1 / 69

มุมมองภูมิศาสตร์

มุมมองภูมิศาสตร์. ผศ.ดร.บงกชรัตน์ เตชะไตรศักดิ์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ท่านคิดว่าภาพต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ ภูมิศาสตร์หรือไม่ อย่างไร. สิงคโปร์. เมืองแวร์ซัว สวิตเซอร์แลนด์. เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา. อินโดนีเซีย.

dong
Download Presentation

มุมมองภูมิศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มุมมองภูมิศาสตร์ ผศ.ดร.บงกชรัตน์ เตชะไตรศักดิ์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  2. ท่านคิดว่าภาพต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ ภูมิศาสตร์หรือไม่ อย่างไร

  3. สิงคโปร์

  4. เมืองแวร์ซัว สวิตเซอร์แลนด์

  5. เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา

  6. อินโดนีเซีย

  7. ทวีปยุโรป - ทวีปแอฟริกา

  8. รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

  9. สหรัฐอเมริกา

  10. กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย

  11. ชาวเฮติ

  12. อินเดีย

  13. สหรัฐอเมริกา

  14. มุมมองทางวิชาการ • นักวิทยาศาสตร์สนใจกระบวนการ จุดเน้นคือสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น ไม่สนใจเวลาและสถานที่ คำถามหลักคือ อย่างไร • นักประวัติศาสตร์สนใจเวลา จุดเน้นคือเวลาของเหตุการณ์และอะไรเกิดขึ้นก่อน/หลังเหตุการณ์เหล่านั้น คำถามหลักคือ เมื่อใด

  15. นักภูมิศาสตร์สนใจพื้นที่ จุดเน้นคือทำเลที่ตั้งของสิ่งต่างๆ สภาพในสถานที่หนึ่ง และความเชื่อมโยงระหว่างสถานที่ต่างๆ คำถามหลัก คือ ที่ไหน

  16. ความหมายของภูมิศาสตร์ความหมายของภูมิศาสตร์ • การพูดเรื่องภูมิศาสตร์นี่ลำบาก เพราะว่ามีความรู้สึกว่ามันครอบจักรวาล อะไรๆ ก็เป็นเรื่องภูมิศาสตร์ทั้งนั้น (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี14 ก.พ. 2550)

  17. ภูมิศาสตร์เกี่ยวข้องกับการพรรณนาลักษณะอันแปรปรวนของพื้นโลกอย่างถูกต้อง เป็นลำดับและมีเหตุผล (R. Hartshorne 1959)

  18. จุดมุ่งหมายของภูมิศาสตร์เป็นเพียงความเข้าใจระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ระบบนี้ประกอบด้วยมนุษย์และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติบนพื้นผิวโลก (E.A. Ackerman 1963)

  19. ภูมิศาสตร์มุ่งอธิบายว่าระบบย่อยต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีการจัดระเบียบอย่างไรบนพื้นผิวโลก และมนุษย์กระจายตัวอย่างไรบนโลก โดยสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพทั้งหลายและกับมนุษย์ด้วยกัน (Ad Hoc Committee on Geography 1965)

  20. ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์บูรณาการ ซึ่งนำเอามิติทางกายภาพและทางมนุษย์ของโลกมารวมกันในการศึกษา คน สถานที่ และสิ่งแวดล้อม (American Geographical Society et al. 1994)

  21. ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ของสถานที่และพื้นที่ นักภูมิศาสตร์ถามว่าสิ่งต่างๆ ตั้งอยู่ที่ใดบนพื้นผิวโลก ทำไมจึงตั้งอยู่ตรงนั้น สถานที่ทั้งหลายแตกต่างกันอย่างไร และคนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร (Association of American Geographers 1990’s)

  22. ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่ามีความเป็นจริง เกี่ยวกับการดำรงอยู่ (existence) 4 ประการ คือ • มีพื้นที่ • กระบวนการทางกายภาพและทางสังคมจำเป็นต้องมีพื้นที่เพื่อดำเนินการ • ถ้ามองการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ พื้นที่ (ในฐานะสิ่งแวดล้อม) แปรปรวนด้านเนื้อหาและอรรถประโยชน์

  23. 4.ปรากฏการณ์ทั้งหลาย (รวมถึงมนุษย์ด้วย)ต้องติดสถานที่ และไม่อาจมีอยู่ทุกที่ในเวลาเดียวกัน

  24. ศาสตร์แบบสหวิทยาการ ภูมิศาสตร์อาจแบ่งเแบบระบบ (systematic) เป็นด้านกายภาพและด้านสังคม (หรือด้านมนุษย์) วิชาต่างๆ ของทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กับวิชา/สาขาวิชาอื่นๆ พึ่งพากันด้านแนวคิดและทฤษฎี ตัวอย่างเช่น

  25. ด้านกายภาพ การแผนที่ - คณิตศาสตร์ ภูมิอากาศวิทยา - อุตุนิยมวิทยา ภูมิศาสตร์ดิน - ปฐพีวิทยา ชีวภูมิศาสตร์ - พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา

  26. ด้านสังคม ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ - เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์การขนส่ง - วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ - ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์เมือง - สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์

  27. THE FIVE THEMES OF GEOGRAPHY • LOCATION • PLACE • HUMAN/ ENVIRONMENT INTERACTION • MOVEMENT • REGION

  28. แนวคิดเชิงพื้นที่ (Spatial Concepts) • ทำเลที่ตั้ง(location) ส่งผลต่อการกระทำของเรา แบ่งออกเป็น - ที่ตั้งสมบูรณ์ ระบุเป็นละติจูด ลองจิจูด - ที่ตั้งสัมพันธ์ บอกที่ตั้งโดยสัมพันธ์กับ สิ่งอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

  29. สถานที่(place) คือพื้นที่ที่มีความหมายด้านที่ตั้งและคุณลักษณะ ซึ่งมาจากลักษณะต่างๆ ของสถานที่รวมกับวิถีทางที่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนรับรู้สถานที่

  30. นักภูมิศาสตร์สนใจคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และความหมายของสถานที่ สิ่งที่กำหนดลักษณะของสถานที่ คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง และความสัมพันธ์ทางสังคม

  31. 3. การกระจายทางพื้นที่(spatial distribution) อาจพิจารณาประเภท จำนวน ขนาด ความหนาแน่น ระยะห่าง รูปแบบ 4. การแพร่กระจายทางพื้นที่(spatial diffusion) หมายถึงการที่นวัตกรรมแพร่กระจายจากจุดกำเนิดไปยังบริเวณอื่นๆ สามารถศึกษาประเภท เส้นทาง และสร้างแบบจำลองกระบวนการแพร่กระจาย

  32. 5. ปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่(spatial interactionหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆ ในสถานที่ เช่น ชนเผ่ากับบ้านเรือน อ่าวกับท่าเรือ หรือระหว่างพื้นที่ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน เช่น การขนส่ง การย้ายถิ่น การแพร่กระจาย สามารถศึกษาประเภท ทิศทาง และปริมาณ

  33. 6. การจัดระเบียบทางพื้นที่(spatial organization) เป็นการรวมแนวคิดข้างต้นเพื่อตอบคำถาม อะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม สะท้อนให้เห็นโครงสร้างและกระบวนการทางพื้นที่

  34. 7. ภูมิภาค(regions) เป็นวิธีการแบ่งพื้นที่เพื่อ ศึกษา เช่น จังหวัด ภาค หรือ เป็นการศึกษา เพื่อกำหนดภูมิภาคขึ้นโดยใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์ หนึ่งหรือหลายเกณฑ์ ทำให้ได้ภูมิภาคที่มี ลักษณะเป็นแบบเดียวกัน เช่น ภูมิภาคปลูก ข้าวเจ้า ภูมิภาคภาษาโคราช เขตการศึกษา

  35. ครอบคลุม มาตราส่วนต่างๆ จากระดับท้องถิ่นสู่ระดับโลก เน้นการพึ่งพากัน ระหว่างคนกับ สิ่งแวดล้อม แนวทางแบบองค์รวม ศึกษาพื้นผิวโลกแบบมองส่วนทั้งมวล(totality) แนวศึกษาพื้นที่และ เวลาแบบหลายมิติ พิจารณาสิ่งที่ศึกษาทั้งหมดในนั้น (ภูมิทัศน์/สถานที่/ภูมิภาค)

  36. ข้อมูลภูมิศาสตร์ • ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์หลายตัวแปร (multivariate) ทั้งตัวแปรด้านกายภาพ (เช่น อุณหภูมิ ปริมาณฝน ปริมาณฝุ่น ประเภทพืชพรรณ ชนิดดิน ฯลฯ) และ ด้านมนุษย์ (เช่น จำนวนประชากร ประเภทการใช้ที่ดิน ค่าขนส่ง อัตราป่วย ฯลฯ) สำหรับจุดสำรวจ สถานที่ หน่วยพื้นที่ ครัวเรือน หรือ ปัจเจกบุคคล

  37. ข้อมูลที่ใช้มีระดับวัดทั้ง 4 ระดับ (นาม อันดับ ช่วง และอัตราส่วน) • ข้อมูลที่ใช้มีสามารถเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ และ/หรือ ระหว่างช่วงเวลา

  38. เครื่องมือ/วิธีวิเคราะห์เชิงพื้นที่เครื่องมือ/วิธีวิเคราะห์เชิงพื้นที่ • การวิเคราะห์ทางสถิติ สถิติทั่วไป (สถิติพรรณนา สถิติอ้างอิง) สถิติเชิงพื้นที่ (รูปแบบการกระจาย สัดส่วนการกระจาย การสร้างแบบจำลองฯ)

  39. แผนที่แบบต่างๆ - เพื่อการแสดงลักษณ์ (representation) ของข้อมูลจุด เส้น และพื้นที่ - เป็นเครื่องมือนำเสนอ สรุป และวิเคราะห์ข้อมูล (เช่น อาจเปรียบเทียบแผนที่เพื่อดู ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร) - มีมาตราส่วนหลากหลายตามความเหมาะสมสำหรับสิ่งที่ศึกษา

  40. CHOROPLETHMAP

  41. ISOPLETH MAP

  42. DOT MAP

  43. FLOW MAP

  44. CARTOGRAM

  45. ภูมิสารสนเทศ(Geoinformatics) ประกอบด้วย - ภาพจากดาวเทียม (Remote Sensing) - ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System)

  46. - ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) สามารถจัดเก็บ วิเคราะห์ สืบค้น แสดงผลเป็นแผนที่

  47. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  48. นักภูมิศาสตร์ศึกษาปรากฏการณ์หลายมาตราส่วน (scale) ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ • การวิเคราะห์ปัญหาเรื่องเดียวกัน แต่ มาตราส่วนแตกต่างกันอาจได้ผลการศึกษา ไม่เหมือนกัน • ดังนั้น ควรใช้ข้อมูล แผนที่ และภาพจากระยะไกลที่มีมาตราส่วนเหมาะสมกับปัญหา

  49. มาตรฐานภูมิศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกามาตรฐานภูมิศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มี 6 ส่วน (essential elements) รวมทั้งสิ้น 18 มาตรฐานขึ้นต้นว่า ผู้ที่รู้ภูมิศาสตร์รู้และเข้าใจสิ่งต่อไปนี้... ส่วนที่ 1 โลกในเชิงพื้นที่ มาตรฐาน 1 วิธีใช้แผนที่และเครื่องมือ/เทคโนโลยีภูมิศาสตร์เพื่อหา จัดการ และรายงานสารสนเทศจากมุมมองภูมิศาสตร์

More Related