1 / 33

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ภายใต้ความเสี่ยงทางการเมือง

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ภายใต้ความเสี่ยงทางการเมือง สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. 21 พฤษภาคม 2557. หัวข้อการนำเสนอ. เศรษฐกิจไทยปี 2557. การลงทุนภาครัฐ โครงการต่างๆ หยุดชะงัก. การส่งออก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัว. การลงทุนภาคเอกชน

dom
Download Presentation

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ภายใต้ความเสี่ยงทางการเมือง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ภายใต้ความเสี่ยงทางการเมือง สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 21 พฤษภาคม 2557

  2. หัวข้อการนำเสนอ

  3. เศรษฐกิจไทยปี 2557 การลงทุนภาครัฐ โครงการต่างๆ หยุดชะงัก • การส่งออก • เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัว การลงทุนภาคเอกชน นักลงทุนไม่มั่นใจจะลงทุนเพิ่ม การบริโภคภายในประเทศ ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย

  4. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (%YoY) มวลมหาประชาชน มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ Hamburger Crisis พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ กันยายน.49 ปฎิวัติ วิกฤติต้มยำกุ้ง เม.ย. 52 น.ป.ช. ปิดกรุงเทพ ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย • ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2557 GDP หดตัวร้อยละ 0.6 จากการลดลงของอุปสงค์ภายในประเทศ • เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดีมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.9 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.0

  5. การบริโภคภาคเอกชน (%YoY) มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ มวลมหาประชาชน พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ Hamburger Crisis วิกฤติต้มยำกุ้ง กันยายน.49 ปฎิวัติ เม.ย.52 นปช.ปิดกรุงเทพฯ ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย ไตรมาส 1/57 การบริโภคภาคเอกชนส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง จากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ลดลงจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงไตรมาส 1/56 รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง และมีการระมัดระวังการใช้จากความกังวลกับสถานการณ์ทางการเมือง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

  6. ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (%YoY) มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ การชุมนุมทางการเมือง ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ Hamburger Crisis ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคม 57 หดตัวร้อยละ 1.4 จากการลดลงของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิล แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

  7. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ) การชุมนุมทางการเมือง ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาหอการค้าไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมยังลดลงต่อเนื่อง จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง ค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

  8. การลงทุนภาคเอกชน (%YoY) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไตรมาส 1/57 การลงทุนหดตัวทั้งในส่วนการลงทุนในเครื่องมือและเครื่องจักร และการก่อสร้างของภาคเอกชน

  9. ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (%YoY) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคม 57 หดตัวร้อยละ 6.4 จากการลดลงของการนำเข้าสินค้าทุน และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

  10. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (ระดับ) ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย การชุมนุมทางการเมือง มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจต่ำกว่าระดับ 50 อย่างต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาพรวมยังคงเปราะบาง

  11. มูลค่าการส่งออกสินค้า (%YoY) มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เศรษฐกิจโลกชะลอตัว พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ Hamburger Crisis ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย การชุมนุมทางการเมือง ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม(หักทองคำ) ในไตรมาส 1 ปี 57 หดตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี จากการส่งออกเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงสินค้าขั้นกลางอย่างผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ที่หดตัว ขณะที่การส่งออกสินค้ารายการสำคัญอย่างยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย

  12. สินค้าอุตสาหกรรมส่งออก 10 อันดับแรกของไทย หมายเหต : ตัวเลขสัดส่วน หมายถึงสัดส่วนการส่งออกเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดของไทยในเดือนมีนาคม 2557

  13. มูลค่าการนำเข้าสินค้า (%YoY) เศรษฐกิจโลกชะลอตัว พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ Hamburger Crisis ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย การชุมนุมทางการเมือง ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2557 การนำเข้ารวมหดตัวร้อยละ 15.4 โดยหดตัวทั้งการส่งออกสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป

  14. การนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบที่สำคัญ ในเดือนมีนาคม 2557 ยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง หมายเหต : ตัวเลขสัดส่วน หมายถึงสัดส่วนการนำเข้าเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งหมดของไทยในเดือนมีนาคม 2557 ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

  15. การใช้จ่ายภาครัฐ (%YoY) ไตรมาส 1/57 การใช้จ่ายภาครัฐบาลขยายตัวร้อยละ 2.9 จากการเบิกจ่ายงบประมาณในหมวดค่าตอบแทนบุคลากร ส่วนค่าใช้จ่ายหมวดสาธารณูปโภคลดลงจากการหยุดทำการชั่วคราวของส่วนราชการในกรุงเทพฯ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

  16. หัวข้อการนำเสนอ

  17. GDP ภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/57 หดตัวร้อยละ 2.7เนื่องจากแรงส่งจากมาตรการรถยนต์คันแรกสิ้นสุดลง การบริโภคภาคครัวเรือนชะลอตัว และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัว ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

  18. MPI เดือน มี.ค. 2557 ติดลบ 10.4 % จากการลดลงของการผลิต ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้านเรือน อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)

  19. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) การชุมนุมทางการเมือง มี.ค.-พ.ค.53 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ต.ค.54 วิกฤติอุทกภัย พย.51 ปิดสนามบิน สุวรรณภูมิ ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ ทำให้การบริโภคในประเทศชะลอตัว ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมมียอดคำสั่งซื้อ และยอดขายในประเทศลดลง

  20. อุตสาหกรรมรถยนต์ สรุปภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์เดือนมีนาคมปี 2557 หดตัวเมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดลงจากตลาดในประเทศเป็นหลัก อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่ง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามีฐานที่ค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากนโยบายรถยนต์คันแรก การผลิตรถยนต์เดือนมีนาคมปี 2557 มีจำนวน181,334 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.24 โดยเป็นการลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถกระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ เดือนมีนาคมปี 2557 มีจำนวน 83,983 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 46.69 เป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV การส่งออกรถยนต์ เดือนมีนาคม ปี 2557 มีจำนวน 113,313 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 8.77 แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2557 การผลิตจะมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,320,000 คัน ลดลงร้อยละ 5.35 แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายรถยนต์ในประเทศประมาณ 1,150,000 คัน ลดลงร้อยละ 13.16 และการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ประมาณ 1,170,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.06 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย * เป็นข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ณ วันที่ 23 เมษายน 2557

  21. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนเดือนมีนาคมปี 2557 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 15.11 มาจาก HDD ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 19.65 อย่างไรก็ตาม Semiconductor , Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.67 20.27 และ ตามลำดับ เนื่องจากมีการนำไปใช้เป็นชิ้นส่วนใน Smart Phone/อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ และกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเพิ่มการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.12 โดยมาจากตู้เย็น หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ปรับตัวเพราะภาคครัวเรือนในประเทศมีการชะลอการใช้จ่าย ยกเว้นกลุ่มเครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการส่งออกไปตลาดอาเซียนและสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สายไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการที่ภาครัฐมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงเครื่องรับโทรทัศน์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.64 เนื่องจากมีการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อรองรับกับระบบดิจิตอล ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ /หมายเหตุ : * คาดการณ์จากแบบจำลองของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  22. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนมีนาคม ปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากคำสั่งซื้อของตลาดภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากคำสั่งซื้อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากตลาดสหรัฐอเมริกาที่เริ่มฟื้นตัว และตลาดสหภาพยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น การส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเส้นใยสิ่งทอฯ และผ้าผืน มีมูลค่าลดลงในตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สำหรับกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้นในตลาดสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้า ลดลงในผลิตภัณฑ์เส้นใยสังเคราะห์ แต่กลุ่มผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป อาจมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแฟชั่นที่นำเข้าจากประเทศจีน และฮ่องกง ที่มา : 1. การผลิต การจำหน่ายในประเทศ : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. การส่งออก การนำเข้า : กระทรวงพาณิชย์

  23. หัวข้อการนำเสนอ

  24. แนวโน้มเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2557 ปัจจัยสนับสนุนในปี 2557 • การทยอยปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก • อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • อุตสาหกรรมสำคัญปี 2557 เริ่มปรับฐานสู่ภาวะปกติ

  25. แนวโน้มเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2557 ปัจจัยเสี่ยงในปี 2557 • การส่งออกขยายตัวได้ในระดับต่ำ • การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงมีข้อจำกัด • ภาครัฐเบิกจ่ายเงินต่ำกว่าที่คาดไว้ และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานถูกระงับ ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนและต่างชาติ

  26. IMF ประมาณการเศรษฐกิจโลก ปี 2557 ณ เมษายน 2557 ที่มา : IMF

  27. เศรษฐกิจประเทศสำคัญ >> สหรัฐอเมริกา ISM Manufacturing PMI 54.9 ที่มา: ISM Report on Business,April 2014 • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว (Q1/57 +2.3%YoY) • และอัตราการว่างงานลดลงเข้าใกล้เป้าหมายที่ Fed กำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5 • - อัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 • - ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวตามที่ได้คาดการณ์ไว้ ISM Manufacturing PMI ในเดือนเมษายน 2557 มีค่าอยู่ที่ระดับ 54.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.7 โดยภาพรวม พบว่า การผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัว คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ทรง ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง

  28. เศรษฐกิจประเทศสำคัญ >> จีน HSBC China Manufacturing PMI 48.1 ที่มา: Markit Economics, 5 May 2014 • เศรษฐกิจจีน ไตรมาส 1/2557 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า (Q1/57 +7.4%YoY) จีนยังคงใช้นโยบายทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ • อัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 6.0 China Manufacturing PMI ในเดือนเมษายน 2557 มีค่าอยู่ที่ระดับ 48.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.0 ในภาพรวม พบว่า การผลิต คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ และจ้างงานยังคงหดตัว

  29. เศรษฐกิจประเทศสำคัญ >> ญี่ปุ่น Markit/JMMA Japan Manufacturing PMI 49.4 ที่มา: Markit Economics, 30 April 2014 • เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง (Q1/57 +3.0%YOY) • อัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.1 • BOJ ยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2 Japan Manufacturing PMI ในเดือนเมษายน 2557 มีค่าอยู่ที่ระดับ 49.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.9 ในภาพรวม พบว่า การผลิต และคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลง ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น

  30. เศรษฐกิจประเทศสำคัญ >> กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป Markit Eurozone Manufacturing PMI 53.4 ที่มา:Markit Economics, 2 May 2014 • เศรษฐกิจ EU ขยายตัวเล็กน้อย (Q4/56 +1.0%YoY) • อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง • อัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 • - ECB ใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณเพื่อซื้อสินทรัพย์ และมาตรการลดดอกเบี้ย เนื่องจากกังวลต่อปัญหาเงินฝืด Eurozone Manufacturing PMI ในเดือนเมษายน 2557 มีค่าอยู่ที่ระดับ 53.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.0 ในภาพรวมพบว่า การผลิต คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ และการจ้างงานเพิ่มขึ้น

  31. 12 มี.ค.57 ผลการประชุม กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 2.25 ต่อปี) เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจท่ามกลางความเสี่ยง และสถานการณ์การเมืองที่ยังยืดเยื้อ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ร้อยละ) 2.00 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

  32. ที่มา:สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มา:สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  33. THANK YOU

More Related