1 / 31

สังคมและ การ เมือง : 03751112

สังคมและ การ เมือง : 03751112. Social and Politics. : สังคมมนุษย์ : การอยู่ร่วมกันของมนุษย์. : การเมือง : กระบวนการอำนาจและการใช้. : ความสัมพันธ์ : มนุษย์กับการเมือง. ที่มาของสังคม. ทฤษฎีสัญญาสังคม ( S ocial C ontract Theories of Society) เน้นสภาพธรรมชาติ (State of Nature)

dixon
Download Presentation

สังคมและ การ เมือง : 03751112

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สังคมและการเมือง :03751112 Social and Politics : สังคมมนุษย์ :การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ : การเมือง :กระบวนการอำนาจและการใช้ : ความสัมพันธ์ :มนุษย์กับการเมือง

  2. ที่มาของสังคม ทฤษฎีสัญญาสังคม (Social Contract Theories of Society) เน้นสภาพธรรมชาติ (State of Nature) : ธอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) อธิบายว่า ระยะเริ่มมนุษย์ไม่ได้อยู่รวมกันในสังคม แยกกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ (State of nature) ใต้กฎ ธรรมชาติ (Natural law) ที่ไม่เหมาะสมกับอารยธรรม พิจารณามนุษย์ในทางลบ และลักษณะต่างๆไม่ดี

  3. ที่มาของสังคม สภาพมนุษย์ : - ลักษณะโดดเดี่ยว (solitary) - ยากจน (poor) - น่าเกลียด (nasty) โหดร้าย (brutal) - ติดต่อกันระยะสั้น (short) - ไม่มีความรับผิดชอบ - ไม่มีความยุติธรรม

  4. ที่มาของสังคม ข้อตกลง Hobbes เสนอ : บุคคลเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างตามที่ตนแสวงหา มาได้ มนุษย์ทำสงครามเพื่อความอยู่รอดของตน มนุษย์ตกกันทำสัญญา จะเลิกอยู่แบบตัวใครตัวมัน และใช้กำลังตามธรรมชาติ แต่จะอยู่รวมกันภายใต้การ ปกครองของ “องค์อธิปัตย์” (sovereign)เกิดอำนาจทาง การปกครองภายใต้รัฐบาล

  5. ที่มาของสังคม : จอห์น ล็อค (John Locke) เสนอแนวคิดต่างจาก Hobbes เกี่ยวกับสภาพตาม ธรรมชาติและมนุษย์ -สภาพธรรมชาติของสังคมจะมีการจัดการปกครอง ที่มีระเบียบดีแล้ว (State of Organized Society) -ความไม่สมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ ที่เป็นผู้ตัดสินคดีที่กระทำความผิดกันเอง ซึ่งมีข้อบกพร่อง อยู่บางประการ

  6. ที่มาของสังคม ข้อเสนอ Locke: 1. การตั้งศาล (judicature)เพื่อตีความกฎหมาย อย่างถูกต้องและยุติธรรม 2. การตั้งฝ่ายบริหาร (executive)เพื่อที่จะรักษา กฎหมาย 3. การตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ (legislature) เพื่อกำหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรักษาและดูแลคดีต่างๆ มนุษย์ยอมสละสิทธิการลงโทษ โดยยกสิทธิให้องค์กร ทำหน้าที่แทน = สัญญาร่วมกัน สังคมและรัฐบาลจะเกิดขึ้น

  7. ที่มาของสังคม : ชอง ฌาคส์ รุสโซ (Jear Jacques Rousseau) ยอมรับความคิดของ John Lockeเกี่ยวกับมนุษย์ที่ อยู่ในสภาพธรรมชาติ และอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ Rousseau เชื่อว่า สภาพธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดีมี ความเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น ความรู้สึกจะ อยู่ร่วมกันเป็นสังคม และสังคมมีลักษณะเป็นของส่วนรวม

  8. ที่มาของสังคม ข้อเสนอ Rousseau: : เจตนารมณ์ทั่วไป (general will)เกิดขึ้นภายหลัง จากมีการรวมเป็นสังคม : สังคมจะมีเจตนารมณ์ทั่วไปมุ่งพิทักษ์รักษาและให้ สวัสดิการแก่ส่วนรวม : เจตนารมณ์ทั่วไปเป็นแหล่งที่มาของกฎหมาย ทั้งหมด

  9. ที่มาของสังคม ข้อเสนอ Rousseau: : เจตนารมณ์ทั่วไปจะกำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกของสังคม :เจตนารมณ์ทั่วไปเป็นสิ่งสูงสุดรัฐเป็นเพียง ตัวแทน (agent) เจตนารมณ์=อำนาจอธิปไตย

  10. ความหมายของสังคม ”สังคม”เป็นกลุ่มคนที่มาอาศัยอยู่ร่วมกันภายใน (1) อาณาบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็น (2) ระยะเวลา ยาวนานพอสมควร ผู้คนในกลุ่มมี (3) ความสัมพันธ์ซึ่ง กันและกัน โดยที่กำหนด (4) รูปแบบบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์ บทบาทและกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอยู่รวมกัน เป็นถาวร

  11. ความหมายของสังคม ”Aristotle”เป็นนักปราชญ์ชาวกรีก (384-322 ก่อน ค.ศ.) เชื่อว่า มนุษย์ตามสภาพธรรมชาติต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น มีการติดต่อสัมพันธ์กันและกัน ไม่สามารถมีชีวิตอย่างอิสระ ตามลำพังคนเดียว Aristotleเน้นถึงว่า ไม่มีมนุษย์ผู้ใดอยู่อย่างโดดเดี่ยวใน โลก มนุษย์ผู้เดียวไม่สามารถสืบพันธุ์ ไม่อาจป้องกันตนเอง และหาเลี้ยงชีพได้นาน ไม่อาจบำรุงสติปัญญา ความคิดและ มีกำลังใจเพียงพอ

  12. ความหมายของสังคม Arnold W. Green (1972) “สังคม”เป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งแต่ละคนมีความ รู้สึกเป็นสมาชิกของกลุ่ม โดยประกอบด้วย - มีประชากร - มีการจัดระเบียบในการอยู่ร่วมกัน - มีเวลา/สถานที่/อาณาบริเวณและอาศัยอยู่อย่างถาวร - มีการแบ่งงานกันทำ - มีการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้

  13. ความหมายของสังคม พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542) “สังคม”คือ คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ตามระเบียบและกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน

  14. ความหมายของสังคม ประสาท หลักศิลา (2514) “สังคม”หรือการที่มนุษย์พวกหนึ่งๆ ที่มีอะไรส่วนใหญ่ เหมือนกัน/คล้ายคลึงกัน เช่น ทัศนคติ คุณธรรม ธรรมเนียม ประเพณีและได้มาอยู่รวมกันเป็นพวกเดียวกัน โดยที่มีความ สัมพันธ์กันและมาอยู่ในเขตเดียวกันอย่างถาวร

  15. ความหมายของสังคม พัทยา สายหู (2524) “สังคม”หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันในอาณาบริเวณ ที่มีขอบเขตกำหนด มีความสัมพันธ์อันเกิดจากการประพฤติ ปฏิบัติต่อกัน มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยอมรับ แบบแผนหรือวิธีการกฎเกณฑ์อย่างเดียวกัน

  16. สังคมมนุษย์ Human Society :สังคมคือ “กลุ่มของมนุษย์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีส่วนร่วมในระบบกระทำการที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ (a self- sufficient system of action)ซึ่งสามารถจะดำรงอยู่ ได้นานกว่าอายุของมนุษย์คนหนึ่ง กลุ่มมนุษย์นี้อย่าง น้อยจะต้องแสวงหาสมาชิกใหม่ด้วยวิธีการผสมพันธุ์ ตามธรรมชาติ” Aberle, Cohen, Davis, LevyandSutton. 1950. “ The Functional Pre-Requisites of a Society.” Ethics. Vol. 60. January 1950

  17. สาระสำคัญของความหมาย :ประการที่ 1 – ระบบกระทำการที่สามารถเลี้ยงตนเอง ระบบกระทำการทุกระบบจะต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์หนึ่ง (a situation) เสมอ สถานการณ์ = มนุษย์ = สิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่มนุษย์ (non- human environment) = สังคมอื่นๆ ระดับภายในและภาย นอกสังคมเดียวกัน สังคม (a society)

  18. สาระสำคัญของความหมาย :ประการที่ 1 – ระบบกระทำการที่สามารถเลี้ยงตนเอง -:ระบบกระทำการสังคมจะต้องจัดเตรียมเพื่อเผชิญกับ สถานการณ์ต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิด และยังส่ง ผลกระทบต่อสังคม -:ลักษณะสามารถเลี้ยงตนเอง โดยไม่ต้องติดต่อกับสังคม ภายนอกระยะหนึ่งก็ยังอยู่ได้ ระบบสังคมมีความสามารถ ทำหน้าที่ที่จำเป็นต่างๆ ของสังคม (functional prerequisites)

  19. สาระสำคัญของความหมาย -:สังคมจะต้องสามารถสร้างสมาชิกใหม่แทนสมาชิกเก่า โดยการอบรมสั่งสอน (Socialization) :ประการที่ 2 – ความสามารถอยู่นานกว่าอายุมนุษย์ 1 คน -:สมาชิกของสังคมบางส่วนต้องมาจากด้วยวิธีการผสม พันธุ์ตามธรรมชาติ เพราะต้องการแยกสังคมออกจาก กลุ่มทางสังคม เช่น สมาคม วัด/สำนักสงฆ์ และสโมสร การแสวงหาสมาชิก + การเพิ่มด้วยผสมพันธ์ตามธรรมชาติ + การเพิ่มด้วยการอพยพ การสู้รบ/กวาดต้อน

  20. สาระสำคัญของความหมาย + วัฒนธรรมเป็นกฎเกณฑ์กำหนดพฤติกรรมทางสังคม ของมนุษย์ = นามธรรม - แบบแผนวัฒนธรรมของสังคม อาศัยการสังเกตจาก พฤติกรรมทางสังคม (Social Behavior) - สังคม 2 สังคม/มากกว่าอาจจะมีวัฒนธรรมคล้ายกัน เช่น ไทย ลาว เขมร - สังคมเดียวกันอาจจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันแต่ละ กลุ่ม (Sub-culture) สังคม = วัฒนธรรม

  21. สาระสำคัญของความหมาย :ประการที่ 3 – สังคมแต่ละสังคมอาจไม่จำเป็นต้องพึ่ง ตนเองด้านทรัพยากรตลอดไป -:สังคมต้องมีทรัพยากรมากพอควรเพื่อใช้ภายในสังคม = ไม่มีเลยไม่ได้ -:สังคมต้องมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับสังคมอื่น แต่ ไม่ใช่กลายเป็นสังคมเดียวกัน

  22. หน้าที่สำคัญของสังคม :ประการที่ 1 – สังคมจัดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การ ปฏิบัติการทางเพศของสมาชิกเพื่อการเพิ่ม สมาชิกใหม่ด้วยวิธีการสืบพันธุ์ (Sex Reproduction) -:การบำรุงรักษาความต่อเนื่องทางชีวะ (Maintenance of Biological Continuation) ของสมาชิกสังคม - การรักษาระดับจำนวนสมาชิกที่เหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยเกินไป - การติดต่อกับสังคมอื่นจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ ความอยู่รอดสังคมตนเอง

  23. หน้าที่สำคัญของสังคม -:การบำรุงรักษาความต่อเนื่องทางชีวะ (Maintenance of Biological Continuation) ของสมาชิกสังคม - การจัดการให้มีความสัมพันธ์ระหว่างเพศของสมาชิก (Heterosexual Relationship) ผลิตสมาชิกใหม่ - สมาชิกจำนวนพอเหมาะต้องทำหน้าที่ตามบทบาท (Role) และสถานภาพ (Status) เพื่อความคงอยู่ สังคม - สังคมจำเป็นต้องปรับตัว จัดการและเปลี่ยนแปลง ภาวะแวดล้อมธรรมชาติให้เหมาะสม

  24. หน้าที่สำคัญของสังคม :ประการที่ 2 – การอบรมวัฒนธรรม/การให้สมาชิกรู้จัก กฎเกณฑ์พฤติกรรมทางสังคม (Socialization or Enculturation) -:สมาชิกใหม่สังคมต้องรู้และเข้าใจ”โครงสร้างแห่ง การกระทำ” (Structure of Action) : กฎเกณฑ์ ทางสังคม บทบาท (Role) สถานภาพ (Status) วิถีปฏิบัติและถ่ายทอดแบบแผนทางวัฒนธรรมของ สังคม

  25. หน้าที่สำคัญของสังคม :ประการที่ 3 – การติดต่อสื่อสาร (Communication) ที่ให้มีภาษาร่วมกันของสมาชิก -:การจัดให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในสังคม เพื่อรับรู้และเข้าใจร่วมกัน ด้วยระบบสัญลักษณ์ (Symbolic Communication) - การรักษาค่านิยมร่วมกัน (Common Value) การ เรียนรู้และความเข้าใจร่วมกัน=Enculturation - การสร้างอำนาจบังคับ (Sanction) ในกิจกรรมทาง สังคม

  26. หน้าที่สำคัญของสังคม :ประการที่ 4 – หน้าที่ทางเศรษฐกิจ (Economic Function) -:การจัดให้มีการผลิต (Production) การกระจาย (Distribution) และการบริโภค (Consumption) - สังคมที่มีการจัดการเศรษฐกิจดี อาหารและ ทรัพย์สิน สมาชิกสมบูรณ์แข็งแรง : ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ : วิธีการจัดการทางเศรษฐกิจ

  27. หน้าที่สำคัญของสังคม :ประการที่ 5 – หน้าที่จัดระเบียบและรักษาความสงบ (Maintenance of Order) -:การจัดระเบียบการปกครองและความยุติธรรม ระงับ ข้อพิพาท การขัดผลประโยชน์ และความไม่สงบ - การจัดระเบียบภายใน (Internal Order) - การจัดระเบียบภายนอก (External Order)

  28. เงื่อนไขการสลายตัวของสังคมเงื่อนไขการสลายตัวของสังคม :ประการที่ 1 – การไม่สืบต่อทางชีวะในหมูสมาชิกสังคม -:การที่มีสมาชิกสังคมลดลงเหลือน้อยเกิดไป - อัตราการเกิด - อัตราการตาย - อัตราการย้ายถิ่น

  29. เงื่อนไขการสลายตัวของสังคมเงื่อนไขการสลายตัวของสังคม :ประการที่ 2 –สมาชิกสังคมเฉื่อยชาเกินขนาด -:การที่มีสมาชิกสังคมไม่อยากทำอะไร ไม่ต้องการ ปฏิบัติหน้าที่ การขาดสิ่งจูงใจและกำลังใจที่จะกระทำ - โครงสร้างสังคมไม่สมบูรณ์ - ไม่มีประสิทธิภาพ

  30. เงื่อนไขการสลายตัวของสังคมเงื่อนไขการสลายตัวของสังคม :ประการที่ 3 –สังคมเกิดกลียุค -:การเกิดภาวะปราศจากความยุติธรรม ขาดกฎหมาย และปทัสถาน (Norm) - สมาชิกขาดความมั่นใจ - เกิดเอารัดเอาเปรียบ - กดขี่ รังแก

  31. เงื่อนไขการสลายตัวของสังคมเงื่อนไขการสลายตัวของสังคม :ประการที่ 4 –สังคมถูกดูดกลืนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอื่น -:การถูกกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอื่น จนขาด ความเป็นเอกลักษณ์ตนเองและไม่รู้สึกผูกพัน - การแพ้สงคราม - การขยายทางวัฒนธรรม

More Related