90 likes | 321 Views
นวัตกรรม ธงนำทาง. ผลงานของ งาน PCU โรงพยาบาลห้วยพลู. ความสำคัญของ ปัญหา.
E N D
นวัตกรรมธงนำทาง ผลงานของ งานPCU โรงพยาบาลห้วยพลู
ความสำคัญของปัญหา • ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานเข้ารับบริการในPCU มากขึ้น มีทั้งผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และไม่ดี มีพยาบาลเวชปฏิบัติจำกัด จึงต้องให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ PCU ช่วยตรวจผู้ป่วยด้วย ให้ทันกับเวลา และให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลเรียกชื่อผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ ซึ่งได้รับการฝึกฝน รวมทั้ง จิตอาสาซึ่งมีอายุ เป็นผู้เรียกผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ โดยได้มีเกณฑ์เดิมว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสูงมากกว่า 200 มก/ดลและต่ำกว่า 70 มก/ดลให้พยาบาลเวชปฏิบัติตรวจ ซึ่งต้องเปิดสมุดประจำตัวผู้ป่วยทุกครั้ง เพื่อดูระดับน้ำตาลว่ามีค่าเท่าไร ซึ่งต้องใช้เวลา ไม่สามารถเรียกได้ทันเวลา บางครั้งผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกเรียกมานั่งรอตรวจที่หน้าห้องตรวจลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าจะเข้าห้องตรวจไหนดี จึงเกิดเป็นแนวคิด นวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสะดวก และลดระยะเวลารอคอยผู้ป่วยเพื่อเข้าตรวจ โดยใช้ธงนำทาง
วัตถุประสงค์ • 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจรวดเร็วขึ้น • 2. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง ผลงานของ งานPCU โรงพยาบาลห้วยพลู
ขั้นตอนการดำเนินงาน • จัดทำธงสีแดง สำหรับผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า200 มก/ดล และต่ำกว่า 70 มก/ดล ธงสีเหลืองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 141 -199 มก/ดลและธงสีเขียวสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 71 -140 มก/ดล • 2. เมื่อลงผลFBS ในสมุดประจำตัวผู้ป่วย ให้แนบธงสีเขียว เหลืองหรือแดงไว้ด้วย • 3. เรียงตามลำดับก่อนหลังตามเวลาที่มารับบริการ และให้นั่งเป็นแถวสำหรับธงแต่ละสี
สัญลักษณ์ธงนำทาง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า200 มก/ดล และต่ำกว่า 70 มก/ดล ผลงานของ งานPCU โรงพยาบาลห้วยพลู
สัญลักษณ์ธงนำทาง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 141 -199 มก/ดล ผลงานของ งานPCU โรงพยาบาลห้วยพลู
สัญลักษณ์ธงนำทาง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 71 -140 มก/ดล ผลงานของ งานPCU โรงพยาบาลห้วยพลู
ผลลัพธ์ • ผู้ป่วยทราบลำดับการตรวจของตนเอง ได้รับการตรวจเร็วขึ้น • ผู้ป่วยทราบผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง • ลดระยะเวลารอคอย ทำให้ผู้พึงพอใจมากขึ้น ผลงานของ งานPCU โรงพยาบาลห้วยพลู