกคลุม คูระบายน้ำ ล้างไม่ให้อุดตัน ขุดขยายคลองส่วนที่คับแคบ ขุดลอกตะกอนทรายหน้าฝายไปบางส่วน โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากท้องถิ่น ทั้งอบจ. อบต. เทศบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรทั้งงบประมาณและสนับสนุนเครื่องจักรกล
5) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ ร่วมคิด “ร่วมมือ...ร่วมใจ....จัดทำแผนยุทธศาสตร์”
จัดการประชุม สัมมนาความคิดเห็นเชิงปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ กำหนดแนวทางแก้ปัญหา กำหนดผู้รับผิดชอบ. เพื่อขับเคลื่อนโครงการสู่การปฏิบัติ ร่วมระดมสมองแก้ไขพัฒนาเมือง จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ
6) การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “รวมกันเป็นหนึ่ง”
เทศบาลเมืองทุ่งสง ประสานงาน สนับสนุนการเรียนรู้ รวมเป็นหนึ่ง สู่วาระท้องถิ่นลงนาม MOU 2 ครั้งเน้น…ร่วมพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง 13 อปท.ของเมืองทุ่งสง ในวันที่ 13สิงหาคม 2550 พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง 13 อปท.ของเมืองทุ่งสง ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2552
7) การสื่อสารภายในเครือข่ายทุกภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอและร่วมขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการทั้งด้านกายภาพ และสังคมอย่างต่อเนื่อง
8)การติดตามผลการดำเนินงาน8)การติดตามผลการดำเนินงาน คณะกรรมการอำนวยการป้องกันภัยและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสง ติดตามการดำเนินงานของเครือข่าย...โดยใช้การประชุมเป็นเครื่องมือ ในการติดตามผลการดำเนินงาน
ผลผลิต/ผลลัพธ์การดำเนินงานผลผลิต/ผลลัพธ์การดำเนินงาน การแก้ปัญหาน้ำท่วม ด้านกายภาพ
โครงการที่ดำเนินการแล้วโครงการที่ดำเนินการแล้ว ด้านกายภาพ
เพื่อดำเนินการและตัดสินใจหาแนวทางแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการปรับปรุงระบบระบายน้ำ ด้านการพิจารณาพื้นที่และจัดหาพื้นที่แก้มลิงและลุ่มน้ำเทียม ด้านการจัดการขยะและน้ำเสีย และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ
ร่วมกับเรือนจำอำเภอทุ่งสงปรับปรุงภูมิทัศน์และบำรุงรักษาระบายน้ำ ลำคลอง และ ลำเหมืองสาธารณะต่างๆ การขุดลอกคูคลอง ในเขตเเมืองทุ่งสงทุกปี
สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะสั้น ได้แก่การขุดลอกลำคลอง เหมือง ที่มีต้นไม้หรือวัชพืชขึ้นปกคลุม คูระบายน้ำ ล้างไม่ให้อุดตัน ขุดขยายคลองส่วนที่คับแคบ ขุดลอกตะกอนทรายหน้าฝายไปบางส่วน โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากท้องถิ่นทั้งอบจ. อบต. เทศบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรทั้งงบประมาณและสนับสนุนเครื่องจักรกล
นวัตกรรมใหม่ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นตามพระราชดำริของพ่อหลวงไทย...ปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ณ ริมคลองท่าเลาโดยร่วมกับเรือนจำอำเภอทุ่งสง
นำร่องทดลองสร้างนวัตกรรมใหม่ ในการทำพนังกั้นดินด้วยไม้ไผ่บริเวณริมคลองท่าเลาหน้าห้องสมุด ป้องกันตลิ่งพัง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลปรากฏว่าในช่วงน้ำท่วมหนักในปี 2553 และ 2554 หญ้าแฝกได้ช่วยป้องกันตลิ่งพังได้ ขณะนี้ขยายผลบริเวณ ริมคลองท่าเลาหน้างานป้องกันเพิ่มขึ้น รวมถึงคลองต่าง ๆ ด้วย บูรณาการความร่วมมือกับเรือนจำอำเภอทุ่งสงช่วยดำเนินการในปี 2553 ก่อนน้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน
ก่อสร้างฝายชะลอน้ำ (CHECKDAM) เทศบาลเมืองทุ่งสง ร่วมกับเรือนจำอำเภอทุ่งสง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 42 และกองบัญชาการช่วยรบพิเศษค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ (CHECKDAM) ในลำคลองสายหลัก 3 สาย คือ คลองท่าเลา คลองท่าโหลน และคลองท่าแพ ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2553
โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ เทศบาลเมืองทุ่งสง ร่วมกับเรือนจำอำเภอทุ่งสง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 42 ค่ายเทพสตรี ศรีสุนทร ในการดำเนินการแบบบูรณาการ สร้างฝายชะลอน้ำในคลองต่าง ๆ ในเขตเทศบาล
โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ